ชีวิตที่ถูกตีตราของ “เด็กที่ระลึก” ลูกที่ถูกทิ้งในบ้านเกิดของแรงงานอินโดนีเซียในต่างแดน

ที่มาของภาพ : BBC/Hanna Samosir

สามพี่น้อง เอสตี, อามีนะห์ และฟัตมา ถูกมารดาซึ่งย้ายไปทำงานต่างประเทศ ทิ้งให้เติบโตกับญาติในอินโดนีเซีย

Article Files

    • Creator, ฮันนา ซาโมซีร์
    • Purpose, บีบีซี นิวส์ อินโดนีเซีย

คำเตือน: บทความนี้มีเนื้อหาที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจ

พวกเธอเป็นที่รู้จักในนาม “เด็กที่ระลึก” (memento teenagers)

เด็กกลุ่มนี้เกิดจากแม่ที่เป็นแรงงานข้ามชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งในต่างประเทศ เด็ก ๆ จำนวนมากเหล่านี้เติบโตขึ้นมาในอินโดนีเซีย โดยไม่ได้อยู่กับพ่อแม่และกำลังเผชิญหน้ากับการถูกตีตราทางสังคม

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เด็กกลุ่มนี้เผชิญกับความยากลำบากในการได้รับเอกสารระบุตัวตน ทำให้พวกเธอไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนหรือบริการทางสุขภาพ และนั่นทำให้พวกเขาตกอยู่ในวัฏจักรของความยากจน การแต่งงานก่อนวัยอันควร และการถูกล่วงละเมิด

“เด็กที่ระลึก” หลายพันคนอาศัยอยู่ใน จ.นูซาเตงการาตะวันตก (West NusaTenggara) ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีแรงงานข้ามชาติชาวอินโดนีเซียที่ย้ายไปทำงานประเทศอื่นมากที่สุด

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

ได้รับความนิยมสูงสุด

วัยเด็กอันโดดเดี่ยว

ที่มาของภาพ : BBC/Hanna Samosir

สิตี อามีนะห์ เล่าว่าเธอถูกสังคมกีดกันตั้งแต่ยังเด็ก

สิตี อามีนะห์ หญิงสาววัย 23 ปี คือหนึ่งในบรรดา “เด็กที่ระลึก” เหล่านี้ แม่ของเธออพยพจากเกาะลอมบอก (Lombok) ใน จ.นูซาเตงการาตะวันตกของอินโดนีเซียตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 เพื่อไปหางานทำในประเทศซาอุดีอาระเบีย

ระหว่างที่ย้ายไปทำงาน แม่ของอามีนะห์ได้แต่งงานโดยไม่จดทะเบียน ซึ่งเรียกการแต่งงานแบบนี้ว่า “นิกะห์ สิริ” (nikah siri) ตามความเชื่อทางศาสนาอิสลามกับชายชาวปากีสถานคนหนึ่ง และจากนั้นก็แต่งงานอีกครั้งกับชาวซาอุดีอาระเบีย ก่อนจะกลับมาคลอดลูกที่อินโดนีเซีย

ในอินโดนีเซีย “เด็กที่ระลึก” มักเกิดจากการแต่งงานในรูปแบบนี้ ซึ่งเป็นการแต่งงานตามหลักกฎหมายอิสลาม แต่ไม่มีการจดทะเบียนกับรัฐ

แม่ของอามีนะห์ ทิ้งลูก ๆ 6 คนของเธอให้อาศัยในบ้านของญาติ ๆ แต่ละคนในเขตลอมบอกตะวันออก

“แรงงานข้ามชาติชาวอินโดนีเซียจำนวนมากแต่งงานและหย่าร้างเช่นเดียวกับนางสาวซาห์มิน เพราะพวกเธอต้องการเพื่อนคู่ใจขณะที่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในต่างประเทศ” เอ็นดัง สุสิโลวาตี ผู้ประสานงานการดูแลแรงงานข้ามชาติในอินโดนีเซีย ระบุ

การเลี้ยงดูจากญาติพี่น้องโดยที่ไม่มีพ่อแม่อยู่ด้วย ทำให้อามีนะห์ต้องอดทนต่อการถูกเลือกปฏิบัติ “เธอเป็นคนอาหรับ พ่อของเธอไม่มีอะไรเหมือนพวกเราเลย” เธอหวนนึกถึงคำพูดของคนในพื้นที่

ขณะที่ฟัตมา พี่สาวคนโตของเธอ เล่าถึงการถูกปฏิบัติที่รุนแรงกว่านั้น “หากแม่ของฉันไม่ส่งเงินมา พวกเราจะถูกตะโกนใส่ และบางครั้งก็ถูกทุบตี” เธอเปิดเผย

ที่มาของภาพ : Household archive

ฟัตมาในวัยเด็ก ถูกทิ้งให้อาศัยอยู่ในบ้านของญาติที่เขตลอมบอกตะวันออก

บีบีซีติดต่อมารดาของฟัตมาและอามีนะห์แล้ว แต่เธอไม่ต้องการให้ความเห็นใด ๆ

พี่น้องคู่นี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อยของเด็กที่เกิดจากแรงงานอพยพข้ามชาติจำนวนมาก ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากเพราะสถานะ “เด็กที่ระลึก” ของพวกเธอ

สถาบันรูดัต (Rudat Institute) ซึ่งเป็นองค์กรนอกภาครัฐ (NGO) ท้องถิ่นในเกาะลอมบอก กำลังทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและช่วยให้ลูก ๆ ของแรงงานผู้อพยพได้รับเอกสารระบุตัวตนเพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนและบริการทางสุขภาพ

ความเสี่ยงต่อการแต่งงานในวัยเด็ก

สถาบันรูดัต ระบุว่า ตราบาปที่คนในสังคมผูกติดไว้กับกลุ่ม “เด็กที่ระลึก” ทำให้พวกเธอยิ่งเปราะบางต่อการแต่งงานก่อนวัยอันควร

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีอัตราการแต่งงานในเด็ก (itsy-bitsy one marriage) สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก และ จ.นูซาเตงการาตะวันตก ก็เป็นจังหวัดที่มีอัตราการแต่งงานเด็กสูงสุดในประเทศ

ฟัตมาออกจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อดูแลน้อง ๆ ของเธอด้วยตัวเอง และแต่งงานตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังจากไม่สามารถอดทนต่อการปฏิบัติของญาติ ๆ เธอได้

“การแต่งงานไปเสียมันดีกว่า เพื่อให้มีคนมาดูแลหาเลี้ยงคุณ” เธอกล่าว

ที่มาของภาพ : BBC/Hanna Samosir

ฟัตมาแต่งงานครั้งแรกตอนที่เธออายุ 15 ปี

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระบุว่า การแต่งงานก่อนวัยอันควรมักจบลงด้วยการแยกทาง

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับฟัตมาเช่นกัน ตอนนี้เธออายุ 25 ปีแล้ว ผ่านการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนมา 3 ครั้ง และมีลูก 2 คน

กฎหมายการแต่งงานของอินโดนีเซียกำหนดอายุขั้นต่ำของการแต่งงานไว้ที่ 19 ปี และการแต่งงานเด็ก (itsy-bitsy one marriage) ถูกจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางเพศตามกฎหมายอาชญากรรมความรุนแรงทางเพศ

ผู้ที่กระทำหรืออนุญาตให้มีการแต่งงานกับเด็กอาจเผชิญกับโทษจำคุกได้ถึง 9 ปี หรือต้องจ่ายค่าปรับถึง 200 ล้านรูเปียห์ (ราว 4 แสนบาท) แม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายนี้มักจะอ่อนแอก็ตาม

แม้ว่าจะมีบทบัญญัติทางกฎหมายที่อนุญาตให้ผู้ปกครองสามารถขอรับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้ผู้เยาว์แต่งงานได้ แต่การแต่งงานก่อนวัยอันควรหลายครั้งก็เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตพิเศษดังกล่าว หรือไม่มีการจดบันทึกลงในระบบทะเบียนราษฎร์

ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัย

เจ้าสาวในวัยเยาว์เหล่านี้ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะตั้งครรภ์

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของยูเอ็นที่ให้ความสนใจต่ออนามัยเจริญพันธุ์และความเท่าเทียมทางเพศ ระบุว่าบรรดาแม่ ๆ วัยรุ่นเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะพบภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หลังคลอด และการติดเชื้อต่าง ๆ

ลูก ๆ ของพวกเธอยังมีความเสี่ยงสูงต่อการคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย และเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก

อามีนะห์ให้กำเนิดลูกที่คลอดก่อนกำหนดตอนเธออายุ 16 ปี สองเดือนหลังจากนั้นทารกน้อยก็เสียชีวิต เธอเล่าว่าไม่นานหลังจากที่สูญเสียลูก ครอบครัวของเธอก็แตกสลาย เพราะสามีของเธอ “เริ่มใช้กำลังมากขึ้นเรื่อย ๆ”

