แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/q6ri | ดู : 10 ครั้ง
ท่ามกลางในวิกฤตแผ่นดินไหว-รัฐบาลทหารพม่าส่งความช่วยเหลือประช

ท่ามกลางในวิกฤตแผ่นดินไหว รัฐบาลทหารพม่าส่งความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างจำกัดด้วยบริบทของสงครามกลางเมือง ขณะที่การประกาศหยุดยิvแทบไม่มีผลในทางปฏิบัติ เพราะยังคงมีปฏิบัติการทางอากาศในพื้นที่ฝ่ายต่อต้าน รวมทั้งพื้นที่ประสบภัย

หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวศูนย์กลางที่ภาคสะกาย-มัณฑะเลย์ 28 มี.ค. 68 สำนักข่าวดีวีบี ภาษาอังกฤษ รายงานว่าหนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์มียอดผู้เสียชีวิต 4,461 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บ 11,366 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวอ้างอิงมาจากข้อมูลของรัฐบาลทหาร รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ และสื่อมวลชนที่เชื่อถือได้

การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในพม่าขณะนี้ได้ขยับเข้าสู่ระยะซ่อมสร้าง กลุ่มคนตัวเล็กๆ ทั้งไทยและพม่าที่อาศัยในฝั่งไทยยังคงเปิดรับบริจาค มีการส่งเงิน-สิ่งของอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยเครือข่ายในระดับประชาชนด้วยกันเอง เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าความช่วยเหลือที่ส่งให้เผด็จการพม่าอาจไปไม่ถึงมือผู้เดือดร้อนจริงๆ

เงินจากแรงงานในสมุทรสาครสู่ฝ่ายต่อต้านในภาคสะกาย

“โดยปกติแล้ววันศุกร์จะเป็นวันหยุดของผม ผมกำลังนอนพักผ่อนบนโซฟาสำนักงาน แต่เมื่อรับรู้แรงสั่นไหว ก็รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น” โกซอ ชายชาวทวายวัย 44 ปี เล่าให้ผู้สื่อข่าวประชาไทฟัง

โกซออยู่เมืองไทยมาตั้งแต่ยังวัยรุ่น แรกเริ่มไม่ได้ภาษาไทยเลยสักนิดจนกระทั่งผ่านไป 20 ปีจึงสื่อสารได้ เราคุยกันโดยไม่ผ่านล่าม โดยเขาเป็นแรงงานข้ามชาติคนหนึ่งที่มีบทบาทระดมทุนช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหว

โกซอเล่าว่าในวันนั้นเขารู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว เพราะเคยเจอแผ่นดินไหวแบบไม่รุนแรงมาแล้วสมัยอยู่ที่มัณฑะเลย์ แตกต่างจากคนไทยวัยทำงานจำนวนมากที่อยู่ในอาการงงๆ และคิดแค่ว่าตัวเองมีอาการบ้านหมุน

โดยวันถัดมา เขากับเพื่อนราว 6 คนรวมกลุ่มกันเปิดรับบริจาค วันนั้นเพียงวันเดียวได้มา 10,000 บาท จนถึงปัจจุบันมียอดบริจาครวมประมาณ 400,000 บาท

เงินจำนวนนี้นับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อพบว่าเป็นการระดมกันของแรงงานข้ามชาติ คนตัวเล็กตัวน้อยที่มีรายได้ไม่มากและยังเผชิญความลำบากหลากหลายมิติในไทย

ย่านหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร มีป้ายโฆษณาภาษาพม่าติดไว้อย่างเป็นปกติ

โกซอเล่าว่ามีทั้งคนที่โอนเงินมาหลักร้อย ขับรถเอาเงินมาให้ถึงที่ หรือรวมเงินกันเป็นหลักพัน-หมื่นจากคนในโรงงาน/บริษัทเดียวกันกันมาให้

เหยื่อแผ่นดินไหวที่กลุ่มของโกซอช่วยเหลือมีทั้งชุมชนในพม่าและญาติของแรงงานในตึกอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่พังถล่มลงมา

มีการแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปช่วยญาติๆ ของคนงานด้วย พวกเขาเหล่านี้ต่างเป็นแรงงานข้ามชาติในไทยเช่นเดียวกัน ตั้งแต่วันเกิดเหตุก็ตกอยู่ในสภาพที่ไม่มีกะจิตกะใจทำงาน วิ่งวุ่น ห่วงกังวลชะตากรรมของญาติ ตัวเองก็ขาดรายได้ ทั้งยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับสถานะการจ้างงานของตัวเองในช่วงที่หยุดงานไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • เคว้งคว้างกลางซากตึก ชีวิตญาติแรงงานพม่า สารพัดอุปสรรคเข้าไม่ถึงเยียวยา

ส่วนชุมชนในพม่า โกซอเล่าว่ากลุ่มของเขากระจายส่งเงินไปยังสะกายและมัณฑะเลย์ ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Team spirit Executive – NUG) ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นอำนาจ

โกซอเปิดเผยด้วยว่า กลุ่มของเขายังส่งเงินช่วยเหลือไปยังสะกายผ่านเจ้าหน้าที่ของกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (Of us’s Defence Power -PDF) ซึ่งเป็นปีกทหารของรัฐบาล NUG

ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคสะกาย ขณะนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มต่อต้านที่สนับสนุนประชาธิปไตย

เหตุใดชาวพม่าไม่เชื่อในการบริจาคผ่านรัฐบาลทหาร

“(ชาวพม่า) ทุกๆ คนรู้กันอยู่แล้วว่า 70 กว่าปีที่พม่ามีรัฐบาลทหาร พวกเขาเอาเงินใส่กระเป๋าตัวเอง ไม่ช่วยเหลือประชาชน และเราก็ตรวจสอบไม่ได้”

นี่คือคำตอบของ โกซอ ผู้ส่งเงินให้เจ้าหน้าที่ของฝ่ายต่อต้าน เมื่อเราถาม เขาตอบได้ทันทีเหมือนว่ามันเป็นคอมมอนเซนส์ที่ใครๆ ก็รู้กัน

เราถามเขาต่อไปว่า แล้วเขาเชื่อมั่นแค่ไหนว่าการส่งเงินให้ฝ่ายต่อต้านจะทำให้ความช่วยเหลือไปถึงผู้เดือดร้อน มีหลักฐานการบริจาคที่พอยืนยันได้หรือไม่ จากนั้นเขาก็เปิดรูปภาพให้เราดู เป็นภาพการส่งมอบของบริจาคของฝ่ายต่อต้าน โดยในภาพมีการเบลอหน้าคนไว้แล้วทั้งหมด

โกซอ

ตามรายงานของสำนักข่าวบีบีซีระบุว่า รัฐบาลทหารพม่าซึ่งเริ่มเปิดฉากทำสงครามกลางเมืองต่อกองกำลังฝ่ายต่อต้านในเมียนมาหลังยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2564 มีประวัติการใช้สิ่งของช่วยเหลือและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นอาวุธในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม เช่น การนำส่งสิ่งของช่วยเหลือดังกล่าวไปยังพื้นที่ใต้การควบคุมของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็จำกัดการส่งสิ่งของเหล่านั้นไปยังพื้นที่อื่น ๆ ที่ตนไม่ได้ยึดครอง เป็นต้น

บีบีซีระบุด้วยว่า ในเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งก่อนๆ เช่น เหตุพายุไซโคลนโมคาพัดถล่มในปี 2566 และพายุไต้ฝุ่นยางิในปี 2567 ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อยคน กองทัพพม่าได้สร้างอุปสรรคต่อความพยายามในการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ที่กลุ่มต่อต้านยึดครอง โดยปฏิเสธไม่ให้การขนส่งเสบียงต่าง ๆ ผ่านจุดตรวจศุลกากรไปได้ หรืออนุมัติการเดินทางให้กับเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์หรือผ่อนปรนข้อจำกัดในการให้ความช่วยเหลือด้านการช่วยชีวิต

ขิ่น โอมาร์ นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและผู้ก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน Innovative Yelp กล่าวถึงวิกฤตทางด้านมนุษยธรรมในพม่าที่มีมาอยู่แล้วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ในเวทีสาธารณะ “1 เดือนหลังแผ่นดินไหว: ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในไทยและเมียนมา” จัดโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“เราได้เห็นวิกฤตด้านมนุษยธรรมทวีความรุนแรงมากขึ้นตลอดปี 2567 โดยมีผู้คนมากกว่า 3.5 ล้านที่ต้องพลัดถิ่นภายในประเทศ หลบหนีจากความรุนแรงของกองทัพพม่า แต่คนกลุ่มนี้กลับได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมน้อยมากจากชุมชนระหว่างประเทศ พวกเขาต้องหลบหนีจากการโจมตีทางอากาศและสถานการณ์ความขัดแย้ง และกองทัพได้ปิดกั้นความช่วยเหลือที่จะส่งไปยังผู้ที่หลบหนีสงคราม”

“มีแค่ความช่วยเหลือจากผู้บริจาคที่มีแนวคิดเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีผู้บริจาคที่ทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมและองค์กรในชุมชนท้องถิ่น ผู้ให้บริการด้านสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ หรืออาจเรียกว่าเป็นการให้ความช่วยเหลืออย่างไม่เป็นทางการผ่านทางชายแดน สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการส่งความช่วยเหลือให้ถึงกลุ่มที่เปราะบางที่สุดในประเทศ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา”

เครือข่ายแรงงาน-ชุมชน ผู้เล่นสำคัญในงานมนุษยธรรม

ในจังหวัดเชียงใหม่ อีกหนึ่งพื้นที่ที่มีชาวพม่าอาศัยจำนวนมาก มีร้านอาหารพม่าเล็กๆ ที่ใช้ชื่อว่า “สนิมทุน” เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นสำคัญที่มีบทบาทประสานงานเชื่อมร้อยความช่วยเหลือในระดับประชาชนต่อประชาชน

5 วันหลังจากแผ่นดินไหวใหญ่ เฟซบุ๊กของสนิมทุนแจ้งผู้บริจาคถึงแนวทางการทำงานและข้อจำกัดไว้ว่า เงินบริจาคจะถูกส่งไปยังพื้นที่ใดในจำนวนเท่าไร ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่นั้นๆ และความสามารถของเครือข่ายอาสาสมัครที่จะนำไปกระจายต่อ อาสาสมัครในพื้นที่ส่วนมากเป็นคนหนุ่มสาว เผชิญความเสี่ยงในการถูกจับกุมหรือถูกบังคับเกณฑ์ทหาร

เพจสนิมทุนโพสต์อัปเดตเรื่อยๆ เกี่ยวกับความช่วยเหลือที่ส่งเข้าไป อาทิ ให้เงินผ่านเครือข่ายแรงงานในพื้นที่สะกายและมัณฑะเลย์ และกลุ่มครูในเนปิดอว์เพื่อไปกระจายต่อ, การส่งเงินเพื่อจัดซื้อของจำเป็น เช่น เพิงพักฉุกเฉิน มุ้ง และเครื่องกรองน้ำให้กับหมู่บ้านห่างไกล, ค่าขนส่งยาจากเมืองไทยเข้าไปยังพม่า เป็นต้น

โดยจะไม่มีการเปิดเผยชื่ออาสาสมัคร ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นในพม่าเพื่อความปลอดภัย โดยจะเปิดเผยกลุ่มองค์กรหรือเครือข่ายในประเทศไทยเพื่อความโปร่งใส เมื่อได้รับความยินยอม

“ในเรื่องการโอนเงิน เราจะปกปิดชื่อและตัวตนขององค์กรผู้รับเงินด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย บางครั้งเราสามารถโอนเงินให้กับอาสาสมัครโดยตรงได้ แต่บางครั้งเราก็ต้องโอนผ่านตัวแทนในประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความลำบาก และแม้แต่ตัวแทนในพม่าเองก็มีความเสี่ยง”

“แม้แต่การถ่ายรูปเงินบริจาคก็อาจกลายเป็นหลักฐานการจับกุมของทหารพม่าได้ ดังนั้น เราจึงไม่ได้ขอให้อาสาสมัครส่งรูปเงินบริจาคกลับมา หากพวกเขาสะดวกจะส่งรูปกลับมาภายหลัง ก็ต้องอาศัยสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วย”

บ้านในเขตทะเลสาบอินเล รัฐฉาน ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว โดยมีการประเมินความต้องการของคนในพื้นที่แล้วพบว่า บ้านหนึ่งหลังใช้งบประมาณซ่อม 20,000 บาท นอกจากนี้คนในเขตอินเลยังต้องการโซลาร์เซลล์ มุ้ง และนมกล่องสำหรับเด็ก

สืบสกุล ผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงราย ระบุว่าเขาเปิดรับการสนับสนุนในรอบนี้จนถึงวันที่ 5 มิ.ย.

ที่มา: Kidnukorn Suebsakun

จากเชียงราย ถนนพังๆ ฝั่งพม่าเป็นอุปสรรคใหญ่

ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์จากสำนักนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงราย ซึ่งเขาก่อตั้งขึ้นในช่วงโควิด-19 กล่าวกับประชาไทว่า การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เหยื่อแผ่นดินไหวในพม่าในขณะนี้ได้ขยับเข้าสู่ระยะซ่อมสร้าง โดยเฉพาะในเรื่องที่อยู่อาศัย ทั้งในส่วนที่เสียหายหนักจนต้องสร้างใหม่ และส่วนที่ยังสามารถซ่อมแซมได้

โดยในตอนนี้สิ่งที่ต้องการจะเป็นพวกมุ้ง ผ้าห่ม และอุปกรณ์ซ่อมบ้าน ซึ่งอย่างหลังถ้าเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ๆ ก็จะเป็นข้อจำกัดที่ภาคประชาชนไม่สามารถขนไปได้ จึงต้องอาศัยข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ

สืบสกุล กิจนุกร

ที่มา: Kidnukorn Suebsakun

เขาเล่าย้อนไปช่วงหลังวันเกิดเหตุใหม่ๆ ว่าศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงราย ได้เปิดระดมความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง ผ้าห่อศw และเงิน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากเครือข่ายแรงงานพม่าและนักศึกษาพม่าในเชียงราย

สิ่งของบรรเทาทุกข์จากศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงราย ถูกส่งเข้าไปยังชุมชนในภูมิภาคมัณฑะเลย์และสะกาย ซึ่งเป็นสองแห่งที่ความเสียหายสาหัสที่สุด นอกจากนี้ยังส่งไปที่เมือง เจ้าก์แส่ ภาคมัณฑะเลย์ด้วย

ด้วยความที่ จ.เชียงราย มีพรมแดนทางบกติดกับเมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉานของพม่า การขนของใส่รถบรรทุกแล้วลำเลียงเข้าไปจึงสามารถทำได้ ผ่านทางหลวงหมายเลข 4 จากท่าขี้เหล็ก ผ่านตองจี ไปมัณฑะเลย์  ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไม่มีการสู้รบกัน ถึงกระนั้นก็กินเวลาเดินทาง 3 วันกว่าของจะไปถึงที่หมาย

อุปสรรคใหญ่ที่สุดของเรื่องนี้คือสภาพถนนในฝั่งพม่าที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2567

“ทางเราประสานกับกลุ่มองค์กรท้องถิ่นที่ให้ความช่วยเหลือ รถมีป้ายติดชัดเจน ขนส่งสิ่งของชัดเจน มีหนังสือรับรอง (จากองค์กรผู้รับที่อยู่ปลายทาง)”

ดร.สืบสกุล ยืนยันว่าการส่งความช่วยเหลือนั้นไม่ได้ผ่านรัฐบาลทหาร แต่ขอไม่เปิดเผยชื่อองค์กรผู้รับด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

ทั้งนี้ มีรายงานว่ารัฐบาลทหารพม่ามีพฤติกรรมปิดกั้นความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในบางพื้นที่

รถขนสิ่งของบรรเทาทุกข์จากศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจังหวัดเชียงรายไปยังในเมืองมัณฑะเลย์ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

ภาพจาก: Kidnukorn Suebsakun

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดใจ ‘นักศึกษาพม่า’ ในไทย ธุรกิจการศึกษาบูม หลังพม่าบังคับเกณฑ์ทหาร

การหยุดยิvที่ไม่เกิดขึ้นจริง

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 เม.ย. รัฐบาลทหารประกาศเป็นครั้งแรกว่าจะหยุดปฏิบัติการทางทหารต่อฝ่ายต่อต้านชั่วคราว แต่การโจมตียังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน

ข้อมูลจากองค์การสหประชาติระบุว่า ตั้งแต่วันที่เกิดแผ่นดินไหวจนถึงวันที่ 29 เม.ย. กองทัพได้เปิดฉากโจมตีแล้วอย่างน้อย 243 ครั้ง รวมถึงโจมตีทางอากาศ 171 ครั้ง และมีพลเรือนเสียชีวิตมากกว่า 200 ราย

ขณะที่ข้อมูลจากสำนักข่าวดีวีบี ภาคภาษาอังกฤษ ระบุว่า นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จนถึงวันที่ 7 พ.ค. รัฐบาลทหารได้โจมตีทางอากาศและปืนใหญ่ 516 ครั้งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีถึง 385 ครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงหยุดยิvชั่วคราวที่รัฐบาลประกาศเอง การโจมตีเหล่านี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 346 รายและบาดเจ็บ 703 ราย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ค. รัฐบาลทหารประกาศขยายเวลาหยุดยิvชั่วคราวออกไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม

บทบาทไทยและอาเซียน

หลังจากที่มีการประกาศหยุดยิvครั้งแรก ต่อมาในวันที่ 3-4 เม.ย. พลเอกอาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และประธานาธิบดีพม่า เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ นับเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของมิน อ่อง หล่าย นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564

การที่รัฐบาลไทยเชิญให้ผู้นำรัฐประหารพม่าเข้าร่วมประชุม BIMSTEC ด้วยนั้น ถูกหลายฝ่ายวิจารณ์ว่า เป็นการให้ความชอบธรรมแก่สภากองทัพพม่า SAC ที่มาจากการรัฐประหาร และละเมิดข้อตกลงกับอาเซียน ที่ระบุว่าจะไม่ปฏิสัมพันธ์กับผู้นำคณะรัฐประหารของพม่าเว้นแต่จะเป็นการทำตามฉันทามติ 5 ข้อว่าด้วยสันติภาพในพม่า

ช่วงวันที่ 17-18 เม.ย. นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ในฐานะประธานอาเซียนปี 2025 ใช้กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่กลางในการเจรจาประเด็นการสร้างสันติภาพในพม่า กับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหลังเหตุแผ่นดินไหว

โดยนายกฯ มาเลเซียมีการเจรจากับมินอ่องหล่ายถึงความจำเป็นในการยุติการสู้รบ และรักษาข้อตกลงหยุดยิv เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเร่งด่วนสามารถเข้าถึงทุกชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยไม่มีอุปสรรค

นอกจากนี้ยังมีการหารือผ่านระบบออนไลน์กับ มาน วิน ข่าย ตาน (Mahn Accumulate Khaing Than) นายกรัฐมนตรีรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่า (NUG) เป็นเวลา 40 นาที ถึงสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ทวีความรุนแรงขึ้น และแนวทางเพื่อให้ความช่วยเหลือไปถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

รายงานชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนโดย IOM ผ่านโครงการทุนเพื่อการรายงานข่าวเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/q6ri | ดู : 10 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend