
“มันยากมากที่จะมีความหวัง” ติดตามภารกิจของแพทย์หญิงในกาซาในวันที่ระบบสาธารณสุขล่มสลาย

data
- Author, โยลันเด เนลล์
- Role, ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคตะวันออกกลาง
ระบบสาธารณสุขในฉนวนกาซากลายเป็นผู้รับเคราะห์จากสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ลากยาวมา 18 เดือน โดยมีแพทย์ที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์ที่ยากลำบาก บีบีซีติดตามการทำงานของแพทย์ทั่วไปคนหนึ่งที่ปฏิบัติงานในคลินิกแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières -MSF)
เวลา 07.30 น. ร่างเล็ก ๆ ของ แพทย์หญิง วิสซาม ซุกการ์ ซึ่งสวมผ้าคลุมศีรษะสีชมพู กำลังเดินฝ่าไปบนถนนที่ได้รับความเสียหายในฉนวนกาซา
“ฉันจะเดินเป็นเวลา 50 นาทีเพื่อจะไปถึงคลินิก” เธอเล่าให้ฟังตอนที่นักข่าวท้องถิ่นของบีบีซีมาพบเธอและช่วยบันทึกการเดินทางในแต่ละวันของแพทย์หญิงรายนี้ เพราะเมื่อน้ำมันในกาซาแทบจะไม่มีเหลือแล้ว รถแท็กซี่จึงวิ่งได้เพียงไม่กี่คัน
“ด้วยทรัพยากรอันจำกัด เราพยายามจะอยู่ที่นี่ในพื้นที่ทางเหนือของกาซาในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้” แพทย์หญิง กล่าว
องค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรงพยาบาลในกาซาจำนวน 21 แห่งจากทั้งหมด 36 เปิดให้บริการได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เวชภัณฑ์ทางการแพทย์กำลังขาดแคลนอย่างหนักเนื่องจากการปิดกั้นการขนส่งของอิสราเอลในกาซาที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue finding outได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
แพทย์จีพีหรือแพทย์ทั่วไปคนนี้ชี้ให้ดูสิ่งที่หลงเหลืออยู่ในที่ทำงานเดิมของเธอ คือคลินิกรักษาผู้ป่วยไฟไหม้ของแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ที่ถูกเพลิงไฟเผาไหม้ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของสงคราม ขณะที่เกิดการต่อสู้กันระหว่งทหารอิสราเอลและนักรบฮามาส
ขณะนี้เพื่อนร่วมงานของเธอได้เปลี่ยนสำนักงานแห่งหนึ่งทางฝั่งตะวันตกของกาซาให้เป็นคลินิก เมื่องถึงเวลา 09.30 น. ขณะที่แพทย์หญิงซุกการ์กำลังสวมชุดคลุมสีขาว ก็มีคนราว 150 คน กำลังรออยู่ในส่วนต้อนรับของเต็นท์ที่ใช้ตรวจรักษาผู้ป่วย

“คนไข้ส่วนใหญ่ของเราเป็นคนพลัดถิ่นฐานจากบ้าน” พญ.ซุกการ์ กล่าว “พวกเขาอาศัยอยู่ที่แหล่งพักพิงที่ พวกเขาอยู่ในเต็นท์ที่ตั้งอยู่ตามถนนด้วยซ้ำ”
หลังจากการหยุดยิvล้มเหลวเมื่อราวหนึ่งเดือนที่แล้ว ชาวกาซาหลายพันคนต้องทิ้งบ้านตัวเองอีกครั้ง และหนีมาอยู่ในย่านนี้เพื่อหาที่ปลอดภัย
สถานการณ์ขณะนี้ภาวะขาดสารอาหารและโรคต่าง ๆ กำลังเพิ่มขึ้น
ด้วยสถานการณ์เกี่ยวกับอาหารและน้ำดื่มที่ไม่เพียงพอ ทำให้ภาวะขาดสารอาหารและโรคต่าง ๆ กำลังเพิ่มขึ้น ตั้งแต่โรคท้องเสียและโรคหิด โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือกลุ่มผู้สูงอายุและคนอายุน้อย และคนไข้รายแรกที่มาของวันนั้น คือเด็กทารกหลายรายที่มาด้วยอาการติดเชื้อไวรัส
“เรารับผู้ป่วยเด็กเยอะมากที่ป่วยจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและท้องร่วง ในที่พักพิงมีเด็กจํานวนมากอยู่ในที่เดียวกันและไวรัสสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว” แพทย์หญิง ซุกการ์ กล่าว
เด็กวัยกำลังหัดเดินคนหนึ่งมียุงกัดบนใบหน้าของเขา และ พญ.ซุกการ์ จ่ายครีมทายาเพื่อรักษาแผลยุงกัด เมื่อแก๊สที่ใช้ประกอบอาหารหมดลง ครอบครัวจึงจุดไฟเปิดเพื่ออุ่นอาหาร แต่มันยิ่งทำให้แผลยุงกัดของเด็กน้อยถูกความร้อนจนรุนแรงเพิ่มขึ้น
ภายในหนึ่งชั่วโมง พญ.ซุกการ์ และแพทย์อีกสามคนได้ตรวจผู้ป่วยหลายสิบราย แต่มีหลายคนที่พยายามขอรับการช่วยเหลือ
“เรามีความท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ กับผู้ป่วยจํานวนมากด้วยเวชภัณฑ์น้อยลงเรื่อย ๆ ” พญ.ซุกการ์ กล่าวอย่างเหนื่อยอ่อน “นอกจากนี้ เรายังได้รับผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน และเราไม่รู้ว่าจะส่งต่อผู้ป่วยเหล่านี้ไปที่ใด เนื่องจากระบบสาธารณสุขในฉนวนกาซาล่มสลาย”
มีผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสหลั่งไหลเข้ามาที่คลินิกตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว หลังจากเครื่องบินรบของอิสราเอลโจมตีโรงพยาบาลอาหรับอัล-อาลีห์ ในกาซา
อิสราเอลกล่าวหาฮามาสว่า ใช้ตึกของโรงพยาบาลเป็น “ฐานควบคุมและบัญชาการ” ซึ่งฮามาสปฏิเสธ
โรงพยาบาลอาหรับอัล-อาลีห์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลหลักในการรักษาผู้บาดเจ็บของพื้นที่กาซาทางตอนเหนือไม่สามารถรับผู้ป่วยได้อีกต่อไปแล้ว องค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั้งห้องฉุกเฉิน ห้องแล็บปฏิบัติการ เครื่องเอ็กซเรย์และห้องจ่ายยาถูกทําลาย

“ผมเริ่มไปรักษาที่โรงพยาบาลอัล-ชีฟา จากนั้นก็ถูกย้ายตัวไปที่ รพ. อัล-อาลีห์ และพวกเขาทิ้งsะเบิดที่นั่น” ซายิด บารากัต ชายสูงอายุที่บาดเจ็บกระดูกต้นขาหัก ซึ่งมาถึงคลินิก MSF ด้วยไม้ค้ำยันกล่าว
บารากัตได้รับการผ่าตัดหลังจากได้รับบาดเจ็บจากการถูกลูกกระสุนปืนใหญ่ของอิสราเอลในที่พักพิงที่เขาพักอยู่เมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ที่ขาของเขามีหมุดที่ปักไว้และมีอาการบวม
“ผมมาที่นี่เพื่อรักษาและติดตามอาการ” บารากัตกล่าว ระหว่างที่พยาบาลกำลังเปลี่ยนชุดให้เขาและให้ยาแก้ปวด
ผ่านมาถึงครึ่งวัน แพทย์หญิงซุกการ์ตรวจห้องยาเล็ก ๆ ของคลินิก เธอดูมีความกังวลเกิดขึ้นเพราะชั้นวางหลายชั้นมีแต่ความว่างเปล่า
อิสราเอลปิดกั้นทางเข้ามาสู่ฉนวนกาซาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค. โดยระบุว่าเพื่อเป็นการกดดันฮามาสให้ปล่อยตัวประกันเพิ่มเติม นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ไม่มีความช่วยเหลือใด ๆ เข้ามาในกาซาได้เลย
“สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เราไม่มีอินซูลิน เราไม่มียารักษาโรคลมบ้าหมู เราไม่มีกระทั่งยาพื้นฐาน เช่น ยาแก้ไข้” เธอกล่าว
“มันเป็นฤดูที่มีการติดเชื้อผ่านทางผิวหนังและเราไม่มียาครีมใช้ภายนอกหรือขี้ผึ้งสําหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่มียารักษาโรคหิดและเหา”
ตอนนี้ที่คลินิกดังกล่าว แพทย์ต้องจัดสรรการใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่อย่างจำกัด

“เรากำลังพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้ เวชภัณฑ์และยา เพียงพอสำหรับสัปดาห์ข้างหน้า แต่เราคาดว่าสต็อกของเราจะหมดในอีกสองสัปดาห์ไม่มากก็น้อย” พญ.ซุกการ์ กล่าว
ไม่นานหลังจากนั้น พญ.ซุกการ์ ก็กลับมาที่ห้องให้คําปรึกษาของเธอ ผู้ป่วยยังคงมาที่คลินิกอย่างไม่หยุดหย่อน ในนี้มีเด็กป่วยจำนวนมากที่มีอาการไอ ไข้ และท้องเสีย
เมื่อถึงเวลา 15.30 น. เป็นเวลาที่คลินิกจะต้องปิดให้บริการแล้ว แพทย์ 4 คนนับจำนวนคนไข้ที่เข้ามารักษาวันนี้ได้เกือบ 390 คน
หลังจากวันอันเหน็ดเหนื่อยที่ยาวนาน การเดินกลับบ้านของ พญ.ซุกการ์ ก็เป็นอีกความเหน็ดเหนื่อยเช่นกัน
เมื่อเธอออกจากคลินิกเธอโทรศัพท์หาครอบครัว ความคิดมุ่งไปยังการดูแลลูก ๆ ของเธอเอง ซึ่งต้องพลัดถิ่นไปกับเธอถึง 9 ครั้งในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา
“เหมือนเช่นชาวกาซาทุกคน ฉันมีชีวิตประจำวันที่ต้องดิ้นรนเพื่อที่จะหาน้ำดื่มที่สะอาดและอาหารสำหรับลูก ๆ” พญ.ซุกการ์ กล่าว “เราไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้น มันจึงยากแม้แต่กระทั่งจะชาร์จแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ”
“เหนือสิ่งอื่นใด มันยากมากที่จะมีความหวัง” เธอกล่าวต่อ “ฉันรู้สึกว่าฉันอยู่ในฝันร้ายที่ไม่มีวันสิ้นสุด สงครามนี้จะจบลงเมื่อไหร่ ?”
สําหรับตอนนี้ ไม่มีคําตอบและไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะผ่อนคลายลง
ที่มา BBC.co.uk