ภูเขาไฟใต้ทะเลบางแห่งอาจปะทุขึ้นในเร็ว ๆ นี้ แล้วมันน่ากังวลแค่ไหน ?

ที่มาของภาพ : Dana Stephenson/Getty Photos

ในเวลาหลายปีที่ผ่านมา จำนวนการปะทุของภูเขาไฟใต้น้ำที่สามารถมองเห็นได้เหนือระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้นที่ได้รับการจดบันทึก

Article Files

    • Author, มาเรีย ซักคาโร
    • Role, บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

ภูเขาไฟใต้น้ำอาจเป็นสิ่งมองไม่เห็นและนึกไม่ถึงสำหรับใครหลายคน แต่คำเตือนล่าสุดจากเหล่านักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการปะทุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ทำให้หลายคนต้องหันมาสนใจมัน

หนึ่งในคำเตือนนั้นก็เกี่ยวข้องกับ “แอกเซียล ซีเมานต์” (Axial Seamount) ภูเขาไฟใต้ทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งรัฐโอเรกอน ในสหรัฐอเมริการาว 482 กม. โดย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ภูเขาไฟกำลังเกิดความร้อนขึ้นและแสดงสัญญาณว่าอาจปะทุภายในปีหน้า

อีกทั้ง แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ บนเกาะซานโตรินี ของกรีซ ก็กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์สำรวจปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่ของเกาะ และภูเขาไฟโคลอมโบใต้ทะเล ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยแม้เหล่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การปะทุของทั้งสองภูเขาไฟอาจไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ แต่ก็จะเกิดขึ้นในที่สุดเช่นกัน

แล้วเหตุการณ์ดังกล่าวน่ากังวลแค่ไหน ?

ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของมหาสมุทร

ภูเขาไฟเป็นช่องเปิดของเปลือกโลกที่ทำการปล่อยเถ้าร้อน ก๊าซ และหินหลอมเหลว หรือที่รู้จักกันในชื่อ แมกมา ออกมา

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

Discontinuance of ได้รับความนิยมสูงสุด

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อนึกถึงภูเขาไฟ คนมักจะนึกถึงภูเขาขนาดยักษ์ เช่น ภูเขาไฟวิสุเวียส หรือภูเขาไฟเอตนา ที่พ่นลาวาสีส้มอันน่าตื่นตาออกมา

แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ภูเขาไฟประมาณสองในสามของโลกจมอยู่ใต้น้ำ

ภูเขาไฟเหล่านี้ซ่อนตัวอยู่ในส่วนลึกของมหาสมุทร บางครั้งลึกลงไปหลายพันเมตร โดยพวกมันสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เราไม่รู้จักหลายชนิด และการปะทุของมันยังก่อให้เกิดเกาะแห่งใหม่ด้วย

ที่มาของภาพ : D. Kelley, University of Washington/BOEM/NSF-OOI/WHOI, V19

ผู้เชี่ยวชาญสามารถจับภาพกิจกรรมของภูเขาไฟจากปล่องไฟของภูเขาไฟใต้ทะเลแอกเซียลซีเมานต์ได้สำเร็จ

เช่นเดียวกับภูเขาไฟบนบก ภูเขาไฟใต้น้ำก็สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิได้เช่นกัน ซึ่งบางครั้งก็อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง

ในปี 2022 การปะทุของภูเขาไฟฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮาอาปาย ในตองกา ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีคลื่นซัดเข้าฝั่งประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บ้านเรือนหลายร้อยหลังได้รับความเสียหาย และตองกาถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเป็นเวลากว่า 5 สัปดาห์ เนื่องจากสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตใต้น้ำได้รับความเสียหาย

พบภูเขาไฟใต้น้ำได้ที่ไหนบ้าง ?

ภูเขาไฟใต้ทะเลส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบเป็นชั้นนอกสุดของโลก แผ่ขยายออกจากกันหรือเลื่อนผ่านกัน ซึ่งทำให้แมกมาพุ่งขึ้นมาจากส่วนลึกของเปลือกโลก

แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้นภูเขาไฟใต้ทะเลจึงพบได้ในแทบทุกส่วนของโลก ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และในบางครั้งกลุ่มควันร้อนก็พุ่งขึ้นสู่เบื้องบนตรงกลางแผ่นเปลือกโลก ก่อตัวเป็นภูเขาไฟ(บนบก) ได้ด้วยเช่นกัน

ที่มาของภาพ : UW/NSF-OOI/CSSF, V15

ลาวาที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟในน้ำลึกในไม่นานก็จะเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว

ภูเขาไฟใต้น้ำปะทุต่างกันอย่างไร

ที่มาของภาพ : UW/NSF-OOI/CSSF, V11

มีการพบจุลินทรีย์และอนุภาคขนาดเล็กไหลออกมาจากยอดเขาภูเขาไฟใต้ทะเลแอกเซียลซีเมานต์ สามเดือนหลังจากการปะทุในปี 2011

ดร. อิโซเบล เยโอ นักภูเขาไฟวิทยาทางทะเลจากศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติ (National Oceanography Centre – NOC) ของสหราชอาณาจักร กล่าวว่า ปฏิกิริยาระหว่างแมกมากับน้ำทำให้การปะทุของภูเขาไฟในมหาสมุทรแตกต่างจากการปะทุบนบก

“ลองนึกภาพการโยนน้ำลงในกระทะร้อน มันจะเปลี่ยนเป็นไอ คุณจะได้ปฏิกิริยาตอบกลับเดียวกันนี้ในภูเขาไฟที่อยู่ใต้น้ำลึกหลายร้อยเมตร” เธอกล่าว พร้อมอธิบายว่า สิ่งนี้ใช้ได้กับภูเขาไฟที่อยู่ใต้น้ำลึกหลายร้อยเมตร

โดยภูเขาไฟที่อยู่ใต้น้ำลึกกว่านั้น จะไม่มีปฏิกิริยาsะเบิดเนื่องจากแรงดันของน้ำ

ดร. เยโอ กล่าวด้วยว่า ในกรณีเหล่านี้แมกมาจะยังคงถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟ แต่จะเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว

ปริมาณก๊าซที่มีอยู่ในแมกมายังเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของการปะทุของภูเขาไฟ ยิ่งปริมาณก๊าซมากเท่าไหร่ การปะทุก็จะยิ่งsะเบิดมากขึ้นเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายราย ระบุ

ภูเขาไฟใต้น้ำเกิดการปะทุบ่อยแค่ไหน ?

ดร. เยโอ อธิบายว่า การระบุจำนวนภูเขาไฟใต้น้ำและการปะทุที่แน่นอนเป็นเรื่องยาก เนื่องจากภูเขาไฟส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีการตรวจสอบ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การตรวจสอบภูเขาไฟใต้น้ำอาจมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น ต้นทุนของเทคโนโลยีที่จำเป็น เรือดำน้ำและเรือที่ต้องใช้ และความยากลำบากที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลซึ่งนักวิทยาศาสตร์ต้องปฏิบัติงาน

นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า มีภูเขาไฟใต้น้ำหลายพันลูกทั่วโลก ในขณะที่บางรายเชื่อว่าอาจมีภูเขาไฟใต้น้ำมากถึงหนึ่งล้านลูก

ที่มาของภาพ : UW/NSF-OOI/WHOI; V24

ลาวาจะแข็งตัวที่ก้นมหาสมุทรหลังจากการปะทุของภูเขาไฟ

นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า มีภูเขาไฟและการปะทุของมันมากกว่าที่เกิดขึ้นบนบก

นี้เป็นผลมาจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนและปัจจัยหลายประการ เช่น ความจริงที่ว่าพื้นผิวโลกประมาณ 70% ถูกปกคลุมด้วยน้ำ

“มีเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่เราสามารถวัดระบบเหล่านี้ได้อย่างละเอียด” ศาสตราจารย์เด็บ เคลลีย์ นักธรณีวิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในสหรัฐอเมริกา กล่าว

เกาะใดบ้างที่เกิดจากการsะเบิดของภูเขาไฟ ?

เกาะหลายแห่งทั่วโลกก่อตัวขึ้นจากการsะเบิดของภูเขาไฟ

ยกตัวอย่างเช่น หมู่เกาะฮาวาย ซึ่งเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟที่เรียงตัวเป็นแนวยาว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า มันเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 70 ล้านปีก่อน

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเกาะเหล่านี้เกิดจากแมกมาใต้มหาสมุทรที่ค่อย ๆ ยกตัวขึ้นและโผล่ขึ้นมาเหนือระดับน้ำทะเล

แต่การปะทุครั้งใหญ่ในสมัยโบราณก็ได้สร้างเกาะซานโตรินี ขึ้น ในทะเลอีเจียน เมื่อประมาณ 1630 ปีก่อนคริสตกาล ตามข้อมูลของสำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration – NOAA)

สถานที่อื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นจากการsะเบิดของภูเขาไฟ ได้แก่ ไอซ์แลนด์

“แต่ยังมีสถานที่อีกมากมายในโลกที่คุณสามารถพบเกาะภูเขาไฟได้ หากคุณไปที่ใดที่หนึ่งแล้วพบว่าทรายเป็นสีดำ นั่นก็อาจเป็นภูเขาไฟ” ดร. เยโอ กล่าว

ที่มาของภาพ : Jose Sarmento Matos/Bloomberg by process of Getty Photos

เกาะซานโตรินี อันแสนสวยงามของกรีซ เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟในอดีตช

ภูเขาไฟใต้น้ำมักจะทำให้เกิดผืนแผ่นดินใหม่ขึ้นมา

ยกตัวอย่าง ในปี 2023 การปะทุของภูเขาไฟใต้น้ำทำให้เกิดเกาะใหม่ขึ้นนอกชายฝั่งเกาะอิโวโตะ ใกล้กับประเทศญี่ปุ่น

แต่บางครั้งเกาะใหม่เหล่านี้ก็ถูกกัดเซาะและหายไปใต้น้ำ

“เราอาจจะได้เห็นเกาะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นอีก แต่ก็อาจได้เห็นเกาะที่สูญหายไปด้วยเช่นกัน” ดร. เยโอ กล่าว

เป็นสิ่งที่มากกว่าภูเขาไฟ

ศาสตราจารย์เคลลีย์ เน้นย้ำว่า การติดตามภูเขาไฟใต้น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจระบบนิเวศทางทะเลให้ดียิ่งขึ้น

“ภูเขาไฟเหล่านี้เปรียบเสมือนโอเอซิสบนพื้นทะเล พวกมันจึงมีชุมชนทางชีวภาพอันน่าทึ่งเชื่อมโยงอยู่ด้วย แม้แต่ก้อนหิน คุณก็มองไม่เห็น เพราะมีสัตว์มากมายอาศัยอยู่” เธอกล่าวเสริม

ศาสตราจารย์เคลลีย์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะช่วยในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำเหมืองใต้น้ำ

“คุณต้องเข้าใจจริง ๆ ว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดใดอยู่ที่นั่น พวกมันส่งผลกระทบต่อมหาสมุทรส่วนที่เหลืออย่างไร พวกมันมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าใด และคุณจำเป็นต้องมีข้อมูลนั้นก่อนที่จะขุดหาแร่” เธอกล่าวเสริม

ที่มาของภาพ : UW/Carleton College/NSF-OOI/WHOI; V24

สัตว์หลายชนิด เช่น หนอนท่อแดง อาศัยอยู่บนหินภูเขาไฟใต้ท้องทะเล

การปะทุของภูเขาไฟใต้ทะเล น่ากังวลไหม ?

ดร. เยโอ เน้นย้ำว่าภูเขาไฟทุกชนิด ไม่ว่าจะอยู่บนบกหรือใต้น้ำ ล้วนเป็นภัยได้

“ดิฉันคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับภูเขาไฟใต้น้ำมากกว่าภูเขาไฟประเภทอื่น ๆ” เธอกล่าว

“แต่ดิฉันคิดว่าเราควรเฝ้าระวังภูเขาไฟเหล่านี้ในระดับเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่เรากำบลังดำเนินการอยู่”

ที่มาของภาพ : NSF-OOI/UW/CSSF

สิ่งมีชีวิตที่เรียกกันทั่วไปว่า “หมูทะเล” อาศัยอยู่รอบภูเขาไฟใต้น้ำแอกเซียลซีเมานต์

ในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวและประชาชนที่อาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์ต้องอพยพเนื่องจากภูเขาไฟเกิดการปะทุขึ้น

“ฉันคิดว่า นั่นก็เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นไปได้ของภูเขาไฟใต้น้ำ” ดร. เยโอ กล่าวเสริม

เธออธิบายว่า การเฝ้าระวังภูเขาไฟใต้น้ำก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากอันตรายจากภูเขาไฟเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปะทุเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งของภูเขาไฟอาจแตกออกใต้น้ำซึ่งอาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้

แล้วการปะทุของภูเขาไฟแอกเซียล เมาน์ต์ใต้ทะเล น่ากังวลแค่ไหน ?

ที่มาของภาพ : NSF-OOI/UW/CSSF;V13

มีปากปล่องหลายแห่งบนยอดเขาของภูเขาไฟแอกเซียล เมานต์

ศาสตราจารย์เคลลีย์ มีส่วนร่วมในการติดตามภูเขาไฟใต้ทะเลแอกเซียลซีเมานต์ ซึ่งตั้งอยู่ลึกลงไปใต้มหาสมุทรแปซิฟิกประมาณ 2,600 เมตร โดยเธอกล่าวว่า ภูเขาไฟแห่งนี้ได้รับการติดตามผ่านสายเคเบิลที่มีความยาวเกือบ 500 กิโลเมตร และทอดยาวจากชายฝั่งไปยังตัวภูเขาไฟ

ด้วยเหตุนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงสังเกตเห็นว่า ภูเขาไฟกำลังมีความร้อนมากขึ้นและได้ผ่านจุดพองตัวของการปะทุครั้งก่อน ๆ ไปแล้ว ศาสตราจารย์เคลลีย์ อธิบาย

ที่มาของภาพ : UW/NSF-OOI/WHOI;V17

มีการพบลาวาเย็นตัวลงที่ภูเขาไฟใต้ทะเลแอกเซีย ซีเมานต์

เธอเสริมว่า การค้นพบดังกล่าวหมายความว่า ภูเขาไฟอาจปะทุขึ้นภายในปีหน้า แต่ผู้คนอาจไม่รู้สึกถึงการปะทุบนบกเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดันจากมหาสมุทร

โดย เธอเสริมว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถติดตามระบบภูเขาไฟใต้น้ำได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

“ภูเขาไฟเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของโลกเรา และเราควรทำความรู้จักเกี่ยวกับมันให้มากขึ้น” เธอ กล่าวทิ้งท้าย