
สธ.ย้ำ ‘โรคแอนแทรกซ์’ โดยทั่วไป รักษาหายได้ ส่วนติดต่อผ่านการหายใจ ทำอาการรุนแรง โอกาสเกิดน้อย ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน เน้นการป้องกันตัวเป็นหลัก ประสานกำลังตรวจจับโรคระยะเริ่มต้น
สำนักข่าวอิศรา . รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นพ.ทรงคุณวุฒิ โฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ หรือโรควัวบ้าในพื้นที่ประเทศไทยว่า ตอนนี้ ยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อ 3 รายที่จังหวัดมุกดาหาร โดยในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย นอนโรงพยาบาลให้ยาฆ่-าเชื้อ 2 ราย คือ ชายอายุ 36 ปี ประวัติวันที่ 28 ไปร่วมชำแหละวัว ที่เสียชีวิตผิดปกติกับ ชายอายุ 58 ปี พี่ป่วยหนักโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน ส่วนคนอื่นที่ชำแหละวัวตัวเดียวกันนี้ ยังติดตามอยู่ แต่ที่ยืนยันว่าติดเชื้อและป่วย ก็คือ 2 รายนี้ ส่วนเคสอื่นๆ อยู่ระหว่างการรอผล
นพ.วีรวัฒน์ กล่าวถึงการแพร่ระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ในพื้นที่อื่น นอกจากจังหวัดมุกดาหารว่า ตอนนี้ที่เราจับตาก็ยังอยู่ที่มุกดาหาร ทั้งจังหวัด ทุกหมู่บ้านในอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งความเสี่ยงทั้งหมดในปัจจุบันการระบาดยังคงจำกัดอยู่ในพื้นที่ของอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งตอนนี้เสถียรภาพของพื้นที่คือพยายามตรวจจับโรคใน ระยะเริ่มต้นในผู้ป่วยที่สงสัย ในบริเวณหมู่บ้านและอำเภอดอนตาลเป็นหลัก
“สถานภาพของจังหวัดมุกดาหารโดยเฉพาะอำเภอดอนตาลตอนนี้ก็จัดอยู่ในสถานภาพเป็นพื้นที่ระบาด มุ่งเน้นให้ประชาชนปรับพฤติกรรมการชำแหละสัตว์ ที่ไม่ได้มาตรฐานสุขอนามัย รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคเนื้อดิบซึ่ งในพื้นที่อาจจะมีเทศกาลงานบุญต่างๆ ที่จะมีการชำแหละหรือฆ่-าสัตว์เพื่อมาบริโภคภายในพื้นที่ ต้องย้ำว่าห้ามรับประทานเนื้อดิบ ซึ่งเชื้อแอนแทรกซ์จะอยู่ในสัตว์ 4 ประเภทเป็นหลัก คือ วัว ควาย แพะ แกะ เป็นหลัก แต่ในพื้นที่คิดว่าน่าจะเป็นเนื้อวัวที่นิยมบริโภค” นพ.วีรวัฒน์ กล่าว
นพ.วีรวัฒน์ กล่าวด้วยว่า อีกด้านหนึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดก็เน้นย้ำระดมกักกันสัตว์ในพื้นที่ 124 ตัวเป็นเวลา 30 วัน มีการฉีดยาปฏิชีวนะยาฆ่-าเชื้อในสัตว์ทุกตัว และภายในรัศมี 5 กิโลเมตรก็มีการฉีดวัคซีน ให้กับ วัวควายจำนวน 1,222 ตัว
ในส่วนของคนนั้นตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน จะเน้นในเรื่องของการป้องกันตัวเป็นหลัก หากเกิดการติดเชื้อก็จะทำการรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลืoด ย้ำว่ากรณีการติดเชื้อปกติสามารถรักษาให้หายได้ไม่ใช่ว่าเป็นแล้วจะต้องเสียชีวิตทุกราย
ถ้าเป็นการติดเชื้อผ่านการสูดดมเข้าไป หรือเรียกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจ จะทำให้อาการรุนแรงแต่โอกาสติดเชื้อ ลักษณะนี้จะเกิดน้อย แต่อาจเป็นการติดเชื้อทางผิวหนังอาการจะไม่รุนแรงยกเว้นว่าคนไข้มาพบแพทย์ช้า แล้วเชื้อลามเข้าสู่กระแสเลืoด เพราะเส้นทางของเชื้อจะเกิดจากแผลแล้วลามไปที่ต่อมน้ำเห-ือง และเข้ากระแสโลหิต หากเป็นเช่นนี้จะถือว่าอาการหนัก ดังนั้น ถ้าเริ่มมีอาการก็ต้องรีบมาพบแพทย์ ถ้าหากได้ยาฆ่-าเชื้อเร็วก็จะไม่เสียชีวิต
ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )