
‘สภาผู้บริโภค’ พบ ‘กมธ.พัฒนาเมืองฯ’ เรียกร้องตรวจสอบประมูลคลื่นฯ ห่วงราคา ‘แพ็กเกจ’ ค่าบริการ ‘2 ค่ายมือถือ’ ขยับราคาขึ้น
………………………….
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2568 คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา และคณะอนุกรรมการธิการการคุ้มครองผู้บริโภค นำโดยนายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และประธานคณะอนุกรรมการธิการการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เดินทางเข้าพบคณะผู้บริหารของสภาองค์กรของผู้บริโภค นำโดยนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค หารือแนวทางการขับเคลื่อนและสนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภค
นางสาวสารี กล่าวว่า สภาผู้บริโภค ได้ก่อตั้งในปี 2564 ปัจจุบันมีเครือข่ายสมาชิก 353 องค์กร ครอบคลุม 58 จังหวัด มีหน่วยงานประจำจังหวัด 20 แห่ง และหน่วยงานเขตพื้นที่ 4 แห่ง ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนของปี 2568 มีการรับเรื่องร้องทุกข์สูงถึง 15,092 เรื่อง จากเป้าหมายทั้งปี 18,000 เรื่อง โดยสามารถแก้ปัญหาให้ผู้ร้องเรียนจนยุติ ถึงร้อยละ 64 และผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อบริการของสภาผู้บริโภค ถึงร้อยละ 92 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคไปดำเนินการถึง 6 เรื่อง และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภค ถึง forty five ล้านครั้ง
สำหรับ 3 อันดับ เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค มากกว่าร้อยละ 80 เป็นปัญหาภัยออนไลน์ อันดับ 1 ด้านสินค้าและบริการ โดยเฉพาะปัญหาการซื้อของออนไลน์ อันดับ 2 ด้านการเงิน การธนาคาร ปัญหาเงินกู้ออนไลน์ หนี้บัตรเครดิต และ 3 ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาแก๊งมิจฉาชีพลวงลวงผ่านมือถือ เอสเอ็มเอสลวงลวง เป็นต้น โดยเป้าหมายในระยะ 3 ปีข้างหน้า (2568 – 2570) จะลดความเสียหายจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์
สร้างเมืองที่เป็นธรรม (Engaging City) ทั้งในด้านขนส่งสาธารณะ อสังหาริมทรัพย์ บริการสาธารณะต่าง ๆ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย สิทธิบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียม และเด็กทุกคนเรียนฟรี 15 ปี อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค คืองบประมาณที่ไม่เพียงพอ
“ปัญหาของผู้บริโภคมีมาก และมีความท้าทายมากขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัล เราต้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าที่ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตทีดี และสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืน ขณะที่งบประมาณที่ได้รับจากภาครัฐน้อยลง สวนทางกับภารกิจในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการขยายเครือข่ายผู้บริโภคให้ครบทุกจังหวัด เพื่อทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค แจ้งเตือนภัยประชาชนอย่างทั่วถึง” นางสาวสารีกล่าว
ด้านนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของบริโภค กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการแก้ปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีมาตรการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง มีเพียงสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ที่ไม่มีการขยับในการแก้ปัญหามากนัก
ขณะที่การประมูลคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมล่าสุด ยังมีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการจะมีอำนาจเหนือตลาด รวมถึงประธาน กสทช. ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้มีการจัดประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้ ยังมีคำถามว่าขาดคุณสมบัติหรือไม่
“จากผลสำรวจพบว่าแพ็กเกจการให้บริการของค่ายมือถือที่เหลืออยู่ 2 ค่ายในปัจจุบัน มีการขยับราคาเพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราการคิดค่าบริการในระบบเติมเงินก็มีความไม่ชัดเจน อยากให้คณะกรรมาธิการฯ และรัฐบาลเข้ามาตรวจสอบ เพราะการประมูลคลื่นความถี่ฯ ในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบสิทธิของผู้บริโภคหนักหนาสาหัสมากขึ้น” นายอิฐบูรณ์กล่าว
สำหรับประเด็นอื่น ๆ ที่สภาผู้บริโภคได้ผลักดันอย่างต่อเนื่อง เช่น สมาร์ทซิตี้ เมืองที่ปลอดภัย ระบบขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงได้ “20 บาททุกสาย” ที่ได้ดำเนินการแล้วในกรุงเทพมหานคร อยากขยายให้ครอบคลุมจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ อยากให้ภาครัฐเข้ามาร่วมสนับสนุนบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับคนทุกคน
นายนิฟาริด กล่าวว่า การทำงานของสภาผู้บริโภค ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ทำอย่างไรจะเสนอให้หน่วยงานภาครัฐเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น และสนับสนุนเรื่องงบประมาณให้กับสภาผู้บริโภค ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมีสวัสดิภาพที่ขึ้น เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม นอกจากนี้ อาจหาเครือข่ายพันธมิตร หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีงบประมาณสนับสนุนโครงการ เช่น สสส. หรืองบสนับสนุนระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือช่องการรับบริจาคผ่านมูลนิธิต่างๆ ซึ่งกรรมาธิการฯ จะทำงานร่วมกับสภาผู้บริโภค เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และสามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )