แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/bood | ดู : 10 ครั้ง
16-กค-2568-สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา-ร่าง-พรบ.ประชามติ-ที่เค

16 ก.ค. 2568 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ที่เคยผ่านวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่วุฒิสภาไม่เห็นชอบ จึงต้องพักการพิจารณาหรือยับยั้งไว้ 180 วัน (ครบกำหนด 17 มิ.ย.2568) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 137(3) และมีการนำกลับมาพิจารณาใหม่เพื่อยืนยันร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ผลการลงมติปรากฏว่า สส.ลงมติเห็นด้วย 375 คน  ไม่เห็นด้วย 0 คน งดออกเสียง 80 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน

ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า ร่างพ.ร.บ.ประชามติ เป็นการใช้อำนาจของวุฒิสภาในการแก้เนื้อหาหลักของกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนฯ มีผลยับยั้งการออกกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรอย่างชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้วแทบเกิดขึ้น ที่มาที่ไปเริ่มจาก ร่าง พ.ร.บ.ประชามตินี้นำเสนอโดย พริษฐ์ วัชรสินธุ์ พรรคประชาชน และจาตุรนต์ ฉายแสง พรรคเพื่อไทย ซึ่งผ่านวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรไปในวันที่ 21 ส.ค.2567 ด้วยมติเอกฉันท์ 409 เสียง โดยจุดหลักมีการเปลี่ยนเกณฑ์ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ (double majority) เป็น ‘เสียงข้างมากชั้นเดียว’ (easy majority) เมื่อไปถึงชั้นวุฒิสภา สว.มีมติเสียงข้างมากให้เปลี่ยนเนื้อหากลับไปที่ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ แล้วส่งกลับมาที่สภาผู้แทนราษฎรว่าคิดเห็นอย่างไร ครั้งนี้ สส.เริ่มเสียงแตก แม้เสียงข้างมากยังโหวตไม่เห็นด้วยกับมติของวุฒิสภา แต่ สส.พรรคภูมิใจเปลี่ยนมาโหวตเห็นด้วยกับวุฒิสภา จากนั้นจึงมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภา เสียงส่วนใหญ่ของ กมธ.ยืนยัน ‘ล็อค 2 ชั้น’ อีก เมื่อมีการส่งกลับมาที่สภาผู้แทนราษฎร สส.ลงมติไม่เห็นชอบตามเสียงข้างมากของ กมธ.ยกเว้นสส.พรรคภูมิใจไทยที่อภิปรายเห็นด้วยกับการแก้ไขของสว. อย่างไรก็ดี ตามกติการัฐธรรมนูญเมื่อสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาเห็นไม่ตรงกัน ต้องพักการพิจารณากฎหมายนี้ไป 180 วันจึงจะสามารถนำมาพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเพื่อให้ สส.โหวตยืนยันดังที่เกิดขึ้นในวันนี้

สำหรับที่มาที่ไปนั้น กฎหมายประชามติของไทยแต่เดิมกำหนดเกณฑ์เสียงข้างมากชั้นเดียว และเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้น ในปี 2564 ในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา

พริษฐ์ วัชรสินธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ผู้เสนอร่างฯ กล่าวว่า เหตุผลที่พรรคประชาชนสนับสนุนให้เปลี่ยนเสียงสข้างมาก 2 ชั้นเป็น 1 ชั้น ไม่ใช่เพราะอยากให้เรื่องใดๆ ผ่านโดยง่าย แต่เป็นเพราะต้องการให้ประชามติทุกเรื่อง มีความเป็นธรรมมากขึ้นระหว่างฝ่ายที่อยากให้ผ่านกับอยากให้ไม่ผ่าน ถ้าใช้ 1 ชั้น จะ ‘ปิดช่อง’ ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ออกไปใช้สิทธิ แต่ใช้แรงจูงใจตรงไปตรงมาในการนำเสนอความคิดตนเองเพื่อให้คนออกมาใช้สิทธิ์ของตน  ที่ผ่านมา สส. 409 คน เคยเห็นชอบร่างดังกล่าวอย่างเป็นเอกฉันท์ หวังว่าจะยังคงยืนยันจุดยืนเดิมของตนเอง

พริษฐ์กล่าวว่า เพียงแค่มีกฎหมายประชามติ ฉบับใหม่ไม่เพียงพอ ทุกฝ่ายต้องมาร่วมมองไปข้างหน้า ว่าจะใช้ประโยชน์จากประชามติฉบับใหม่อย่างไรเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ สิ่งที่เชื่อมโยงปัญหาต่างๆ ในทางโครงสร้างคือ รัฐธรรมนูญ 2560 เข้าใจดีว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่ยาวิเศษแก้ได้ทุกปัญหา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่นี้เป็นผลไม้พิษที่เป็นอุปสรรคทางการเมืองไทย ไม่ว่าเราจะแก้ปัญหานี้โดยแก้รายมาตรา หรือจัดทำฉบับใหม่ไม่ว่าต้องทำ 2 หรือ 3 ครั้งล้วนต้องทำประชามติ รัฐบาลต้องคิดต่อและนำเสนอและเดินหน้าต่อให้เร็ว โดยควรใช้โอกาสนี้ในการแก้รัฐธรรมนูญและทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งครั้งถัดไปที่อาจเกิดขึ้นเร็ว

จาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผู้เสนอร่างฯ กล่าวว่า ตนเป็นคนยื่นญัตติให้มีการลงคะแนนยืนยันร่างกฎหมายหลังจากพ้นกำหนด 180 วันในครั้งนี้ เพราะหากเราไม่มีกฎหมายประชามติฉบับใหม่ทันเวลาจะกลายเป็นต้องลงประชามติกันด้วยกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โหวตวันนี้เพื่อเดินหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

จาตุรนต์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น แทบทุกพรรคใช้ในการหาเสียง ประกาศต่อสาธารณชนในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว แต่กฎหมายประชามติเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ เพราะใช้กติกาเสียงข้างมาก 2 ชั้น เลยมีการเสนอแก้ไขจากทั้ง ครม. และสภาคือ พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาชนและพรรคภูมิใจไทย  ให้เปลี่ยนเป็นการออกเสียงข้างมากธรรมดา ใช้เสียงข้างมากผู้มาออกเสียง โดยกำหนดด้วยว่าเสียงข้างมากต้องสูงกว่าคะแนน “งดออกเสียง” มันไม่ได้ทำให้เรื่องผ่านโดยง่าย แต่สร้างความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการทำประชามติรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ทั้งฉบับ 2550 และ 2560 ก็ใช้กติกากำหนดเสียงข้างมากธรรมดา ไม่ได้กำหนด 2 ชั้น ดังนั้นไม่ควรใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกัน

จาตุรนต์กล่าวว่า การใช้เสียงข้างมากสองชั้นที่กำหนดผู้มาใช้สิทธิต้องมีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งด้วย ทำให้คนที่ไม่มาใช้สิทธิ์กับคนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญกลายเป็นฝ่ายเดียวกัน ถูกนับรวมกัน ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็สามารถรณรงค์ให้คนไม่มาได้โดยง่าย แม้ลงประชามติจะมีเสียงเห็นชอบมากกว่าไม่เห็นชอบ แต่ก็ต้องตกไป หากคนมาออกเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง หลักการนี้จะทำให้ทุกเรื่องที่ต้องการหาทางออกยากไปหมด ทำให้ไม่สามารถใช้ประชามติเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพัฒนาบ้านเมืองไปตามความต้องการของประชาชนได้

ผู้อภิปราย

แนน บุญย์ธิดา สมชัย สส.อุบลฯ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยพูดชัดเจนตั้งแต่ในครั้งแรกตอน วาระ 1 ครั้งที่ 2 ตอนมีการตีกลับมาจากวุฒิสภา นี่ครั้งที่สาม ยืนยันว่า ภูมิใจไทยเห็นด้วยกับประชามติ แต่เมื่อต้องยืนยันเนื้อหาวิธีการให้เป็นแค่เสียงข้างมากชั้นเดียว เราก็มีความกังวลหากจะใช้เสียงจำนวนเท่าไรก็ได้ในการออกความคิดเห็นในเรื่องสำคัญๆ ทำให้พรรคภูมิใจไทยไม่สามารถบอกได้ว่า เห็นด้วยกับฉบับนี้ได้เต็มปาก

“เราไม่ได้กังวลเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างเดียว เราอยากให้คนมาลงคะแนนมีชั้นกรองในการออกเสียง ถ้าในอนาคตต้องออกเสียงลงประชามติเรื่องความมั่นคงประเทศ MOU43,44 เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเป็นเสียงข้างมาก ดังนั้นควรเป็นว่า ชั้นแรกควรมีผู้มาใช้สิทธิเกินครี่งหนึ่ง แล้วจากนั้นก็เป็นเสียงข้างมาก จากผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง แบบนี้จะปลอดภัยกว่า พรรคภูมิใจไทยก็คงไม่ถึงขั้นจะไม่เห็นด้วย เพียงแค่เนื้อในเราอยากให้มีแนวความคิดที่รอบคอบมากกว่านี้ เป็นชั้นกรองให้ยืนยันกับประชาชนได้ว่านี่คือเสียงส่วนใหญ่ เราคงจะเห็นก็ไม่ได้ จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ เพราะเราอยู่ตรงกลางระหว่างความก้ำกึ่ง” แนน บุญย์ธิดา กล่าว

ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามหลักการของธรรมนูญ สภาผู้แทนฯ มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะโหวตยืนยันได้โดยไม่ต้องปรับแก้ตาม สว.

ขัตติยา กล่าวว่า หากการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่คือเป้าหมายสำคัญของสังคมไทย นี่อีกหมุดหมายสำคัญที่จะเข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น พรรคเพื่อไทยยึดมั่นสัญญากับประชาชน แต่เราตระหนักว่ามีอุปสรรคในเชิงโครงสร้างและกฎหมายหลายฉบับขัดขวาง โดยเฉพาะกฎหมายประชามติที่วางไว้อย่างสลับซับซ้อน ทั้งที่ประชามติคือกลไกให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ ถ้าอยู่ใต้เกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้น เครื่องมือนี้จะไร้เสถียรภาพและไม่สามารถใช้ได้จริง จึงขอให้ สส.ร่วมกันลงมติยืนยันร่างดังที่เคยมติร่วมกันไปแล้ว เพื่อยืนยันว่าอำนาจประชาชาชนจะไม่ถูกบิดเบือน

ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวว่า ตนเองอยู่ใน กมธ.สภาผู้แทนฯ และ กมธ.ร่วมสองสภา ยอมรับตรงไปตรงมาว่า การพิจารณาช่วงปี 2563-2564 พิจารณาบนพื้นฐานยุทธศาสตร์ปฏิรูปประเทศ ตอนนั้นกังวลแต่เพียงว่า การออกเสียงประชามติกรณีต้องเป็นที่ยุติ อาจจำเป็นต้องมีความชอบธรรมอย่างสูงสุด แต่เราลืมนึกไปว่า สมการในการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ใช้หลักการการลงมติชั้นเดียว กรณีผู้ไม่เห็นด้วยอาจรวมไปกับผู้ไม่มาออกเสียงประชามติ ส่วนการออกเสียงนอกราชอาณาจักร ออกเสียงนอกเขต ออกเสียงล่วงหน้าก็แทบเป็นไปไม่ได้

“ไม่อาจปฏิเสธความจริงว่าผมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนเกณฑ์ 2 ชั้น แต่ตอนนี้ในการพิจารณา เรายินดี เพราะไม่ได้พูดเรื่องการลงคะแนนเสียงอย่างเดียว การออกเสียงที่ถือเป็นข้อยุติ ต้องมีเสียงข้างมากสูงกว่าคะแนนไม่ออกเสียง” ณัฐวุฒิกล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า การทำประชามติแต่ละครั้งใช้งบมาก 3-4 พันล้าน ในเมื่อเรามีการเลือกตั้ง ไม่ว่า สส. หรือ อปท.ที่เกิดต่อเนื่อง จึงควรเขียนให้จัดทำการออกเสียงประชามติไปพร้อมกัน ซึ่งเนื้อหาก็มีอยู่ในร่างที่จะพิจารณาวันนี้

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/bood | ดู : 10 ครั้ง
  1. ชาวบ้านรวมตัว-“กวนขนมอาซูรอ”-จ.สตูล--#thaipb ชาวบ้านรวมตัว “กวนขนมอาซูรอ” จ.สตูล ThaiPB
  2. “พระราชรัตนสุธี”-เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก-ลาสิกขาแล้วเมื่อเวลา “พระราชรัตนสุธี” เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ลาสิกขาแล้วเมื่อเวลา
  3. -อเมือง-จ.อุดรธานี-คืนนี้คาดว่าฝนตกยาวๆ-ทั้งคืน-บ้านไหน-ค ✅ อ.เมือง จ.อุดรธานี คืนนี้คาดว่าฝนตกยาวๆ ทั้งคืน บ้านไหน ค
  4. จอดซื้อของแบบนี้-สมาชิกส่งมา-ว่ามีรถชอบจอดซื้อของขวางไป-1-เ-|-2025-07-15-23:35:00 จอดซื้อของแบบนี้ สมาชิกส่งมา ว่ามีรถชอบจอดซื้อของขวางไป 1 เ 2025-07-15 23:35:00
  5. กสิกรไทย-คว้า-4-รางวัลเกียรติยศ-จากงาน-cash-&-banking-awards-2025 กสิกรไทย คว้า 4 รางวัลเกียรติยศ จากงาน Cash & Banking Awards 2025
  6. สภา-เห็นชอบ-กฎหมายนิรโทษกรรมวาระแรก-3-ฉบับ-ยืนยัน-ร่าง-พรบ.ประชามติ สภา เห็นชอบ กฎหมายนิรโทษกรรมวาระแรก 3 ฉบับ-ยืนยัน ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
  7. 2025-07-16-08:31:00-|-ข่าวสารจากกรุมอุตุนิยมวิทยา 2025-07-16 08:31:00 | ข่าวสารจากกรุมอุตุนิยมวิทยา
  8. เปิดรายชื่อ-17-วรรณกรรมไทย-โดน-“กัมพูชา”-ฉกขึ้นทะเบียนยูเนสโก เปิดรายชื่อ 17 วรรณกรรมไทย โดน “กัมพูชา” ฉกขึ้นทะเบียนยูเนสโก
  9. ตามรวบ-หนุ่มยิv-7-นัดกลางวงเหล้า-หลบหนีไม่รอด.-ตำรวจสอบสวนก ตามรวบ หนุ่มยิv 7 นัดกลางวงเหล้า หลบหนีไม่รอด . ตำรวจสอบสวนก
  10. ลอบวางsะเบิดเจ้าหน้าที่ตำรวจ-บาดเจ็บ-4-นาย-เมื่อตอนเที่ยงที่ ลอบวางsะเบิดเจ้าหน้าที่ตำรวจ บาดเจ็บ 4 นาย เมื่อตอนเที่ยงที่
  • No recent comments available.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend