
เสถียรภาพการเมืองไทยปีนี้ง่อนแง่นสั่นคลอนอย่างมาก แม้เรื่องคลิปเสียงพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับประธานวุฒิสภาของกัมพูชาท่ามกลางปมความขัดแย้งเรื่องดินแดนจะทำเอาคนผวารัฐประหารไปหลายวัน แต่แม้จะไม่มีรัฐประหารสถานการณ์การเมืองไทยก็เรียกได้ว่าไม่ได้ดีนัก
1 ก.ค.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับพิจารณาคดีที่สมาชิกวุฒิสภายื่นให้ศาลวินิจฉัยเรื่องจริยธรรมนักการเมืองของแพทองธาร ชินวัตร จากกรณีคลิปเสียงที่ว่า พร้อมทั้งสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ
แต่คดีนี้เป็นเพียงเรื่องเดียว ท่ามกลางหลายคดีซึ่งองค์กรอิสระและองค์กรตุลาการทั้งศาลยุติธรรมและศาลรัฐธรรมนูญจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเมืองไทยในรอบปีนี้ ดังนั้น เสถียรภาพการเมืองไทยก็ย่อมขึ้นอยู่กับองค์กรเหล่านี้ไปด้วย
พรรคการเมืองใหญ่ๆ ทั้งพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างเพื่อไทย และพรรคฝ่ายค้านหลักอย่างพรรคประชาชนที่โดนภัยตุลาการภิวัฒน์แข่งกับพรรคเพื่อไทยต่างก็มีคดีรุงรัง ไปจนถึงพรรคภูมิใจไทยที่เป็นอดีตพรรคร่วมก็ถูกกล่าวหาร่วมไปกับ สว.อีก 120 คนว่าเข้าไปร่วมฮั้วเลือก สว.ด้วย
ชะนักที่ติดหลังแต่ละพรรคมีอะไรบ้าง เรารวบรวมไว้เบื้องต้น
พรรคเพื่อไทย
ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลที่ขณะนี้กำลังเผชิญมรสุมการเมืองอย่างหนัก ตั้งแต่แตกหักกับพรรคอันดับ 3 อย่างพรรคภูมิใจไทยจากปมเก้าอี้ของเจ้ากระทรวงมหาดไทย แล้วยังเจอปมขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชาอีก และปมใหม่นี้ก็เพิ่มคดีให้กับพรรคอีก จากกรณีฮุน เซน ประธานวุฒิสภา เปิดคลิปเสียงพูดคุยกับแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย
นอกจากนั้นตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าในบรรดาเรื่องต่างๆ ที่พรรคกำลังเจออยู่นี้บางเรื่องก็แตกเป็นหลายสำนวนหลายคดีไปตามช่องทางต่างๆ
-
คดีคลิปเสียงแพทองธารคุยฮุนเซน
- สำนวนแรก เป็นคดีที่เหล่าสว.นำโดย พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา รวบรวมรายชื่อยื่นร้องต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และเมื่อ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติรับตรวจสอบเบื้องต้นตามข้อกล่าวหาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง
- นอกจากนั้นเหล่า สว.ยังส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติแพทองธาร โดยในคำร้องได้ขอให้ศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอคำวินิจฉัยด้วย และศาลมีคำสั่งรับพิจารณาแล้วพร้อมสั่งให้แพทองธารหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ
- สมชาย แสวงการ อดีต สว. พร้อมนิติธร ล้ำเหลือ แจ้งความกองปราบฯ ตามฐานความผิดต่อความมั่นคงในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119,120,122,128 และ 129 ที่เป็นการกล่าวหาว่าได้สมคบคิดกับรัฐต่างประเทศทำให้เสียดินแดน
-
คดีมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญงบภัยแล้ง‑ฝนทิ้งช่วง ปี 2568
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติรับไต่สวนแล้ว กรณีประเสริฐ จันทรรวงทอง ถูกกล่าวหาว่า ในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีการจัดสรรงบประมาณแก้ไขปัญหาภัยแล้งวงเงินราว 51,584 ล้านบาท ให้ สส.เพื่อไทยคนละ 50 ล้านบาท เป็นการขัดต่อมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ โดยมีการระบุถึงชื่อของ สส.พรรคเพื่อไทยบางราย เช่น เจ้าตัวยืนยันว่าไม่ได้มีการแปรญัตติเพื่อเอื้อให้เอาไปลงพื้นที่ สส.ของพรรคและยังให้หน่วยงานต่างๆ ใส่ข้อมูลเข้าไปในระบบไทยวอเตอร์แพลนและนำข้อมูลไปคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาต่ออีกทีตามกระบวนการ
หลัง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับเรื่อง ทางสำนักงบประมาณมีคำสั่งด่วนแจ้งไปถึงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ให้ถอนเรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2568 ไปเมื่อ 12 มิ.ย.2568
-
คดีมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญกรณี ‘พิเชษฐ์’ เห็นชอบโครงการที่สำนักงานสภาฯ เสนอ 3 โครงการเหมือนในงบปี 68
เป็นคดีที่ ภัณฑิล น่วมเจิม สส.จากพรรคประชาชนร่วมกับ สส.อีก 120 รายชื่อเป็นผู้ร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตามมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญว่า พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่ 1 ให้ความเห็นชอบโครงการที่ทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ 3 โครงการในปี 2568 แล้วในปี 2569 ก็เสนอโครงการแบบเดียวกัน โดยพิเชษฐ์มีการเสนอการแปรญัตติ หรือกระทำการโดยมีส่วนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 หรือไม่
สำหรับความคืบหน้าคดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญให้ประธานสภาตรวจสอบรายมือชื่อของผู้ร้องทั้ง 121 คนและส่งคำตอบกลับใน 7 วัน (8 ก.ค.)
-
คดีมาตรา 112 ของ “ทักษิณ”
นอกจากนี้คดีของคนนอกพรรคอย่างทักษิณ ซึ่งผู้คนเชื่อว่ามีบทบาทนำในทางอ้อมก็รุงรังไม่แพ้กัน หลังจากกลับไทยเพื่อรับโทษในคดีที่พิพากษาแล้ว เขายังเจอคดีที่พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมยุครัฐบาลทหารให้นายทหารพระธรรมนูญไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ มาตรา 112 และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 ไว้ตั้งแต่ปี 2558 จากกรณีทักษิณให้สัมภาษณ์กับสื่อเกาหลีเมื่อปี 2558 ในทำนองที่ตีความได้ว่าองคมนตรีอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และล่าสุดคดีนี้เพิ่งเริ่มสืบพยานนัดแรกไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสืบพยานปากสุดท้ายจบภายในเดือนนี้
-
คดีชั้น 14 ‘ทักษิณ’
แม้ว่าคดีนี้ทางศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ศาลฎีกาฯ) จะเคยไม่รับพิจารณาคำร้องของชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.ประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาทาง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเนื่องจากเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดี แต่ศาลตั้งเรื่องไต่สวนเอง โดยอยู่ระหว่างเรียกพยานไปสืบ
อย่างไรก็ตาม คดีที่อยู่กับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็ยังไม่จบเพราะตอนนี้กรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็ยังดำเนินการไต่สวนต่อไปและล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.สาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็เพิ่งให้ข่าวว่ารวบรวมพยานหลักฐานค่อนข้างครบถ้วนแล้วกำลังขอข้อมูลการตรวจสอบและลงโทษแพทย์ 3 คนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณารับและส่งตัวทักษิณไปรักษาเพิ่มเติมอยู๋
พรรคประชาชน
-
คดีเสนอแก้ไขมาตรา 112
ส่วนคดีของฝั่งพรรคประชาชนที่ยังเดินหน้าไปเรื่อยๆ อยู่ตอนนี้หลักๆ คือคดีลงชื่อเสนอแก้มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อ 10 ก.พ.2564 ซึ่งร่างกฎหมายนี้ยังไม่ผ่านเข้าไปพิจารณาในสภาด้วยซ้ำ แต่เป็นประเด็นขึ้นมาเมื่อธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความของพุทธอิสระ ร้องอัยการสูงสุดเพื่อร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จนศาลวินิจฉัยให้เป็นการล้มล้างการปกครองฯ และธีรยุทธยังได้ร้อง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้ตรวจสอบและเอาผิดทางจริยธรรม 44 สส.ก้าวไกล ในจำนวนนี้มี 25 คนที่ยังเป็น สส.ของพรรคประชาชนอยู่ แบ่งเป็นแบบบัญชีรายชื่อ 17 คน และแบบแบ่งเขต 8 คน
ส.ส. บัญชีรายชื่อ (17 ราย)
- ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
- ศิริกัญญา ตันสกุล
- นิติพล ผิวเหมาะ
- ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
- ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์
- ณัฐวุฒิ บัวประทุม
- วรภพ วิริยะโรจน์
- คำพอง เทพาคำ
- ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
- องค์การ ชัยบุตร
- มานพ คีรีภูวดล
- วาโย อัศวรุ่งเรือง
- วรรณวิภา ไม้สน
- วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
- สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
- รังสิมันต์ โรม
- สุรวาท ทองบุ
ส.ส. เขต (8 ราย)
- ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ( กทม. )
- เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ( กทม. )
- ธีรัจชัย พันธุมาศ ( กทม. )
- ญาณธิชา บัวเผื่อน (จันทบุรี)
- จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ (ฉะเชิงเทรา)
- จรัส คุ้มไข่น้ำ (ชลบุรี)
- ศักดินัย นุ่มหนู (ตราด)
- วุฒินันท์ บุญชู (สมุทรปราการ)
อดีตนักการเมืองและฝ่ายบริหารของพรรคอีก 19 คนคือ
- พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์
- กัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี
- สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
- สมเกียรติ ถนอมสินธุ์
- ทองแดง เบ็ญจะปัก
- พ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพันธ์
- ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์
- พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ
- ณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์
- ทวีศักดิ์ ทักษิณ
- สมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล
- พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
- เบญจา แสงจันทร์
- อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
- ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
- สุเทพ อู่อ้น
- อภิชาติ ศิริสุนทร
- ปดิพัทธ์ สันติภาดา
- สมชาย ฝั่งชลจิตร
ล่าสุด เลขาฯ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติออกมาให้ข่าวเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ว่าคดียังอยู่ระหว่างให้ทางผู้ถูกร้องนำพยานหลักฐานเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา หากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้ว่ามีมูลจะส่งเรื่องให้ศาลฎีกาตัดสินต่อไป ซึ่งหากศาลฎีกาตัดสินว่าผิดก็จะมีผลให้ สส.หลุดจากตำแหน่ง และทั้งหมดถูกตัดสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต
-
คดีมาตรา 112 ของ สส.พรรค 3 คน
นอกจากนั้นยังมี สส.บางคนถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของพวกเขาตั้งแต่ก่อนจะมาเป็น สส.กันอยู่ด้วย ได้แก่
- ชลธิชา แจ้งเร็ว สส.เขตปทุมธานี มีคดีตามมาตรา 112 อยู่ 2 คดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และเป็นคดีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ตอนเธอยังเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง คดีแรกคือการโพสต์ข้อความในกิจกรรมทางออนไลน์ที่ชื่อ “ราษฎรสาส์น” และคดีที่สองเกิดจากการปราศรัยในชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง หน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2564 ทั้ง 2 คดียังอยู่ระหว่างรอผลพิจารณาอุทธรณ์คดีและเธอได้รับการประกันตัว
- รักชนก ศรีนอก สส.เขตบางบอน-หนองแขม มีอยู่ 1 คดีเกิดจากการโพสต์บนบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของเธอ 2 โพสต์ โพสต์แรกเป็นข้อความที่วิจารณ์รัฐบาลผูกขาดการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 และทวีตภาพการชุมนุมเมื่อ 16 ต.ค.2563 ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกแต่คดียังอยู่ระหว่างรอผลอุทธรณ์โดยศาลยังให้ประกันตัวอยู่
- ปิยรัฐ จงเทพ นอกจากบรรดาคดีที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะแกนนำกลุ่ม WeVo ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีโทษปรับ ตัวเขาก็มีคดีตามมาตรา 112 อยู่ด้วย ได้แก่ คดีแรกจากการปราศรัยในประเด็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์กับกองทัพไทย ที่จ.อุบลราชธานี ยังอยู่ระหว่างสืบพยาน คดีที่สองเป็นคดีติดไปไวนิลในจ.กาฬสินธุ์วิจารณ์รัฐบาลจัดหาวัคซีนโควิด-19 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องแล้ว และคดีที่สามเกิดจากการโพสต์วิจารณ์ตำรวจสลายชุมนุมจากการจัดกิจกรรมขายกุ้ง ซึ่งเพิ่งสืบพยานจบไปและศาลนัดพิพากษาในวันที่ 28 ส.ค.2568
เมื่อดูสถานะปัจจุบันของพรรคประชาชนมี สส.ในสภาตอนนี้ 143 คน หากคนที่มีคดีค้างอยู่เหล่านี้ต้องหลุดตำแหน่ง สส.ไป จะทำให้จำนวน สส.ของพรรคหายไป 11 คนเหลือ 132 คน (โดยหัก 1 คนที่ชื่อยังอยู่แต่ไปร่วมกับพรรคกล้าธรรมแล้ว) แบ่งเป็น สส.เขตจำนวน 8 คนในคดีเสนอชื่อแก้มาตรา 112 และอีก 3 คนจากคดีมาตรา 112 ทั้งนี้ สส.พรรคประชาชนที่ลงเลือกตั้งซ่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับเลือกกลับเข้ามาอีกตามสภาพของการเลือกตั้งกลางเทอมที่ สส.ในฝั่งรัฐบาลมักได้รับเลือกกลับเข้ามามากกว่า
สำหรับคดีมาตรา 112 นอกจาก 3 คนที่กล่าวไป ยังมีธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าจากกรณีวิจารณ์การกระจายวัคซีนโควิด-19 แต่ไม่ปรากฏข่าวความคืบหน้าทางคดีว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนใด
ภูมิใจไทย
-
คดีฮั้วเลือก สว.
แม้ว่าเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2568 ศาลรัฐธรรมนูญจะเพิ่งมีมติไม่รับคำร้องของณฐพร โตประยูร ที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดินที่ร้องว่า กกต.จัดเลือก สว.โดยไม่สุจริตและเอื้อให้กับพรรคภูมิใจไทย และพรรคยังร่วมวางแผนเข้าควบคุมการเลือก สว. ทำให้ได้ สว.มา 138 คนและสำรอง 2 คน เพื่อใช้อำนาจปกครองประเทศโดยไม่เป็นไปตามวิถีรัฐธรรมนูญเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้วก็ตาม
แต่บ่วงนี้ก็ยังไม่พ้นคอพรรคภูมิใจไทยและบรรดาคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากคดีฮั้วเลือก สว. ก็ยังคงอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนของทีมสอบสวนที่ 26 ของ กกต. และออกหมายเรียกบุคคลเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและเข้าชี้แจง จนตอนนี้ออกมา 7 ชุดแล้ว รวมจำนวน 162 คน และไม่ได้มีแต่ สว.เท่านั้นที่ถูกเรียก บางชื่อในลิสต์ที่ปรากฏออกมายังโยงไปถึงผู้เกี่ยวพันกับพรรคภูมิใจไทย
ที่ปรากฏชื่อออกมาในสื่อมวลชนมีอย่างน้อย 21 คน โดย สว.บางคนก็ยังเกี่ยวข้องกับพรรคภูมิใจไทยในทางใดทางหนึ่ง โดยเฉพาะรายชื่อชุดที่ 7 ปรากฏชื่อของคนระดับบริหารพรรคหลายคนไปจนถึงผู้ก่อตั้งพรรคอย่าง “เนวิน ชิดชอบ” อีกด้วย
- วาริน ชิณวงศ์ นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช สมาชิกพรรคภูมิใจไทย
- สุบิน ศักดา ผู้นำชุมชน หัวคะแนน พิชัย ชมภูพล สส.สุราษฎร์ธานี พรรคภูมิใจไทย
- สมเกียรติ เลียงประสิทธิ์ พ่อของวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สส.สตูล พรรคภูมิใจไทย
- สมเจตน์ ลิปะพันธ์ ที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย (อนุทิน ชาญวีรกูล) อดีต สส.สุโขทัย พรรคภูมิใจไทย
- วงศกร ชนะกิจ อดีตผู้สมัคร สส.จังหวัดภูเก็ต เขต 2 พรรคภูมิใจไทย
- ศุภชัย โพธิ์สุ อดีต สส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน
- นภิณทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เป็นตำแหน่งรัฐมนตรีในโควต้าของพรรคภูมิใจไทย
- ณัฐกิตต์ หนูรอด สว.จากพัทลุง อดีตปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง อดีตผู้สมัคร สส.นครศรีธรรมราช พรรคภูมิใจไทย
- พรเพิ่ม ทองศรี สว. พี่ชาย ทรงศักดิ์ ทองศรี อดีตแกนนำพรรคภูมิใจไทย อดีต รมช.มหาดไทย
- สุขสมรวย วันทนียกุล สส.อำนาจเจริญ
- พิชัย ชมภูพล สส.สุราษฎร์ธานี
- เนวิน ชิดชอบ ผู้ก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย
- อนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
- ภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย
- กรวีร์ ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง
- สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ อดีต สส.ศรีสะเกษ
- ธนยศ ทิมสุวรรณ หรือ อ๋อง สส.เลย ลูกชายของ นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย
- เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ สส.เขตอุทัยธานี รองเลขาธิการพรรค
- บุณย์ธิดา สมชัย หรือ แนน สส.อุบลราชธานี และโฆษพรรค
- วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สส.เขตสตูล กรรมการบริหารพรรค
สว.
-
สว. 120 คน มีชื่อในคดีฮั้วเลือก
นอกจากพรรคภูมิใจไทยแล้ว สว.ที่มีกันอยู่ 200 คน ก็ปรากฏรายชื่อที่ กกต.ออกหมายเรียกไปรับทราบข้อหาและชี้แจงในคดีนี้ไปแล้วกว่าครึ่งสภา คือ 120 คน
คดีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นคดีชี้ชะตาระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค เพื่อไทย-ภูมิใจไทย และ สว.กว่าครึ่งสภา ทำให้เกิดการตอบโต้กันไปมาระหว่างคนที่ถูกดำเนินคดีกับคนดำเนินคดี เพราะนอกจาก กกต.แล้ว คดีนี้ยังมีกรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาเอี่ยวด้วยและตั้งเรื่องเป็นคดีอั้งยี่ซ่องโจรรวมถึงมีการฟอกเงินด้วย
หลังจากทาง สว.ตอบโต้ด้วยการยื่นศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยให้สถานะรัฐมนตรีของ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสิ้นสุดลงเพราะถือว่าเข้ามาแทรกแซงหรือครอบงำการทำหน้าที่ของ กกต.ผ่านทางดีเอสไอจากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติให้คดีฮั้วเลือก สว.เป็นคดีพิเศษ
จากการตอบโต้ของ สว.แม้ว่าทั้ง 2 คนจะไม่หลุดตำแหน่งจากคำสั่งศาล แต่ศาลก็สั่งให้พันตำรวจเอกทวีหยุดปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลดีเอสไอในฐานะรองประธานคณะกรรมการคดีพิเศษระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องนี้
คดีโดนร่วมกันหลายพรรค
-
มาตรา 144 ย้ายงบไปแจกเงินหมื่น
นอกจากคดีที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคโดนเล่นงานกันมากมายแล้ว ยังมีคดีใหญ่อีก 1 คดีที่อาจกระทบต่อทั้ง สส.และ สว. คือ คดีที่ตั้งเรื่องมาจากชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับคณะที่มี สมชาย แสวงการ อดีต สว., นิติธร ล้ำเหลือ หรือทนายนกเขา และเจษฎ์ โทณะวณิก อดีตที่ปรึกษากรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปยื่นร้องเรื่องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จากส่วนที่จะต้องนำไปใช้หนี้ให้กับ 5 ธนาคารตามมาตรา 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐไปใช้กับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทของรัฐบาล
คำร้องดังกล่าวได้ขอให้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนย้อนไปตั้งแต่ ครม.เศรษฐาและแพทองธาร และยังรวมถึงคณะกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 สส.และสว.ที่ลงมติให้ตัดงบ 35,000 ล้านบาทไปเข้าโครงการด้วย
-
คดี 44 สส. + 2 ข้าราชการ แจกกล้วยซื้องูเห่า
คดีที่เริ่มตั้งแต่ปี 2565 แต่เพิ่งกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อไม่กี่วันมานี้ (27 มิ.ย.2568) เมื่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพิ่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนกรณีนี้ ตามที่ปรากฏในรายงานข่าวมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีมากถึง 131 คน แต่มีการเปิดเผยชื่อบุคคลที่เป็นทั้งอดีต สส.และ สส.ในปัจจุบันรวมแล้ว 44 คน แต่เมื่อตรวจสอบรายชื่อแล้วมีเพียง 12 คนที่ยังเหลือเป็น สส.ในขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันกระจายอยู่ตามพรรคต่างๆ ตามรายชื่อด้านล่าง
พรรคกล้าธรรม
- ภาคภูมิ บูลย์ประมุข เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ
- จีรเดช ศรีวิราช เดิมอยู่ พรรคเศรษฐกิจไทย
- สะถิระ เผือกประพันธุ์ เดิมอยู่ พรรคเศรษฐกิจไทย
- เอกราช ช่างเหลา เดิมอยู่ ภูมิใจไทย
พลังประชารัฐ
- จักรัตน์ พั้วช่วย
- โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รวมไทยสร้างชาติ
- ศาสตรา ศรีปาน เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ
- วัชระ ยาวอหะซัน
พรรคเพื่อไทย
- เชิงชาย ชาลีรินทร์ เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ
- นิคม บุญวิเศษ เดิมอยู่ พรรคพลังปวงชนไทย
พรรคภูมิใจไทย
- สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ
พรรคประชาธิปไตยใหม่
- สุรทิน พิจารณ์ ยังอยู่กับพรรคประชาธิปไตยใหม่
ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )