
การกินอาหารมื้อใหญ่ส่งผลต่อร่างกายคุณอย่างไร ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
data
- Creator, วิลเลียม พาร์ก
- Role, บีบีซี นิวส์
การรับประทานอาหารมื้อใหญ่อาจทำให้เรารู้สึกหิวมากขึ้น แต่ไม่ได้เกิดจากการที่กระเพาะอาหาร “ขยายตัว”
การรับประทานอาหารมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตคนเราโดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลใหญ่ ๆ แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากเราตามใจปากมากเกินไป
ผมค่อนข้างจะมั่นใจว่าจะรู้สึกอย่างไรหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่ มันคืออาการง่วงซึม อ่อนเพลีย และอิ่มอย่างมาก แต่พอมื้อเที่ยงอีกวันผมก็แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถกินปิ้งย่างได้อีกมื้อหนึ่ง และเมื่อคุณคิดเช่นนี้ มันค่อนข้างจะแปลกประหลาดตรงที่ว่าในวันถัดไปจากกินอาหารมื้อใหญ่เข้าไปแล้ว เราจะยังสามารถกินอาหารในปริมาณเยอะเท่า ๆ เดิมได้อีกครั้งหนึ่ง แล้วเราได้เรียนรู้บทเรียนอะไรบ้างจากการกินมื้อใหญ่ก่อนหน้านี้ ?
ทำไมเราจึงยังรู้สึกหิวหลังจากงานเลี้ยงอย่างวันขอบคุณพระเจ้าหรือคริสต์มาส และการกินมากเกินไปทำให้ท้องของคุณขยายขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณมีที่ว่างสำหรับอาหารในวันถัดไปหรือไม่ ? แค่คิดถึงเรื่องนี้ตอนนี้ก็ทำให้ผมหิวเสียแล้ว
คำตอบคือ สำหรับคนส่วนใหญ่ คุณจะไม่รู้สึกหิวแม้ว่าจะกินอาหารไปในปริมาณมากแล้วก็ตาม แต่อาหารต่างหากที่ทำให้คุณรู้สึกหิว
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
แต่ก่อนอื่น ความรู้สึกหิวในลักษณะนี้คืออะไร ? ความรู้สึกหิวที่กระตุ้นให้อยากกินนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่างภายในร่างกายของคุณ

ที่มาของภาพ : Getty Photos
เป็นเรื่องจริงที่ว่ากระเพาะอาหารของคุณจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดขึ้นเมื่อเกิดความหิวหรือกินจนอิ่ม กระเพาะอาหารจะหดตัวเมื่ออาหารถูกย่อยเพื่อช่วยเคลื่อนย้ายอาหารไปยังลำไส้ กระเพาะอาหารจะส่งเสียงท้องร้องออกมาเมื่ออากาศและอาหารเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ ขณะที่อาหารถูกดันลงไปตามลำไส้ ซึ่งเรียกภาวะที่เรียกว่าบอร์บอริกมัส (borborygmus) เพราะมันทั้งได้ยินและรู้สึกได้ทางร่างกาย หลังจากเกิดเสียงท้องร้อง (ซึ่งมาจากกระเพาะ) กระเพาะจะขยายตัวอีกครั้งเพื่อเตรียมตัวสำหรับการรับประทานอาหาร ซึ่งกระบวนการนี้เริ่มต้นโดยฮอร์โมน
จริง ๆ แล้ว ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดที่การรับประทานอาหารจะทำให้กระเพาะขยายตัว กระเพาะมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นมันจะกลับสู่ขนาดปกติ (ประมาณ 1-2 ลิตร) หลังจากการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ในความเป็นจริง กระเพาะของคนส่วนใหญ่มีขนาดมีต่างกันเท่าใดนัก ทั้งความสูงและน้ำหนักไม่ได้มีผลต่อขนาดของกระเพาะแต่อย่างใด
สิ่งที่เราอาจไม่ค่อยสังเกตคือการปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้เราหิว ได้แก่ ฮอร์โมนเอ็นพีวาย (NPY) และเอจีอาร์พี (AgRP) จากไฮโปทาลามัสและเกรลินจากกระเพาะอาหาร
ฮอร์โมนเกรลินจะถูกปล่อยออกมาทันทีเมื่อกระเพาะอาหารว่าง และจะกระตุ้นการผลิต NPY และ AgRP ในสมองของเรา ฮอร์โมนทั้งสองนี้มีบทบาทในการสร้างความรู้สึกหิวและยับยั้งฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม
แม้จะขัดกับสัญชาตญาณ แต่ระดับของฮอร์โมนเกรลินมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในคนที่มีรูปร่างผอม และต่ำลงในผู้ที่มีภาวะอ้วน คุณอาจคิดว่าฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวจะมีอยู่ในผู้ที่กินจุมากกว่าคนอื่น แต่ความขัดแย้งนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่าระบบต่อมไร้ท่อของเรามีความซับซ้อนเพียงใด
แม้ว่าจะมีฮอร์โมนเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่มีบทบาทต่อการกระตุ้นความรู้สึกหิว แต่ก็มีฮอร์โมนอีกประมาณ 10 ชนิดที่จำเป็นต่อการทำให้เรารู้สึกอิ่ม ยกตัวอย่างเช่นฮอร์โมน 2-3 ชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนจีไอพี (GIP) และจีแอลพี-1 (GLP-1) มีหน้าที่กระตุ้นการผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอีกหลายตัวที่มีหน้าที่ในการชะลอการเคลื่อนตัวของอาหารผ่านกระเพาะอาหารเพื่อให้ร่างกายมีเวลาย่อยอาหาร สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนซึ่งมีระดับเกรลินต่ำ อาจเป็นเพราะระดับอินซูลินที่สูง ซึ่งจำเป็นต่อการเผาผลาญอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้ไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเกรลิน
ปัจจัยสำคัญ 2 ประการในการลดความรู้สึกหิวคือ ฮอร์โมน CKK และ PYY ในผู้ป่วยที่ใส่ห่วงรัดกระเพาะซึ่งจะช่วยลดขนาดของกระเพาะ ฮอร์โมนพีวายวาย (PYY) จะสูงเป็นพิเศษ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง

ที่มาของภาพ : Getty Photos
แม้ว่ากระเพาะอาหารของคุณจะมีระบบฮอร์โมนที่จะแจ้งไปยังสมองเมื่อท้องว่าง แต่ความรู้สึกหิวมักจะได้รับการกระตุ้นเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างเวลาในแต่ละวันกับความรู้สึกหิว ดังนั้น แม้คุณจะรับประทานอาหารกลางวันที่เยอะแล้ว คุณอาจยังรู้สึกหิวในมื้อเย็นอยู่ดี
“หากคุณหยิบช็อกโกแลตและมันฝรั่งทอดมากินซ้ำ ๆ หลังจากมื้อค่ำซ้ำ ๆ ในขณะที่คุณนั่งดูทีวีบนโซฟา ร่างกายของเราจะเริ่มเชื่อมโยงการนั่งจ่อมบนโซฟากับทีวีกับการรับประทานอาหารดี ๆ และเมื่อคุณนั่งบนโซฟา คุณจะรู้สึกอยากกินอะไรบางอย่าง” คาโรลีน ฟาน เดน อัคเกอร์ นักวิจัยจากเซ็นเตอร์เดตา (Centerdata ) ซึ่งเคยทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยมาสตริกช์ในเนเธอร์แลนด์ กล่าว
“มันอาจเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่คุณอิ่มแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่พลังงานสำรองของคุณมีอยู่แล้วเต็มที่”
คาโรลีน ฟาน เดน อัคเกอร์ กล่าวว่า การรับประทานมากเกินไป ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเสมอไป ซึ่งความเห็นนี้แตกต่างจากการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ระบุว่า การรับประทานอาหารที่มากเกินไปในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มักจะเชื่อมโยงกับความรู้สึกรังเกียจ ความรู้สึกผิด หรืออับอาย ดังนั้น การรับประทานอาหารมากเกินไปอาจถูกมองว่าเป็นเพียงพฤติกรรมที่ต้องเลิก แต่ความอยากอาหารที่เคยเป็นมาของบุคคลที่มีภาวะนี้ อาจทำให้การควบคุมการกินอาหารทำได้ยากขึ้น
เมื่อเราเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงกลไกการให้รางวัลโดยอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลสูง กับเวลาใดเวลาหนึ่ง กลิ่น ภาพ และพฤติกรรมเฉพาะ ความทรงจำของความรู้สึกนั้นจะถูกกระตุ้นและทำให้เรารู้สึกอยากอาหาร ซึ่งจะกระตุ้นปฏิกิริยาทางจิตใจและทางร่างกาย เช่น น้ำลายไหล
คุณอาจจะคุ้นเคยกับการทดลองสุนัขของอิวาน พาฟลอฟ ซึ่งได้ทดลองสั่นกระดิ่งก่อนให้อาหารสุนัขเมื่อถึงมื้ออาหาร เพื่อทำให้สุนัขสามารถเชื่อมโยงเสียงกระดิ่งกับการได้กินอาหาร จนกระทั่งในที่สุด สุนัขจะเกิดอาการน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งเพียงแค่เสียงเดียว
มนุษย์ก็ไม่ได้ซับซ้อนไปกว่าสุนัขมากนักในเรื่องนี้ ในการทดลองอีกครั้งหนึ่ง การทดลองใช้การแสดงภาพของรูปทรงง่าย ๆ เช่น วงกลมและสี่เหลี่ยม ต่อกลุ่มตัวอย่างทดลอง เมื่อกลุ่มตัวอย่างเห็นรูปสี่เหลี่ยม พวกเขาจะได้รับช็อกโกแลตหนึ่งชิ้น และหลังจากนั้นพวกเขาก็จะเริ่มมีความอยากช็อกโกแลตเมื่อใดก็ตามที่รูปภาพสี่เหลี่ยมถูกแสดงออกมา เช่นเดียวกับสุนัข มนุษย์สามารถถูกสร้างเงื่อนไขให้คาดหวังอาหารจากการส่งสัญญาณง่าย ๆ ได้เช่นกัน
“ความเชื่อมโยงเหล่านี้พัฒนารวดเร็วมาก กระทั่งกับปริมาณช็อกโกแลตเพียง 1-2 กรัมเท่านั้น” คาโรลีน ฟาน เดน อัคเกอร์ นักวิจัย กล่าว “ดูเหมือนว่ามันง่ายมากที่จะสร้างความอยากเหล่านี้ขึ้นมา และยากมากที่จะกำจัดมันไป ร่างกายของคุณจะจดจำช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กินช็อกโกแลตนั้น และความอยากนี้ก็อาจกลายเป็นความอยากที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันได้อย่างง่ายดาย แม้คุณทำแบบนี้ซ้ำ ๆ เป็นเวลา 4 วันเท่านั้น”
ในบางครั้งอารมณ์ของเราก็อาจกลายเป็นการกระตุ้นความอยากอาหาร มีรายงานว่าผู้คนมักจะควบคุมตัวเองได้น้อยลงหากอยู่ในอารมณ์ไม่ดีและเหนื่อยล้า “หากเป็นกรณีนี้ อารมณ์ต่าง ๆ อาจเชื่อมโยงโดยตรงกับอาหารที่อร่อย ดังนั้น เมื่ออารมณ์บูดก็อาจไปกระตุ้นความอยากอาหารได้” เธอกล่าว
ตามหลักแล้ว อารมณ์ใด ๆ แม้กระทั่งอารมณ์ในเชิงบวก สามารถกลายเป็นสิ่งที่กระตุ้นความอยากอาหารได้ตราบใดที่ในช่วงที่เกิดขึ้นนั้นตามด้วยการกินอาหารอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เราจะยิ่งรับประทานอาหารมากขึ้นเมื่อเราอยู่กับเพื่อนฝูง แม้ว่าเราจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์ การกินดื่มในโอกาสพิเศษ ระยะเวลาที่ใช้ในการนั่งรับประทานอาหาร และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เราก็จะรับประทานอาหารมากขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการเข้าสังคม ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเพราะว่าความพึงพอใจในการมีผู้คนรายล้อมทำให้เรายากที่จะตั้งใจในการควบคุมปริมาณอาหาร กระทั่งกับคนที่นั่งในห้องปฏิบัติการสักแห่งหนึ่งและกำลังกินพาสต้าหนึ่งจานก็สามารถกินได้เยอะขึ้นได้หากว่ามีเพื่อนคุยอยู่ข้าง ๆ

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ความรู้ในเรื่องนี้ยังมีผลต่อการหยุดพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีด้วย “เมื่อเราพยายามจะช่วยให้คนกินน้อยลง เราเน้นไปที่การลืมความอยากอาหารที่เคยเรียนรู้มา ที่นี่เราพยายามทำให้แน่ใจด้วยว่าพวกเขาจะได้เรียนรู้ว่าการกินของอร่อยบางอย่างแล้ว ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องกินแบบนั้นอีกในวันถัดไป” นักวิจัยคาโรลีน ฟาน เดน อัคเกอร์ บอก สิ่งนี้สำคัญเพราะว่าในงานศึกษาอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการตบะแตกหรือทำลายพฤติกรรมการกินที่ดีแค่ครั้งเดียวก็อาจเพียงพอที่จะทำให้กลับไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีได้
บางทีนี่อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดกับความรู้สึกหิวที่เกิดขึ้นหลังการกินอาหารมื้อใหญ่กับครอบครัวและเพื่อนฝูงที่เรามักจะยังคงหิวในวันถัดไป หรือกระทั่งในวันเดียวกันก็ตาม มันไม่ใช่เพราะว่ากระเพาะเราขยายตัว แต่เป็นเพราะว่าเราคุ้นชินกับการกินอาหารมากเกินไปในโอกาสพิเศษต่าง ๆ หากสมองของเรามีสิ่งชี้นำ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ภาพ และเสียงที่เกี่ยวข้องกับอาหารมื้อใหญ่ในวันที่ถัดไปหลังจากงานกินเลี้ยงฉลอง เช่น คริสต์มาสหรือวันขอบคุณพระเจ้า สมองก็จะเริ่มเตรียมร่างกายของเราสำหรับมื้อที่สองนั่นเอง
*บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2019
ที่มา BBC.co.uk