ด้วยการที่ไม่มีวุฒิการศึกษา ทางเลือกของอามีนะห์จึงเหลืออยู่จำกัดมาก

องค์กรนอกภาครัฐในท้องที่ให้ข้อมูลว่า มีคนท้องถิ่นจำนวนไม่มากนักที่ยินดีจะรับ “เด็กที่ระลึก” เข้าทำงาน จากการที่พวกเธอถูกตีตรา

อามีนะห์เคยทำงานเป็นลูกจ้างในบ้านที่กรุงจาการ์ตา แต่ก็ทำได้อยู่เพียง 6 เดือนเท่านั้น

ตอนอายุ 19 ปี เธอกลายเป็นแรงงานอพยพข้ามชาติในซาอุดีอาระเบียผ่านช่องทางที่ผิดกฎหมาย เพราะทางการอินโดนีเซียระงับการส่งแรงงานข้ามชาติไปที่นั่นในปี 2015

เธอเล่าว่าเธอต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ “ไร้มนุษยธรรม” ที่นั่น ที่ทำให้เธอเคยคิดจะฆ่-าตัวเสียชีวิต

“เราถูกซ้อมจนฟกช้ำดำเขียวไปหมด ถูกทรมานทางร่างกายจนเราแทบสิ้นสติ” เธอกล่าว

เธอยังเล่าอีกว่า ในตอนที่เธอจะกลับบ้าน เธอพบว่าเงินที่เธอคอยส่งกลับบ้านอยู่ตลอดถูกขโมยไปแล้ว

“ฉันกลับบ้านโดยไม่เหลืออะไรเลย” เธอระบุ

สถาบันรูดัตเปิดเผยว่าพวกเขาเคยพบกับกรณีที่คล้ายคลึงกันกับเรื่องของอามีนะห์

“ครอบครัวต่าง ๆ ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลเงินออมมักจะมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะมันยากที่จะหางานทำได้ที่นี่ มีคนว่างงานมากมาย ดังนั้นเมื่อมีเงิน ส่งมา มันก็ถูกเอาไป” ซูร์ฮาน อัฟริอาดี จากสถาบันรูดัต ระบุ

ที่มาของภาพ : BBC/Hanna Samosir

ปัจจุบันเอสตีอายุ 18 ปี เธอผ่านการแต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียนมาแล้ว 2 ครั้ง และมีลูก1 คน

“วงจรอุบาทว์”

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีความคืบหน้าอยู่บ้าง จากการช่วยเหลือขององค์กรเอ็นจีโอที่ให้เงินทุนสนับสนุนรัฐบาลในการออกเอกสารระบุตัวตนให้กับ “เด็กที่ระลึก” เกือบทุกคนในเขตลอมบอกตะวันออกเมื่อปีที่แล้ว เปิดทางให้พวกเธอได้เข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนและการดูแลสุขภาพ

ถึงกระนั้น การกลั่นแกล้งและการกีดกันทางสังคมยังคงมีอยู่

“ยังคงมีการตีตราอยู่ที่นั่น มันต้องถูกขจัดออกไปอย่างช้า ๆ” ตูรมาวาซี ผู้นำงานในองค์กรเอ็นจีโอ ระบุ

เอสตี น้องสาวคนสุดท้องของครอบครัวนี้ ออกจากโรงเรียนและแต่งงานตอนที่อายุ 14 ปี เธอให้กำเนิดลูกหนึ่งคน แต่หลังจากนั้นก็แยกทางกับสามี

ด้วยความยากลำบากในการหาเลี้ยงปากท้อง เธอทำงานที่ลานเก็บของเก่าซึ่งมีรายได้พอแค่เธอและลูกเท่านั้น

สถาบันรูดัตเตือนว่าวงจรนี้มักจะวนย้ำซ้ำ ๆ เมื่อเด็ก ๆ จำนวนมากเติบโตมาเป็นแรงงานข้ามชาติและกลับประเทศไปสู่ความยากลำบากแบบเดิม

อามีนะห์ ฟัตมา และเอสตี ต้องการทำลายวงจรนี้

อามีนะห์พึ่งพารายได้จากสามีที่ย้ายไปทำงานนอกประเทศในการเลี้ยงดูลูกของเธอ เอสตีเลือกที่จะไม่อพยพและต้องการเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเธอเอง ส่วนฟัตมาแต่งงานใหม่กับสามีที่สนับสนุนเธอในขณะที่เธอกำลังพูดเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

“มันเป็นความอับอายสำหรับเด็ก ๆ อย่างฉัน ที่จะคงอยู่ในวงจรอุบาทว์นี้ต่อไป” เธอกล่าว