
เผยความคืบหน้าคดีชี้มูล บิ๊ก ปตท.สผ.-พวก เอื้อโรลส์-รอยซ์ฯ ซื้ออุปกรณ์ PTT Arthit -ริบสินบน 10 ล. ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติลงมติยื่นฟ้องคดีเอง หลังอสส.ตั้งข้อไม่สมบูรณ์สำนวน เหลือชื่อผู้ถูกกล่าวหา ‘เผ่าเผด็จ วรบุตร' เพียงรายเดียว เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนได้รับผลประโยชน์ นัดส่งตัวฟ้อง 7 พ.ค.68 ไม่มาศาลฯ ขอออกหมายจับทันที
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา . ถึงความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิด นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ อดีตกรรมการบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ. ) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ กับพวก ในคดีสินบนการเอื้ออำนวยให้บริษัท โรลส์-รอยซ์ เอ็นเนอร์จี ซิสเต็ม ได้เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในการจัดซื้ออุปกรณ์ Feed Gas Turbine Compressor สำหรับแท่นผลิตกลางโครงการอาทิตย์ (Project PTT Arthit) ซึ่งมีการจ่ายเงินให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนกว่า 300,543 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10,000,000 บาท) ให้กับเจ้าหน้าที่บางราย ว่า หลังจากที่อัยการสูงสุด (อสส.) ตั้งข้อไม่สมบูรณ์ในคดีนี้และมีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่ายขึ้นมาพิจารณาสำนวนแต่ไม่มีข้อยุติ
โดย อสส. มีความเห็นในสองประเด็นหลักคือ
1. พยานหลักฐาน โดยเฉพาะเส้นทางเงินที่จะเชื่อมโยงถึงผู้บริหารระดับสูง และกรรมการ ของ ปตท.สผ. ที่ถูกกล่าวหา ไม่ชัดเจน
2. อสส. เห็นว่า ปตท.สผ. ไม่ใช่ รัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงไม่มีอำนาจไต่สวนเพราะ ผู้ถูกกล่าวหาไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดพนักงานองค์การของรัฐ พ.ศ.2502
แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังจากอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องทางผู้ถูกกล่าวหาหลายรายได้ร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาเข้ามาที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทางคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงพิจารณาพร้อมกับกรณีที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะฟ้องคดีนี้เองหรือไม่ ในที่สุดซึ่งมีความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง นายเผ่าเผด็จ วรบุตร เพียงรายเดียว เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนได้รับผลประโยชน์ ตอบแทนจากบริษัท โรลส์-รอยซ์ เอ็นเนอร์จี ซิสเต็ม ซึ่งจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบริษัท แควนตั้มเม็ค (ประเทศไทย) จำกัด ในประเทศสิงคโปร์ และโอนต่อไปยังบุคคลใกล้ชิดนายเผ่าเผด็จ วรบุตร จำนวนรวม 300,543 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10,000,000 บาท) อันเป็นการรับทรัพย์สินที่มิควรได้โดยชอบ ด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 ผ่านมา ทางสำนักงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้แจ้งให้นายเผ่าเผด็จ ไปรายงานตัวต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเพื่อนำตัวส่งฟ้องศาล แต่นายเผ่าเผด็จไม่ยอมไปศาลฯ ทาง เจ้าหน้าที่สำนักคดี สำนักงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงยื่นคำร้องต่อศาลฯ ให้ออกหมายจับ แต่ศาลฯ ให้ออกหมายเรียกและนำหมายไปปิดที่ภูมิลำเนาของนายเผ่าเผด็จให้ไปรายงานศาลในวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลฯ ต่อไป
“ ถ้าในวันที่ 7 พฤษภาคม นี้ นายเผ่าเผด็จไม่ไปศาลอีก ทาง เจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะยื่นคำร้องต่อศาลให้ออกหมายจับอีกครั้งหนึ่ง” แหล่งข่าวกล่าว
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า สำหรับคดีนี้ คณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 2 กลุ่ม คือ
1. นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ นายอนุชา สิหนาทกถากุล และนายมารุต มฤคทัต มีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และการกระทำของนายมารุต มฤคทัต มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
2. นายเผ่าเผด็จ วรบุตร มีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6 มาตรา 8 และมาตรา 11 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 5 และมาตรา 12 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 5 (1) และ (2) ประกอบมาตรา 60 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103 ประกอบมาตรา 122 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ประกอบมาตรา 169) และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
โดยในส่วน นายเผ่าเผด็จ วรบุตร ถูกระบุว่า ได้รับผลประโยชน์ ตอบแทนจากบริษัท โรลส์-รอยซ์ เอ็นเนอร์จี ซิสเต็ม ซึ่งจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบริษัท แควนตั้มเม็ค (ประเทศไทย) จำกัด ในประเทศสิงคโปร์ และโอนต่อไปยังบุคคลใกล้ชิดของนายเผ่าเผด็จ วรบุตร จำนวนรวม 300,543 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10,000,000 บาท) อันเป็นการรับทรัพย์สินที่มิควรได้โดยชอบ ด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ดี การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังไม่ถือเป็นที่สุดผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลบิ๊ก ปตท.สผ.-พวก เอื้อโรลส์-รอยซ์ฯ ซื้ออุปกรณ์ PTT Arthit -ริบสินบน 10 ล.ด้วย
ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )