
สำรวจทางเลือกในการยุติข้อพิพาทไทย-กัมพูชา หากข้อเสนอให้หยุดยิvของทรัมป์ไม่ได้ผล

ที่มาของภาพ : Getty Photos
Article Data
-
- Creator, ปณิศา เอมโอชา
- Role, ผู้สื่อข่าว.
ท่ามกลางการปะทะและความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาจนนำไปสู่การสูญเสียของทั้งสองฝ่าย องค์กรระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งอาสาเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย รวมถึงชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์โทรหานายกรัฐมนตรีกัมพูชา และรักษาการนายกรัฐมนตรีของไทยโดยตรง เพื่อพยายามโน้มน้าวและต่อรองให้เกิดการหยุดยิv
อย่างไรก็ตาม ช่วงเช้าวันนี้ (27 ก.ค.) ยังพบว่าการหยุดยิvยังไม่เกิดขึ้นจริง และทั้งสองประเทศยังคงย้ำจุดยืนเดิมของตนเอง แม้ทรัมป์จะได้ยื่อข้อเสนอให้ทั้งไทยและกัมพูชาหยุดยิvโดยทันที
แม้ทั้งไทยและกัมพูชาจะมีกลไกทวิภาคีหลายระดับ ทั้งส่วนที่ดูแลเรื่องข้อกฎหมายสำหรับการจัดทำหลักเขตแดน หรือความร่วมมือทางการทหารระดับชายแดนทั่วไปหรือชายแดนส่วนภูมิภาค ทว่านับตั้งแต่เหตุปะทะที่ช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 28 พ.ค. กลไกทวิภาคีเหล่านี้กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ที่ผ่านมา ไทยย้ำจุดยืนต้องการการเจรจาทวิภาคีระหว่างสองประเทศ แต่กัมพูชาประสงค์ที่จะใช้ช่องทางที่ต่างออกไป โดยมุ่งใช้เวทีระดับนานาชาติ ทั้งการยื่นหนังสือถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ช่วยตัดสินกรณี 4 พื้นที่พิพาท หรือการยื่นจดหมายต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) กรณีที่มีการใช้กำลังทางการทหารเข้าสู้รบกัน
.พูดคุยกับนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในประเด็นไทย-กัมพูชา และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง 5 คน ทั้งจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา สวีเดน และออสเตรเลีย มาร่วมให้ความเห็นต่อว่าหน่วยงานระหว่างประเทศและชาติมหาอำนาจต่าง ๆ จะเป็นทางออกสู่การเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งครั้งนี้ได้หรือไม่
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
ได้รับความนิยมสูงสุด
“ยูเอ็น” จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้ไทย-กัมพูชา ได้ไหม ?
หลังการปะทะระหว่างไทย-กัมพูชาในวันที่ 24 ก.ค. นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้ส่งหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council – UNSC) เพื่อขอให้ประชุมฉุกเฉินเพื่อพิจารณากรณีการปะทะกันระหว่างไทย-กัมพูชา
ต่อมาวันที่ 25 ก.ค. UNSC จัดการประชุมแบบปิด ภายใต้ระเบียบวาระ เรื่อง ภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
ฝั่งกัมพูชาเรียกร้องให้มีการหยุดยิv “โดยทันที” และ “อย่างไม่มีเงื่อนไข” หลังตัวเลขผู้เสียชีวิตจากทั้งสองประเทศทะลุ 30 ราย นายเชีย เกียว เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า กัมพูชาต้องการ “การแก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธี”
ฝั่งไทย นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก กล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมา ไทยพยายามใช้ช่องทางและกลไกทวิภาคีต่าง ๆ ที่มีเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง “แต่เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่กัมพูชาจงใจหลีกเลี่ยงการเจรจา แต่พยายามนำเรื่องเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตนเอง”

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ดร.เราะห์มาน ยาค็อบ นักวิจัยประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันโลวี (Lowy Institute) ประเทศออสเตรเลีย บอกกับ.ว่า ที่กัมพูชาเลือกนำเหตุการณ์ครั้งนี้ไปยัง UNSC เป็นเพราะสำหรับประเทศเล็ก ๆ หรือประเทศมหาอำนาจระดับกลางอย่างไทย “หาก UNSC ออกแถลงการณ์ใด ๆ ออกมา ก็จะมีนัยสำคัญเชิงสัญลักษณ์ไม่น้อย และสร้างแรงกดดันระดับหนึ่ง”
อย่างไรก็ดี ศ.ดร.แซคคารี เอ็ม. อาบูซา จากวิทยาลัยสงครามแห่งชาติ (National War College) กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้สัมภาษณ์กับ.ก่อนที่การประชุมแบบปิดของ UNSC จะเริ่มต้นขึ้น ระบุว่าสถานการณ์ระหว่างไทยและกัมพูชาจะไม่กลายเป็นประเด็นสำคัญของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เพราะสถานการณ์ทั่วโลกกำลัง “ถูกกลืนกินด้วยความขัดแย้งขนาดใหญ่หลายจุด”
“เหตุขัดแย้งนี้ถือว่าเล็กและอยู่ไกลเกินกว่าจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของพวกเขา” ศ.ดร.อาบูซา กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. เลขาธิการสหประชาชาติได้ออกมาเรียกร้องให้ “ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุด” ท่ามกลางการปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ทวีความรุนแรงขึ้น
สเตฟานี เทรมเบลย์ โฆษกสหประชาชาติ กล่าวในการแถลงข่าวประจำวัน ณ นครนิวยอร์ก ว่าองค์การสหประชาชาติพร้อมให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรมหากได้รับการร้องขอ
สำหรับการประชุม UNSC แบบปิดครั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้มีมติหรือออกเอกสารใด ๆ ออกมา
ดร.ยาค็อบ ยังเสริมด้วยว่า ในกรณีที่มีแถลงการณ์ออกมา “ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดเช่นนี้… ผมไม่แน่ใจว่าน้ำหนักของแถลงการณ์จากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะช่วยลดความตึงเครียดได้มากน้อยเพียงใด”
ท้ายสุดสำหรับ ดร.แอสตริด โนเรน-นิลส์สัน อาจารย์อาวุโส และผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน มองว่าการเคลื่อนไหวของกัมพูชาครั้งนี้สอดคล้องกับแนวนโยบายของประเทศและนับว่า “ฉลาด” เพราะอย่างน้อยที่สุดก็เป็นการกระตุ้นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) หรืออาเซียน ให้แสดงบทบาทเชิงรุกมากขึ้น
บทบาทของอาเซียนอยู่ตรงไหน ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
- ผ่านกลไกทางการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ คาร์ไลล์ เอ. เธเยอร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ณ สถาบันกลาโหมออสเตรเลีย บอกกับ.ว่า ณ ปัจจุบัน ความขัดแย้งบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยังไม่ถึงขั้นเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ แต่เป็นปัญหาระดับภูมิภาคที่ควรใช้อาเซียนเป็นเครื่องมือจัดการจึงจะเหมาะสมที่สุด ส่วนมิติใด ๆ ที่อาเซียนยังขาดทรัพยากรหรือขีดความสามารถ ก็สามารถร้องขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติได้
ศ.กิตติคุณ เธเยอร์ อธิบายว่า ความขัดแย้งบริเวณชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ถือเป็นการละเมิด “สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ Treaty of Amity and Cooperation – TAC) ซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันแล้ว
มาตรา 2 ของ TAC ระบุว่าภาคีจะต้องยึดหลักการพื้นฐาน เช่น การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี และการละทิ้งการข่มขู่หรือการใช้กำลัง ขณะที่มาตรา 10 ยังเน้นว่า แต่ละภาคี “จะต้องไม่เข้าร่วมในกิจกรรมใด ๆ ไม่ว่ารูปแบบใด ซึ่งอาจเป็นภัยต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ อธิปไตย หรือบูรณภาพแห่งดินแดนของภาคีอื่น”
ศ.กิตติคุณ เธเยอร์ เสนอว่าทั้งสองประเทศอาจเจรจาผ่านอาเซียนได้ เนื่องจาก TAC ได้จัดตั้งคณะอัครมนตรี (High Council) ที่สามารถเสนอ “ความช่วยเหลือในรูปแบบการไกล่เกลี่ย การไต่สวน หรือการประนีประนอม” แต่การดำเนินการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายยินยอมร่วมกัน
รศ.ดร.พฤดี หงุ่ยตระกูล สำนักงานวิชาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวกับ.ว่า จริงอยู่ที่อาเซียนมีกลไกผ่าน TAC แต่ก็ไม่เคยมีการใช้งานจริง แม้แต่กับกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาปี 2554 กรณีปราสาทเขาพระวิหาร อินโดนีเซียซึ่งในขณะนั้นนั่งเป็นประธานอาเซียนก็ไม่ได้ใช้กลไกดังกล่าวเช่นเดียวกัน
เธอเสริมว่า เมื่อมองในมิติของตัวกลางในการไกล่เกลี่ย สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้น สุดท้ายก็ควรต้องใช้กลไกของอาเซียน เนื่องจากการมองข้ามอาเซียนเพื่อไปใช้กลไกสากลอื่น ๆ สุดท้ายจะเป็นการ “ทำให้อาเซียนดูแย่” ทั้งๆ ที่ ทุกประเทศต้องพึ่งอาเซียนในการใช้อาเซียนเป็นเวทีที่จะไปเจรจาต่อรองระดับนานาชาติ
“การที่คุณเมินอาเซียน มองข้ามอาเซียนขึ้นไปในกรณีแบบนี้ มันทำให้อาเซียนถูกดิสเครดิต ทำให้อาเซียนดูไม่มีประสิทธิภาพ ทำอะไรไม่ได้ ตั้งแต่เรื่องของพม่าแล้ว ยังมีประเด็นนี้อีก” รศ.ดร.พฤดี กล่าว
รศ.ดร.พฤดี กล่าวเสริมด้วยว่าอาเซียนยังคงมีช่องทางทางการทูตอื่น ๆ สำหรับการเจรจา แต่นั่นขึ้นอยู่กับ “ความเก่งของประธานว่าทำได้ดีขนาดไหน”
- ความสามารถของประธาน

ที่มาของภาพ : Getty Photos

ที่มาของภาพ : Anwar Ibrahim
ปัจจุบัน นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียนั่งเป็นประธานอาเซียน โดยที่ผ่านมาเขาได้ยกหูเจรจากับผู้นำทั้งไทยและกัมพูชาแล้วสองครั้ง
ครั้งแรก คือเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. โดยในฐานะประธานอาเซียน เขาเรียกร้องให้ทั้งไทยและกัมพูชาใช้ความอดทนอดกลั้นในการดำเนินมาตรการเพื่อลดความตึงเครียดและหาทางออกอย่างสันติและครอบคลุม
ครั้งที่สอง คือเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ซึ่งเขาระบุว่าตนเองได้คุยกับ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรีไทย เพื่อแสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งของมาเลเซียต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นบริเวณพรมแดนของทั้งสองประเทศ
เขาระบุว่าในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2025 เขาได้เรียกร้องโดยตรงต่อผู้นำทั้งสองฝ่ายให้มีการหยุดยิvโดยทันที เพื่อยุติปฏิบัติการสู้รบ และเปิดพื้นที่สำหรับการเจรจาอย่างสันติและการแก้ไขปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต
“ผมขอต้อนรับสัญญาณเชิงบวกและความตั้งใจของทั้งกรุงเทพฯ และกรุงพนมเปญ ที่พร้อมจะพิจารณาทางออกในแนวทางนี้ มาเลเซียพร้อมให้ความช่วยเหลือและเป็นผู้ประสานงานในกระบวนการนี้ ภายใต้จิตวิญญาณแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียน และความรับผิดชอบร่วมกัน”
อย่างไรก็ดี แม้ประธานอาเซียนจะบอกว่ามี “สัญญาณเชิงบวก” แต่ในช่วงเช้าของวันที่ 25 ก.ค. การปะทะก็ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดแนวชายแดนสองทั้งประเทศ
ในวันที่ 25 ก.ค. กระทรวงการต่างประเทศของไทยโพสต์ข้อความขอบคุณนายกรัฐมนตรีมาเลเซียบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์สำหรับข้อเสนอการหยุดยิv ซึ่งไทยเห็นด้วยในหลักการและพร้อมพิจารณา อย่างไรก็ดี ประเทศไทยระบุว่าที่ยังไม่สามารถหยุดยิvได้เป็นเพราะฝ่ายกัมพูชายังคงโจมตีไทยอย่างต่อเนื่อง
ด้านฮุน มาเนต โพสต์ข้อความในวันเดียวกันชี้แจงว่ากัมพูชาเห็นด้วยกับการหยุดยิvเช่นกัน แต่กล่าวอ้างว่าเป็นเพราะภายหลังจากการตกลงของทั้งสามฝ่ายคือ ไทย กัมพูชา และนายอันวาร์ อิบราฮิม ไทยกลับเป็นฝ่ายเปลี่ยนจุดยืน
ดร.โนเรน-นิลส์สัน ชี้ว่า คำเรียกร้องของอันวาร์นั้น “ไร้น้ำหนัก” พอสมควร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่กัมพูชาพยายามหันไปหาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี เธอชี้ว่า อาเซียนยังอาจนับว่ามีน้ำหนักอยู่บ้าง เนื่องจากไทยเองก็แสดงออกว่าพร้อมเจรจาการหยุดยิvและเห็นด้วยในหลักการกับอาเซียน
“ทั้งสองฝ่าย อาจพร้อมเปิดพื้นที่ให้การเจรจาเกิดขึ้นจริง หากอาเซียนสามารถเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.โนเรน-นิลส์สัน เสริม
ต่อคำถามว่านายอันวาร์ มีศักยภาพเพียงพอไหมที่จะเข้ามานำการเจรจาครั้งนี้ ศ.ดร.อาบูซา ตอบว่าเขาเป็นผู้นำที่มีเสน่ห์อย่างมาก และในเวลานี้ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้อาวุโสทางการเมืองของอาเซียนที่ได้รับความเคารพอย่างสูง
ศ.ดร.อาบูซา มองว่า นายอันวาร์มีความเคารพอย่างลึกซึ้งต่ออาเซียนในฐานะองค์กร และกำลังอาศัยแนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน” (ASEAN centrality) เพื่อผลักดันบทบาทของภูมิภาคในวิกฤตนี้ ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซียกับไทยก็ถือว่าแน่นแฟ้น แม้จะมีความหวาดระแวงบางประเด็น โดยเฉพาะในเรื่องชายแดนภาคใต้ของไทย แต่โดยรวมแล้วก็ยังเป็นความสัมพันธ์ที่ดี และทั้งสองฝ่ายก็มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องเมียนมา ที่ไทยเองก็ต้องการการสนับสนุนจากอาเซียนในการจัดการ
“ผมหวังว่าอันวาร์จะสามารถโน้มน้าวผู้นำของกัมพูชาได้ หากไม่ใช่ฮุน เซน ก็อาจเป็นฮุน มาเนต เพราะสงครามที่ยืดเยื้อนี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย ไม่มีประโยชน์ทางการเมืองอะไรอีกแล้วที่จะเดินหน้าต่อด้วยการสู้รบ ผมจึงเชื่อว่าอาเซียนสามารถมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวทั้งสองฝ่ายให้หันหน้ากลับมาเจรจาอย่างจริงจังได้” ศ.ดร.อาบูซา กล่าว
- ช่องทางหลังบ้านเพื่อ “ไม่เสียหน้า”

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ดร.ยาค็อบ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมของอาเซียนว่ามักจะทำอะไรอย่างไม่เป็นทางการ แม้แต่กับกรณีปมข้อพิพาทไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2554 ที่ตอนนั้นมีอินโดนีเซียนั่งเป็นประธาน เขาเล่าว่าเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียในขณะนั้นที่ทำงานอยู่กับปมข้อพิพาทเผยว่าไม่ต้องการทำให้ทั้งไทยและกัมพูชา “อับอาย” ในสายตาของสาธารณะ
“ผมคิดว่าสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหาใด ๆ ในขณะนี้ คือการจัดการให้เรื่องนั้นอยู่นอกเวทีสาธารณะ ไม่เป็นข่าวใหญ่ ไม่ถูกกดดันจากกระแส และไม่ตกอยู่ภายใต้แรงบีบบังคับจากภายนอกมากเกินไป” ดร.ยาค็อบ กล่าว
เขาเสริมว่าแนวทางเช่นนี้จะเปิดโอกาสให้รัฐบาลไทย รวมถึงรัฐบาลกัมพูชา สามารถหาจุดร่วมกันได้ในบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียดจนเกินไป
บทบาทของมหาอำนาจอย่างจีน

ที่มาของภาพ : Getty Photos
สำหรับบทบาทของจีนในข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น ดร.ยาค็อบ บอก.ว่า “ผมค่อนข้างประหลาดใจว่าทำไมปักกิ่งรัฐบาลจีนไม่รุกมากกว่านี้” ทั้ง ๆ ที่ก็เป็นหุ่นส่วนด้านความมั่นคงที่สำคัญกับทั้งสองประเทศ
เมื่อถามว่า หากจีนดำเนินการทูตเชิงรุกจริง ๆ จะมีหน้าตาเช่นไร ดร.ยาค็อบ ตอบกลับว่า เราจะต้อง “เห็นรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนเดินทางไปยังกรุงเทพฯ และกรุงพนมเปญ เพื่อพูดคุยกับทั้งสองฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของจีนในฐานะผู้ไกล่เกลี่ย” แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีภาพยังกล่าวปรากฏให้เห็น
เขาอธิบายเพิ่มว่าเรามักเห็นบทบาทของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางอยู่เสมอ เห็นบุคคลอย่างมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ “เดินทางไปโน่นมานี่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน แต่คำถามคือ แล้วจีนล่ะ”
“หากจีนต้องการสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นมหาอำนาจที่กำลังเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ วิกฤตไทย–กัมพูชาครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ปักกิ่งสามารถใช้เพื่อเสริมบทบาทและอิทธิพลของตนในภูมิภาคได้ โดยไม่ใช่แค่ในฐานะหุ้นส่วนเศรษฐกิจ แต่ในฐานะผู้มีบทบาททางการทูตที่แท้จริงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ดร.ยาค็อบ กล่าว

ที่มาของภาพ : Getty Photos
.ถามต่อว่า เมื่อมีโอกาสเช่นนี้แล้ว เหตุใดรัฐบาลจีนจึงไม่เลือกเข้ามา
ดร.ยาค็อบ มองว่าประเด็นอยู่ที่นโยบายต่างประเทศหลักของจีนคือการไม่แทรกแซงในข้อพิพาทระหว่างประเทศอื่น ๆ
เขาบอกว่าจีนมีแนวทาง “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน” อย่างเข้มงวดในเชิงนโยบายต่างประเทศ แม้จะขายอาวุธให้ทั้งไทยและกัมพูชา แต่ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการใช้อาวุธเหล่านั้น หรือความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้
เขายกตัวอย่างว่า เมื่อสหรัฐฯ ขายอาวุธขั้นสูงให้ประเทศใดก็ตาม นั่นมักจะมาพร้อมเงื่อนไขและข้อจำกัดมากมายเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน แต่ในกรณีของจีน จะไม่ค่อยมีข้อผูกพันลักษณะนั้น ดังนั้น จีนจึงมีอิทธิพลในเชิงยุทธศาสตร์ แต่ไม่ใช่ผู้เล่นที่จะแสดงบทบาทโดยตรงในการไกล่เกลี่ยหรือจัดการความขัดแย้งระหว่างรัฐที่ตนมีผลประโยชน์ร่วมอยู่ด้วย
รศ.ดร.พฤดี กล่าวในประเด็นนี้ว่า การไม่มีจีนในสมการข้อพิพาทครั้งนี้ถือว่าดีแล้ว เพราะที่ผ่านมาจีนพยายามเข้ามามีบทบาทในหลากหลายช่องทางแล้ว
“เขาก็มีอำนาจ มีอิทธิพลมาก แต่ว่าพยายามอย่าเอาเขามาเยอะเพราะถ้ามันเยอะเกิน ดุลของอำนาจในภูมิภาคนี้ที่เราพยายามรักษามาตลอดมันจะเสีย” รศ.ดร.พฤดี ระบุ
คำวิจารณ์ต่อการปฏิเสธกลไกนานาชาติของไทย
เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ ว่าไทยปฏิเสธความพยายามไกล่เกลี่ยจากประเทศที่สามเพื่อยุติความขัดแย้ง และย้ำถึงหลักการแก้ปัญหาผ่านช่องทางทวิภาคี
สำหรับ ดร.โนเรน-นิลส์สัน เธอมองว่ากลไกสากลในการแก้ปัญหาข้อพิพาท “ที่เหมาะสมที่สุด” คือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Global Court of Justice – ICJ)
“ฉันคิดว่านั่นถือเป็นช่องทางที่เหมาะสมที่สุดในทางหลักการ กัมพูชาเองได้ยื่นหนังสือถึง ICJ ตั้งแต่เดือนมิ.ย. เพื่อขอให้ศาลเข้ามาช่วยตัดสินปัญหานี้ แต่ปัญหาคือ ไทยไม่ยอมรับคำตัดสินของ ICJ และยังไม่เคยยอมรับคำตัดสินในปี 1962 (พ.ศ.2505) ด้วยซ้ำ นี่จึงกลายเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้แนวทางนี้แทบไม่สามารถเดินหน้าได้จริง”
เธอตั้งคำถามว่า “ไทยพร้อมแค่ไหนที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการที่ตั้งอยู่บนหลักนิติธรรมระดับสากล”
ดร.โนเรน-นิลส์สัน ชี้ว่า ไทยแสดงจุดยืนมาโดยตลอดว่าต้องการแก้ไขปัญหาแบบทวิภาคี แต่กัมพูชาเลือกที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ซึ่งเป็นองค์กรตุลาการหลักขององค์การสหประชาชาติ และคำตัดสินของศาลนี้มีน้ำหนักในระดับโลก ไม่จำกัดแค่การเจรจาระหว่างประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศ
“เราต้องมองเรื่องนี้ในบริบทที่ว่า กัมพูชาเป็นรัฐเล็กกว่า ขณะที่ไทยมีศักยภาพทางทหารที่เหนือกว่ามาก และนั่นทำให้กลไกระหว่างประเทศอย่าง ICJ กลายเป็นเวทีเดียวที่ให้ความมั่นใจเรื่องความเสมอภาคในการพิจารณาแก้ไขข้อพิพาทอย่างแท้จริง” ดร.โนเรน-นิลส์สัน สรุป
รศ.ดร.พฤดี บอกกับ.ว่า “ถ้าถามว่าวิธีไกล่เกลี่ยที่ดีที่สุด มันก็ต้องขึ้นศาลอยู่แล้ว แต่มันเป็นเรื่องที่ทำใจยาก” เพราะไทยเคยสูญเสียมาแล้วจากกรณีปราสาทเขาพระวิหาร และถ้าไทยยอมไปศาลโลกอีกครั้งจากกรณีคำร้องของกัมพูชา ไทยก็มีสิทธิแพ้สูงเช่นกัน
แต่เธอตั้งคำถามต่อไปว่า “ถ้าเราไม่ไปศาลแล้วมันยังไง เราเสียอะไร อย่างมากก็เสียหน้า แต่ว่าสำหรับคนในเมืองไทย ถ้าใครทำเสียดินแดนคือไม่เหลือที่ยืนในแผ่นดิน”
ต่อประเด็นเดียวกันนี้ ดร.ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ความเห็นของตนเองเอาไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า การที่ไทยยึดมั่นในกลไกทวิภาคีมากเกินไปนั้น บางทีไม่เสริมสร้างความชอบธรรมให้กับประเทศในเวทีนานาชาติ
ดร.ฟูอาดี้ อธิบายว่า เมื่อครั้งปี 2554 กรณีปราสาทเขาพระวิหารไทยก็ปฏิเสธอาเซียนที่จะส่งผู้สังเกตการณ์มาเพื่อช่วยลดความรุนแรง และหากครั้งนี้ไทยปฏิเสธข้อเสนอจากอาเซียนอีก ก็อาจทำให้ถูกตั้งคำถาม “ว่าเรากลัวเกินไปจนเสียโอกาสสร้างความชอบธรรม และ political capital (ทุนทางการเมือง) ในระดับนานาชาติไปไหม”
สมการตระกูลฮุน-ตระกูลชิน-กองทัพ: ‘คุณจะไม่เริ่มเจรจา ถ้าผลประโยชน์ยังไม่หมด'

ที่มาของภาพ : Getty Photos
รศ.ดร.พฤดี ชี้ว่าประเด็นที่สำคัญกว่าองค์กรระหว่างประเทศในการเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือการเข้ามามีบทบาทใด ๆ ในข้อพิพาทครั้งนี้คือการเมืองภายในของทั้งสองประเทศ
ด้าน ศ.ดร.อาบูซา เห็นตรงกัน เขาบอกว่า “สิ่งที่ผมมักจะเตือนผู้คนเกี่ยวกับสงครามคือ คุณจะไม่เริ่มเจรจาจนกว่าจะเชื่อว่า ไม่มีอะไรจะได้เปรียบทางทหารอีกแล้ว คุณไม่สามารถเริ่มพูดคุยได้จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะพร้อมในทางการเมือง และผมรู้ว่ามันฟังดูเลืoดเย็น และผู้คนต้องล้มเสียชีวิต โดยเฉพาะพลเรือน แต่ตอนนี้ ผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายยังคำนวณอยู่ว่าการสู้รบยังให้ผลประโยชน์บางอย่างอยู่”
เขาเสริมต่อว่า เมื่อการสูญเสียเพิ่มจนไปถึงจุดหนึ่งที่ผลตอบแทนที่ได้รับกลับมาไม่คุ้มแล้ว การเจรจาจะเริ่มต้นขึ้น ส่วนจะผ่านช่องทางไหนเป็นเรื่องของอนาคต
ศ.ดร.อาบูซา เริ่มวิเคราะห์ประเด็นนี้ว่า ในวันที่มีทหารกัมพูชารายแรกเสียชีวิต เขามองว่า “ระดับความรุนแรงในตอนนั้น เป็นประโยชน์ทางการเมืองอย่างมาก สำหรับทั้งสองฝ่าย”
สำหรับ ฮุน มาเนต นี่คือโอกาสทำคะแนนนิยมได้ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาสงครามการค้ากับสหรัฐฯ
สำหรับกองทัพไทย เขามองว่าการปะทะเล็ก ๆ ตามแนวชายแดน บางครั้งเป็นเครื่องมือชั้นดีในการปลุกกระแสชาตินิยม โดยเฉพาะในฝั่งไทย แม้เขาจะไม่เชื่อว่าฝ่ายไทยเป็นผู้เริ่มต้นความขัดแย้งนี้ แต่กองทัพกลับสามารถใช้สถานการณ์นี้ในเชิงการเมืองได้อย่างแยบยล
“พวกเขา กองทัพ ไม่เคยพอใจกับ ‘ข้อตกลงใหญ่' ที่เปิดทางให้ทักษิณ ชินวัตร กลับจากการลี้ภัย และยิ่งไม่สามารถยอมรับ แพทองธาร ชินวัตร ได้ นักการเมือง ‘เนโป เบบี้' วัย 36 ปี ที่เป็นผู้หญิง และกลายมาเป็นนายกรัฐมนตรี มันสร้างความขุ่นเคืองอย่างยิ่งในหมู่กองทัพ”
เขาเสริมต่อไปอีกว่า เสียงสนทนาทางโทรศัพท์ที่ ฮุน เซน ปล่อยออกมานั้น จากมุมมองของฝ่ายทหารไทย “ถือเป็นหลักฐานแห่งการกบฏ เพราะเธอแสดงความเป็นมิตรกับ ฮุน เซน มากเกินไป ถึงขั้นเรียกเขาว่า ‘อังเคิล' และที่เลวร้ายที่สุดคือเธอโยนความผิดให้กับผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 โดยตรงในเหตุความรุนแรงครั้งนี้”

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ศ.ดร.อาบูซา อธิบายธรรมชาติของกองทัพไทยที่แบ่งออกเป็น 4 กองทัพภาคว่าที่ผ่านมา “กองทัพภาคที่ 1 กับ 2 เป็นกองทัพที่มีบทบาททางการเมืองสูงมาก ดูจะมีส่วนร่วมมากเกินไปด้วยซ้ำ”
“อย่างที่ผมเคยบอก ‘คุณไม่ควรปล่อยให้วิกฤตสูญเปล่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง' ผมมองว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็ใช้ความรุนแรงระดับต่ำครั้งนี้ เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างชัดเจน”
“แต่จะมีจุดหนึ่งที่ผลตอบแทนเริ่มลดลง” ศ.ดร.อาบูซา ชี้
“ในฝั่งไทย กองทัพจะทำอะไรอีก ?… ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อไม่ได้ให้ประโยชน์กับไทยเลยเช่นกัน ผมจึงหวังว่ามันจะไม่ลุกลามไปมากกว่านี้ เพราะผมไม่เห็นผลประโยชน์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายจากการยกระดับสถานการณ์” ศ.ดร.อาบูซา สรุป
เขาทิ้งท้ายว่าที่ผ่านมาทั้งสองประเทศเคยมีคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือชายแดน (Joint Yelp Committee) ซึ่งเคยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีเหตุปะทะประปรายเกิดขึ้นบ้าง แต่ถ้าย้อนกลับไปดูปี 2553-2554 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่มีการยิvกันจริง ๆ “ผมบอกได้เลยว่า มันเป็นเรื่องการเมืองล้วน ๆ”
เขาอธิบายว่า ตอนนั้น ฮุน มาเนต เพิ่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม เป็น “ลูกคนโปรด” ที่ถูกปั้นมาเป็นนายกฯ ดังนั้นเขาจึงต้องแสดงออกว่า เขาเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งและมีความสามารถ พร้อมยืนหยัดเพื่อกัมพูชา
ศ.ดร.อาบูซา ชี้ว่า เมื่อทั้งสองฝ่ายต้องการสันติภาพที่ชายแดน พวกเขาก็สามารถทำได้จริง ทั้งสองประเทศเคยมีภารกิจร่วมกัน การเข้าถึงพื้นที่แบบใช้ร่วมกัน (shared to find admission to) และแม้จะยังมีข้อพิพาทเรื่องอธิปไตย ก็สามารถ “พักเรื่องนั้นไว้ชั่วคราว” เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าถึงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น วัด หรือโบราณสถาน ได้โดยไม่ต้องไปแตะประเด็นอ่อนไหว
“ทหารสามารถถอนกำลังออกได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีเจตจำนงทางการเมืองจริง” ศ.ดร.อาบูซา ชี้
ที่มา BBC.co.uk