สมองกับลำไส้ร่วมกันทำงาน ควบคุมอารมณ์ของคนเราได้อย่างไร ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos

Article data

  • Author, ออนเดร เบียร์นาธ
  • Role, บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

ลำไส้ของมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทกว่า 100 ล้านเซลล์ ซึ่งรับผิดชอบการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนินถึง 95% ของที่มีทั้งหมดในร่างกาย โดยฮอร์โมนนี้คือสารสื่อประสาท (neurotransmitter) อันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสุขภาพกายและจิตที่ดีของคนเราอย่างยิ่ง

เมื่อไม่นานมานี้ หลักฐานจากงานวิจัยใหม่ล่าสุดพบว่า จุลินทรีย์ทุกชนิดพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า “ไมโครไบโอตา” (microbiota) ซึ่งประกอบไปด้วยแบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา, และจุลชีพอื่น ๆ อีกนับล้านล้านตัว มีความสำคัญยิ่งยวดชนิดจะมองข้ามไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น บ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องระหว่างลำไส้กับสมอง โดยพิสูจน์ว่าอวัยวะทั้งสองต่างก็มีอิทธิพลต่อกัน เช่นคุณอาจจะเคยมีความรู้สึกแปลก ๆ เหมือนเป็นลางสังหรณ์ (gut feeling) ที่แสดงออกเป็นอาการปั่นป่วนในท้องหรือรู้สึกคลื่นไส้ ในเวลาที่เครียดหรือตื่นเต้นก่อนเข้าประชุมครั้งสำคัญ หรือบางคนอาจรู้สึกหงุดหงิดโมโหง่าย ในเวลาที่มีอาการท้องผูกได้

ทว่าความสัมพันธ์อันแปลกประหลาดระหว่างสองอวัยวะที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร และเรามีวิธีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อปรับปรุงให้สมองและลำไส้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นหรือไม่ เพราะคำตอบในเรื่องนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญ ที่ช่วยไขความลับของการมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีก็เป็นได้

แกนลำไส้-สมอง

แกนลำไส้-สมอง (gut-mind axis) คือระบบเชื่อมต่อสื่อสารสองทางระหว่างคู่อวัยวะดังกล่าว โดยพญ.ซาลีฮา มาห์มูด อาเหม็ด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร (gastroenterologist) จากสหราชอาณาจักร และทูตสันถวไมตรีขององค์กรวิจัย Bowel Compare UK อธิบายว่า แกนลำไส้-สมอง มีเส้นทางเชื่อมต่อสื่อสารอยู่ 3 ทางด้วยกัน

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

Terminate of ได้รับความนิยมสูงสุด

เส้นทางแรกคือการเชื่อมต่อผ่าน “เส้นประสาทวากัส” (Vagus nerve) ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญส่วนหนึ่งในระบบประสาทของมนุษย์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อสมองเข้ากับอวัยวะสำคัญต่าง ๆ โดยตรง อย่างเช่นหัวใจและลำไส้

เส้นทางที่สองคือการสื่อสารกันผ่านฮอร์โมน เนื่องจากการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดจากต่อมไร้ท่อ อย่างเช่นฮอร์โมนความหิวหรือเกรลิน (ghrelin) และฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มหรือจีแอลพี-วัน (GLP-1) สามารถส่งสัญญาณสื่อประสาทไปทั่วร่างกายของคนเราได้

เส้นทางที่สามคือการสื่อสารผ่านระบบภูมิคุ้มกัน “หลายคนอาจคิดว่า เซลล์ภูมิคุ้มกันมีอยู่แต่ในเลืoดหรือต่อมน้ำเห-ือง แต่อันที่จริงแล้ว เซลล์ภูมิคุ้มกันจำนวนมหาศาลทำหน้าที่ของมันอยู่ในลำไส้ ทั้งยังตัวกลางที่ช่วยให้สมองสื่อสารกับทุกองคาพยพของสิ่งมีชีวิตได้” พญ.อาเหม็ด กล่าวอธิบาย

นพ.ปานกาจ เจ. ปาศรีชา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร จากศูนย์การแพทย์เมโยคลินิกอันมีชื่อเสียงของสหรัฐฯ บอกว่าสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงสมองและลำไส้เข้าด้วยกัน อาจเกิดขึ้นเพราะสมองต้องการพลังงานปริมาณมหาศาล เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งลำไส้นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเสมือน “โรงไฟฟ้า” ที่ผลิตพลังงานป้อนให้กับร่างกายของเราเป็นหลัก

นพ.ปาศรีชายังบอกว่า เนื้อสมองนั้นคิดเป็นเพียง 2% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด แต่กลับใช้พลังงานไปถึง 20% ของที่ร่างกายมีอยู่ ในขณะที่ลำไส้นั้นทำหน้าที่ย่อยสลายอาหาร เพื่อให้กลายเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลืoดในรูปของ “เชื้อเพลิง” เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ นำไปเผาผลาญสร้างพลังงานของตนเองขึ้น

อย่างไรก็ตาม แกนลำไส้-สมองนั้นเป็นระบบการสื่อสารสองทาง ซึ่งหมายความว่าในขณะที่สมองมีอิทธิพลต่อการทำงานของลำไส้ ลำไส้เองก็สามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของสมองได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันของคนเรา ได้แก่ช่วงเวลาที่เผชิญภัยอันตราย หรือช่วงเวลาสำคัญในชีวิตที่ต้องเจอกับความเครียดกดดันอย่างหนัก ปฏิกิริยาตอบสนองทางกายภาพที่เกิดขึ้นเป็นอย่างแรกมักจะเกิดขึ้นที่ลำไส้ โดยอาจมีอาการปวดเกร็งท้อง, คลื่นไส้อาเจียน, หรือแม้แต่ท้องเสียได้

แม้แต่ยามที่ตกอยู่ในห้วงรัก เรามักรู้สึกปั่นป่วนภายในท้องเหมือนกับมีผีเสื้อหลายตัวกระพือปีกบินอยู่ในนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วคือภาวะมีอารมณ์ตื่นเต้นเร้าใจ ในเวลาที่ได้อยู่ใกล้กับคนพิเศษที่แอบชอบ ส่วนในเวลาที่ลำไส้ต้องทนทุกข์ เช่นมีอาการท้องผูกถ่ายไม่ออกมานานหลายวัน สมองจะรู้สึกเคร่งเครียดและทำให้ผู้นั้นมีอารมณ์หงุดหงิดกระวนกระวายโดยไม่ทราบสาเหตุ

ที่มาของภาพ : Getty Photos

มีเครื่องดื่ม “โพรไบโอติก” หลายชนิด วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของอินเดีย

โลกทั้งใบในพุงของคุณ

ลำไส้ของเราเป็นบ้านของจุลินทรีย์หลากชนิด ในปริมาณราว 10-100 ล้านล้านเซลล์ โดยมีทั้งแบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา, โปรโตซัว, และจุลชีพชนิดอื่น ๆ ซึ่งนับรวมกันแล้วมีจำนวนมากกว่าเซลล์ร่างกายของคนเราเองเสียอีก

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์ โดยดำรงอยู่ร่วมกันแบบเอื้อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย เพราะในขณะที่จุลินทรีย์ได้รับสารอาหารจากสิ่งที่คนเรากินเข้าไป พวกมันก็ช่วยย่อยอาหารและช่วยสลายสารบางชนิดที่ร่างกายของเราย่อยสลายเองไม่ได้

ตลอดระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา องค์ความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ รวมทั้งอิทธิพลที่พวกมันมีต่อสุขภาพของคนเรา ได้เพิ่มพูนและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งดร.อาเหม็ดบอกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือและวิธีการตรวจสอบอันทันสมัย ที่ทำให้สามารถตรวจนับปริมาณจุลินทรีย์แต่ละชนิดในลำไส้ได้ ทั้งยังนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อย่างไรด้วย

“ความเปลี่ยนแปลงของสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย ซึ่งเรียกว่าภาวะเสียสมดุลทางชีวภาพ (dysbiosis) ปัจจุบันถูกตรวจพบแล้วว่า มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับโรคภัยของมนุษย์เกือบทุกชนิด” นพ.ปาศรีชากล่าวเสริม

ผลวิจัยของเขาซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2011 พบว่าหากลูกหนูทดลองมีการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแรก ๆ หลังคลอด จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ภาวะเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้มนุษย์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน, โรคหัวใจและหลอดเลืoด, หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งด้วย

อย่างไรก็ตาม นพ.ปาศรีชากล่าวเน้นย้ำด้วยว่า ปัจจุบันเรายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงพอ ที่จะยืนยันได้ว่าความผิดปกติของจุลินทรีย์ในลำไส้ คือสาเหตุที่แท้จริงของโรคหลายชนิด “แม้จะมีหลักฐานในประเด็นนี้จากการทดลองกับสัตว์และมนุษย์อยู่บ้าง ซึ่งก็ชี้ว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดจากลำไส้ อาจกลายไปเป็นโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าได้ แต่ปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้มาจากลำไส้จริงหรือ เรื่องนี้เรายังไม่อาจให้คำตอบที่ชัดเจนได้”

ที่มาของภาพ : Getty Photos

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า อาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดผสมอยู่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ

สูตรอาหารเพื่อรักษาสมดุลจุลินทรีย์

พญ.อาเหม็ดแนะนำว่า การรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายมนุษย์ เพื่อให้แกนลำไส้-สมอง ทำงานสอดประสานกันอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะแต่ละคนมีองค์ประกอบของจุลินทรีย์ชนิดพันธุ์ต่าง ๆ อยู่ในสัดส่วนที่ไม่เหมือนกัน “ระบบจุลชีวนิเวศหรือไมโครไบโอมของคนเรานั้นต่างกันออกไป ใช่ว่าทารกทุกคนที่เกิดมาจะมีจุลินทรีย์ทุกชนิดอยู่ในตัวเหมือน ๆ กัน”

แต่ถึงกระนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีเทคนิควิธีการบางอย่าง ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงสุขภาพของระบบทางเดินอาหารได้ เช่นการกินอาหารหลากหลายประเภทให้ได้สัดส่วนสมดุลครบทุกหมู่ ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติในช่วงเริ่มต้นที่ดีเลยทีเดียว

การกินอาหารจำพวก “โพรไบโอติก” (probiotic) หรืออาหารที่มีแบคทีเรียชนิดดี อย่างเช่นโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติ, นมเปรี้ยวคีเฟอร์ (kefir), ชาหมักคอมบุฉะ (kombucha) รวมทั้งการกินอาหารจำพวก “พรีไบโอติก” (prebiotic) หรืออาหารที่มีกากใยไฟเบอร์สูงอย่างผักผลไม้ ซึ่งจะกลายไปเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้โดยตรง ก็ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญให้คนทั่วไปบริโภคด้วยเช่นกัน

พญ.อาเหม็ดแนะนำว่า “การกินอาหารให้หลากหลายนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจากพืชหรือแพลนต์เบส (plant-based completely mostly) ที่คุณกินเข้าไป” เธอยังเน้นย้ำว่า ทุกคนควรจะคำนึงถึงปริมาณของอาหารจำพวกผัก,ผลไม้,ธัญพืชเต็มเมล็ด, ถั่วเมล็ดแห้ง (legumes), ถั่วเปลือกแข็ง, เมล็ดพืช, และเครื่องเทศ ที่ควรได้รับในแต่ละมื้อแต่ละวัน “ฉันไม่ใช่คนกินมังสวิรัติ แต่เชื่อว่าคนเราจำเป็นต้องปรับอาหารการกิน ให้มีอาหารจากพืชเป็นหลักได้แล้ว”

มีงานวิจัยที่ระบุว่า คนที่กินอาหารจำพวกพืชผักผลไม้มากถึง 30% ของอาหารทั้งหมดในหนึ่งสัปดาห์ มีระบบจุลชีวนิเวศหรือไมโครไบโอมในลำไส้ที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การเปลี่ยนมากินอาหารที่ดีต่อสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้มากขึ้น ช่วยรักษาภาวะอารมณ์แปรปรวนและโรคทางใจอย่างโรคซึมเศร้าได้ด้วย

ผลการศึกษาหนึ่งของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในสหราชอาณาจักร ระบุว่าได้ทดลองให้อาสาสมัครที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 71 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับโพรไบโอติกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาปลอม (placebo) ซึ่งการแบ่งกลุ่มนี้ทำด้วยวิธีสุ่ม และนักวิจัยเองก็ไม่ทราบว่าอาสาสมัครคนไหนได้รับยาชนิดใดไป

ที่มาของภาพ : Getty Photos

การกินอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ ส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด

ในระหว่างการทดลอง ทีมผู้วิจัยจะคอยทำการทดสอบอารมณ์, ความวิตกกังวล, คุณภาพการนอนหลับ, และวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดในน้ำลาย โดยมุ่งสังเกตว่า คนที่ซึมเศร้ามีแนวโน้มจะให้ความสนใจต่ออารมณ์เชิงลบ หรือการแสดงสีหน้าในทางลบ มากกว่าสิ่งกระตุ้นที่เป็นกลางหรือเป็นบวกทางอารมณ์

ผศ.ดร.ริตา ไบโย นักจิตวิทยาคลินิกผู้นำทีมวิจัยดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้สอนที่มหาวิทยาลัย ISCTE แห่งกรุงลิสบอนของโปรตุเกส บอกว่า “งานวิจัยของเรามุ่งหาคำตอบว่า โพรไบโอติกสามารถจะมีอิทธิพล ต่อการประมวลผลข้อมูลทางอารมณ์ในสมองได้หรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับโพรไบโอติก มีแนวโน้มจะใส่ใจต่อสีหน้าและอารมณ์เชิงลบลดน้อยลงมาก”

อย่างไรก็ตาม แม้ผศ.ดร.ไบโย จะเชื่อว่า โพรไบโอติกสามารถบรรเทาอาการบางอย่างของโรคซึมเศร้าได้ แต่เธอเน้นย้ำว่ายังคงต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป “เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้นจนแน่ใจว่า โพรไบโอติกส่งผลในทางบวกอย่างแท้จริง ช่วยต้านทานอารมณ์เชิงลบได้ถึงระดับที่มีนัยสำคัญ รวมทั้งมีผลข้างเคียงน้อย”

นพ.ปาศรีชา กล่าวทิ้งท้ายว่า “การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับสมดุลขององค์ประกอบจุลินทรีย์ในลำไส้นั้น อาจต้องใช้เวลานานหลายสิบปี ทั้งยังเป็นเรื่องยากที่คนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยการกินได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่อย่างนั้นโรคอ้วนคงไม่แพร่ระบาดไปทั่วโลกเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม เรากำลังพยายามค้นหาตัวต่อชิ้นสำคัญ ที่จะมาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้อยู่”