
ปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา วันที่ 3 ลาม จ.ตราด ทักษิณปฏิเสธต้นเหตุจากความขัดแย้ง 2 ตระกูล

ที่มาของภาพ : FACEBOOK/ROYAL THAI NAVY
เข้าสู่วันที่สามของสถานการณ์การสู้รบที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เกิดเหตุปะทะในพื้นที่ใหม่ที่ จ.ตราด ตั้งแต่ช่วงรุ่งสาง ด้านนายทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกหลังเกิดเหตุปะทะ โดยคาดว่าสถานการณ์จะไม่ยืดเยื้อ พร้อมปฏิเสธว่าเกิดจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ตระกูล
เหตุปะทะในวันนี้ (26 ก.ค.) เกิดขึ้นที่ชายแดนด้านตะวันออกของประเทศที่บ้านชำราก อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยเริ่มต้นเมื่อเวลาประมาณ 05.10 น. ตามการเปิดเผยของสำนักโฆษกกระทรวงกลาโหม โดยระบุว่า “กัมพูชาเริ่มโจมตีในเขตชายแดนไทย” จากนั้นทหารนาวิกโยธินสังกัดกองทัพเรือ (ทร.) เข้าตอบโต้ ก่อนผลักดันและทำลายพื้นที่ทหารกัมพูชาที่วางกำลังรุกล้ำเขตแดนไทย 3 จุด จนกัมพูชาต้องถอยร่นกลับในเวลา 05.40 น.
ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีเสียงดังคล้ายปืนใหญ่และsะเบิดหลายระลอก และมีแสงไฟสว่างวาบบริเวณเขาบรรทัด บ้านชำราก
พระศักดา สุนทโร พระนักเทศน์ชื่อดัง ซึ่งจำวัดอยู่ที่วัดธรรมพิมุก หรือวัดไร่ป่า ต.เนินทราย อ.เมืองตราด โพสต์แฟนเพจเฟซบุ๊กซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 4.1 ล้านคนว่า “ตี 5 เริ่มยิvแล้ว เสียงปืนใหญ่หลายนัด เห็นดวงไฟสว่างลอยบนฟ้ากลางภูเขา เรากำลังวิ่งหนี แต่ทหารวิ่งสวนทางกับเรา เขากำลังปกป้องพี่น้องคนไทยจริง ๆ ยอมใจทหาร” โดยมีผู้เข้ามาให้กำลังใจทหารและพระศักดามากมาย
ค่ำวานนี้ (25 ก.ค.) มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่เพิ่มเติม ได้แก่ จ.ตราด (อ.เขาสมิง) จ.จันทบุรี 7 อ. (อ.เมืองจันทบุรี, อ.ท่าใหม่, อ.มะขาม, อ.แหลมสิงห์, อ.แก่งหางแมว, อ.นายายอาม, อ.เขาคิชฌกูฏ) คำสั่งดังกล่าวลงนามโดยผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด และให้มีผลทันที
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
of ได้รับความนิยมสูงสุด
หลังจากนั้น ฝ่ายปกครองได้สั่งอพยพประชาชนในพื้นที่ 4 ต. ของ อ.เมืองตราด ได้แก่ ท่ากุ่ม ชำราก ตะกาง และแหลมกลัด ไปยังศูนย์พักพิง 10 แห่งในพื้นที่ปลอดภัย

ที่มาของภาพ : FACEBOOK/ทีมโฆษกกองทัพบก
วันเดียวกัน (26 ก.ค.) กองกำลังบูรพา กองทัพภาคที่ 1 เข้าดำเนินการใช้กำลังทหารเพื่อผลักดันและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของฝ่ายกัมพูชาออกจาก 4 พื้นที่ของ จ.สระแก้ว ได้แก่ อ.ตาพระยา 2 พื้นที่ และ อ.โคกสูง 2 พื้นที่ โดยระบุว่า ฝ่ายกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตแดนของประเทศไทย อันเป็นการละเมิดบันทึกความเข้าใจ MOU ปี 2543 (MOU 43) จากนั้นได้วางกำลังตรึงพื้นที่ตลอดแนวชายแดน
ขณะเดียวกัน ฝ่ายปกครองได้อพยพประชาชนชาวสระแก้วไปศูนย์พักพิงชั่วคราวราว 4 พันคน
ทภ. 2 เตือนประชาชนระวังขีปนาวุธ
ด้านกองทัพภาคที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบชายแดนภาคอีสาน แจ้งเตือนประชาชนผ่านแฟนเฟจของกองทัพเมื่อเวลา 10.30 น. ให้ระวัง “การถูกโจมตีที่ไม่พึงประสงค์” โดยเผยแพร่ภาพขีปนาวุธ PHL-03 และให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า ขีปนาวุธนี้มีความสามารถในการยิvหลายลูกพร้อมกันในระยะทางไกลถึง 130 ก.ม. จากตำแหน่งยิv สามารถทำลายที่หมายทางยุทธศาสตร์ และที่ตั้งกำลังทางทหาร ซึ่งกองทัพได้เตรียมการรองรับสถานการณ์ในการปฏิบัติตามแผนพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง และมีเครื่องมือในการทำลายขีปนาวุธชนิดนี้ แต่เพื่อไม่ประมาทในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือน ขอให้ระมัดระวังการถูกโจมตีที่ไม่พึงประสงค์นี้ ขอให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก และติดตามการแจ้งเตือนจากทางการ
จากนั้นอีก 2 ชม. กองทัพภาคที่ 2 แจ้งเตือนให้ประชาชนระวัง “ฝ่ายกัมพูชาเตรียมการใช้กำลังทางทหารและอาวุธวิถีโค้งเป็นจำนวนมาก” หลังมีการเผยแพร่ภาพผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่เป็นทางการของกองทัพ พร้อมข้อความว่า “ธงชาติไทยปักบนยอดภูมะเขือเรียบร้อย” เมื่อเวลา 09.20 น.
สำหรับภูมะเขือตั้งอยู่ใน อ.กัณทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวปราสาทเขาพระวิหาร และอยู่ในพื้นที่พิพาท 4.6 ตำรวจกม. ที่ไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิ์ และเป็นบริเวณที่ฝ่ายทหารกัมพูชาวางกำลังไว้อย่างหนาแน่น
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 สรุปสถานการณ์การสู้รบตามแนวชายแดน (ณ เวลา 12.00 น.) พบว่า ยังมีการปะทะอย่างต่อเนื่อง และมีการเตรียมพร้อมและเพิ่มกำลังของทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะที่พื้นที่ช่องบก, ช่องอานม้า, ซำแต, ช่องตาเฒ่า ภูมะเขือ, ปราสาทตาควาย และกลุ่มปราสาทตาเมือนธม
กองทัพภาคที่ 2 ระบุต่อไปว่า ตลอดช่วงบ่ายของวันที่ 25 ก.ค. 68 กำลังของกัมพูชาระดมยิvด้วยปืนใหญ่, เครื่องยิvลูกsะเบิด (ค.), และ BM-21 อย่างหนัก โดยมีความพยายามเข้ารุกรานในพื้นที่สำคัญ เช่น พื้นที่ซำแต, ภูผี, ช่องตาเฒ่า, และปราสาทตาเมือนธม เจ้าหน้าที่ทหารจึงทำการตอบโต้อย่างเท่าเทียมตามลำดับด้วยการใช้อาวุธประจำกาย, การยิvปืนใหญ่, เครื่องยิvลูกsะเบิด และการใช้กำลังทางอากาศยิvทำลายเป้าหมายที่ช่องอานม้า, ภูผี, ช่องตาเฒ่า, ช่องบันไดหัก
ส่วนที่ภูมะเขือ ได้ใช้กำลังเข้าผลักดัน ปัจจุบันสามารถยึดควบคุมพื้นที่ตามแนวเส้นปฏิบัติการ 1 ต่อ 50,000 ของไทยไว้ได้ทั้งหมด
พื้นที่ปราสาทตาควาย ยังคงมีความพยายามผลักดันอยู่ แต่มีข้อจำกัดเรื่องการใช้กำลังใกล้โบราณสถาน
สำหรับพื้นที่ที่มีการปะทะหนักมี 6 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ภูมะเขือ 6 ครั้ง, พื้นที่ปราสาทตาเมือนธม 4 ครั้ง, พื้นที่ช่องบก 3 ครั้ง, พื้นที่ช่องอานม้า 3 ครั้ง, พื้นที่ซำแต 2 ครั้ง และพื้นที่ช่องตาเฒ่า 3 ครั้ง
พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่ อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ อ.กาบเชิง และ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ซึ่งกองทัพภาค 2 “คาดว่ากำลังของฝ่ายกัมพูชาจะใช้การยิvปืนใหญ่ เพื่อมุ่งทำลายชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือน เพื่อกดดันทางการเมืองให้รัฐบาลไทยตัดสินใจยุติการต่อสู้ในสภาพเสียเปรียบ”
ส่วนที่ปรากฏข่าวว่าการสู้รบระหว่างไทย-กัมพูชา แล้วมีกระสุนไปตกยังฝั่ง สปป.ลาว ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนลาวนั้น พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวยืนยันว่า “ไม่ใช่กระสุนจากฝั่งทหารไทยอย่างแน่นอน” มั่นใจทหารไทยสามารถควบคุมการใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม ได้สัดส่วน อยู่ในกรอบกติกาสากลอย่างเคร่งครัด ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาได้ใช้อาวุธสนับสนุนระยะไกลกระทำต่อเป้าหมายพลเรือนจำนวนมากตลอด 2 วันที่ผ่านมา ในลักษณะเป็นไปโดยเจตนา และจงใจที่จะใช้อาวุธไปสู่เป้าหมายอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร เช่น การใช้อาวุธต่อโบราณสถาณเพื่อมุ่งหวังให้สังคมโลกเข้าใจผิดต่อฝ่ายไทยอย่างมีนัยสำคัญ
“การกระทำในลักษณะเช่นนี้ ไม่ใช่การกระทำของสุภาพบุรุษชายชาติทหาร เชื่อว่าจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือกัมพูชาในสายตาของสังคมโลกอย่างแน่นอน” โฆษก ทบ. กล่าว
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
นอกจากจุดปะทะใหม่ที่เกิดขึ้นในวันนี้ทางชายแดนภาคตะวันออก พื้นที่พลเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบจากอาวุธหนักของฝ่ายกัมพูชายังจำกัดวงอยู่ใน 4 จังหวัด 5 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ (อ.กันทรลักษ์), จ.สุรินทร์ (อ.กาบเชิง, อ.พนมดงรัก), จ.บุรีรัมย์ (อ.บ้านกรวด) และ จ.อุบลราชธานี (อ.น้ำยืน)
ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดน ทำให้ทางการต้องอพยพประชาชนกว่า 1.3 แสนคนไปอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ตามข้อมูลของ พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ โฆษกศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านความมั่นคง ณ 26 ก.ค.
ขณะที่โรงพยาบาลแนวชายแดนอย่างน้อย 4 แห่งถูกสั่งปิดลงชั่วคราว จาก รพ. 11 แห่งที่อยู่ในเขตรัศมีการโจมตี หลังจาก รพ.พนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ตกเป็นเป้าโจมตีตั้งแต่วันแรก (24 ก.ค.)
กระทรวงศึกษาธิการสั่งปิดโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงชั่วคราว 751 โรง
ไทยมีพื้นที่ติดกับชายแดนกัมพูชา 7 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX
ความเสียหาย
การสู้รบตามแนวชายแดน ทำให้พลเรือนไทยเสียชีวิตอย่าง 13 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 31 ราย ตามข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) กระทรวงสาธารณสุข
ส่วนทหารไทยเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รวม 7 นาย ตามคำยืนยันล่าสุดของ พ.อ.ริชฌา สุขสุวานนท์ รองโฆษกกองทัพบก แบ่งเป็น ชายแดน อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 1 นาย, บริเวณเนิน 333 1 นาย, พื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ 1 นาย, ฐานยอดภูมะเขือ อ.กัณทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 1 นาย, ปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ 3 นาย
ทั้งนี้ ทบ. ได้ออกแถลงการณ์สดุดีความกล้าหาญและเสียสละของทหารทุกนาย พร้อมยืนยันว่าจะดูแลสิทธิและสวัสดิการของครอบครัวและทายาทอย่างเต็มที่
กัมพูชาเผยทหาร-ประชาชนเสียชีวิต 13 ราย
สำนักข่าว “ขแมร์ไทม์ส” (Khmer Events) รายงานคำกล่าวของ พล.ท.หญิงมาลี โสเจียตา รมช.กลาโหม และโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ระบุว่า มีทหารกัมพูชาเสียชีวิต 5 นาย และบาดเจ็บ 21 นาย ส่วนพลเรือนเสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บ 50 คน และทำให้ชาวกัมพูชาประมาณ 35,800 คนใน จ.อุดรมีชัย พระวิหาร โพธิสัตว์ และบันทายมีชัยต้องอพยพออกจากบ้านเรือนไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย
โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชากล่าวอ้างว่า กองกำลังไทยไม่เพียงแต่โจมตีฐานทัพของกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังโจมตีสถานที่ต่าง ๆ อาทิ โรงเรียน เจดีย์ ปั๊มน้ำมัน และย่านที่อยู่อาศัย โดยเกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธหนัก เช่น sะเบิดลูกปราย และเครื่องบินขับไล่ F-16

ที่มาของภาพ : Press OCM
ทักษิณระบุ ฮุน เซน “นั่งอยู่กับโซเชียลทั้งวันเป็นซอมบี้”
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเป็นครั้งแรกหลังเกิดสถานการณ์สู้รบระหว่างทหารไทย-กัมพูชา โดยยอมรับว่ามีหลายประเทศอยากเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย แต่ถือว่าเป็นเรื่องของ 2 ประเทศต้องคุยกัน หากคุยกันไม่รู้เรื่อง ใครมาไกล่เกลี่ยก็เหมือนเดิม
วานนี้ (25 ก.ค.) นายทักษิณสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเอกซ์ (x) ถึงกรณีหลายประเทศเป็นห่วงสถานการณ์สู้รบ เสนอตัวมาช่วยไกล่ พร้อมระบุ “อยากจะขอเวลาหน่อย เพราะคงต้องปล่อยให้ทหารไทยทำหน้าที่สั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุน เซน ก่อน” จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
เขาจึงขอชี้แจงโดยบอกว่า “วันนี้คนไม่เข้าใจ เพราะถ้าเข้าใจภาพรวมจะรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากเขาบ้าอยู่คนเดียว นั่งอยู่กับโซเชียลทั้งวันเป็นซอมบี้ แล้วก็หงุดหงิดมาหาเรื่อง ทั้งที่เราไม่มีอะไรเลย ผมก็ยังคิดไม่ถึงว่าอยู่ ๆ เกิดเหตุการณ์นี้ได้ มันไม่ใช่เป็นเรื่องของความขัดแย้งส่วนตัว ไม่มีเลย ไม่ได้เกี่ยวเลย ผมไม่เคยมีความขัดแย้ง เขาเป็นคนที่เริ่มต้นด้วยความระแวง และสร้างกระแสชาตินิยมภายในประเทศให้มากขึ้น”
ผู้สื่อข่าวถามว่า อยากฝากอะไรถึงคนไทยที่มองว่าการสู้รบที่เกิดขึ้นเกิดจากปัญหาของคน 2 ตระกูล นายทักษิณปฏิเสธว่าไม่จริง ไม่ได้เป็นความขัดแย้งของ 2 ตระกูลเลย ไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะเขาไม่พอใจประเทศเรา
จากนั้นนายทักษิณได้กล่าวย้ำถึงต้นเหตุ ซึ่งเขาเคยเปิดประเด็นนี้ไว้แล้วในเวทีดินเนอร์ทอล์กกับ 3 บก. ของเนชั่นทีวี โดยเล่าว่า วันศุกร์ (13 มิ.ย.) กัมพูชาเคลื่อนกำลังมาที่ชายแดนไทย 12,000 คน เลยโมโห โทรไปต่อว่าทำไมทำอย่างนี้ ในเมื่อลูกเราเป็นผู้นำ 2 ประเทศ จะทำสงครามกันหรือ เขาถามว่าจะทำอย่างไร ตนจึงบอกว่าต้องเปิดการเจรจา คุยกันแบบเพื่อนบ้าน ในที่สุดเขาก็เปิดให้มีการพูดคุยกันตั้งแต่ระดับชายแดน จนถึงคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ (15 มิ.ย.) ที่เขาถอนกำลังโดยไม่บอกกล่าว อยู่ ๆ ก็ถอนเลย ทีนี้ทหารไทยประชุมกันเรียบร้อยแล้วว่าจะปิดด่าน เป็นมาตรการไม่ได้รุนแรง แต่บังเอิญว่าสั่งการเมื่อวันศุกร์ พอวันอาทิตย์เขาถอนกำลัง เพราะฉะนั้นคำสั่งออกไปแล้ว วันจันทร์ก็เลยมีการปิดด่าน เขาก็เลยมีความรู้สึกว่าทำไมเขาถอนกำลังแล้วจึงยังปิดด่าน จึงโกรธและพูดจาไม่ดี
“นายกฯ เราก็เลยใช้คำว่า ไม่โปรเฟสชันแนล (ไม่เป็นมืออาชีพ) เขาก็เลยวางแผนอัดเทป ตรงนั้นแหละคือปัญหา ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเราไปสร้างปัญหา แต่เป็นเพราะว่าเขาระแวง เขาต้องการทำในสิ่งที่วางแผนไว้ เพราะเวลาปิดด่านไปขัดผลประโยชน์ เรื่องคอลเซ็นเตอร์ถือเป็นผลประโยชน์ที่คนไทยต้องปกป้อง จำได้หรือไม่ผมพูดเรื่องตึก 25 ชั้น ตอนหลังมาจึงรู้ว่าคนเหล่านั้นคือคนใกล้ชิดกับเขา ซึ่งก็โดนออกหมายจับที่ประเทศไทย” นายทักษิณกล่าว
อดีตนายกฯ คาดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องอารมณ์ส่วนตัว เชื่อว่าทั้งประเทศเขาก็หงุดหงิดกัน ไม่มีใครพูดกับเขาได้ แต่ของไทยใช้ทหาร ทำงานแบบมือ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้มีการแทรกแซงทหาร ปล่อยให้ทำงานในแนวที่คิดว่าเป็นยุทธการที่ถูกต้อง รัฐบาลก็มีหน้าที่สนับสนุนและไม่ได้หยุดยั้งอะไร “ขนาดมีคนมาขอให้หยุดยิv เรายังถือว่ายุทธการทหารของเรายังไม่เสร็จสิ้น จะไปเบรคทหารอย่างไร ก็ให้เขาทำไปให้เสร็จสิ้น”
นายทักษิณยอมรับว่ามีหลายประเทศขอให้หยุดยิv ส่วนจีนได้ร้องขอจากทางฝ่ายตรงข้ามมากกว่าใหเมาคุยกับไทย แต่อะไรควรหรือไม่ควรก็ไปตกลงกันที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ใช่ที่ตัวเขา พร้อมปฏิเสธข่าวว่าไม่ได้เป็นผู้ล็อบบี้ให้เกิดการเจรจาหยุดยิvเพื่อสันติภาพ วันนี้จะทำอะไรต้องถามยุทธการทหารและประชุม สมช.

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX
ส่วนกรณีที่กัมพูชาโจมตีพื้นที่พลเรือน นายทักษิณระบุว่า “ใช้ไม่ได้” ไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน ถูกประณามจากทั่วโลก ของไทยขนาดใช้เครื่องบิน F-16 ยังระวัง ใช้เฉพาะพื้นที่เป้าหมายทางทหารเท่านั้น
เขาประเมินด้วยว่า สถานการณ์ “ไม่น่าจะยืดเยื้อ” บริเวณจุดปะทะเป็นพื้นที่ที่เราเคยครอบครอง และเขารุกคืบมา ก็เลยถือโอกาสจะเอาพื้นที่ที่เราเคยยึดครองอยู่คืนมา ทหารของเราจึงมีการขยายแนว “ถึงขนาดนี้แล้ว พื้นที่ที่เคยเป็นข้อพิพาท ถูกครอบครองไป ก็ต้องเอาคืนมา”
อดีตนายกฯ ยืนยันว่า ศักยภาพของกองทัพไทยไม่น้อยหน้าใคร แต่มีการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน อย่างวันพรุ่งนี้ (27 ก.ค.) จะมีโดรน
“ผมสั่งโดรนมา ออกเงินส่วนตัวไป และโดรนสามารถลาดตระเวนเข้าไปมองที่พื้นเห็นหมดว่ามีกับsะเบิดอยู่ตรงจุดใดบ้าง โดยจะพล็อตแผนที่กับsะเบิดซึ่งคาดว่าน่าจะส่งมาในช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สุด และผู้เชี่ยวชาญจะมาช่วยกันดูว่าเราจะเห็น ต้องป้องกันชีวิตทหารของเรา เพราะทหารของเราขาหักไปแล้ว 2 นาย” นายทักษิณกล่าว
วันนี้ (26 ก.ค.) บิดาของนายกฯ ยังใช้โอกาสเนื่องในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 76 เดินทางลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อให้กำลังใจประชาชนที่ศูนย์อพยพและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวชายแดนด้วย
ต่อมานายทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งภายหลังเยี่ยมประชาชนชาวอุบลฯ โดยบอกว่าต้องการมาให้กำลังใจ คนไทยต้องมีน้ำใจต่อกัน ต้องสนับสนุนเรื่องการอยู่การกิน “อีกไม่นาน อีกไม่กี่วันคงได้กลับบ้านกันแล้ว” และยังเปิดเผยด้วยว่า ได้คุยกับทางทหารแล้วบอกว่าให้เดินตามยุทธการเลย เมื่อจบยุทธการแล้วอยากพูดคุย ค่อยพูดคุย แต่ยังไม่จบยุทธการก็ให้ทำให้จบก่อน
อดีตนายกฯ มองว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) คงไม่แทรกแซงอะไร แต่คงอยากให้เหตุการณ์นี้ยุติโดยเร็ว และย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องความขัดแย้ง
ที่มา BBC.co.uk