
ออกแบบในสหรัฐฯ ผลิตในจีน: เหตุใดแอปเปิลถึงขยับไม่ได้ ท่ามกลางสงครามการค้าจากภาษีทรัมป์

ที่มาของภาพ : Getty Photos
Article data
- Creator, แอนนาเบล เหลียง
- Feature, ผู้สื่อข่าวธุรกิจ บีบีซีนิวส์
สมาร์ทโฟนยี่ห้อไอโฟน (iPhone) ทุกเครื่องจะมาพร้อมฉลากที่บอกคุณว่าได้รับการออกแบบในแคลิฟอร์เนีย
ถึงแม้เจ้าวัตถุรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันทันสมัยที่อยู่ในชีวิตพวกเรามายาวนานจะได้รับการออกแบบในสหรัฐฯ แต่แท้จริงแล้วมันอาจมาปรากฏอยู่ในจีน ประเทศที่อยู่ห่างออกไปหลายพันไมล์และกำลังได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการจัดเก็บภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ โดยขณะนี้เพิ่มเป็น 245% สำหรับการนำเข้าสินค้าจากจีนบางส่วน
แอปเปิล (Apple) จำหน่ายไอโฟนได้มากกว่า 220 ล้านเครื่องต่อปี และจากการประมาณการส่วนใหญ่ 9 ใน 10 เครื่องผลิตในประเทศจีน ตั้งแต่หน้าจอมันวาวไปจนถึงชุดแบตเตอรี ส่วนประกอบต่าง ๆ มากมายในผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ผลิต จัดหา และประกอบเป็นไอโฟน ไอแพด แมคบุ๊ก ในประเทศจีน โดยส่วนใหญ่จัดส่งไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของแอปเปิล
เคราะห์ดีสำหรับบริษัทที่ ทรัมป์ ยกเว้นสินค้าบางประเภท สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ จากการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ทว่าความสบายใจนั้นเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue finding outได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ประธานาธิบดีทรัมป์เสนอว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มเติม โดยเขาเขียนในทรูธโซเชียล (Truth Social) สื่อสังคมออนไลน์ที่เขาเป็นเจ้าของ ในขณะที่รัฐบาลทรัมป์กำลังสืบสวนเกี่ยวกับอุตสาหกรรม “เซมิคอนดักเตอร์และห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด”
ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่แอปเปิลเคยยกย่องว่าเป็นจุดแข็ง กลับกลายเป็นจุดอ่อนในตอนนี้
สหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็น 2 เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ต่างพึ่งพากันและกัน และภาษีศุลกากรอันมหาศาลของ ทรัมป์ ได้พลิกความสัมพันธ์ดังกล่าวในชั่วข้ามคืน ทำให้เกิดคำถามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าใน 2 ฝ่ายนี้ ใครเป็นผู้พึ่งพามากกว่ากัน?
ตัวช่วยชีวิตกลายเป็นภัยคุกคามได้อย่างไร
จีนได้รับประโยชน์มหาศาลจากการเป็นแหล่งที่ตั้งสายการผลิตของหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งถือเป็นนามบัตรสำหรับการผลิตที่มีคุณภาพในตะวันตก และยังช่วยกระตุ้นนวัตกรรมในท้องถิ่นอีกด้วย
แอปเปิลเข้าสู่ประเทศจีนในช่วงทศวรรษ 1990 เพื่อจำหน่ายคอมพิวเตอร์ผ่านบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์
ประมาณปี 1997 เมื่อบริษัทแอปเปิลกำลังจะล้มละลายเนื่องจากต้องดิ้นรนแข่งขันกับคู่แข่ง แต่จีนกลับมีทางออก เศรษฐกิจจีนที่ยังรุ่งเรืองเปิดประตูรับบริษัทต่างชาติเพื่อกระตุ้นการผลิตและสร้างงานมากขึ้น

ที่มาของภาพ : Getty Photos
กระทั่งปี 2001 แอปเปิลจึงเข้ามาที่ประเทศจีนอย่างเป็นทางการผ่านบริษัทการค้าที่มีฐานอยู่ในเซี่ยงไฮ้ และเริ่มผลิตสินค้าในประเทศจีน โดยจับมือเป็นพันธมิตรกับฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติไต้หวันที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศจีน เพื่อผลิตไอพอด (iPod) จากนั้นจึงผลิตไอแมค (iMac) และต่อมาก็เป็นไอโฟน (iPhone)
ในขณะที่ปักกิ่งเริ่มทำการค้าขายกับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน แอปเปิลก็ขยายฐานการผลิตในสิ่งที่กำลังจะกลายเป็นโรงงานของโลก
ย้อนกลับไปในห้วงนั้น จีนยังไม่พร้อมที่จะผลิตไอโฟน แต่แอปเปิลเลือกซัพพลายเออร์ของตนเองและช่วยให้พวกเขาเติบโตเป็น “ซูเปอร์สตาร์ด้านการผลิต” ตามที่ หลิน เซียวผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านห่วงโซ่อุปทาน กล่าว
เขายกตัวอย่างบริษัทปักกิ่งจิงเดียว (Beijing Jingdiao) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำในการผลิตเครื่องจักรความแม่นยำความเร็วสูง ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทที่เคยตัดอะคริลิกนั้นไม่ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักร แต่ในที่สุดก็ได้พัฒนาเครื่องจักรสำหรับตัดกระจกและกลายเป็น “ดาวเด่นของการประมวลผลหน้าจอโทรศัพท์มือถือของแอปเปิล” หลินกล่าว
แอปเปิลเปิดร้านค้าแห่งแรกในจีนที่กรุงปักกิ่งในปี 2008 ซึ่งเป็นปีที่เมืองนี้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับตะวันตกก็อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่นานหลังจากนั้น ก็มีร้านค้าสโตร์เพิ่มขึ้นเป็น 50 แห่ง และมีลูกค้าเข้าคิวยาวเหยียดจนล้นร้าน
ในขณะที่อัตรากำไรของแอปเปิลเพิ่มขึ้น สายการผลิตในจีนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยที่ฟ็อกซ์คอนน์เป็นผู้ดำเนินการโรงงานผลิตไอโฟนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เมืองเจิ้งโจว ซึ่งต่อมาได้ถูกเรียกขานว่า “เมืองไอโฟน” (iPhone Metropolis)
สำหรับประเทศจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แอปเปิลกลายเป็นสัญลักษณ์ของเทคโนโลยีขั้นสูงของตะวันตก เรียบง่าย แต่ดั้งเดิม และล้ำสมัย
ปัจจุบันไอโฟนที่เป็นสินค้ายอดนิยมของแอปเปิลส่วนใหญ่ผลิตโดยฟ็อกซ์คอนน์ ชิปขั้นสูงที่ใช้ในการผลิตนั้นผลิตในไต้หวันโดยทีเอสเอ็มซี (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ การผลิตยังต้องใช้ธาตุหายากซึ่งใช้ในแอปพลิเคชันเสียงและกล้องอีกด้วย
จากการวิเคราะห์ของนิกเกอิ เอเชีย พบว่า ในปี 2024 ซัพพลายเออร์รายใหญ่ 150 รายจาก 187 รายของแอปเปิล มีโรงงานอยู่ในประเทศจีน
“ไม่มีห่วงโซ่อุปทานใดในโลกที่สำคัญต่อเราเท่ากับจีน” ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิล กล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อปีที่แล้ว

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ภัยคุกคามจากภาษีศุลกากร – จินตนาการหรือความทะเยอทะยาน?
ในการดำรงตำแหน่งสมัยแรกของ ทรัมป์ แอปเปิลได้รับการเว้นภาษีที่เขาเรียกเก็บจากจีน
แต่ในครั้งนี้ รัฐบาลทรัมป์ได้ยกตัวอย่างแอปเปิลก่อนที่จะยกเลิกภาษีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางรายการ โดยเชื่อว่าภัยคุกคามจากภาษีที่สูงจะกระตุ้นให้ธุรกิจต่าง ๆ หันมาผลิตสินค้าในอเมริกาแทน
“กองทัพมนุษย์จำนวนนับล้านคนที่มาขันสกรูตัวเล็ก ๆ เพื่อผลิตไอโฟนกำลังจะมาถึงอเมริกา” นายฮาวเวิร์ด ลัตนิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อต้นเดือน เม.ย.
แคโรไลน์ เลวิตต์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าวย้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าอเมริกาไม่สามารถจะพึ่งพาจีนในการผลิตเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ชิป สมาร์ทโฟน และแล็ปท็อปได้”
เธอเสริมว่า “ตามคำสั่งของประธานาธิบดี บริษัทเหล่านี้กำลังเร่งย้ายฐานการผลิตของตนไปที่สหรัฐฯ โดยเร็วที่สุด”
แต่หลายคนยังคงไม่เชื่อในเรื่องนั้น
ความคิดที่ว่าแอปเปิลสามารถย้ายการดำเนินงานประกอบชิ้นส่วนไปยังสหรัฐฯ เป็นเพียง “จินตนาการล้วน ๆ” ตามที่ เอลี ฟรีดแมน อดีตสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการของบริษัทกล่าว
นายฟรีดแมนกล่าวว่า บริษัทได้พูดคุยถึงการกระจายห่วงโซ่อุปทานออกจากจีนตั้งแต่ปี 2023 ซึ่งเป็นปีที่เขาเข้าร่วมคณะกรรมการ แต่ไม่เคยมีสหรัฐฯ เป็นตัวเลือก
เขากล่าวเสริมว่า แอปเปิลไม่ได้ประสบความคืบหน้ามากนักในช่วงทศวรรษหน้า แต่ “ได้พยายามอย่างแท้จริง” หลังจากเกิดโรคระบาด เมื่อการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเพื่อป้องกันโควิดของจีนส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคการผลิต
“สถานที่ประกอบชิ้นส่วนใหม่ที่สำคัญที่สุดคือเวียดนามและอินเดีย แต่แน่นอนว่าการประกอบชิ้นส่วนของแอปเปิลส่วนใหญ่ยังคงเกิดขึ้น ในประเทศจีน”
แอปเปิลไม่ได้ตอบคำถามของบีบีซี แต่เว็บไซต์ของบริษัทระบุว่าห่วงโซ่อุปทานของบริษัทครอบคลุม “ธุรกิจหลายพันแห่งและมากกว่า 50 ประเทศ”

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อสถานะห่วงโซ่อุปทานปัจจุบันของแอปเปิลจะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อประเทศจีน ซึ่งกำลังพยายามกระตุ้นการเติบโตหลังการระบาดใหญ่
สาเหตุหลายประการที่จีนต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตของบริษัทตะวันตกในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 ยังคงเป็นความจริงในปัจจุบัน เนื่องจากช่วยสร้างงานได้หลายแสนตำแหน่ง และทำให้ประเทศมีความได้เปรียบอย่างยิ่งในการค้าโลก
จิการ์ ดิกสิต ที่ปรึกษาด้านห่วงโซ่อุปทานและการปฏิบัติการ กล่าวว่า “แอปเปิลอยู่ตรงจุดที่เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน และภาษีศุลกากรก็เน้นย้ำถึงต้นทุนของการเผชิญสถานการณ์ดังกล่าว”
นี่อาจอธิบายได้ว่าทำไมจีนถึงไม่ยอมจำนนต่อคำขู่ของ ทรัมป์ โดยตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 125% แทน นอกจากนี้จีนยังกำหนดมาตรการควบคุมการส่งออกแร่ธาตุหายากและแม่เหล็กที่มีอยู่ในแหล่งสำรองแร่ของตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบกับสหรัฐฯ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าภาษีของสหรัฐฯ ที่ยังคงเรียกเก็บจากภาคส่วนอื่น ๆ ของจีนจะส่งผลเสียอย่างแน่นอน
ไม่ใช่แค่ปักกิ่งเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ทรัมป์ ยังชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเขาจะกำหนดเป้าหมายประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของจีน ตัวอย่างเช่น เวียดนาม ซึ่งแอปเปิลได้ย้ายการผลิตแอร์พอดส์ไปนั่น เผชิญกับภาษีนำเข้า 46% ก่อนที่ ทรัมป์ จะระงับการผลิตเป็นเวลา 90 วัน ดังนั้นการย้ายการผลิตไปที่อื่นในเอเชียจึงไม่ใช่ทางออกที่ง่ายนัก
“สถานที่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดสำหรับโรงงานประกอบฟ็อกซ์คอนน์ขนาดใหญ่ที่มีพนักงานนับหมื่นหรือหลายแสนคนตั้งอยู่ในเอเชีย และประเทศเหล่านี้ทั้งหมดกำลังเผชิญกับภาษีศุลกากรที่สูงกว่า” นายฟรีดแมนกล่าว
แล้วตอนนี้แอปเปิลจะทำอย่างไร?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
บริษัทกำลังต่อสู้กับการแข่งขันที่รุนแรงจากบริษัทจีน เนื่องจากรัฐบาลผลักดันการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงให้ไปแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา
ขณะนี้ “แอปเปิลได้พัฒนาศักยภาพด้านการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของจีนแล้ว หัวเว่ย (Huawei), เสียวหมี่ (Xiaomi), ออปโป (Oppo) และอื่น ๆ ก็สามารถนำห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ของแอปเปิล กลับมาใช้ใหม่ได้” นายหลินกล่าว
เมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลเสียตำแหน่งผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในจีนให้กับหัวเว่ย และวีโว่ (Vivo) ชาวจีนมีเงินใช้จ่ายไม่เพียงพอเนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซา และด้วยการที่แช็ตจีพีที (ChatGPT) ถูกแบนในจีน แอปเปิลจึงต้องดิ้นรนเพื่อรักษาความได้เปรียบในกลุ่มผู้ซื้อที่มองหาโทรศัพท์ที่ใช้เอไอ แอปเปิลยังเสนอส่วนลดพิเศษสำหรับไอโฟนในเดือน ม.ค. เพื่อกระตุ้นยอดขายอีกด้วย
และในขณะที่ดำเนินการภายใต้การควบคุมที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แอปเปิลจำเป็นต้องจำกัดการใช้งานบลูทูธและแอร์ดรอปบนอุปกรณ์ของตน เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามเซ็นเซอร์ข้อความทางการเมืองที่ผู้คนแชร์กัน แอปเปิลสามารถต้านทานการปราบปรามอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อผู้ก่อตั้งอาลีบาบาและมหาเศรษฐีพันล้านอย่าง แจ็ค หม่า ได้
แอปเปิลได้ประกาศลงทุนมูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (16.67 ล้านล้านบาท) ในสหรัฐฯ แม้ว่าอาจไม่เพียงพอที่จะเอาใจรัฐบาลทรัมป์ได้นานนักก็ตาม
เมื่อพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลงหลายครั้งและความไม่แน่นอนในนโยบายภาษีของทรัมป์ คาดว่าจะมีการจัดเก็บภาษีที่ไม่คาดคิดอีก ซึ่งอาจทำให้บริษัทมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวน้อยลงและมีเวลาน้อยลงด้วยซ้ำ
นายดิกซิตกล่าวว่า ภาษีสมาร์ทโฟนจะไม่ทำให้แอปเปิลล้มละลายหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก แต่ถึงอย่างไรก็จะเพิ่ม “แรงกดดัน ทั้งในด้านปฏิบัติการและในทางการเมือง” ให้กับห่วงโซ่อุปทานที่ไม่สามารถคลี่คลายออกไปได้อย่างรวดเร็ว
“เห็นได้ชัดว่าความรุนแรงของวิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้านั้นลดลงแล้ว” นายฟรีดแมนกล่าว โดยอ้างถึงการยกเว้นภาษีให้กับสมาร์ทโฟนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
“แต่ผมไม่คิดว่านี่หมายความว่าแอปเปิลจะผ่อนคลายได้”
ที่มา BBC.co.uk