
บางครั้งโศกนาฏกรรมก็นำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่ นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อนตอนทีมศัลยแพทย์ของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ นำโดยมุฮัมมัด มันซูร์ โมฮุดดิน และบาร์ตลีย์ กริฟฟิท ลงมือผ่าตัดที่เป็นการปฏิวัติวงการให้ชายวัย 57 ปีผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นสุดท้าย
.
เดวิด เบนเน็ตต์ ซีเนียร์ ถูกปฏิเสธการปลูกถ่ายหัวใจตามแบบแผนทั่วไปเนื่องด้วยปัจจัยด้านสุขภาพหลายประการ นี่คือสิ่งที่คนหลายพันคนต้องเผชิญในแต่ละปี โมฮุดดินแนะนำทางเลือกใหม่ นั่นคือหัวใจหมูที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเพื่อลดโอกาสที่ร่างกายจะปฏิเสธอวัยวะใหม่ให้น้อยที่สุด
การทดลองที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2022 ประสบความสำเร็จ อย่างน้อยก็ในช่วงแรก เบนเน็ตต์เสียชีวิตประมาณสองเดือนต่อมาหลังจากหัวใจล้มเหลวเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากระบบภูมิคุ้มกัน คนไข้รายที่สองของโมฮุดดิน ซึ่งเป็นผู้ชายชื่อ ลอว์เรนซ์ ฟอเซ็ตต์ อยู่ได้เกือบหกสัปดาห์ เขาเสียชีวิตในปี 2023 หลังระบบภูมิคุ้มกันปฏิเสธหัวใจใหม่
.
สำหรับโมฮุดดิน ผู้นำการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะข้ามชนิดพันธุ์ หรือจากสัตว์สู่คน การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะแต่ละครั้งมอบความเข้าใจอันล้ำค่าให้แก่ความเป็นไปได้ของศาสตร์ใหม่นี้
.
ในโลกอุดมคติแห่งอนาคต เราจะมีหัวใจมากเกินพอสำหรับทุกคน ถึงแม้หมูที่โมฮุดดินนำหัวใจมาใช้จะมียีนประมาณ 30,000 ยีน แต่ส่วนที่ต้องดัดแปรเพื่อให้ใช้กับมนุษย์ได้มีเพียง 10 ยีนเท่านั้น บางคนรู้สึกว่าแนวคิดในการฆ่-าหมูเพื่อเอาอวัยวะของมันมาใช้เป็นเรื่องน่ารังเกียจ แต่โมฮุดดินเชื่อว่าการทำเช่นนี้มีข้อดีมากกว่า
.
อ่านเรื่องราวทั่งหมดได้ที่ https://ngthai.com/impression/77485/national-geographic-33/
.
#NationalGeographicThailand
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's