เจาะยุทธวิธี “ตำรวจดี ตำรวจเลว” ของทรัมป์ สับเปลี่ยนหน้าที่คนในทีมนโยบายภาษีอย่างไรให้โลกงงงวย

ที่มาของภาพ : Getty Photos

สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไม่นานหลังจากที่ทรัมป์มีคำสั่งให้ระงับการจัดเก็บภาษีนำเข้าในวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา

Article files

  • Writer, เบิร์นด์ เดบุสแมนน์ จูเนียร์
  • Characteristic, บีบีซีนิวส์ ประจำทำเนียบขาว

ในห้วงเวลาอันโกลาหลหลังจากรัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายอย่างกะทันหันและระงับการเรียกเก็บภาษีศุลกากร “แบบตอบโต้ (reciprocal tariffs)” หลายสิบรายการ มีชายคนหนึ่งรุดออกมาเป็นโฆษกพูดแทนการตัดสินใจดังกล่าวอย่างรวดเร็ว เขาคนนั้นคือ สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ

“มันต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมาก” อดีตผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยงวัย 62 ปีซึ่งสวมแว่นตาผู้นี้ กล่าวกับนักข่าวหลายสิบคนที่รวมตัวกันอยู่รอบ ๆ ตัวเขา เมื่อวันที่ 9 เม.ย. และเขายังกล่าวอีกว่า “ต้องใช้ความกล้าหาญอย่างยิ่งใหญ่ที่จะยืนหยัดตามแนวทางนี้จนถึงวินาทีนี้”

ที่น่าสังเกตคือ ในระหว่างการแถลงข่าวครั้งนั้น ที่ทำให้ตลาดหุ้นก็กลับมาดีดตัวพุ่งสูงขึ้นในเวลาต่อมา ยังมีบุคคลอีกสองคนที่ได้รับมอบหมายให้สื่อสารเกี่ยวกับภาษีศุลกากรของทรัมป์ไปยังชาวอเมริกัน ได้แก่ โฮเวิร์ด ลุตนิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ พีท นาวาร์โร ที่ปรึกษาด้านการค้าของทรัมป์

ผู้เชี่ยวชาญในนโยบายการค้าบางคนระบุว่า บทบาทของเบสเซนต์ในการประกาศเรื่องภาษีศุลกากรนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงของอำนาจภายในทำเนียบขาวทำให้สหรัฐฯ ฟื้นตัวจากสงครามการค้าโลกได้ แม้ว่าผู้เล่นทั้งหมดจะสนับสนุนวาระทางเศรษฐกิจของทรัมป์โดยรวมก็ตาม

“เขา เบสเซนต์ รับบทเป็นตำรวจดี ส่วนลุตนิกกับนาวาร์โรรับบทเป็นตำรวจเลว” วิลเลียม อลัน เรนช์ อดีตหัวหน้าสภาการค้าต่างประเทศแห่งชาติ กล่าวกับบีบีซี

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue discovering outได้รับความนิยมสูงสุด

ได้รับความนิยมสูงสุด

ในที่สาธารณะ ทำเนียบขาวไม่ได้แสดงความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำไปสู่การที่ทรัมป์ตัดสินใจที่ส่งผลให้ตลาดเกิดความปั่นป่วน ด้วยการระงับการเรียกเก็บภาษีศุลกากรแบบตอบโต้สำหรับประเทศส่วนใหญ่ และยังคงขึ้นภาษีศุลกากรกับจีน

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเพียงว่าเขา “คิดเรื่องนี้” มา “สองสามวัน” แล้ว ก่อนที่มันจะ “ลงตัว” ในเช้าวันที่ 9 เม.ย.

แต่ตามรายงานของสื่อในสหรัฐฯ เบสเซนต์ซึ่งได้รับโทรศัพท์จากบรรดานักธุรกิจมากมาย เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวทรัมป์ รวมถึงในการสนทนาบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันเมื่อสุดสัปดาห์ก่อนหน้านั้น และในห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวช่วงเช้าวันที่มีการตัดสินใจด้วย

ในช่วงเริ่มแรกในอาชีพการทำงาน เบสเซนต์แสดงความไม่เห็นด้วยกับภาษีศุลกากร ผู้สังเกตการณ์บางคนเชื่อว่ามุมมองเหล่านี้ เมื่อรวมกับประสบการณ์อันยาวนานในตลาดพันธบัตร ทำให้เขาสามารถโน้มน้าวใจประธานาธิบดีเหนือนาวาร์โรและลุตนิกได้ในที่สุด ซึ่งทั้งคู่มีจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อภาษีศุลกากร

“ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือทรัมป์ไม่ได้ใส่ใจต่อตลาดพันธบัตร” เรนช์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ที่ศูนย์การศึกษากลยุทธ์และการระหว่างประเทศ กล่าวเสริมและว่า “และเบสเซนต์ก็ทำให้เขาสนใจ”

เรนช์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ฝ่ายบริหารการส่งออกในช่วงทศวรรษที่ 1990 ในรัฐบาลของประธานาธิบดีบิล คลินตัน กล่าวว่าแนวทางของเบสเซนต์จนถึงตอนนี้เป็น “วิธีคลาสสิกในการจัดการกับทรัมป์”

“อย่าบอกเขาว่าเขาผิดหรือเขาทำผิดพลาด” เขากล่าวเสริม และกล่าวต่อว่า “บอกเขาว่ามีวิธีที่ดีกว่าในการบรรลุเป้าหมายของเขา และตลาดไม่ได้ตอบสนองในแบบที่เราต้องการ”

ที่มาของภาพ : Getty Photos

นาวาร์โร ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ภักดีต่อทรัมป์ เคยถูกจำคุกเป็นเวลาสี่เดือนฐานดูหมิ่นรัฐสภา หลังจากเขาเพิกเฉยต่อหมายเรียกจากคณะกรรมการที่สอบสวนเหตุจลาจลบุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021

ช่วงเช้าของวันที่มีประกาศดังกล่าวในวันที่ 9 เม.ย. ทรัมป์ได้พบปะกับเบสเซนต์ รวมทั้ง เควิน แฮสเซ็ตต์ ผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ และลุตนิค อดีตผู้บริหารหรือซีอีโอวัย 63 ปีของแคนเตอร์ ฟิตซ์เจอรัลด์ (Cantor Fitzgerald) และยังเป็นผู้มีแนวทางสายเหยี่ยวต้านจีนชื่อดัง ภายในห้องทำงานรูปไข่

บุคคลสำคัญอีกสองคนในนโยบายภาษีศุลกากรไม่ได้เข้าร่วมการประชุม ทำให้แหล่งข่าวใกล้ชิดทำเนียบขาวแจ้งสำนักข่าวรอยเตอร์ว่ามี “การเปลี่ยนแปลงลำดับชั้น”

คนแรกคือ เจมีสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ที่ขับรถไปเพียงระยะสั้น ๆ บนแคปิตอลฮิลล์ เพื่อไปแถลงเกี่ยวกับภาษีศุลกากรต่อคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาในวันนั้น เขาได้ทราบเรื่องการประกาศภาษีศุลกากรพร้อม ๆ กับ สส. คนอื่น ทำให้เกิดการโต้เถียงที่ตึงเครียด โดยกล่าวหาว่าเขาถูกถอนการสนับสนุนแบบไม่ทันตั้งตัว

ส่วนอีกคนคือ ปีเตอร์ นาวาร์โร ก็ไม่ปรากฏตัวเช่นกัน แม้ว่าเขาจะเป็นหนึ่งในบุคคลที่โดดเด่นที่สุดในสื่อเกี่ยวกับภาษีศุลกากร ทำให้เกิดการคาดเดาว่าจุดยืนของเขาคงไม่ได้รับความนิยมจากประธานาธิบดีทรัมป์อีกต่อไป

บางครั้ง บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากรก็ให้คำชี้แจงที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ก่อให้เกิดความสับสนและความผันผวนของตลาด

“พวกเขาไม่ได้พูดตรงกัน” มาร์ก โซเบล ซึ่งทำงานที่กระทรวงการคลังเกือบ 40 ปี รวมถึงเป็นรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายนโยบายการเงินและการเงินระหว่างประเทศ กล่าว

“คุณฟังนาวาร์โรที คุณฟังเบสเซนต์ที คุณฟังของประธานาธิบดีที และคุณเองก็จะรู้สึกว่าคุณกำลังคอเคล็ด” เขากล่าวเสริม “นี่ไม่ใช่กลุ่มคนที่มีวินัย”

เทอร์รี เฮนส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา แพนเจีย โพลิซี (Pangaea Policy) ที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวกับบีบีซีว่า เขาเชื่อว่ารัฐบาล “จงใจ” ที่จะส่งคนหลายคนมาเป็นผู้แทนให้ข่าวเกี่ยวกับภาษีศุลกากรของทรัมป์

“พวกเขาต้องการ ส่งโฆษกจำนวนมากออกไป พูดในสิ่งที่แตกต่าง และแสดงความคิดเห็นไปทั่วพื้นที่” เขากล่าวและว่า “วิธีนี้อาจได้ผลในทางการเมือง แต่สร้างความสับสนให้กับตลาดอย่างมาก”

อย่างเช่น นายเฮนส์ชี้ไปที่นาวาร์โร ซึ่งเขากล่าวว่าได้รับ “ความคล่องตัวมากกว่าที่คาดไว้” เนื่องจากต้องโทษจำคุกสี่เดือนในข้อหาหมิ่นประมาทรัฐสภา หลังจากเพิกเฉยต่อหมายเรียกจากคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎรที่กำลังสอบสวนเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในปี 2021

“พวกเขาดึงดูดผู้ชมที่แตกต่างกัน เบสเซนต์น่าจะเป็นที่สนใจของสื่อทางการเงิน ในขณะที่นาวาร์โรมีข้อความที่ต้องการสื่อสารที่แตกต่างกัน” เขากล่าว

อย่างไรก็ตาม เฮนส์เตือนว่า อย่าสันนิษฐานว่าบุคคลใดคนหนึ่งมีส่วนสนับสนุนการตัดสินใจของทรัมป์มากที่สุด

“ตลาดต้องการทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ เหมือนกับเนื้อหาของนิตยสารพีเพิล (Folks)” เขากล่าว “แต่เราจำเป็นต้องรู้ว่าต้องฟังใคร และนั่นจึงกลายเป็นว่าต้องฟังในส่วนของเบสเซนต์ไปโดยปริยาย”

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่บีบีซีติดต่อสัมภาษณ์กล่าวว่า พวกเขาคาดว่าเบสเซนต์จะมีบทบาทต่อสาธารณะมากขึ้นในการกำหนดนโยบายภาษีศุลกากร โดยลุตนิกจะเป็นผู้รับผิดชอบการเจรจา ในขณะที่นาวาร์โร, แฮสเซตต์ กรีเออร์ จะมีบทบาทเป็นผู้ให้การสนับสนุน

เฮนส์ กล่าวว่า เขาเชื่อว่า เบสเซนต์จะกลายเป็น “โฆษกสำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจ” อย่างแท้จริง

ในที่สุด แนวทางที่มีโครงสร้างมากขึ้นอาจช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดได้ ตามที่แอนดรูว์ เฮล นักเศรษฐศาสตร์จากมูลนิธิ เฮอริเทจ (Heritage Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรด้านอนุรักษ์นิยมกล่าว

“ผมจินตนาการว่า มันจะมีความแน่นอนมากขึ้นเมื่อเราเดินหน้าต่อไปในแนวทางนี้” เขากล่าว “นั่นคือสิ่งที่ภาคธุรกิจและนักลงทุนต้องการ”