
รัฐบาลชี้แจงเร่งแก้ปัญหาแม่น้ำกก แต่เหตุใดยังมีคนมองว่า ทำงานเหมือนไม่รู้ว่า “ไฟกำลังไหม้บ้าน”

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX
Article Files
-
- Creator, จิราภรณ์ ศรีแจ่ม
- Purpose, ผู้สื่อข่าว.
พบค่าสารหนูเกินค่ามาตรฐานในทุกจุดตรวจวัด จากรายงานคุณภาพน้ำแม่น้ำกกและลำน้ำสาขาล่าสุดของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ซึ่งเผยแพร่รายงานออกมาวันนี้ (18 ก.ค.)
ส่วนแม่น้ำสายพบสารหนูเกินค่ามาตรฐาน 3 จุดด้วยกันใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้แก่ บริเวณบ้านหัวฝาย ต.แม่สาย, สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2, และบ้านป่าซาง ม. 6 ต.เกาะช้าง
ขณะที่ แม่น้ำรวกพบสารหนูเกินค่ามาตรฐาน 2 จุด บริเวณสถานีสูบน้ำเกาะช้าง อ.แม่สาย จ.เชียงราย, จุดปลายน้ำรวกก่อนลงแม่น้ำโขงบริเวณ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย, และจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน
นอกจากนี้ แม่น้ำโขงยังพบสารหนูเกินค่ามาตรฐาน 3 จุด บริเวณจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ, บริเวณ ต.เวียง อ.เชียงแสน, และบ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน
อย่างไรก็ดี แม่น้ำกรณ์ แม่น้ำสรวย และแม่น้ำลาว ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำกก พบว่าคุณภาพน้ำยังเป็นไปตามค่ามาตรฐาน
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
Quit of ได้รับความนิยมสูงสุด
ทว่าจากผลการตรวจวัดล่าสุดของ คพ. ยืนยันแล้วว่าสารหนูซึ่งเป็นธาตุกึ่งโลหะหนักได้ปนเปื้อนลุ่มน้ำกก สาย รวก และโขง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จากข้อมูลของทีมนักวิจัยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เชื่อว่าเหมืองแร่แรร์เอิร์ธและเหมืองแร่ทองคำที่ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำในพื้นที่ควบคุมของกองทัพสหรัฐว้า (United Wa Affirm Military-UWSA) คือแหล่งต้นตอของสารพิษ โดยหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนในรัฐฉานรวบรวมหลักฐานหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ดำเนินการเหมืองเหล่านี้คือบริษัทของชาวจีน
น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกจดหมายข่าวชี้แจงประเด็นการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาสารพิษปนเปื้อนในลุ่มแม่น้ำกก โดยเน้นย้ำว่ามาตรการทุกอย่างดำเนินไปอย่างรอบคอบ บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเร่งเดินหน้าเจรจากับเมียนมาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชน
แต่กระนั้นคำชี้แจงดังกล่าวกลับยิ่งทำให้เกิดความเคลือบแคลงมากขึ้นว่าทิศทางการทำงานของรัฐบาลที่มีชีวิตประชาชนนับล้านเป็นเดิมพัน กำลังดำเนินมาถูกทางหรือไม่ ?
