ปัจจัยใดที่ทำให้ป่าเขตร้อนถูกทำลายอย่างรวดเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมา

ที่มาของภาพ : Getty Pictures

Article files

  • Author, มาร์ก พอยน์ทิง และเอสมี สตอลลาร์ด
  • Characteristic, บีบีซีนิวส์ แผนกข่าวภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์

จากการวิเคราะห์ทางดาวเทียมครั้งล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า ป่าเขตร้อนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งถือเป็นกันชนที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หายไปอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมา

นักวิจัยประเมินว่า มีราว ๆ 67,000 ตารางกิโลเมตรของป่าเก่าแก่บริสุทธิ์ ที่สูญหายไปในปี 2024 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เทียบเท่าได้กับบางประเทศ เช่น จอร์เจีย หรือเทียบได้กับสนามฟุตบอล 18 สนามในแต่ละนาที

สาเหตุหลักคือไฟป่า ซึ่งเป็นครั้งแรกที่แซงหน้าการทำลายพื้นที่ป่าจากการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับป่าแอมะซอน (Amazon) ที่เผชิญกับความแห้งแล้งเป็นประวัติการณ์

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข่าวดีอยู่บ้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีนโยบายของรัฐบาลในการช่วยลดการสูญเสียพื้นที่ป่า

ป่าดิบชื้นเขตร้อนกักเก็บคาร์บอนเป็นแสนล้านตันในดินและลำต้นของต้นไม้ แต่สถิติใหม่ของโลกนี้นำมาซึ่งคำถามถึงความสามารถในการปรับตัวของพวกมันต่อโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

Halt of ได้รับความนิยมสูงสุด

นักวิจัยหลายคนกังวลว่า ป่าบางแห่ง เช่น ในส่วนหนึ่งของแอมะซอน กำลังเข้าใกล้ “จุดพลิกผัน” (tipping point) ที่อัตราการสูญเสียพื้นที่ป่าจะไม่สามารถย้อนกลับมาลดลงได้อีกแล้ว

“ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องจุดพลิกผันเริ่มจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องขึ้นเรื่อย ๆ” ศาสตราจารย์แมทธิว แฮนเซน ผู้อำนวยการร่วมของห้องปฏิบัติการ GLAD แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งจัดทำข้อมูลนี้ ระบุ

ศาสตราจารย์แฮนเซนอธิบายผลลัพธ์ใหม่ที่ค้นพบนี้ว่าเป็นเรื่อง “น่ากลัว” และยังเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ป่าดิบชื้นจะ “กลายสภาพเป็นเหมือนทุ่งหญ้าสะวันนา” (savannisation) อย่างถาวร เมื่อต้นไม้ในป่าเขตร้อนเก่าแก่เสียชีวิตลง

“มันยังคงเป็นเพียงทฤษฎีหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามันเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดูข้อมูลชุดนี้”

การศึกษาอีกชิ้นที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ย้ำเตือนคล้ายกันถึงการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญของป่าแอมะซอนที่อาจเกิดขึ้นได้หากอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นตัวเลขเป้าหมายที่นานาประเทศกำหนดไว้ไว้และพยายามควบคุมไม่ให้เกิน

นี่ไม่เพียงจะกระทบต่อนานาสายพันธุ์สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอีกด้วย

ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ ป่าแอมะซอนได้ช่วยเหลือมนุษยชาติด้วยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ทำให้โลกร้อน ได้มากกว่าปริมาณที่ป่านี้ปล่อยออกไป

แต่การเผาไหม้ของป่าเหล่านี้ปล่อยก๊าซ CO2 ปริมาณมหาศาล และยิ่งทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นแทนที่จะเป็นการจำกัดอุณหภูมิ

ในปี 2023 – 2024 ป่าแอมะซอนเผชิญกับความแห้งแล้งเป็นประวัติการณ์ จากอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นตามธรรมชาติของปรากฏการณ์เอลนีโญ

ขณะที่ไฟป่าหลายจุดก็เกิดขึ้นจากความจงใจจะเคลียร์พื้นที่สำหรับเกษตรกรรม ทำให้ยากที่จะแยกแยะที่มาของไฟป่าจากทั้งสองสาเหตุ

แต่ความแห้งแล้งก็เป็นสภาพแวดล้อมในอุดมคติที่เอื้อให้ไฟป่าลุกลามเกินควบคุม ซึ่งบราซิลและโบลิเวีย เป็นสองประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ภายในปีเดียว สถานการณ์ก็ตรงตามรูปแบบที่มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะมีไฟป่าในเขตร้อนที่รุนแรงขึ้น บนโลกที่ร้อนขึ้น

“ผมคิดว่าพวกเรากำลังอยู่ในระยะใหม่ ซึ่งปัจจัยหลักไม่ได้มาจากการเคลียร์พื้นที่เพื่อการเกษตร” รอด เทย์เลอร์ จากสถาบันทรัพยากรโลก (World Sources Institute – WRI) ซึ่งอยู่เบื้องหลังของรายงานชิ้นล่าสุด ระบุ

“ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับผลกระทบที่กำลังขยายตัวแบบใหม่ ซึ่งเป็นวงจรที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริง เมื่อไฟป่ารุนแรงและโหดร้ายขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา”

นักวิจัยประเมินว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าเก่าแก่ (ป่าปฐมภูมิ) เขตร้อนที่เป็นประวัติการณ์นี้ ยังปล่อยก๊าซที่ทำให้โลกร้อนสู่อากาศ 3.1 พันล้านตันอีกด้วย ซึ่งนับเป็นปริมาณก๊าซที่เทียบเท่ากับที่สหภาพยุโรปปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ

สัญญาณของความก้าวหน้า

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในหลายประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สวนทางกับแนวโน้มทั่วโลก

ตัวอย่างเช่น อินโดนีเซีย ที่สูญเสียพื้นที่ป่าปฐมภูมิลดลง 11% เมื่อเทียบกับปี 2023 แม้เผชิญกับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง

นี่เป็นผลมาจากความพยายามร่วมกันระหว่างรัฐบาลและชุมชน ที่ทำงานร่วมกันในการบังคับใช้กฎหมาย “ห้ามเผา” เอลิซาเบธ โกลด์แมน ผู้อำนวยการร่วมของโครงการเฝ้าระวังป่าโลก (Global Forest Search for mission) ที่ WRI ระบุ

“อินโดนีเซียทำหน้าที่เสมือนจุดแสงสว่างท่ามกลางข้อมูลปี 2024 ที่ดูไม่ดีนัก” เธอกล่าว

“เจตจำนงทางการเมืองเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ ไม่อย่างนั้นมันจะเป็นไปไม่ได้เลย” เกเบรียล ลับเบต หัวหน้าฝ่ายการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แห่ง UNREDD โครงการป่าไม้ของสหประชาชาติ ผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับรายงาน ก็เห็นพ้องด้วย

ประเทศอื่น ๆ รวมถึงบราซิล เคยประสบความสำเร็จในอดีตด้วยวิธีการที่คล้ายคลึงกัน แต่เริ่มกลับมาพบการสูญเสียพื้นที่ป่ามากขึ้นอีกครั้งในปี 2014 หลังจากนโยบายของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงไป

ศาสตราจารย์แฮนเซนกล่าวว่า แม้ความก้าวหน้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นไปในเชิงบวก แต่ความผันผวนของการสูญเสียพื้นที่ป่าในบราซิลแสดงให้เห็นว่า นโยบายในการปกป้องป่าต้องทำอย่างต่อเนื่อง

“กุญแจดอกสำคัญที่เรายังไม่เห็น คือความสำเร็จที่ยั่งยืนในการลดระดับ และรักษาการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศเหล่านี้ให้อยู่ในระดับต่ำ และหากคุณสนใจที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คุณต้องชนะให้ได้ตลอด และต้องชนะอย่างถาวร” เขาบอกกับบีบีซีนิวส์

นักวิจัยเห็นด้วยว่า การประชุมสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ COP30 ในปีนี้ ที่จะขึ้นในแอมะซอนนั้น จะสำคัญอย่างมากในการแบ่งปันและส่งเสริมแผนการปกป้องฝืนป่าไม้

ข้อเสนอหนึ่งคือ การให้รางวัลกับประเทศต่าง ๆ ที่รักษาป่าเขตร้อนได้สำเร็จผ่านการจ่ายเงิน ซึ่งยังคงต้องตกลงในรายละเอียดแต่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ จากการเปิดเผยของรอด เทย์เลอร์

“ผมคิดว่า นี่คือตัวอย่างของนวัตกรรมที่แก้ไขหนึ่งในปัญหาพื้นฐานในตอนนี้ ที่ว่าการตัดไม้สร้างรายได้มากกว่าการปล่อยให้มันยืนต้นอยู่ตรงนั้น”

กราฟิกโดย เออร์วาน ริวอลต์