จีนยึดสันดอนทรายขนาดเล็กจิ๋วกลางทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์ตอบโต้อย่างไร

ที่มาของภาพ : CCTV

สื่อของรัฐบาลจีนเผยแพร่ภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่ยามชายฝั่งยืนอยู่บนสันดอนทรายของแนวปะการังแห่งนี้

data

  • Writer, อีวาน ซัมเมอร์วิลล์
  • Characteristic, บีบีซีนิวส์

สำนักข่าวซีซีทีวี (CCTV) ของจีนรายงานข่าวด้วยการเผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่หน่วยยามชายฝั่ง 4 นาย สวมชุดสีดำล้วน ในมือถือธงชาติจีน ได้ยึดสันทรายเล็ก ๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นการยกระดับข้อพิพาทระดับภูมิภาคกับฟิลิปปินส์ ซึ่งตั้งอยู่บนแนวปะการังแซนดีเคย์ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาททางทะเลในทะเลจีนใต้

สำนักข่าวซีซีทีวี กล่าวว่า จีนได้ “ดำเนินการควบคุมทางทะเลและบังคับใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ” เหนือแนวปะการังดังกล่าวในเดือน เม.ย.

อย่างไรก็ตาม ทั้งจีนและฟิลิปปินส์ต่างอ้างสิทธิ์บนเกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ โดยทางการฟิลิปปินส์กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า (27 เม.ย.) พวกเขาเป็นเจ้าของสันดอนทราย 3 แห่ง พร้อมกับเผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่ชูธงชาติในลักษณะเลียนแบบภาพถ่ายของจีน

ยังไม่แน่ชัดว่าสันดอนทรายแห่งหนึ่งที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของฟิลิปปินส์เดินทางไปนั้นคือแซนดีเคย์หรือไม่ แต่ในแถลงการณ์ของกองกำลังเฉพาะกิจแห่งชาติทางทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก (NTF-WPS) ระบุว่า เห็น “การปรากฏตัวอย่างผิดกฎหมาย” ของเรือยามชายฝั่งของจีนที่อยู่ห่างจากสันดอนทรายแห่งหนึ่งในระยะ 1,000 หลา (914 เมตร) รวมถึงเรือติดอาวุธจีนจำนวน 7 ลำ

“ปฏิบัติการนี้สะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทและความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการปกป้องอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐในทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก” แถลงการณ์ระบุ

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

of ได้รับความนิยมสูงสุด

ที่มาของภาพ : NTF-WPS

เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์โพสต์ท่ากับธงชาติบนสันดอนทราย หลังจีนแสดงท่าทีผาดโผน

ข้อพิพาทระหว่างสองประเทศทวีความตึงเครียดมากขึ้น โดยมีการเผชิญหน้ากันบ่อยครั้ง รวมถึงการชนกันและการปะทะกันระหว่างเรือของทั้งสองชาติ

แซนดีเคย์อยู่ใกล้กับด่านทหารของฟิลิปปินส์ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะทิตูหรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า ปัก-อาซา โดยเป็นสถานที่ที่รายงานว่าทางรัฐบาลฟิลิปปินส์ใช้ติดตามการเคลื่อนไหวของจีนในพื้นที่นี้

ไม่มีสัญญาณว่าจีนกำลังยึดครองเกาะขนาด 200 ตารางเมตรอย่างถาวร และมีรายงานว่าหน่วยยามชายฝั่งของจีนได้ถอนออกไปแล้ว

ทางทำเนียบขาวยังบอกด้วยว่ารายงานการยึดแนวปะการังของจีนนั้น “น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง หากเป็นเรื่องจริง”

ด้านเว็บไซต์ไฟแนนเชียลไทม์ส รายงานความเห็นของ เจมส์ ฮิววิตส์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยเขาเตือนว่า “การกระทำเช่นนี้คุกคามเสถียรภาพในภูมิภาคและละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ” และกล่าวด้วยว่า ทำเนียบขาวกำลัง “ปรึกษาหารือเรื่องนี้กับพันธมิตรของเราอย่างใกล้ชิด”.

ความเคลื่อนไหวของจีนเกิดขึ้นขณะที่กองทัพสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ กำลังดำเนินการซ้อมรบประจำปีที่เรียกว่าการฝึกซ้อมบาลิกันตัน ซึ่งจีนวิพากษ์ว่าการซ้อมรบดังกล่าวเป็นการยั่วยุ เนื่องจากจะมีกำลังพลเข้าร่วมมากกว่า 17,000 นาย เข้าร่วมในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ยังมีการยิvขีปนาวุธจากระบบบูรณาการป้องกันภัยทางอากาศของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ออกจากชายฝั่งทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการทดสอบการยิvจริงครั้งที่ 2 ของระบบที่ถูกส่งไปยังฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ การซ้อมรบดังกล่าวยังมีการใช้ NMESIS ซึ่งเป็นระบบขีปนาวุธต่อต้านเรือของสหรัฐฯ ด้วย

ที่มาของภาพ : Getty Shots

สหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์กำลังซ้อมรบประจำปีร่วมกัน

กองทัพฟิลิปปินส์กล่าวว่า การฝึกซ้อมดังกล่าวเป็นไปเพื่อการป้องกันประเทศ แต่ก็เน้นย้ำด้วยว่าไม่ได้มุ่งเป้าไปยังประเทศใดประเทศหนึ่ง

“การฝึกอบรมแบบนี้มีค่าอย่างยิ่งต่อพวกเรา” จอห์น เลฮาน เจ้าหน้าที่กรมทหารชายฝั่งนาวิกโยธินที่ 3 กล่าว

การฝึกซ้อมดังกล่าวยังช่วยบรรเทาความหวาดกลัวในหมู่ของพันธมิตรสหรัฐฯ ซึ่งกังวลว่าโดนัลด์ ทรัมป์ อาจยกเลิกการสนับสนุนทางทหารระยะยาวนานหลายปีในภูมิภาคนี้ โดยในการเดินทางมาเยือนกรุงมะนิลาของ พีท เฮกเซธ รมว.กลาโหมของสหรัฐฯ เขากล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มความเป็นพันธมิตรกับฟิลิปปินส์เป็น “สองเท่า” และมุ่งมั่นที่จะ “สร้างการป้องปรามใหม่” ต่อจีน

อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทเรื่องดินแดนในทะเลจีนใต้ดำเนินมานานหลายศตวรรษ แต่ความตึงเครียดเริ่มมีมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

จีนอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่ใหญ่ที่สุดซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ถูกแบ่งเขตด้วยสิ่งที่เรียกว่า “เส้นประ 9 เส้น” ซึ่งลากทอดยาวไปทางใต้และทางตะวันออกหลายร้อยไมล์จากมณฑลไหหลำซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของจีน โดยทางรัฐบาลจีนสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ที่กว้างใหญ่ไพศาลเช่นนี้ด้วยการสร้างเกาะเทียมและส่งเรือออกมาลาดตระเวน

ขณะเดียวกัน ก็มีประเทศอื่น ๆ ที่อ้างสิทธิ์บนเกาะและเขตต่าง ๆ แข่งขันกับจีน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน มาเลเซีย รวมถึงบรูไน