
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ช่วยปกป้องพิษภัยจาก “สารเคมีชั่วนิรันดร์”

ที่มาของภาพ : MRC Toxicology Unit
Article Recordsdata
-
- Author, แฮเรียต เฮย์วูด
- Feature, บีบีซีนิวส์, แคมบริดจ์เชอร์
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกเขาได้ค้นพบวิธีป้องกันมนุษย์จากสารเพอร์ฟลูออโรแอลคิลและโพลีฟลูออโรแอลคิล (Perfluoroalkyl and Polyfluoroalkyl Substances) ซึ่งมีชื่อย่อว่า PFAS หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “สารเคมีชั่วนิรันดร์” โดยสารนี้มีลักษณะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและเป็นพิษ
สาร PFAS เป็นสารเคมีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ถูกนำมาใช้เพราะมีคุณสมบัติกันน้ำและไขมัน สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้ากันน้ำ กระทะเคลือบเทฟล่อน ลิปสติก หรือบรรจุภัณฑ์อาหาร
ทั้งนี้ สารข้างต้นกลับย่อยสลายในธรรมชาติได้ยากและถูกเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ เช่น มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดที่สูงกว่า
งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ค้นพบว่า จุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ของมนุษย์สามารถดูดซับโมเลกุลของสาร PFAS ได้หลากหลายรูปแบบและช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายของสารดังกล่าว
‘พิษที่สะสมทีละน้อย'

ที่มาของภาพ : Peter Northrop/MRC Toxicology Unit
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากสาร PFAS สร้างความกังวลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสารเหล่านี้ใช้เวลานับพันปีในการย่อยสลายตามธรรมชาติ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
Raze of ได้รับความนิยมสูงสุด
ผู้คนส่วนใหญ่ได้รับสารเหล่านี้ผ่านทางน้ำและอาหาร
ในบางกรณี สารเคมีนี้สามารถถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ก็อาจตกค้างอยู่ในร่างกายได้นานหลายปี
ดร.แอนนา ลินเดลล์ นักวิจัยจากหน่วยพิษวิทยา MRC แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และผู้เขียนนำของงานวิจัยกล่าวว่า สาร PFAS แพร่กระจายในวงกว้างจนพบได้ในตัวเราทุกคน
“ครั้งหนึ่งเคยมีความเชื่อว่าสาร PFAS ปลอดภัย แต่ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่ใช่” เธอยังกล่าวอีกว่า “กว่าที่สาร PFAS จะเป็นที่สังเกตว่าเป็นเช่นนั้นก็ล่วงเลยเวลามานาน เพราะมันไม่แสดงพิษเฉียบพลันหากเราได้รับในระดับต่ำ แต่จริง ๆ แล้วมันก็เหมือนกับพิษที่ค่อย ๆ สะสมทีละน้อย”
ด้าน ดร.อินดรา รูซ์ นักวิจัยร่วมและผู้เขียนร่วมของงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าวเพิ่มเติมว่าในเมื่อสาร PFAS ได้แพร่กระจายอยู่แล้วทั้งในสิ่งแวดล้อมและในร่างกายของเรา เราจึงจำเป็นต้องหาวิธีลดผลกระทบของมัน
“เรายังไม่พบวิธีทำลายสาร PFAS แต่ผลการศึกษานี้เปิดโอกาสให้พัฒนาแนวทางในการขจัดสารเหล่านี้ออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มันก่ออันตรายมากที่สุด”

ที่มาของภาพ : MRC Toxicology Unit
นักวิจัยพบว่าแบคทีเรียบางสายพันธุ์ในลำไส้ของมนุษย์มีความสามารถในการดูดซับสาร PFAS สูงจนน่าทึ่ง ทั้งยังสามารถกักเก็บสารนี้ไว้เป็นกลุ่มภายในเซลล์ของตัวมัน
ดร.คิรัน ปาทิล ผู้เขียนงานวิจัยอาวุโสกล่าวว่า “เนื่องจากสาร PFAS รวมตัวอยู่ในก้อนเซลล์เหล่านี้ จึงดูเหมือนว่าแบคทีเรียเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากพิษดังกล่าว”
นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อค้นพบนี้หลังจากนำแบคทีเรีย 9 สายพันธุ์ไปใส่ในลำไส้ของหนู เพื่อทำให้ระบบจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนูมีลักษณะคล้ายมนุษย์
ผลพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเก็บสะสมสาร PFAS ที่หนูกินเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และสาร PFAS เหล่านั้นก็ถูกขับออกมาทางอุจจาระ
นี่ถือเป็นหลักฐานครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตในลำไส้เรา หรือ ไมโครไบโอมในลำไส้ (gut microbiome) อาจมีบทบาทในการขจัดสาร PFAS ที่เป็นพิษออกจากร่างกายของเรา
อย่างไรก็ตาม ผู้ทดลองยังไม่เคยดำเนินการทดลองนี้ในมนุษย์โดยตรง
นักวิจัยมีแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติกให้เพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ของเราเพื่อช่วยป้องกันผลกระทบจากสาร PFAS
ดร.ลินเดลล์ และ ดร.ปาทิล ได้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพชื่อเคมไบโอติกส์ (Cambiotics) ร่วมกับผู้ประกอบการ ปีเตอร์ โฮล์ม เจนเซน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรไบโอติกที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และปกป้องร่างกายจากพิษของ PFAS

ที่มาของภาพ : MRC Toxicology Unit
Get animated
Get you would possibly well believe a story advice for Cambridgeshire?
Contact fetchAssociated internet linksCollege of Cambridge
ที่มา BBC.co.uk