
ลิม กิมยา นักการเมืองกัมพูชาถูกยิvเสียชีวิตในกรุงเทพฯ ผู้บงการมาจากประเทศอื่นหรือไม่ ?

ที่มาของภาพ : EPA
- Creator, โจนาธาน เฮด
- Characteristic, ผู้สื่อข่าวประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เหตุลอบสังหารอดีต สส.ฝ่ายค้านของกัมพูชา เห็นได้ชัดว่าเป็นการลอบสังหารอย่างเลืoดเย็นโดยมืออาชีพ เนื่องจากจุดเกิดเหตุเกิดใกล้กับวัดที่มีชื่อเสียงย่านพระนครอันเก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร ภาพจากวงจรปิดเผยให้ว่ามีชายคนหนึ่งจอดรถจักรยานยนต์ ถอดหมวกกันน็อคซึ่งทำให้เห็นหน้าของเขาอย่างชัดเจน กำลังเดินข้ามถนนมาอย่างสงบ
ไม่กี่นาทีต่อมาเกิดเสียงปืนดังขึ้น และมีชายคนหนึ่งล้มลงกับพื้น ส่วนมือปืนเดินกลับไปที่รถมอเตอร์ไซค์อย่างรวดเร็วและทำท่าดูเหมือนว่าโยนอะไรบางอย่างทิ้งไป ก่อนจะขี่รถหนีไป
ผู้เสียชีวิต คือ นายลิม กิมยา อดีตสมาชิกรัฐสภาวัย 73 ปี ของพรรคแกนนำฝ่ายค้านของกัมพูชาที่ชื่อว่าพรรคกู้ชาติกัมพูชา หรือ ซีเอ็นอาร์พี (Cambodia Nationwide Rescue Occasion – CNRP) ซึ่งพรรคนี้ถูกแบนไปเมื่อปี 2017
จากรายงานของตำรวจไทย เขาถูกยิvด้วยกระสุน 2 นัดบริเวณหน้าอก ทั้งที่เพิ่งเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ด้วยรถบัสจากกัมพูชา พร้อมกับภรรยา
เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามยื้อชีวิตเขาไว้ แต่สุดท้ายเขาก็ถูกประกาศว่าเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
เรื่องแนะนำ
Cessation of เรื่องแนะนำ
“เขาเป็นคนกล้าหาญ และมีความคิดเป็นของตัวเอง” โมโนวิเธีย เขม ลูกสาวของนายเขม โสกา หัวหน้าพรรค CNRP บอกกับบีบีซี
เมื่อถามว่านอกจากรัฐกัมพูชาแล้ว มีผู้อื่นที่ต้องการชีวิตของเขาอีกหรือไม่ เธอตอบว่า “ไม่มีใครอื่นอีกแน่นอน”

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ลิม กิมยา มีสองสัญชาติ คือ กัมพูชาและฝรั่งเศส แต่เขากลับเลือกอาศัยอยู่ในกัมพูชา แม้ว่าพรรคของเขาจะถูกเพิกถอนสิทธิทางกฎหมายก็ตาม พรรค CNRP เป็นการควบรวมของ 2 พรรคฝ่ายค้านเข้าด้วยกัน และในปี 2013 พวกเขาเกือบเอาชนะพรรคของสมเด็จฮุน เซน ซึ่งเป็น “ผู้แข็งแกร่ง” ที่ปกครองกัมพูชามาเกือบ 40 ปีแล้ว ก่อนที่จะส่งต่ออำนาจให้กับฮุน มาเนต ซึ่งเป็นลูกชายของเขาเมื่อปี 2023
หลังชนะการเลือกตั้งมาได้อย่างเฉียดฉิวเมื่อปี 2013 ฮุน เซน กล่าวหาพรรค CNRP ในข้อหากบฏ ทำให้พรรคดังกล่าวต้องปิดตัวลง ส่วนสมาชิกพรรคถูกคุกคามทางกฎหมายและการคุกคามรูปแบบอื่น ๆ โดยนายเขม โสกา หัวหน้าพรรค CNRP ซึ่งถูกกักขังอยู่ในบ้านมาแล้ว 6 ปี เพิ่งถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 27 ปี เมื่อปีที่แล้ว
การลอบสังหารนักการเมืองระดับสูงนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในกัมพูชา โดยในปี 2016 นายเขม ไลย์ นักวิจารณ์การเมืองซึ่งเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์ฮุน เซน ชื่อดัง ถูกยิvเสียชีวิตในกรุงพนมเปญ และในปี 2012 นายจุ๊ต วุตติ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน
จากภาพกล้องวงจรปิด ตำรวจไทยสามารถระบุตัวมือปืนที่ฆ่-านายลิม กิมยา ได้แล้ว เขาเป็นอดีตเจ้าหน้าที่กองทัพเรือไทย ปัจจุบันทำงานเป็นคนขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง การตามหาตัวเขาจึงไม่น่ายาก
นายเอกลักษณ์ แพน้อย ผู้ต้องหาก่อเหตุยิvนายลิม กิมยา อดีต สส. ฝ่ายค้านกัมพูชา ถูกจับตัวได้ที่ จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา หลังหลบหนีออกจากไทย และถูกส่งตัวกลับมาดำเนินคดีที่ไทยแล้วเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา
การฆาตกรรมจะได้รับการสอบสวนอย่างเต็มที่หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักกิจกรรมหลายสิบคนที่หลบหนีการปราบปรามในกัมพูชา เวียดนาม ลาว และไทย ต่างถูกส่งตัวกลับประเทศมาตุภูมิขณะที่พวกเขากำลังหาที่พักพิงใหม่ ในบางกรณีถูกฆ่-าเสียชีวิตหรือหายตัวไป
กลุ่มสิทธิมนุษยชนเชื่อว่า ในบรรดา 4 ประเทศเพื่อนบ้าน มีข้อตกลงที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุว่าจะอนุญาตให้กองกำลังความมั่นคงของกันและกันสามารถไล่ล่าผู้เห็นต่างข้ามพรมแดนได้
เมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว ประเทศไทยส่งผู้เห็นต่างชาวกัมพูชา 6 คน พร้อมกับเด็กเล็ก กลับไปยังกัมพูชา ซึ่งพวกเขาถูกคุมขังทันที โดยทั้งหมดได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นผู้ลี้ภัย นอกจากนี้เมื่อช่วงต้นปี 2024 ประเทศไทยยังส่งนักกิจกรรมชาวมอนตานญาดกลับเวียดนามด้วย
ในอดีต นักเคลื่อนไหวต่อต้านสถาบันกษัตริย์ของไทยก็ถูกลักพาตัวและหายตัวไปในลาว ซึ่งสันนิษฐานกันอย่างกว้างขวางว่ากองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทยได้ปฏิบัติการนอกพรมแดนของตนเอง และในปี 2020 นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักกิจกรรมชาวไทยที่หลบหนีไปกัมพูชา ก็ถูกลักพาตัวและหายตัวไป ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นปฏิบัติการจากฝ่ายไทย
ทางการกัมพูชาไม่ค่อยสอบสวนเรื่องนี้มากนัก และประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าคดีนี้ปิดไปแล้ว เป็นไปได้ว่าสิ่งเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับคดีของลิม กิมยา
ฟิล โรเบิร์ตสัน ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชนและผู้สนับสนุนแรงงานแห่งเอเชียในประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยได้ดำเนินการตาม ‘ข้อตกลงแลกเปลี่ยน' โดยพฤตินัย”
“ผู้เห็นต่างและผู้ลี้ภัยถูกแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การปราบปรามข้ามชาติที่เพิ่มขึ้นในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ต้องยุติลงได้แล้ว” เขาบอก
หลังจากนายฮุน มาเนต ผู้จบการศึกษาจากทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เข้าสืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพ่อของเขา บุคคลจากฝ่ายค้านยังคงถูกดำเนินคดีและจำคุก ขณะที่พื้นที่เพียงเล็กน้อยสำหรับผู้เห็นต่างทางการเมืองซึ่งยังเหลืออยู่ ก็ถูกปิดลงเกือบหมด
ส่วนฮุน เซน ซึ่งอยู่ในสถานะกึ่งเกษียณจากอาชีพทางการเมือง ยังคงมีอำนาจเหนือการบริหารของลูกชาย ตอนนี้เขากำลังเรียกร้องให้มีกฎหมายฉบับใหม่เพื่อตราหน้าใครก็ตามที่พยายามเข้ามาแทนที่เขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
ประเทศไทยซึ่งพยายามล็อบบี้อย่างหนักเพื่อให้ได้เก้าอี้ในคณะมนตรีแห่งสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปีนี้จะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันว่าจะสามารถนำตัวผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารนายลิม กิมยา อย่างโจ้งแจ้งบนถนนกลางเมืองหลวง มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่
ด้านสื่อต่าง ๆ ของไทยรายงานว่า นายเอกลักษณ์ให้ปากคำกับตำรวจว่ารับงานจาก “ผู้มีพระคุณ” ในจำนวนเงิน 60,000 บาท เพื่อสังหารนายลิม กิมยา โดยเขารับเงินมัดจำมาแล้ว 30,000 บาท
หลังตกลงรับงานดังกล่าว พบว่ามีผู้ส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (Line) เพื่อให้ข้อมูลเป้าหมายพร้อมกับรูปพรรณสันฐานของนายลิม กิมยา พร้อมกับแจ้งความเคลื่อนไหวเป้าหมายตลอดเวลา และหลังก่อเหตุก็มีคนส่งไลน์มาบอกตลอดว่าให้หลบหนีไปจุดใด จนกระทั่งเขาสามารถหลบหนีไปยังกัมพูชาได้ ก่อนจะถูกจับกุมในเวลาต่อมา
รายงานเพิ่มเติมโดยบีบีซีไทย
ที่มา BBC.co.uk