
“เพื่อไทยอาจอยู่รอดได้ ในฐานะเครื่องมือชนชั้นนำ” มองอนาคต “ชินวัตร” ในการเมืองไทย ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดหรือไม่

ที่มาของภาพ : Getty Photography
Article Files
-
- Author, วศินี พบูประภาพ
- Role, ผู้สื่อข่าว.
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ชื่อของ ทักษิณ ชินวัตร ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการเมืองไทย ทั้งในฐานะผู้นำที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูง และในฐานะบุคคลที่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง พรรคการเมืองภายใต้ “แบรนด์ทักษิณ” ขึ้นเป็นรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรี 5 คนก่อนการรัฐประหารปี 2557 และล่าสุดพรรคเพื่อไทยที่ป้จจุบันมีผู้นำเป็นคนในตระกูลชินวัตร ได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งในปี 2566 พร้อมกับการกลับแผ่นดินเกิดของนายทักษิณในรอบ 15 ปี
การขยับตัวของ ทักษิณ ชินวัตร ถูกจับตามองคู่ขนานไปกับพลวัตรทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่แวดล้อมด้วยปัจจัยการเมืองสารพัด ทั้งด้านนโยบาย การประสานเครือข่าย และความสัมพันธ์กับสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ โดยเฉพาะหลังจากที่ แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม ในเดือน ก.ค. 2568 นายกรัฐมนตรีหญิงที่อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 10 เดือน ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จากชนวน “คลิปเสียง” กับสมเด็จฮุน เซน อดีตผู้นำประเทศกัมพูชา ขณะที่คดีความต่าง ๆ ของทักษิณก็กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นกัน
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นพร้อม “ศึกแย่งเก้าอี้มหาดไทย” ระหว่างพรรคเพื่อไทย (พท.) และภูมิใจไทย (ภท.) ซึ่งนำมาสู่การลาออกจากพรรคร่วมรัฐบาลของ “พรรคสีน้ำเงิน” ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรสำคัญในการค้ำยันให้มีนายกรัฐมนตรีเป็น “คนเพื่อไทย” ถึงสองคนติด ๆ
วิกฤตที่ถาโถมใส่พรรคเพื่อไทยและสองพ่อลูกตระกูลชินวัตรในขณะนี้ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามว่า รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน และบทบาทของครอบครัวชินวัตรในเวทีการเมืองไทย กำลังเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดหรือไม่
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue discovering outได้รับความนิยมสูงสุด
of ได้รับความนิยมสูงสุด
.สำรวจฉากทัศน์ที่อาจเป็นไปได้ของอนาคต “ตระกูลชินวัตร” ท่ามกลางมรสุมการเมืองครั้งนี้ ผ่านสายตานักวิชาการต่างชาติผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ทามาดะ โยชิฟูมิ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต และ ไมเคิล มอนเตซาโน อดีตผู้ร่วมวิจัยอาวุโสสมทบจากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak) ประเทศสิงคโปร์
ทักษิณเคยเกรียงไกร แต่ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว
“ทักษิณ ใช้การเลือกตั้งเพื่อจะได้มาซึ่งอำนาจ แล้วเขาก็ทำสำเร็จเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย” ทามาดะ โยชิฟูมิ ผู้เขียนบทความวิชาการเรื่องรัฐบาลทักษิณมาตั้งแต่ปี 2548 กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่อยู่จนครบวาระและได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งในวาระที่สองในระดับ “แลนด์สไลด์” กว่า 19 ล้านเสียง
ชื่อของทักษิณ ชินวัตร อยู่ในการเมืองกระแสหลักของไทยมาอย่างน้อย 31 ปี จากจุดเริ่มต้นในบทบาทนักธุรกิจโทรคมนาคม สู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เมื่อปี 2537 ก่อนขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม ในปี 2538 ขึ้นสู่เก้าอี้รองนายกฯ ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา และในเวลาต่อมาได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ในปี 2541 และก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ในอีกสามปีต่อมา

ที่มาของภาพ : Getty Photography
ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิชาการไทยศึกษาซึ่งศึกษาเรื่องการเมืองไทยมากว่า 30 ปี อธิบายว่าปัจจัยความสำเร็จของทักษิณในการเมืองไทยประกอบด้วยสามประเด็นหลักด้วยกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านเวลา ซึ่งมาพร้อมกับวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2540 ที่ภาคธุรกิจรู้สึกว่าประเทศไทยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากองค์กรโลกบาลที่ดูแลระบบการเงินโลก และประเทศไทยในเวลานั้นต้องการผู้นำที่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ได้ฉับไวที่สุด
ปัจจัยที่สองได้แก่ “นโยบายประชานิยม (populism)” ซึ่งฐานข้อมูลการเมืองของสถาบันพระปกเกล้าอธิบายว่า “ประชานิยมแบบทักษิณ” มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ ใช้ผลงานด้านเศรษฐกิจเป็นจุดขายหลัก โดยชูประสบการณ์จากภาคเอกชนมาขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนานที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการส่งออก โดยมีมาตรการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสให้ประชาชนระดับฐานราก
และปัจจัยสุดท้าย คือการจัดสรรอำนาจของกลุ่มผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นและแปลงเป็นคะแนนเสียงให้แก่การเมืองส่วนกลาง ซึ่ง รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยอธิบายไว้ว่าพรรคไทยรักไทย “เริ่มสร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เขาทำได้เพราะเขาอ่านการเมืองท้องถิ่นของไทยแบบ ‘อ่านขาด' จนสามารถสถาปนาอำนาจทางการเมืองในระดับชาวบ้านได้อย่างมั่นคงเป็นระบบ”
มอนเตซาโน ชวนมองบริบทในปัจจุบันด้วยว่า แต่ “25 ปีต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว” โดยตัวอย่างที่เขายกแรกสุดคือการที่กลุ่มธุรกิจอาจไม่คิดว่าแนวคิดของทักษิณตอบปัญหาของพวกเขาได้อีกต่อไป
“วิกฤตการเงินนั้นผ่านพ้นไปนานแล้ว และก็ไม่แน่ชัดว่าชนชั้นธุรกิจซึ่งเคยรู้สึกชื่นอกชื่นใจกับถ้อยแถลงของทักษิณในช่วงปลายยุคทศวรรษ 1990 ถึงต้นปี 2000 นั้น ยังให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านั้นอยู่หรือไม่”
ฐานเสียงอาจหาย เพราะนโยบายเศรษฐกิจไม่ถึงฝัน
“ด้านการเมือง ทักษิณไม่เคยมีผลงานเด่น แต่ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ เขาเคยสร้างผลงานที่จับใจประชาชนได้มาก” ทามาดะ กล่าวกับ.เป็นภาษาไทยถึงจุดแข็งของอดีตนายกฯ คนที่ 23 แต่เขาก็บอกด้วยว่า หลังจากผ่านไปเกือบ 25 ปีนับแต่ที่ทักษิณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ผลงานรัฐบาลในปัจจุบันที่มีคนในตระกูลชินวัตรเป็นแกนนำเปลี่ยนไปมาก “ไม่เหมือนสมัยก่อนที่มีผลงานที่ประชาชนรู้สึกดีใจจริง ๆ”
มอนเตซาโน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย ฉายให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นว่า นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยรักไทยภายใต้ทักษิณ ทำให้ “พรรคการเมืองฝั่งแดง” สามารถรักษาฐานเสียงในชนบทไว้ได้อย่างแข็งแกร่งเสมอมา
“ทุกการเลือกตั้ง พรรคฝั่งแดงยังคงมีอิทธิพลต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชนบท แต่ส่วนแบ่งนั้นกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง” เขากล่าว
ฐานเสียงทั่วประเทศของพรรคสีแดงที่กำลังลดลงดังกล่าว สะท้อนออกมาจากผลการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ค. 2566 ซึ่งพรรคเพื่อไทยประสบความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกให้กับพรรคก้าวไกล หยุดสถิติ “พรรคที่ไม่เคยพ่ายแพ้” ในรอบ 22 ปี
ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้แสดงทัศนะไว้ในรายการ Newsroom ของไทยรัฐด้วยว่า ฐานเสียง “เสื้อแดง” ถือเป็นสิ่งที่ทักษิณให้ความสำคัญน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่ฐานเสียงเหล่านี้เป็น “สิ่งที่ทำให้คุณทักษิณชนะมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001”

มอนเตซาโน ที่เคยเป็นบรรณาธิการบริหารวารสารประเด็นสังคมเอเชียอาคเนย์ (Journal of Social Disorders in Southeast Asia) กล่าวด้วยว่า ความแข็งแกร่งของเพื่อไทยถูกท้าทายจากการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล-ประชาชน เพราะแม้จะถูกมองว่ามีประเด็นเรื่องสถาบันฯ “แต่พรรคสีส้มได้เสนอนโยบายทางเศรษฐกิจที่จริงจังและสดใหม่ที่สุดในเวทีการเมืองไทย”
มอนเตซาโน มองว่า หนึ่งในความพยายามของพรรคเพื่อไทยในการฟื้นฟูฐานเสียงจากการรุกคืบของ “พรรคส้ม” คือโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเขามองว่าเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นเสน่ห์ของนโยบายประชานิยมในอดีต
ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ทันทีที่นายเศรษฐา ทวีสิน หนึ่งในแคนดิเดตนายกฯ ในเวลานั้น ประกาศนโยบาย “แจกเงินหนึ่งหมื่นบาท” ในช่วงต้นเดือน เม.ย. 2566 คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยได้พุ่งสูงขึ้นจากการสำรวจของสวนดุสิตโพล โดยได้คะแนนนิยมคิดเป็น 41.37% เทียบกับพรรคก้าวไกลในขณะนั้นซึ่งมีคะแนนนิยม 19.32%
“กระเป๋าเงินดิจิทัลมีความสำคัญ เพราะมันเป็นการย้ำเตือนผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงสิ่งที่ทักษิณเคยทำได้” อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจผู้นี้ยอมรับว่าโครงการนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง “มันเป็นความคิดที่ซับซ้อนเกินไป และไม่มีงบประมาณรองรับอย่างแท้จริง”

ที่มาของภาพ : กองโฆษก พรรคเพื่อไทย
ด้านนักวิชาการไทยศึกษาชาวญี่ปุ่นมองว่า เมื่อโครงการเรือธงอย่างกระเป๋าเงินดิจิทัลห่างไกลจากการเกิดขึ้นได้จริง ทางเลือกที่เหลืออยู่ของเพื่อไทยคือการมุ่งมั่นตั้ง “เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” เพื่อเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวจุดใหม่แบบครบวงจรที่มีกาสิโนเป็นส่วนหนึ่ง
“ผมคิดว่าที่เขายังสนใจเรื่องการพนัน เพราะมองว่าเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้รัฐบาล” ทามาดะ กล่าวกับ.
ทามาดะ ยังคงเชื่อว่าโครงการดังกล่าวยังมีศักยภาพในการกู้ภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยเพื่อพลิกเกมการเมืองครั้งนี้ พร้อมเปรียบเทียบกับนโยบายหวยบนดินในอดีตว่า “ถ้าทำจริง ๆ ก็อาจได้ผลดีเหมือนหวยบนดินที่เคยสร้างรายได้ให้รัฐ”
ด้าน มอนเตซาโน วิพากษ์ถึงความแตกต่างระหว่างสองนโยบายหลักของเพื่อไทยครั้งนี้ว่า แม้จะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจคล้ายกัน แต่รากฐานกลับมาจากฐานคิดคนละแบบ โดยแนวคิดการตั้ง “เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” ไม่ได้มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนนักเมื่อเทียบกับนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคไทยรักไทยที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานราก
กระนั้น นักวิชาการทั้งสองก็เห็นพ้องกันว่า พรรคการเมืองอายุกว่าสองทศวรรษนี้ยังไม่ได้สูญเสียความยิ่งใหญ่ไปเสียทีเดียว มอนเตซาโนประเมินว่าเพื่อไทยยังมีคะแนนเสียงหลายล้านเสียง ขณะที่ทามาดะบอกว่า “ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นสีส้ม”

ที่มาของภาพ : Reuters
“เสื้อแดงจำนวนมากมีรายได้น้อย การศึกษาไม่สูง ขณะที่คนสีส้มมักมีการศึกษาดีและฐานะทางสังคมสูงกว่า” ทามาดะ กล่าวโดยอ้างอิงการเยือน จ.เชียงใหม่ ครั้งล่าสุดในงานแลกเปลี่ยนนักวิชาการช่วงต้นปีของเขา “มันเหมือนเป็นเรื่องของชนชั้น และชาวบ้านบางส่วนไม่ชอบความรู้สึกนั้น”
นักวิชาการชาวญี่ปุ่นสรุปว่า แม้ “พรรคสีส้ม” จะเติบโต แต่การสนับสนุนทักษิณและเพื่อไทยในหมู่ประชาชนระดับรากหญ้ายังไม่หมดไป และเห็นว่า “ยังมีอยู่พอสมควร”
ทามาดะยังเน้นย้ำอีกว่า นโยบายทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะสามารถกู้สถานะของเพื่อไทยกลับคืนมาได้ “ตอนนี้ด้านการเมืองทำอะไรไม่ได้ ต้องพึ่งนโยบายเศรษฐกิจเท่านั้น”
สงครามแย่ง “บ้านใหญ่” เพื่อไทย-ภูมิใจไทย
“พรรคเพื่อไทยต้องการควบคุมกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการเลือกตั้ง เพราะฐานเสียงเดิม ทั้งกลุ่มทุนธุรกิจและประชาชนที่หวังนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล ต่างก็เริ่มสั่นคลอน” มอนเตซาโน กล่าวกับ.
ความขัดแย้งเกี่ยวกับเก้าอี้ รมว.มหาดไทย ได้นำไปสู่การแตกหักระว่างพรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 อย่างภูมิใจไทยในที่สุด
แม้เอกสารที่ออกโดยพรรค ภท. เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา จะระบุสาเหตุว่าต้องการแสดงจุดยืนปกป้องอธิปไตยหลังกรณี “คลิปเสียงหลุด” การสนทนาระหว่าง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร กับสมเด็จฮุน เซน แต่รอยร้าวระหว่างพรรคสีแดงและพรรคสีน้ำเงินเกิดขึ้นตั้งแต่การต่อรองเก้าอี้ รมว.มหาดไทย ก่อนการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด
มอนเตซาโนชี้ว่า การแย่งชิงอำนาจควบคุมกระทรวงมหาดไทยระหว่างพรรคเพื่อไทยและภูมิใจไทย เป็นกระจกสะท้อนการแข่งขันในระดับท้องถิ่นระหว่างสองพรรค พร้อมชี้ด้วยว่า การแข่งขันเพื่อดึงตัวนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพลจะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ที่มาของภาพ : Getty Photography
“ก่อนการเลือกตั้งปี 2562 ผมอยู่ในภาคใต้และเห็นชัดว่า ภูมิใจไทยกำลังสร้างเครือข่ายอย่างจริงจัง ขยายตัวไกลกว่าเขตแดนของบุรีรัมย์มาก” เขาระบุ
ด้านอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต เห็นพ้องตรงกันว่าเพื่อไทยจะต้องเหนื่อยกับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น โดยเสริมว่าการตัดสินใจของ “บ้านใหญ่” หรือกลุ่มการเมืองท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก คือ “สตางค์” และ “อุดมการณ์” และได้ยกตัวอย่างพรรคที่ชูอุดมการณ์ว่าได้แก่ พรรคประชาชน พรรคเพื่อไทย และพรรครวมไทยสร้างชาติ
“ถ้าตัวเองเป็นบ้านใหญ่ ผมจะเลือกพรรคไหน ผมจะเลือกพรรคที่มีสตางค์ แต่ก็ต้องเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ที่ประชาชนชอบ” นักวิชาการญี่ปุ่นเจ้าของแนวคิดเรื่อง “อิทธิพล” ในสังคมไทยซึ่งได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง ประเมินและชี้ต่อว่า หากยุบสภาวันนี้ พรรคเพื่อไทยอาจได้ ส.ส. ไม่ถึง 100 คน และจะมีสถานะเป็นพรรคอันดับสอง
“เพื่อไทยแพ้พรรคส้มแน่นอน แต่จะได้มากกว่าภูมิใจไทย เพราะภูมิใจไทยมีแต่สตางค์ ไม่มีอุดมการณ์” เขากล่าว
มรสุมทางกฎหมายของสองพ่อลูก ทักษิณ-แพทองธาร
เหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว ถือเป็นอีกครั้งที่ชะตากรรม “รัฐบาลค่ายแดง” ถูกแขวนบนเส้นด้ายโดยมีองค์กรอิสระเป็นผู้ชี้เป็นชี้เสียชีวิต
พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนเคยถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ ต่อมาพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นหนึ่งในพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทย ก็ถูกยุบพรรคก่อนการเลือกตั้งปี 2562
ทั้งนี้ ในอดีตเคยมี “นายกฯ ค่ายแดง” จำนวน 3 ราย ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งมาก่อน ได้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช ในปี 2551, น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2557 และล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน ปี 2567
นอกจากคดีในศาลรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 36 คน ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวอยู่ในขณะนี้แล้ว น.ส.แพทองธาร ยังเผชิญกับคดีในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) ซึ่งยื่นด้วยสำนวนเดียวกันด้วย
นอกจากนี้ แพทองธาร ยังเผชิญคดีอาญาจากการร้องทุกข์กล่าวโทษกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดย สมชาย แสวงการ อดีต สว. และแนวร่วมกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รวมพลังแผ่นดิน” จากเหตุคลิปเสียงหลุด โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119, 120, 122, 128 และ 129

ที่มาของภาพ : AFP
ด้าน ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของพรรคเพื่อไทย ก็กำลังเผชิญขวากหนามทางกฎหมายเช่นกัน โดยมีทั้งคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ “คดีชั้น14” ซึ่งมีนัดไต่สวนพยานตลอดเดือน ก.ค.นี้
บทวิเคราะห์ของ ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และโจชัว เคิร์ลแอนซิก ที่เขียนลงในเว็บไซต์ของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (The Council on Foreign Members of the family – CFR) วิเคราะห์ว่าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ น.ส.แพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ เป็นขั้นแรกของการสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของตระกูลชินวัตร โดยมรสุมคดีของครอบครัวชินวัตรที่มีอยู่ในขณะนี้ “อาจถูกนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อลดทอนอิทธิพลให้พวกเขาต้องติดคุก หรือ (มีแนวโน้มมากว่า) ปล่อยให้หนีออกนอกประเทศและจะไม่ได้กลับมาอีกเลย”
ในประเด็นนี้ มอนเตซาโนมองว่า ครอบครัวชินวัตรกำลังตกเป็นฝ่ายตั้งรับในสงครามทางกฎหมาย ส่วนทามาดะประเมินว่าเป้าหมายของคดีความที่มีต่อ น.ส.แพทองธาร อาจหวังผลแค่เปลี่ยนตัวนายกฯ เท่านั้น
“ไม่ใช่ว่าร้อยเปอร์เซ็นต์เขาจะถูกออกจากการเมืองตลอดชีวิต ผมคิดว่าไม่แน่ครับ” นักวิชาการญี่ปุ่น กล่าว
จากผู้นำ สู่เครื่องมือของชนชั้นนำ
ต่างจากกรณีของ น.ส.แพทองธาร นักวิชาการทั้งสองไม่วิเคราะห์ถึงอนาคตของทักษิณ ชินวัตร ในประเทศไทยจากสถานการณ์ด้านคดี เพราะความสัมพันธ์ระหว่างทักษิณกับฝ่ายอนุรักษนิยมเป็นผลจากการเมืองที่ไม่มีทางเลือก
ทามาดะมองว่า “ในระบบที่มีพรรคสีแดงและสีส้ม หากต้องเลือกเพียงหนึ่ง ฝ่ายอนุรักษนิยมไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเพื่อไทย” เขากล่าว พร้อมอธิบายว่า “เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคสีส้มขึ้นสู่อำนาจ ฝ่ายอนุรักษนิยมจึงยังต้องจับมือกับทักษิณ แม้จะไม่เต็มใจ”
มอนเตซาโนเห็นไม่ต่างกัน พร้อมขยายความว่าบทบาทของทักษิณในสายตาชนชั้นนำนั้นถูกยอมรับในฐานะ “เครื่องมือ”
“ทักษิณในวันนี้ไม่ใช่ผู้นำที่ขับเคลื่อนประเทศอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์อื่นในทางการเมือง” เขาเสริมต่อว่า “ทันทีที่บทบาทถูกพลิกแบบนี้ สถานะของตระกูลชินวัตรก็เปลี่ยนไปด้วย”
อย่างไรก็ตาม เขาตั้งข้อสังเกตว่าความตึงเครียดระหว่างทักษิณกับกลุ่มอำนาจเก่าตึงเครียดขึ้นเพราะการวางตัวของอดีตนายกฯ คนที่ 23 เอง ที่ไม่สงวนท่าทีดังที่อีกฝ่ายตั้งความคาดหมายไว้ และนานวันเข้าก็สั่งสมเป็นความไม่พอใจที่ปะทุขึ้นมา
“ทักษิณไม่ได้ทำตัวเป็นดังเครื่องมือ เขาเดินสายปราศรัย พูดเรื่องเศรษฐกิจ และแสดงบทบาทอย่างแข็งขัน แล้ว ท่าทีอย่างนั้น ก็กลับมาเตือนความทรงจำของชนชั้นนำว่า ทำไมพวกเขาไม่เคยไว้วางใจทักษิณ”
กรณีพิพาทเรื่องสิทธิในเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาในอ่าวไทย ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นความไม่ไว้วางใจต่อทักษิณและครอบครัวกลับมาอีกครั้ง แม้ในเหตุการณ์ล่าสุดจะไม่มีการซื้อขายหรือข้อตกลงใด ๆ เกิดขึ้นโดยตรงก็ตาม
“คำว่า ‘ขายชาติ' กลายเป็นวาทกรรมที่ฝังรากลึกในสังคมไทย จนไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดหรือหลักฐานใด ๆ ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือโจมตีได้” มอนเตซาโนกล่าว

“ผมคิดว่าทักษิณมีความเชื่อมั่นอย่างมากในความสามารถของตัวเองที่จะทำให้คนอื่นทำตามที่เขาต้องการ ดังนั้นเราต้องมีสมมติฐานว่าเขายังคงพูดคุยกับผู้คนอยู่ตลอดเวลา และพยายามโน้มน้าวว่า การอยู่กับเพื่อไทยคือวิธีที่ดีที่สุดในการกันพรรคส้มออกไป” มอนเตซาโนกล่าวกับ.
เขาอธิบายต่อว่า ในระยะสั้นยังมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจะอยู่รอดได้ หากฝ่ายอนุรักษนิยมเห็นว่าแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนที่สามของเพื่อไทย (ชัยเกษม นิติสิริ) เป็นที่ “พอรับได้” ในหมู่ชนชั้นนำ จนยอมให้เพื่อไทยเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลผสมต่อไป

ที่มาของภาพ : สำนักพระราชวัง
แม้พรรคภูมิใจไทยจะแสดงบทบาทแข็งขันในการพยายามเป็นตัวเลือกหลักของฝ่ายอนุรักษนิยม ทว่าทามาดะให้ความเห็นว่า ชนชั้นนำในประเทศไทยยังไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคภูมิใจไทย ยัง “ไม่มีฐานมวลชน” ทำให้ “ชนกับพรรคสีส้มไม่ได้”
เขาเปรียบเทียบต่อไปว่า พรรคเพื่อไทยยังไม่หมดประโยชน์เสียทีเดียว โดยเปรียบเทียบกับอดีตพรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยม ที่หมดพลังไปแล้ว
“เหมือนพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตอนนี้ใช้ไม่ได้แล้ว แต่เพื่อไทยยังพอใช้ได้อยู่อีกสมัยหนึ่ง ไม่นานเท่าไหร่ แต่ยังใช้ได้อยู่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่ายังใช้ต่อ” เขายืนยัน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณผู้นี้ยังวิเคราะห์ด้วยว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร กลุ่มอำนาจเก่าในสังคมไทยจึงต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการเลือกตั้ง เพราะหากพรรคสีส้มชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการรัฐประหารได้
“ถ้าหากว่าตอนนี้มีการเลือกตั้ง พรรคส้มอาจจะได้ ที่นั่ง สส. มากกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อนั้นผมสงสัยว่าเขาอาจจะมีการรัฐประหาร”
ฉากทัศน์ของการรัฐประหารถูกวิเคราะห์ไว้เช่นกันในบทความบนเว็บไซต์ของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยระบุว่าอาจเกิดขึ้นได้หากเกิดเงื่อนไขความรุนแรง
“หากสถานการณ์ในกรุงเทพฯ ทวีความวุ่นวายและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กองทัพก็อาจจะทำรัฐประหาร บังคับให้ตระกูลชินวัตรต้องหนีออกนอกประเทศในที่สุด” บทวิเคราะห์ที่เขียนโดย ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และโจชัว เคิร์ลแอนซิก ซึ่งตีพิมพ์วันที่ 30 มิ.ย. 2568 ระบุ
ผู้สืบทอดการเมือง “ตระกูลชินวัตร”
เมื่อมองถึงอนาคตของตระกูลชินวัตรและเพื่อไทย เสียงของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองที่.สนทนาด้วย ไม่ตรงกันเสียทีเดียว
ขณะที่บทวิเคราะห์โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และโจชัว เคิร์ลแอนซิก มองว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จะเป็นนายกรัฐมนตรี “ชินวัตร” คนสุดท้าย ด้านทามาดะมองว่า ตัวเลือกการใช้คนนอกตระกูลอาจถูกเลือกกลับมาใช้อีกครั้ง
“เมื่อก่อนเขาเลือกสมัคร สุนทรเวช ตอนนี้ยังคิดในแง่ดีว่า มีสิทธิเลือกคนอื่นจากนอกตระกูลเหมือนกัน” อาจารย์ชาวญี่ปุ่นกล่าว
ส่วนมอนเตซาโน ชี้ว่าวิกฤต “การสืบทอดทางการเมืองของตระกูลชินวัตร” เกิดขึ้นมานานแล้ว
“แม้แต่ยิ่งลักษณ์และสมชายก็ไม่ใช่การส่งต่อ แพทองธารอาจเป็นการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผล” เขาขยายความต่อว่า “แพทองธารไม่เคยเป็นผู้นำที่แท้จริง แต่เป็นกลไกของพ่อ”

ที่มาของภาพ : Getty Photography
“ในพรรคมีคนเก่งอยู่มาก ไม่มีข้อสงสัยเลย แม้แต่สุริยะก็เป็นคนที่มีความสามารถมาก แต่ทั้งหมดนั้นคือคนรุ่นของทักษิณ ไม่ใช่คนรุ่นใหม่” มอนเตซาโน ชี้
“ต่อให้เพื่อไทยจะได้เป็นพรรคใหญ่ที่สุดในการเลือกตั้งครั้งหน้าได้สำเร็จ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกลับไปสู่ยุครุ่งเรืองของไทยรักไทยหรือแม้แต่ยุคของยิ่งลักษณ์ มันจะเป็นเพียงเงาจาง ๆ ของสิ่งที่เคยเป็นเท่านั้น” มอนเตซาโน นักวิชาการด้านไทยศึกษาชาวตะวันตก สรุป
ด้านทามาดะเห็นพ้องว่า อนาคตของพรรคเพื่อไทยและครอบครัวชินวัตรกำลังอยู่ในช่วงขาลง “เรายังไม่สามารถพูดได้ว่าเขายังมีอนาคตทางการเมืองหรือไม่ ผมก็ว่ากำลังต่ำลงเรื่อย ๆ”
อย่างไรก็ตาม เขาคิดถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ที่อาจต่อลมหายใจให้ตระกูลชินวัตรต่อไปได้
“ตอนนี้ประชาชนยังไม่เห็นว่าทักษิณน่าสงสาร แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อ อาจจะมีบางคนเริ่มคิดว่าทักษิณน่าสงสาร ถูกใช้ ถูกทิ้ง ตอนนั้นน่าจะเปลี่ยน มากน้อยแค่ไหนไม่รู้ แต่อาจจะเปลี่ยนก็ได้” ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นคาดการณ์
ทักษิณจะไม่ยอมเสียชีวิตจากการเมืองไทย
ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ ทักษิณ ชินวัตร วนเวียนและกลับมาอยู่ในการเมืองไทยเสมอ เช่น การปรากฏตัวผ่าน “โฟนอิน” เมื่อครั้งการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)”, การสนทนาในห้อง “คลับเฮ้าส์” ยุคโควิด-19 และในที่สุดได้กลับมายังประเทศไทยในปี 2566
มอนเตซาโนวิเคราะห์ว่า การ “กลับมา” ครั้งแล้วครั้งเล่าของทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้เกิดจากความคิดถึงบ้านหรือความต้องการล้างตาเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความมั่นใจในตัวเองอย่างแรงกล้าว่าเขายังสามารถควบคุมการเมืองไทยได้
เขาอธิบายว่า ทักษิณไม่ได้ปิดบังบทบาทของตนเองหลังจากที่ผลักดันให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งมีนายกฯ คือนายเศรษฐา ทวีสิน และต่อมาคือ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้สำเร็จ
“เขาไม่ได้ปิดบังเลยว่าเขาเป็นคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง ตอนที่เศรษฐาถูกบีบให้ออก ถ้าผมจำไม่ผิด ไม่มีใครปิดบังเลยว่ามีการประชุมที่บ้านทักษิณ และทักษิณเป็นคนตัดสินใจว่าก้าวต่อไปคืออะไร”
มอนเตซาโนชี้ว่า เจตจำนงนี้สะท้อนบุคลิกของทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมาก “ผมจำได้ดีในยุคก่อนที่เขาจะเข้าสู่การเมืองช่วงต้นทศวรรษ 1990 เขาเป็นคนที่มั่นใจอย่างแรงกล้าว่าเขาทำสิ่งต่าง ๆ ได้ในแบบที่ไม่มีใครทำได้” นักวิชาการอาคันตุกะอาวุโสของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ในสิงคโปร์ ย้อนรำลึก
“เขาแลกอะไรไปมากมาย แต่เขาก็ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เขากลับมาและควบคุมรัฐบาล แม้จะไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจโดยตรง”

ที่มาของภาพ : Michael J. Montesano
ศ.เกียรติคุณ ดร.ทามาดะ ให้ความเห็นตรงกันว่า นักรบการเมืองผู้กรำศึกรายนี้ไม่ออกจากสนามทางการเมืองง่าย ๆ “ผมว่าเขาไม่ยอม และเขาก็ ไม่อยากจะยอม”
เขาเสนอความเป็นไปได้ว่า แม้หลังจากนี้ไปจะมีฉากทัศน์ที่ทักษิณอาจจะถูกบีบคั้นด้วยคดีหมิ่นสถาบันฯ แต่นักการเมืองรายนี้ก็จะกลับมาอีกในอนาคต
“ทักษิณอาจ เก็บตัวเงียบสัก 10 ปี อาจจะกลับมา แต่เป็นยังไงนี่ ผมไม่แน่ใจนะครับ แต่ไม่ยอมง่าย ๆ คิดว่าไม่ยอมง่าย ๆ” เขายืนยัน
มอนเตซาโนยังชวนตั้งคำถามสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของพรรคเพื่อไทยในวันที่อาจไม่มีทักษิณ ชินวัตร อยู่ในฉากการเมืองด้วย เขาชี้ว่า เสน่ห์ของพรรคเพื่อไทยในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับตัวทักษิณโดยตรง “มันไม่ชัดเจนเลย เพราะเสน่ห์ของพรรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากทักษิณ และถ้าเขาไม่อยู่แล้ว ก็ไม่แน่ว่าพรรคจะยังมีเสน่ห์อยู่แค่ไหน”
มอนเตซาโน วิเคราะห์ว่า พรรคเพื่อไทยอาจกำลังอยู่บนเส้นแบ่งระหว่างการรักษาสถานะพรรคใหญ่ กับการค่อย ๆ เลือนหายไปจากฉากการเมืองไทย เช่นเดียวกับพรรคการเมืองหลายพรรคในอดีต เช่น พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม ซึ่งล้วนแต่เคยเป็นตัวแสดงสำคัญในการเมืองไทยในยุคสมัยหนึ่ง
“สิ่งที่เราต้องจำไว้คือ พรรคการเมืองจำนวนมากที่เคยดูทรงพลังในบางช่วงเวลา ตอนนี้ไม่มีอะไรเหลือเลย พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นพรรคใหญ่ แต่ตอนนี้ประชาธิปัตย์ไม่มีอะไรเหลือแล้ว” เขากล่าว
“พรรคเพื่อไทยอยู่ตรงกลางระหว่างสองความเป็นไปได้ หนึ่งคือยังสามารถรักษาสถานะพรรคใหญ่และมีบทบาทในรัฐบาลผสมในอนาคต กับอีกทางหนึ่งคือกลายเป็นเหมือนพรรคอื่น ๆ ที่เคยสำคัญในอดีต แล้วก็หายไป” มอนเตซาโนสรุป
ที่มา BBC.co.uk