รัฐบาลเดินหน้าเจรจากับเมียนมาอย่างไรบ้าง
น.ส.ศศิกานต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่าในช่วงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา มีการเจรจาทางทหารโดยกรมกิจการชายแดนทหารผ่านกลไกระดับคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค หรือ อาร์บีซี (Regional Border Committee-RBC) เพื่อหาแนวทางลดผลกระทบในระยะเร่งด่วน หรือหยุดการทำเหมืองชั่วคราวเพื่อปรับปรุงวิธีการทำเหมือง รวมถึงมีการเข้าพบทูตทหารของเมียนมาเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและเสนอปัญหา พร้อมกับนำปัญหาดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมหมอกควันข้ามแดนที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา และเตรียมบรรจุวาระการเจรจาในระดับสูง หรือ เอชแอลซี (High Level Committee – HLC) ต่อไป โดยคณะกรรมการชุดนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธาน

ที่มาของภาพ : SHRF
จากนั้นในวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของไทย พร้อมด้วยกรมควบคุมมลพิษ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เดินทางไปพบฝ่ายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเมียนมา เพื่อหารือเรื่องการดำเนินการร่วมกันในระยะต่อไปในการหาที่มาของปัญหาการปนเปื้อนในแม่น้ำกก การสำรวจพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง การแก้ไขปัญหา และการแบ่งปันข้อมูลผลการตรวจวัดต่าง ๆ
“ในการเจรจาครั้งนี้ ไทยได้เสนอแนวทางการดำเนินงานที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ (Get – Get Solution) ในการแก้ไขปัญหา เช่น ประเด็นสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ โดยอาจให้มีการตรวจสุขภาพประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อดักตะกอนในพื้นที่เมียนมา การจัดหาแหล่งน้ำอุปโภค–บริโภคที่สะอาดปลอดภัยแก่ประชาชน หรือการสนับสนุนองค์ความรู้การบำบัดน้ำเสียจากเหมืองแร่หรือการป้องกันมลพิษลงสู่แหล่งน้ำจากกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น” น.ส.ศศิกานต์ กล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังบอกด้วยว่า นายประเสิรฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะบินไปยังเมียนมาในเดือน ส.ค. นี้ เพื่อนำทีมเจรจาเข้าพูดคุยกับรัฐบาลเมียนมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของแร่ที่มีการขนส่งข้ามแดน และสร้างความร่วมมือในด้านการควบคุมมลพิษจากต้นทาง รวมถึงสั่งให้กรมศุลกากรตรวจสอบเส้นทางการนำเข้า–ส่งออกแร่ และคัดกรองเอกสารการนำเข้าแร่จากพื้นที่ที่อาจเป็นต้นทางของการปนเปื้อนด้วย
ฝ่ายเมียนมาชี้แจงกรณีเหมืองและสารพิษอย่างไรบ้าง
จากการเปิดเผยของ น.ส.ศศิกานต์ บอกว่าทางการไทยได้สอบถามข้อมูลการทำเหมืองในเขตรัฐฉาน ทางเมียนมาชี้แจงว่าไม่มีกิจกรรมการทำเหมืองแร่ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากรัฐบาล และตามข้อกำหนดการทำเหมืองแร่ที่รัฐบาลกำหนดไว้ต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ (Environmental Influence Evaluate-EIA) และการทำเหมืองต้องอยู่ห่างริมน้ำไม่น้อยกว่า 300 เมตร
ทางการเมียนมายังบอกด้วยว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อนุรักษ์ไม่สามารถทำเหมืองแร่ได้ แต่ทางเมียนมาจะหารือกับผู้แทนรัฐฉานเพื่อกำกับดูแลประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากมีการทำเหมืองดังที่ไทยกล่าวอ้าง ย่อมเป็นเหมืองที่ผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตจากทางเมียนมา ส่งผลให้ทางการเมียนมาไม่สามารถกำกับดูแลการประกอบการและควบคุมการดำเนินการของเหมืองได้ ด้วยเหตุนี้เมียนมาจึงมีข้อเสนอว่าให้ฝ่ายไทยควบคุมการส่งออกสารเคมีที่ใช้ในการทำเหมืองจากไทยไปเมียนมา เพื่อให้เหมืองผิดกฎหมายเหล่านี้ไม่สามารถประกอบการได้
น.ส.ศศิกานต์ บอกว่ามีการนำผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำกกของไทยไปใช้ประกอบการเจรจาด้วย แต่ไม่สามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมของไทยไปใช้ประกอบการเจรจา เนื่องจากพื้นที่ที่คาดว่าเป็นเหมืองแร่ดังกล่าวอยู่ในเขตเมียนมา
“การแสดงภาพถ่ายดาวเทียมโดยหน่วยงานรัฐของไทยเป็นผู้ดำเนินการ อาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นประเด็นความมั่นคงของเมียนมา และอาจถือว่าไทยได้ทำการการสอดแนมหรือจารกรรมข้อมูลของเมียนมาได้” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ และบอกด้วยว่ากรมควบคุมมลพิษจะใช้ข้อมูลดาวเทียมและงานวิจัยทั้งหมดมาเป็นข้อมูลในการเจรจาระดับรัฐบาลช่วงเดือน ส.ค. ที่จะถึงนี้

ที่มาของภาพ : SHRF
ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนมา จากคณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ยอมรับว่าในทางการทูตแล้ว การนำเสนอแผนที่ประเทศอื่นถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมจริง แต่หากสถานการณ์ในตอนนี้ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร รวมถึงสุขภาพของผู้คนนับล้านที่ใช้ลุ่มน้ำกก สาย รวก และโขง ไทยก็ควรรับบทรุกได้แล้ว ไม่ใช่พะวงอยู่กับการรักษาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของสารพิษ
“ทุกอย่างในตอนนี้ไทยดำเนินการตามโปรโตคอล (protocol) ทุกอย่างต้องสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี แต่คนไทยกำลังเสียชีวิตผ่อนส่ง ถึง ณ จุดนี้คุณต้อง aggressive (ดุดัน) ได้บ้างแล้ว คุณต้อง flex your muscle (เบ่งกล้ามหรือแสดงอำนาจ) ได้แล้ว ความสัมพันธ์ที่ดีมันควรมาจากประเทศหรือพื้นที่ที่เคารพบูรณภาพในทางดินแดนกับเรา แต่ในตอนนี้มันไม่ใช่” ผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนมากล่าว
ด้าน น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (Internation Rivers) ตั้งคำถามว่าเหตุใดทางการไทยไม่หยิบยกภาพแผนที่กูเกิลแมป (Google Way) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสาธารณะที่ใครก็เข้าถึงได้ เพื่อยืนยันว่ามีการดำเนินการเหมืองเถื่อนในพื้นที่ดังกล่าวจริง
“การที่เมียนมาบอกว่าไม่มีการอนุญาตให้ทำเหมืองในรัฐฉาน คือคำยืนยันแล้วว่ามันคือเหมืองเถื่อน ดังนั้นย่อมหมายความว่าเหมืองเหล่านี้ทำธุรกิจโดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบใด พวกเขาจะปล่อยสารพิษใด ๆ ก็ได้เพราะไม่มีใครมาควบคุม” ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์องค์กรแม่น้ำนานาชาติ กล่าว

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX
ขณะเดียวกันทางเมียนมาก็มีรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินในพื้นที่แม่น้ำกกในประเทศของตนเช่นกัน และพบว่าจุดที่ 1 บริเวณต้นแม่น้ำกก สารหนูมีค่า 0.026 มิลลิกรัม/ลิตร จุดที่ 2 มีสารหนูมี 0.012 มิลลิกรัม/ลิตร และจุดที่ 3 ใกล้ชายแดนไทย พบค่าสารหนู 0.013 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งทางเมียนมาถือว่ายังอยู่ในมาตรฐาน
ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานสารหนูในแหล่งน้ำผิวดินของเมียนมากำหนดไว้ที่ 0.050 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนมาตรฐานที่ทางฝั่งไทยยึดถือคือ 0.010 มิลลิกรัม/ลิตร ด้วยเหตุนี้ตัวเลขดังกล่าวจึงถือว่าเกินค่ามาตรฐานสำหรับไทย
อย่างไรก็ดี ระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ. ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์องค์กรแม่น้ำนานาชาติ ตั้งคำถามต่อคำชี้แจงของรองโฆษกสำนักนายกฯ ว่า เหตุใดท่าทีของไทยกลับดูยอมรับตัวเลขมาตรฐานค่าสารหนูในน้ำที่ตรวจวัดโดยทางการเมียนมา ทั้งที่เกณฑ์มาตรฐานของไทยซึ่งอิงตามองค์การอนามัยโลกชัดเจนแล้วว่ามันสูงกว่าค่ามาตรฐาน
“ทำไมคุณไม่ยืนยันกับเมียนมาว่าไทยไม่ยอมรับตัวเลขนี้” น.ส.เพียรพร กล่าว
นอกจากนี้ น.ส.ศศิกานต์ ยังบอกว่าทางเมียนมาตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการปนเปื้อนสารหนูอาจมาจากธรรมชาติ เนื่องจากเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่แล้วในดินตามธรรมชาติ และการชะล้างหน้าดินช่วงฤดูฝนทั้งในพื้นที่ของเมียนมาและไทย รวมถึงการเปิดหน้าดินเพื่อทำการเกษตรของทั้งสองประเทศ อาจทำให้สารหนูละลายออกมาพร้อมกับน้ำฝนได้
ทั้งที่ เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ทีมวิจัยของ สกสว. ที่นำโดย รศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ผู้อำนวยการหน่วยภารกิจฐานข้อมูลและระบบดิจิทัล ระบุว่าจากการตรวจสอบด้วยวิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์ พบว่าสารโลหะหนักและสารกึ่งโลหะที่ปนเปื้อนลุ่มน้ำกกมาจากเหมืองในรัฐฉาน ที่อยู่ทางต้นลุ่มน้ำ โดยพบว่าราว 70% มาจากเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ ขณะที่อีกราว 30% มีต้นตอจากเหมืองทองคำ จากรายงานล่าสุดของ.
เหตุใดไทยยังหลีกเลี่ยงกดดันหรือเจรจากับจีนโดยตรง ?
อีกหนึ่งคำถามคือในเมื่อเหมืองดังกล่าวดำเนินโดยบริษัทจีน เหตุใดทางการไทยจึงไม่เดินหน้าเจรจาเรื่องนี้กับจีนโดยตรง
ทาง น.ส.ศศิกานต์ ชี้แจงในจดหมายข่าวว่ามีการหยิบยกประเด็นกลไกกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง หรือ แอลเอ็มซี (Lancang-Mekong Cooperation-LMC) ขึ้นมาหารือกันแล้วในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย โดยกรอบความร่วมมือดังกล่าวประกอบไปด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม และจีน
“เวลาเราเจรจากับจีน เรามักมองว่าจีนคือพี่ใหญ่ คือคนที่ครอบทับเราอีกที มันอาจจะต้องมาคิดในมุมกลับว่าตอนนี้ประชาชนในชาติกำลังเดือดร้อน” ผศ.ดร.ลลิตา ท้วงติง
พร้อมกันนี้ น.ส.ศศิกานต์ ชี้แจงด้วยว่ายังมีการประชุมร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. เมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องสารพิษโดยใช้กลไกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ เอ็มอาร์ซี (Mekong River Commission-MRC) ซึ่งมี สทนช. เป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงฝ่ายไทย โดยปกติแล้ว MRC จะทำงานร่วมกับจีนในประเด็นการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับผลกระทบจากเขื่อนในจีน
รองโฆษกสำนักงานนายกฯ บอกว่า ในขณะนี้ ทาง สทนช. กำลังร่างกรอบการทำงานระหว่างไทย เมียนมา และลาว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการปนเปื้อน ซึ่งจะมีการประชุมและลงพื้นที่ร่วมกันทั้งสามประเทศที่ จ.เชียงราย ในวันที่ 21 ก.ค. ที่จะถึงนี้
น.ส.เพียรพร ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์องค์กรแม่น้ำนานาชาติ ให้ความเห็นกับ.ว่าเธอคาดหวังจะเห็นบทบาทของ MRC ที่เข้มแข็งเหมือนช่วงต่อต้านการsะเบิดแก่งในแม่น้ำโขงอีกครั้ง เนื่องจากหลังจากนั้นเป็นต้นมาการทำงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ทำให้หลายฝ่ายเกิดคำถามว่ายังมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่
“เรายังมีความหวังว่า MRC จะทำหน้าที่ของตนเองอย่างตรงไปตรงมาและเข้มแข็งอีกครั้ง เพื่อเป็นอีกกลไกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้” เธอกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคมมองรัฐบาลยังทำงานด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ ทั้งที่เป็นความท้าทายด้านความมั่นคงแบบใหม่
น.ส.เพียรพร ให้ความเห็นกับ.หลังได้อ่านจดหมายข่าวสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้ว่า ทั้งหมดเป็นคำชี้แจงที่บอกเพียงว่า “ฉันได้ทำแล้ว” แต่การดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐบาลกลับไม่ได้ให้ความหวังเลยว่าผลลัพธ์การเจรจาต่าง ๆ จะช่วยแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารพิษที่กำลังเกิดขึ้นได้อย่างไร
“คุณบอกว่าได้ทำแล้ว ได้ประชุมแล้ว ได้หารือแล้ว แต่มันไม่ได้เป็นการแอคชั่นแบบเดือดร้อนเหมือนว่าบ้านกำลังไฟไหม้อยู่ ทั้งที่เขากำลังเทสารพิษลงแม่น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคของประชาชนนับล้านคนในสองจังหวัด รวมถึงแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติ แต่คุณไม่ได้ปฏิบัติว่ามันร้ายแรงขนาดนั้น”
“คุณต้องรอให้มีคนเสียชีวิตหรือมีเด็กเกิดมาพิการก่อนใช่ไหม ถึงจะเห็นว่าอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้เป็นเรื่องฉุกเฉินจริง ๆ” น.ส.เพียรพร กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ลลิตา ให้สัมภาษณ์กับ.ว่าการใช้กลไกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น RBC, HLC, LMC , หรือ MRC มักได้ผลก็ต่อเมื่อใช้กับประเทศที่มีรัฏฐาธิปัตย์ (Sovereignty) หนึ่งเดียวเช่นประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ลาว กัมพูชา ฯลฯ เท่านั้น
เธอเห็นว่าแต่ในส่วนของเมียนมานั้น รัฐบาลไทยต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าพื้นที่การทำเหมืองไม่ได้อยู่ในการควบคุมของสภาบริหารแห่งรัฐ หรือ เอสเอซี (Affirm Administration Council-SAC) ซึ่งนำโดยรัฐบาลทหารเมียนมา รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นในเชียงตุงก็ไม่สามารถทำอะไรกับพื้นที่ตรงนั้นได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ควบคุมของกองทัพสหรัฐว้า ดังนั้นไทยจะใช้กลไกเดิม ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยความมั่นคงแบบใหม่เช่นนี้ไม่ได้
“เราต้องเริ่มจากการยอมรับข้อเท็จจริงก่อนว่าเรากำลังพูดถึงว้าแดง ซึ่งเป็น non-order actor (ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ) เราต้องพูดถึงอิทธิของจีนที่เข้ามาลงทุนทำเหมืองแรร์เอิร์ธ ซึ่งถูกต้องตามกฎหมายในแบบของว้าแดง เนื่องจากว้าแดงเป็นผู้ให้สัมปทาน ดังนั้นตราบใดที่เรายังไม่สามารถไปเจรจากับจีนเพื่อให้เขาบังคับบริษัทที่รับสัมปทานในพื้นที่ของว้า เพื่อให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสกัดแร่แรร์เอิร์ธออกมา เราก็จะไม่สามารถควบคุมอะไรที่ต้นทางได้เลย เพราะมันคือนักธุรกิจจีน บริษัทจีนที่ไม่มีธรรมาภิบาล” ผศ.ดร.ลลิตา กล่าว

ที่มาของภาพ : THAI NEWS PIX
นักวิชาการจาก ม.เกษตรศาสตร์ เสนอว่ารัฐบาลไทยควรทลายกรอบการเจรจาแบบแข็งทื่อที่จำกัดวงการเจรจาอยู่ในระดับรัฐต่อรัฐเท่านั้น เพราะแม้กองทัพสหรัฐว้าเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ แต่เป็นกลุ่มกองกำลังที่มีความเข้มแข็งและเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของไทยในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการตั้งฐานทัพล้ำแดน ยาเสพติด รวมถึงกรณีเหมืองแร่ล่าสุด
“คุณต้องสร้างกรอบความร่วมมือขึ้นมาใหม่สักอันหรือใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว ทั้งในเชิงการเมืองและการทหาร” เธอบอก “ในเมื่อไทยตีความว่าว้าแดงเป็นภัยความมั่นคงในหลาย ๆ มิติ มันก็มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องคิดใหม่เพื่อจัดการกับอิทธิพลของว้าแดงตรงนี้”
ผศ.ดร.ลลิตา ยังเสนอด้วยว่าไทยควรออกแบบมาตรการตรวจสอบการลงทุนของบริษัทจีนในภาคตะวันออกของไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานศูนย์เหรียญหรือโรงงานขยะรีไซเคิลในมาบตาพุดหลายแห่งที่ก่อมลพิษ เพื่อเป็นอีกกรอบหนึ่งในการโน้มน้าวรัฐบาลจีนว่าการดำเนินการใด ๆ ของทุนจีนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ต้องมีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“รัฐบาลต้องเปลี่ยน mindset (แนวความคิด) เพราะปัญหาความมั่นคงในปัจจุบันมันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว โจทย์คือคุณจะเจรจาหรือหว่านล้อมจีนอย่างไรให้เขาไปบังคับหรือเจรจาบริษัทจีนในพื้นที่ว้าแดง รัฐบาลต้องทำอย่างไรก็ได้ให้จีนมาร่วมรับผิดชอบแก้ไขปัญหานี้ ไม่ใช่ให้ประชาชนในพื้นที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง” เธอกล่าวกับ.
ที่มา BBC.co.uk