
3 เรื่องที่ยัง “รู้ไม่ชัดเจน” ปมพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ระลอกล่าสุด

ที่มาของภาพ : Getty Photography
Article data
- Author, จิราภรณ์ ศรีแจ่ม
- Operate, ผู้สื่อข่าว.
ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมพูชาให้ความเห็นว่ายังมี “สิ่งที่ไม่รู้” อีกหลายประการ ซึ่งล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าใจสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา และข้อมูลที่ยังไม่ปรากฏเหล่านี้กำลังเป็นปัจจัยกระตุ้นกระแสชาตินิยมที่รุนแรง ซึ่งบางฝ่ายอาจนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในระยะสั้น
.ได้สัมภาษณ์ ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชา จากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.ธิบดี บัวคำศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองกัมพูชา จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันคลี่คลาย-ขยายปม ว่าความตึงเครียดชายแดนในรอบนี้ยังมีประเด็นใดที่สังคมยังมองไม่ครบถ้วน และเรื่องนี้เป็นเกมของประเทศเพื่อนบ้านดังที่บางฝ่ายพยายามกระพือหรือไม่
1. เกิดอะไรขึ้นกันแน่ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ?
- สาเหตุที่แท้จริงของเหตุเพลิงไหม้ศาลาตรีมุข
ศาลาตรีมุขซึ่งตั้งอยู่ในจุดบรรจบกันของสามประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา เป็นพื้นที่จุดหนึ่งที่ถูกพูดถึงในความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชาระลอกล่าสุด
ย้อนไปในวันที่ 1 มี.ค. 2568 ทางกองกำลังสุรนารีได้รับรายงานจากทหารกัมพูชาว่าได้มีเหตุไฟไหม้บ้านเรือนประชาชนของกัมพูชา และเกิดการลุกลามไปยังศาลาตรีมุข จนทำให้ศาลาถูกไฟไหม้เสียหายหมด ตามข้อมูลที่ พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ชี้แจงเมื่อวันที่ 5 มี.ค.
ทว่าเมื่อเกิดความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา หลังเหตุยิvปะทะเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา เหตุเพลิงไหม้ศาลาตรีมุขก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เนื่องจากศาลาดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกตซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สื่อไทยหลายสำนักบอกว่าเป็นจุดที่เกิดเหตุปะทะ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
Discontinuance of ได้รับความนิยมสูงสุด
ในโพสต์เฟซบุ๊กของ ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ วันนี้ (5 มิ.ย.) กล่าวว่าตนเองได้ข้อมูลมาจากคนในพื้นที่ว่า สาเหตุการเผาศาลาตรีมุขมาจากการทะเลาะวิวาท ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทดินแดนหรือประเด็นชาตินิยมโดยตรง
เขาเห็นว่าสิ่งที่ปรากฏในหน้าสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์นั้นยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึง “ควรต้องตั้งคำถามอย่างเอาจริงเอาจังกับผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่”
- รายละเอียดจุดปะทะเช้ามืดวันที่ 28 พ.ค. 2568
อาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์ยังบอกด้วยว่า การปะทะกันระหว่างหน่วยทหารในช่วงเช้ามืดของวันที่ 28 พ.ค. ซึ่งพบว่ามีทหารของกัมพูชาเสียชีวิตนั้น เหตุใดยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง แต่กลับอ้างเพียงรายงานข่าวเท่านั้น เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันผิดปรกติวิสัยในการลาดตระเวนของทหารทั้งสองฝ่ายที่เคยปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันด้วยดีเสมอมา
“ข้อนี้น่าสงสัยยิ่ง เพราะโดยสามัญสำนึกแล้ว เหตุปะทะกันไม่ควรเกิดขึ้นในเวลาดังกล่าว เรื่องนี้ยังไม่มีรายละเอียดแม้แต่ตำแหน่งที่แท้จริงของจุดเกิดเหตุ บ้างกล่าวว่าเกิดขึ้นที่ช่องบก บ้างกล่าวว่าเกิดขึ้นที่เนิน 500 และบ้างกล่าวว่าเกิดที่เนิน 745 ซึ่งสถานที่ทั้งหมด ไม่ใช่จุดเดียวกัน เพราะต่างตั้งอยู่ห่างกันพอสมควร” ผศ.อัครพงษ์ ระบุผ่านโพสต์ของเขา
- ตำแหน่งสนามเพลาะที่ทางไทยอ้างว่ากัมพูชาขุดล้ำเข้ามา
ผศ.อัครพงษ์ ยังตั้งคำถามด้วยว่า แม้กระทั่งรายงานข่าวที่บอกว่าทางฝั่งกัมพูชาขุดสนามเพลาะ (trench raid) ก็ยังไม่เห็นภาพถ่ายที่ยืนยันได้เลยว่าแนวคูสนามเพลาะ “ที่ว่ากันว่ายาวกว่า 650 เมตร” อยู่จุดใดในภาพถ่ายทางอากาศ
ทาง ผศ.อัครพงษ์ จึงบอกกับ.ว่า ยังมี “สิ่งที่ยังไม่รู้” อีกมาก และเรียกร้องให้ “กองทัพทำข้อมูลให้กระจ่างอย่างตรงไปตรงมา” เพื่อลดทอนความสับสน ซึ่งจะช่วยบรรเทาบรรยากาศความตึงเครียดที่เกิดขึ้นได้
สำหรับประเด็นนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รมว.กลาโหมและรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งลงพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานีเมื่อวานนี้ ยืนยันวันนี้ว่าทางฝั่งกัมพูชาได้มีการล้ำเข้ามาในเขตที่เป็นโนแมนส์แลนด์ (No Man's Land) จริง แต่ไม่ได้มีการแสดงหลักฐานเพิ่มเติมแต่อย่างใด และบอกว่าทางไทยต้องการให้กัมพูชาถอยกลับออกไป เพราะกำลังละเมิดข้อตกลง JBC ระหว่างกัน

ที่มาของภาพ : กองทัพภาคที่ 2
ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.ธิบดี บัวคำศรี กล่าวกับ.ว่า โดยปรกติวิสัยการลาดตระเวนไม่ว่าแนวชายแดนใดก็ตาม การปะทะคือสิ่งที่แต่ละฝ่ายมักหลีกเลี่ยง และส่วนใหญ่แล้วชุดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนมักมีความรู้จักมักคุ้นกันอยู่ในระดับหนึ่ง
“คำถามคือเหตุใดจึงเกิดการปะทะขึ้น ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบ และเราอาจไม่มีทางทราบว่าเพราะอะไร เพราะแต่ละฝ่ายก็อธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นต่างกัน และการอธิบายที่ต่างกันก็ทำให้ตัวเองเป็นพระเอก อีกฝั่งหนึ่งเป็นผู้ร้าย” อาจารย์จากจุฬาฯ กล่าว
ทั้งนี้ เหตุปะทะที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยบอกว่ากัมพูชาเป็นผู้เปิดฉากยิv ขณะที่ทางกัมพูชาบอกว่าไทยต่างหากที่เป็นฝ่ายยิvก่อน
ผศ.ดร.ธิบดี เห็นว่าการปะทะที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกวางแผนมาล่วงหน้า แต่บริบทและบรรยากาศของชายแดนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาซึ่งพบการกระทบกระทั่งประปราย อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปะทะขึ้นได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เห็นต่างออกไป โดยบอกว่าสิ่งที่กัมพูชาดำเนินการอยู่นั้น ไม่ใช่แค่เหตุปะทะตามแนวชายแดนทั่วไป แต่เป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า และเป็นการเสริมสร้างยุทธศาสตร์กดดันไทยในหลายมิติเพื่อให้รัฐกัมพูชาได้อาณาเขตเพิ่ม
“กัมพูชาใช้เครื่องมือสารพัดชนิด ทั้งการทูต กฎหมายและปฏิบัติการทางวัฒนธรรมเพื่อรุกคืบผนวกดินแดนไทยหรือเปิดแนวรบหลายช่องทาง เพื่อให้รัฐกัมพูชาได้อาณาเขตเพิ่ม นับเป็นเป้าหมายสูงสุดของรัฐบาลฮุน เซน – ฮุน มาเนต” เขาระบุผ่านโพสต์ทางเฟซบุ๊ก
2. เหตุใดกัมพูชาต้องการไปศาลโลก ?
ปัจจุบัน รัฐบาลกัมพูชานำโดย นายฮุน มาเนต บุตรชายของสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน หรือ สมเด็จฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และประธานวุฒิสภาคนปัจจุบัน
ผศ.ดร.ธิบดี บอกว่า หากดูความเคลื่อนไหวของผู้นำกัมพูชาทั้งสองรุ่น เห็นได้ว่าในช่วงแรกที่เกิดเหตุปะทะขึ้น ปฏิกิริยาแรกของนายฮุน มาเนต ซึ่งยังติดประชุมอยู่ที่ญี่ปุ่น คือการออกมายืนยันว่ากัมพูชาไม่มีเจตนารุกรานประเทศใด และต้องการให้ปัญหาชายแดนได้รับการแก้ไขโดยอาศัยเหตุผลทางเทคนิคและกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ขอสงวนสิทธิที่จะใช้ทุกวิถีทางเพื่อปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของตน
เขาเห็นว่าในวันปะทะยังไม่มีการหยิบยกเรื่องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือ ศาลโลก ขึ้นมาเลย จนกระทั่งวันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันที่นายฮุน มาเนต ออกมาบอกว่าได้ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมระหว่างกัมพูชา-ไทย (JBC) ว่าให้มีการจัดประชุมร่วมคณะกรรมการเจบีซีกับฝ่ายไทยทันที เพื่อดำเนินการสำรวจ กำหนดแนวเขต และติดตั้งเครื่องหมายพรมแดนระหว่างสองประเทศ พร้อมกับรวมเอากรณีพิพาทในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม (Ta Moan Thom), ตาเมือนโต๊ด (Ta Moan Toch), ปราสาทตาควาย (Ta Kro Bei temples) และพื้นที่มอมเบย (Mombei position) ที่จะนำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ บรรจุในวาระการประชุมของเจบีซีดังกล่าวด้วย
จากนั้นในวันที่ 2 มิ.ย. มีการประชุมร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของกัมพูชา และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้นำกรณีพิพาทดังกล่าวขึ้นสู่ศาลโลก
ผศ.ดร.ธิบดี บอกว่าการประชุมดังกล่าวเกิดขึ้นตามกำหนดการเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่วาระเรื่องการยื่นศาลโลกให้ตัดสินกรณีพิพาทพื้นที่เขตแดนถูกนำเข้ามาบรรจุในภายหลัง เขาจึงเห็นว่าการตอบโต้ของฝั่งกัมพูชาไม่ใช่เกมที่ถูกตระเตรียมไว้
“มันไม่ใช่การวางแผนเอาไว้ว่าจะทำ หนึ่ง สอง สาม สี่ แต่หลายเรื่องเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าที่มันเกิดขึ้น” เขาบอก

ที่มาของภาพ : Getty Photography
วันที่ 4 มิ.ย. รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์ว่าจะนำพื้นที่มอมเบย, ปราสาทตาเมือนธม, ปราสาทตาเมือนโต๊ด และ ปราสาทตาควาย เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก ควบคู่ไปกับการประชุม JBC ซึ่งจะเกิดขึ้นวันที่ 14 มิ.ย. นี้ที่กรุงพนมเปญ แต่กัมพูชาจะไม่นำ 4 พื้นที่นี้เข้าหารือในการประชุมดังกล่าว แต่หวังว่าไทยจะร่วมมือผ่านกลไกศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ไทยไม่ได้ให้การยอมรับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีใหม่ นับตั้งแต่ปี 2503
ด้าน ผศ.อัครพงษ์ บอกกับ.ว่า ทางฝั่งกัมพูชาต้องการขึ้นศาลโลกเพราะเห็นว่าเคยชนะในคดีปราสาทเขาพระวิหารมาก่อนแล้ว และกัมพูชาเชื่อมั่นว่าหลักฐานที่ทางเขามีอยู่นั้นจะสร้างความได้เปรียบเมื่อขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
“ศาลโลกเป็นกลไกที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แม้มีข้อครหาว่ามีการเมืองระหว่างประเทศอยู่ แต่มันก็ยังเป็นที่พึ่งของหลาย ๆ ประเทศที่ไม่สามารถต่อกรรับมือกับประเทศมหาอำนาจได้”
เขายังบอกด้วยว่า กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ไทยแพ้บนเวทีระหว่างประเทศเพราะไม่ได้ศึกษาหลักฐานให้รอบด้าน และ “เชื่อมั่นในความคิดของเรามากเกินไปจนไม่สามารถ ‘ตั้งรับ' ได้” ดังนั้นไทยต้องพิจารณาให้ดีว่ากัมพูชาจะใช้หลักฐานอะไรบ้างในการอ้างสิทธิในพื้นที่ดังกล่าว และควรตรวจสอบกับกรมแผนที่ทหาร รวมถึงกรมสนธิสัญญาและกฎหมายว่าเป็นดังที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างจริงหรือไม่
3. จุดประสงค์ที่แท้จริงของสองพ่อลูกตระกูลฮุนคืออะไร ?
ในความเห็นของ รศ.ดร.ดุลยภาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่าสองพ่อลูกตระกุลฮุนมุ่งหวังให้รัฐบาลพนมเปญมีอำนาจรัฐเพิ่มขึ้น และการเอาชนะไทยไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะช่วยให้พวกเขาได้เปรียบทางการเมือง
“การได้ดินแดนเพิ่มและการเอาชนะไทยไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด จะทำให้พรรคประชาชนกัมพูชามีคะแนนนิยมพุ่งสูงขึ้นและก็ทำให้อำนาจรัฐกัมพูชาเติบใหญ่สยายปีก”
อาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์ผู้นี้วิเคราะห์ว่าสมเด็จฮุน เซน เป็นคนที่ “มักพริ้วไหวผสมบิดพลิ้วเสมอ” เพื่อตอบสนองต่อความจริงที่แปรผันตามสถานการณ์ มากกว่ายึดติดกับคำมั่นสัญญาหรือหลักการข้อตกลงใด ๆ
“โดยในห้วงที่ผ่านมาและล่าสุดนี้ ฮุน เซน ใช้ถ้อยคำที่ยั่วยุกดดันคนไทยอย่างหนักหน่วงหลายแง่มุม สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่พฤติกรรมของนักสร้างสันติภาพ แต่เป็นพฤติกรรมของนักฉวยโอกาสที่ไม่เห็นคุณค่าของสันติภาพในภูมิภาคอย่างแท้จริง” รศ.ดร.ดุลยภาค ระบุผ่านเฟซบุ๊กของตนเอง

ที่มาของภาพ : Getty Photography
ด้าน ผศ.ดร.ธิบดี คลี่ขยายภาพรวมของสังคมกัมพูชาในปัจจุบันไปทีละมิติ เพื่อดูว่าจุดใดบ้างจะเป็นแรงขับเคลื่อนทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของสองพ่อลูกตระกูลฮุน
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองกัมพูชาบอกว่า หลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เศรษฐกิจของกัมพูชาเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมีเสถียรภาพ หากดูจากตัวเลขจีดีพี (GDP) ที่เติบโตขึ้นทุกปี การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาคการส่งออกที่ไปได้ดี โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ยังคงขยายตัวอยู่ แม้อาจมีสะดุดลงบ้างจากนโยบายภาษีของทรัมป์
ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของกัมพูชายังเผชิญความท้าทายจากเม็ดเงินลงทุนและเงินกู้จากจีนที่ลดน้อยลง รวมถึงหนี้สินภาคครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง แต่เขามองว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ทำให้ผู้คนในกัมพูชายังรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังไปได้อยู่
“คนหนุ่มสาวยังรู้สึกทนไหว มองไปยังเห็นอนาคต” ผศ.ดร.ธิบดี บอกกับ.
เมื่อพิจารณามิติการเมืองภายในของกัมพูชา เขาเห็นว่าแม้ในคณะรัฐมนตรีของนายฮุน มาเนต จะเป็นคนหน้าใหม่เสียส่วนใหญ่ แต่ก็มาจากกลุ่ม-ก๊วน-บ้านใหญ่ในตระกูลการเมืองหน้าเดิม ๆ ที่คนรุ่นพ่อถอยหลังให้คนรุ่นลูกขึ้นมาบริหารแทน ส่งผลให้สมดุลอำนาจทางการเมืองของตระกูลฮุนยังไม่มีสัญญาณสั่นคลอน
“ตระกูลฮุนยังคงบริหารกลุ่มก๊วนต่าง ๆ ได้อย่างสมดุล หรือที่เขาเรียกกันว่ากินแบ่ง ไม่กินรวบ”
ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลฮุนกับกองทัพก็ยังไม่มีสัญญาณความขัดแย้งในขณะนี้ เนื่องจากผู้นำระดับสูงในกองทัพก็เป็นคนที่สมเด็จฮุน เซน ไว้ใจและเลือกสรรมาแล้ว ก่อนเปิดทางให้นายฮุน มาเนต ขึ้นมาเป็นผู้นำทางการเมืองเต็มตัว
“ผมไม่คิดว่ามันเป็นผลมาจากการเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาในประเทศของกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง หรือการทหาร และไม่น่าจะใช่เรื่องของการเรียกคะแนนนิยม” ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ บอกกับ.
รัฐบาลไทยกำลังเผชิญกับการถูกพิสูจน์ฝีมือ
ผศ.ดร.ธิบดี เห็นว่าเขตแดนไทย-กัมพูชา เป็นมรดกจากอาณานิคมจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับสยามเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว และปัญหาที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากความไม่ถูกต้องหรือความคลาดเคลื่อนของแผนที่ในสมัยนั้น ซึ่งมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้
เขาตั้งข้อสังเกตว่า หากบอกว่ามรดกชิ้นนี้เป็น “sะเบิดเวลา” เหตุใดมักเกิดความตึงเครียดกับเขตแดนด้านนี้บ่อยครั้ง ทั้งที่ชายแดนด้านอื่นของไทยก็เป็นมรดกอาณานิคมไม่ต่างกัน และบางส่วนสามารถปักปันเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว
“คำถามคือ ‘อะไร' ทำให้sะเบิดทำงานหรือไม่ทำงาน” ผศ.ดร.ธิบดี กล่าว “แสดงว่ามันมีศักยภาพที่จะsะเบิดได้ก็จริง แต่ก็หมายความว่ามันอาจจะอยู่ของมันไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเราคุยกันรู้เรื่องและปักเขตแดนกันได้”
ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ ยอมรับว่าความตึงเครียดระหว่างไทย-กัมพูชา ทำให้เกิดกระแสชาตินิยมเพิ่มขึ้นในทั้งสองฝั่ง และถูกฉวยใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในระยะสั้น และนั่นเป็นโจทย์หนึ่งที่แต่ละฝ่ายต้องจัดการไม่ให้เกิดการลุกลามบานปลายต่อไป
ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.ธิบดี ก็เห็นว่ารัฐบาลไทยกำลังถูกพิสูจน์ฝีมือในทุกจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การพิสูจน์ว่าเป็นรัฐบาลจริง ๆ ไหม”
“บางครั้งเหมือนเราไม่มีรัฐบาลที่คอยมาสื่อสารให้เราฟังว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราจะทำอย่างไรต่อไป แบบที่มันเป็นทางการ ทำให้เห็นความเป็นมืออาชีพในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น หากเทียบกับอีกฝั่งหนึ่งเราจะเห็นความเป็นมืออาชีพกว่ามาก ทั้งในเรื่องของรูปแบบและเนื้อหาแถลงการณ์ของที่ประชุมสองสภาก็ดี ในนามส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีก็ดี หรือในนามของรัฐบาลก็ดี” เขากล่าว
เขาเห็นบทบาทนำของแม่ทัพภาคที่ 2 มากกว่ารัฐบาล ซึ่งทำให้รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้นำพาองคาพยพทั้งหมดที่มีอยู่ออกมาสื่อสารกับประชาชน คู่กรณี รวมถึงประชาคมโลก ได้อย่างทันท่วงที และสิ่งที่ทำไปแล้วก็มีความ “ขาด ๆ เกิน ๆ” จนอดสงสัยไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในคณะทำงานของรัฐบาล

ที่มาของภาพ : กองทัพภาคที่ 2
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2568 เน้นย้ำถึงความสำคัญในการปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพของดินแดนไทย โดยยึดหลักการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยบอกว่า รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้หารือกันและตกลงที่จะใช้กลไกทวิภาคี เช่น JBC ในการแก้ไขปัญหา
ขณะที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ (5 มิ.ย.) ขอให้ทุกฝ่ายรอข้อสรุปจากการประชุม JBC ที่จะถึงนี้ ซึ่งหากการเจรจากลไก JBC ไม่สำเร็จ การปิดด่านจะเป็นมาตรการต่อไปของไทย
ขณะเดียวกัน นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า นายภูมิธรรมเรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ด่วน วันพรุ่งนี้ (6 มิ.ย.) ในเวลา 10.00 น. เพื่อสรุปมาตรการตอบโต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยมีรายงานข่าวว่าทาง สมช. จะตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาดูแลเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ
ล่าสุด เย็นวันนี้ ผู้สื่อข่าวจากทำเนียบรัฐบาลรายงานว่านายภูมิธรรม พร้อมด้วย พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม, พล.อ.ธงชัย รอดย้อย เสนาธิการทหารบก และคณะ บินด่วนไปยังกัมพูชาเพื่อหารือกับ พล.อ.เตีย เซยฮา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมของกัมพูชา รวมถึง พล.อ.เอต สารัธ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเสนาธิการร่วม, พล.อ.มาว โซพาน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกกัมพูชา และคณะ
จุดประสงค์การพบกันครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหารือแนวทางแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม และการปรับกำลังในพื้นที่ให้เหมือนในปี 2567 โดยเน้นว่าทั้งสองประเทศยังให้ความสำคัญในกลไกระดับทวิภาคี
การเดินทางครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากทางกัมพูชาออกแถลงการณ์วานนี้ (4 มิ.ย.) ว่าได้ตัดสินใจนำ 4 พื้นที่ข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลโลกแล้ว
ที่มา BBC.co.uk