
ทำความเข้าใจการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 3 มิ.ย. นี้

ที่มาของภาพ : Getty Images
Article files
- Author, โจเอล กินโต
- Feature, บีบีซีนิวส์
เกาหลีใต้กำลังจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในวันที่ 3 มิ.ย. นี้ เพื่อหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งแทนที่ยุน ซอก-ยอล ซึ่งถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หลังทำให้ประเทศตกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกเป็นเวลาราว 6 ชั่วโมงเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว
ผู้ชนะการเลือกตั้งจะต้องรับหน้าที่จัดการผลกระทบทางการเมืองและเศรษฐกิจที่อดีตประธานาธิบดียุนทิ้งไว้ ซึ่งทำให้ประเทศตกอยู่ในความวุ่นวายและทำให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคม
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังเกิดขึ้นท่ามกลางความท้าทายที่มีมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ ไปจนถึงการจัดการกับอัตราการเกิดที่ต่ำที่สุดในโลก
ต่อไปนี้คือ วิธีที่ประเทศเอเชียตะวันออกแห่งนี้ ซึ่งมีประชาการราว 52 ล้านคน จะใช้เลือกผู้นำคนใหม่สำหรับ 5 ปีต่อจากนี้
เหตุใดเกาหลีใต้จึงจัดเลือกตั้งประธานาธิบดี ?
ที่จริงแล้ว ยุนควรดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไปจนถึงปี 2027 แต่วาระของเขาจบลงด้วยความอัปยศ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed studyingได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
เขาสร้างความตื่นตะลึงให้กับประเทศเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2024 โดยอ้างถึงภัยคุกคามจาก “กองกำลังต่อต้านรัฐ” และภัยเกาหลีเหนือ แต่สุดท้ายก็เห็นได้ว่าเบื้องหลังเรื่องนี้มาจากปมปัญหาทางการเมืองของตัวเขาเอง
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา เขาถูกถอดถอนโดยรัฐสภา จากนั้นในวันที่ 4 เม.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องถอดถอนเขาออกจากตำแหน่ง และมีมติเห็นชอบให้ยุนพ้นจากการเป็นประธานาธิบดี ส่งผลให้ประเทศต้องรีบจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใน 60 วันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
ในช่วง 5 เดือนแห่งความวุ่นวาย นับตั้งแต่ยุนประกาศใช้กฎอัยการศึก ประเทศมีรักษาการประธานาธิบดีไปแล้ว 3 คน และคนล่าสุดคือ ลี จู-โฮ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่เข้ารับตำแหน่งนี้ได้เพียง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้ง
ลีเข้ามาแทนที่นายกรัฐมนตรี ฮัน ด็อก-ซู ซึ่งถูกฟ้องร้องเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังเข้ารับตำแหน่งแทนยุน เปิดทางให้ ชเว ซัง-มอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้ามาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนฮัน
ประเด็นสำคัญในการเลือกตั้งของเกาหลีใต้มีอะไรบ้าง ?
กฎอัยการศึกของยุนได้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกทางการเมืองอย่างร้าวลึก ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนยุนและพรรคพลังประชาชน หรือ พีพีพี (Folks Energy Occasion – PPP) ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษนิยม กับกลุ่มผู้สนับสนุนผู้นำฝ่ายค้าน ลี แจ-มยอง และพรรคประชาธิปไตย หรือ ดีพี (Democratic Occasion – DP) ซึ่งเป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย
นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อเศรษฐกิจในช่วงเวลาวิกฤตด้วย เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศใช้มาตรการทางภาษีกับคู่ค้าของสหรัฐฯ โดยสินค้าของเกาหลีใต้ต้องเผชิญกับการเก็บภาษีถึง 25%
ประธานาธิบดีคนใหม่จึงมีภารกิจเร่งด่วนในการเข้ามาจัดการข้อกังวลต่าง ๆ เหล่านี้ ท่ามกลางความท้าทายที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือที่แม้ว่าจะค่อนข้างราบรื่นเมื่อเริ่มต้นปี 2025 แต่ปีก่อนหน้าก็เกิดความตึงเครียดระหว่างสองฝ่าย จากการทิ้งบอลลูนและโดรนที่บรรจุเอกสารโฆษณาชวนเชื่อมข้ามแดน
ผู้นำคนใหม่ต้องสร้างสมดุลระหว่างคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เช่น จีน และสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการจัดการปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลงของประเทศ ซึ่งเกาหลีใต้มีอัตราการเกิดของเด็กต่ำที่สุดในโลกตอนนี้ โดยในปี 2024 อัตราการเจริญพันธุ์ของประเทศ หรือจำนวนทารกเฉลี่ยที่คาดว่าผู้หญิงจะมีได้ในช่วงชีวิตของพวกเธอ อยู่ที่ 0.75
แม้เพิ่มขึ้นจากเล็กน้อยจากปีที่แล้ว แต่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2.1 ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษาประชากรในประเทศให้อยู่ที่ 51 ล้านคน
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนต่อไปจะเป็นใคร ?
ผลสำรวจความเห็นระบุว่า ลี แจ-มยอง จากพรรคดีพี ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาผู้สมัคร 6 คน ตามด้วย คิม มูน-ซู ผู้สมัครจากพรรคพีพีพี
ลีซึ่งพ่ายแพ้ให้กับยุนอย่างเฉียดฉิวในผลนับคะแนนการเลือกตั้งปี 2022 ได้รับการยกย่องจากผู้สนับสนุนของเขาว่าเป็นวีรบุรุษของชนชั้นแรงงาน เนื่องจากเขาเคยทำงานในโรงงานก่อนจะกลายมาเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นนักการเมือง โดยลีให้คำมั่นว่าเขาจะสถาปนา “สาธารณรัฐเกาหลีที่แท้จริง” ที่มีตำแหน่งงานและสังคมที่เป็นธรรม
คิม อดีต รมว.แรงงาน ได้วางตำแหน่งตัวเองว่าเป็นประธานาธิบดีด้านเศรษฐกิจ ให้คำมั่นว่าจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจและการสร้างงาน
ขณะที่ผู้สมัครคนอื่น ๆ มี ลี จุน-ซอก จากพรรคปฏิรูปใหม่ (Contemporary Reform Occasion) ควอน ยัง-กุก จากพรรคแรงงานประชาธิปไตย (Democratic Labor Occasion) และผู้สมัครอิสระอีกสองคน คือ ฮวัง เคียว-อาน และ ซอง จิน-โฮ
นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปีที่ไม่มีผู้หญิงลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยผู้หญิงคนแรกที่ลงชิงตำแหน่งนี้ คือ ฮง ซุก-จา ในปี 1987 แต่เธอถอนตัวก่อนวันเลือกตั้งจะมาถึง และในปี 2021 มีผู้สมัครหญิง 4 คน ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง
วันเลือกตั้งจะจัดขึ้นและผลการเลือกตั้งจะประกาศผลเมื่อใด ?
การเลือกตั้งกำหนดไว้วันที่ 3 มิ.ย. นี้ และคูหาเลือกตั้งจะเปิดตั้งแต่เวลา 06.00 น. ไปจนถึง 22.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ส่วนคนเกาหลีใต้ในต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ลงคะแนนเสียงล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 20-25 พ.ค.
คาดว่าผลการเลือกตั้งจะออกหลังปิดหีบเลือกตั้ง และคาดว่าจะทราบชื่อผู้ชนะได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น
อย่างเช่น ในปี 2022 ที่ยุนชนะการเลือกตั้ง เขาได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะหลังปิดหีบเลือกตั้งได้เพียง 9 ชั่วโมง หรือประมาณเวลา 04.40 ของเช้าวันถัดมา
นั่นเป็นการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่สูสีที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้ โดยยุนชนะไปได้ด้วยคะแนนเสียงที่นำห่างเพียง 0.73%
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีคนใหม่จะเข้ารับตำแหน่งทันที และไม่เหมือนกับประธานาธิบดีคนก่อน ๆ หลาย ๆ คน โดยเขาจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นทางการจากยุน
อะไรขึ้นจะเกิดกับอดีตประธานาธิบดียุน ผู้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ?
ยุนต้องเผชิญกับการพิจารณาคดีในข้อหาก่อความไม่สงบ อันเนื่องมาจากการประกาศกฎอัยการศึก โดยเขาถูกจับกุมในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา แต่ได้รับการปล่อยตัวในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมาด้วยเหตุผลทางเทคนิค
เมื่อไม่นานมานี้เขาถูกฟ้องในอีกคดี ที่กล่าวหาว่า เขาใช้อำนาจในทางที่ผิด
ก่อนการเลือกตั้ง ยุนลาออกจากพรรคของเขา ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่าเป็นความพยายามที่จะสนับสนุนให้ คิม มูน-ซู ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งมากขึ้น
ที่มา BBC.co.uk