
เหตุลอบสังหาร “ลิม กิมยา” สะท้อนปัญหา “การกดปราบข้ามพรมแดน” อย่างไร

ที่มาของภาพ : Getty Photos
จากกรณีมือปืนก่อเหตุยิvนายลิม กิมยา อดีต สส. ฝ่ายค้านกัมพูชา บริเวณตรงข้ามวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองของไทย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลอย่านิ่งเฉยต่อเรื่องนี้โดยหาคนผิดมาลงโทษ ก่อนที่ไทยจะถูกมองว่า ไม่สามารถจัดการกับ “การกดปราบข้ามแดน” ได้
ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์มองว่า เหตุลอบสังหารนายลิม กิมยา นี้เป็นเรื่องที่ “น่าแปลกใจ” เพราะว่า เขาเองไม่ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองใด ๆ ที่โดดเด่นไปในทางที่จะทำให้เขาตกเป็นเป้าหมายการโจมตี ในลักษณะปฏิบัติการข้ามชาติ
“มีการแจ้งให้ทราบว่า เขาเดินทางจากกัมพูชาอย่างไร เดินทางด้วยรถโดยสารแบบใด และพอรถยนต์มาถึงจุดหมายที่กรุงเทพมหานคร ก็มีคนชี้เป้าเพื่อยืนยันตัวตนและมีคนรอก่อเหตุลอบสังหารขึ้น จึงทำให้เห็นได้ว่า เป็นปฏิบัติการที่จงใจแบบจำเพาะเจาะจง แต่ว่าทำไมเลือกเขาเป็นเป้าหมาย” นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกกับบีบีซีไทย
ขณะที่หลังการสืบสวนเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เปิดเผยความคืบหน้าว่า เบื้องต้นจากข้อมูลทางการสืบสวนทราบว่า คาดว่ามีคนจ้างวานและมีคนชี้เป้า แต่ในรายละเอียด ขอสงวนข้อมูลเอาไว้ก่อน
ด้านพรรคกู้ชาติกัมพูชา หรือ ซีเอ็นอาร์พี (Cambodia Nationwide Rescue Win collectively – CNRP) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ผ่านมา ประณามการลอบสังหารนายลิม กิมยา เปรียบเสมือนการละเมิดสิทธิมนุษยธรรมและเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อความอิสระทางการเมือง พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดการสอบสวนการฆาตกรรมนี้อย่างรวดเร็ว ถี่ถ้วน และเป็นกลาง และนำผู้กระทำความผิดมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม
and continue learningเรื่องแนะนำ
of เรื่องแนะนำ
เหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร
ข้อมูลจาก พ.ต.ท.พัชรภณ สุขประดิษฐ์ สว.สอบสวน สน.ชนะสงคราม ที่แจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่า ที่เกิดเหตุเป็นบริเวณเกาะกลางถนน ตรงข้ามวัดบวรนิเวศฯ ใกล้วงเวียนสิบสามห้าง ในวันอังคารที่ 7 ม.ค. เวลาประมาณ 16.00 น. โดยนายลิม กิมยา อายุ 74 ปี ชาวกัมพูชา สัญชาติฝรั่งเศส สวมเสื้อโปโลสีดำ กางเกงขาสั้นครีม ถูกยิvด้วยอาวุธปืนบาดเจ็บสาหัส กระสุนเข้าที่ชายโครงขวาและหัวไหล่ขวาอย่างละนัด แม้ว่าจะมีหน่วยกู้ชีพปฐมพยาบาลปั๊มหัวใจ แต่ผู้บาดเจ็บอาการสาหัสเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

ที่มาของภาพ : EPA
เบื้องต้นคนร้ายเป็นชายขับขี่รถจักรยานยนต์ฮอนด้า เวฟ 100 สีแดง ทะเบียน 845 คนร้ายสวมเสื้อสีเทาแขนสั้น สะพายกระเป๋าคาดหน้าอก กางเกงยีนส์ สวมหมวกกันน็อก คาดว่าซุกซ่อนอาวุธปืนไว้ในกระเป๋า
ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุเบื้องต้นว่า ผู้เสียชีวิตเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เดินทางมาจากเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา โดยรถบัสมาพร้อมกับภรรยาชาวฝรั่งเศส และลุงชาวกัมพูชา ได้มาลงตรงบริเวณที่เกิดเหตุ จากนั้นมีคนร้ายขับรถจักรยานยนต์ จอดรถแล้วก็ลงมายิvผู้เสียชีวิต ก่อนจะขับขี่รถจักรยานยนต์หลบหนี เส้นทางใช้ถนนพระสุเมรุ ผ่านหน้าวัดบวรฯ ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังสอบปากคำภรรยาของเขาเพื่อหาสาเหตุปมสังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้
ล่าสุดวันนี้ (8 ม.ค.) พันตำรวจเอกสนอง แสงมณี ผู้กำกับสน.ชนะสงคราม เปิดเผยว่า พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ออกหมายจับคนร้ายที่ก่อเหตุยิv นายลิม กิมยา โดยผู้ก่อเหตุที่ถูกออกหมายจับ ชื่อ นายเอกลักษณ์ แพน้อย หรือ “จ่าเอ็ม” อายุ 41 ปี ชาวกรุงเทพมหานคร ในข้อหา ฆ่-าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พกอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร ยิvปืนซึ่งใช้ดินsะเบิดซึ่งใช่เหตุในเมือง

ที่มาของภาพ : EPA
มีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ประวัติของ นายเอกลักษณ์ เคยรับราชการเป็นทหารเรือ สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มีความชำนาญในการใช้อาวุธปืน นอกจากนี้ยังเป็นนักกีฬาสนุกเกอร์ ฉายา “เอ็ม กองเรือ” มีผลงานเคยเข้าร่วมการแข่งขันสนุกเกอร์อาชีพเก็บสะสมคะแนน ดิวิชั่น 2 จำนวน 4 รายการ
ฮิวแมนไรท์วอทช์เชื่อเป็น “การลอบสังหารในทางการเมือง”
เมื่อพิจารณาจากรูปการณ์ นายสุณัยเชื่อว่า การเสียชีวิตของนายลิม กิมยา เป็นการลอบสังหารในทางการเมือง (political assassination) ในจังหวะเวลาที่น่ากังวล เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจาก อดีตนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ซึ่งปัจจุบันยังคงมีอำนาจทางการเมืองและอยู่ในฐานะประธานวุฒิสภาได้ประกาศให้มีการผลักดันกฎหมายฉบับใหม่ ที่จะถือว่าการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เป็นการก่อการร้าย มีการลงโทษอย่างหนักทั้งตัวบุคคลและองค์กร หรือพรรคการเมืองที่มีการเคลื่อนไหว
“นี่จึงเป็นการแสดงความกังวลอีกทางหนึ่งว่า นี่จะเป็นการส่งสัญญาณการปราบปรามรอบใหม่เกิดขึ้นในทางการเมืองต่อฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และควบคู่กันไปก็มีการลอบสังหารตัวบุคคล ซึ่งเหมือนกับการส่งสัญญาณและแรงกระเพื่อมอย่างแรงในหมู่นักกิจกรรม คนที่รณรงค์วิจารณ์รัฐบาล รวมทั้งสมาชิกพรรคฝ่ายค้านที่ต้องหลบลี้หนีภัยนอกประเทศด้วยว่า ต่อให้ออกมานอกกัมพูชาแล้วก็ยังไม่มีความปลอดภัย ถ้าหากยังถูกถือว่าเป็นศัตรูของรัฐบาล” เขาอธิบาย

ที่มาของภาพ : Reuters
เหตุการณ์ดังกล่าวตามทัศนะของที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์มองว่า ทำให้เห็นว่า กำลังเกิด “การกดปราบ” ทั้งในกัมพูชา อย่างเช่น การยุบพรรคการเมือง การดำเนินคดีกับฝ่ายค้าน นักกิจกรรม และสื่อมวลชน และยังมีลักษณะเกิด “การกดปราบข้ามแดน” มายังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าว ฮิวแมนไรท์วอทช์และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลต่อประเด็นนี้มากขึ้น เนื่องจากเริ่มเห็นการส่งตัวผู้เห็นต่างทางการเมืองกลับประเทศ หรือมีผู้สูญหายมากขึ้นในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรณีการลอบสังหารนายลิม กิมยา นี่ถือเป็นการยกระดับขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
“นานาชาติคงตั้งคำถามต่อรัฐบาลไทยว่า เมื่อเดือนที่แล้วทางการไทยได้ส่งนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 6 คนกลับกัมพูชา ที่เผชิญกับข้อหายุยงปลุกปั่น และตามมาด้วยเหตุลอบสังหารนายลิม กิมยานี้ ซึ่งก็ตกเป็นภาระของฝ่ายทางการไทยที่จะต้องดำเนินการให้เห็นว่าสามารถนำตัวคนร้ายที่ก่อเหตุเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้” เขากล่าวเสริม
ปฏิกิริยาจากนักการเมืองไทยและกัมพูชาเป็นอย่างไร
เนื่องจากเหตุการณ์ลอบสังหารดังกล่าวเกิดขึ้นกับนักการเมืองฝ่ายค้านของกัมพูชา และขณะเกิดเหตุก็เกิดขึ้นในสถานที่มีผู้คนพลุกพล่านและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของกรุงเทพมหานคร ทำให้มีนักการเมืองทั้งไทยและในกัมพูชาออกมาแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์กันโดยเฉพาะ สส. ฝ่ายค้าน และ สว. บางส่วนที่ขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษยชน
หนึ่งในนั้นคือ นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กของเธอ Angkhana Neelapaijit ถึงกรณีดังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีต้องไม่เพิกเฉยกรณีนักการเมืองฝ่ายค้านกัมพูชาถูกยิvเสียชีวิตกลางกรุงเทพมหานคร ถือเป็น “การกระทำที่อุกอาจมากเกินกว่าจะยอมรับได้” อีกทั้งเป็นสัญญานว่ากรุงเทพฯ ไม่มีความปลอดภัยอีกต่อไป โดยเฉพาะกับผู้เห็นต่างทางการเมือง รวมถึงผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง
เธอได้ยกตัวอย่าง กรณีที่มีผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนถูกลักพาตัวหรือถูกบังคับให้สูญหายในไทย รวมถึงนายอ๊อด ไชยวงศ์ นักรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยชาวลาวที่ถูกอุ้มหายที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 จนถึงปัจจุบันไม่มีใครทราบที่อยู่และชะตากรรมของเขา ตามรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เธอยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับรัฐบาลกัมพูชา จะต้องไม่เพิกเฉยต่อเหตุลอบสังหารดังกล่าวด้วย
“รัฐบาลคุณแพทองธารต้องสืบค้นให้ได้ว่าใครอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารนายลิม กิมยา และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว” เธอระบุในข้อความบนเฟซบุ๊ก
นอกจากนี้ ยังมีนายปิยรัฐ จงเทพ สส.พรรคประชาชน ระบุว่า การเสียชีวิตของนายลิม กิมยา ในกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องใหญ่ พร้อมกับการจับตาจากนานาชาติ เพราะผู้เสียชีวิตอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลของกัมพูชา พร้อมเร่งให้จับกุมผู้ก่อเหตุโดยเร็วที่สุด

ที่มาของภาพ : Cambodia Nationwide Rescue Win collectively/Handout
ก่อนหน้านั้นในวันที่ 7 ม.ค. พรรคกู้ชาติกัมพูชา หรือพรรคซีเอ็นอาร์พี ซึ่งพรรคดังกล่าวถูกศาลตัดสินยุบพรรคไปเมื่อปี 2560 ขณะที่สมาชิกพรรคและกรรมการพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี รวมถึงนายลิม กิมยาด้วย ได้ออกแถลงการณ์ประณามเหตุสังหารนายลิม กิมยา ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำปงธมของพรรคซีเอ็นอาร์พี
“การฆาตกรรมอย่างเลืoดเย็นที่เกิดขึ้นกลางที่แจ้งแสดงให้เห็นถึงความไม่สนใจต่อชีวิตมนุษย์และกฎหมาย” ข้อความในแถลงการณ์ระบุ
ลิม กิมยา คือใคร

ที่มาของภาพ : Getty Photos
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเกี่ยวกับนายลิม กิมยา ว่า เขาเป็นสมาชิกของพรรคซีเอ็นอาร์พี ซึ่งถือเป็นพรรคฝ่ายค้านที่เคยได้รับความนิยมในอดีต แต่กลับถูกศาลในกัมพูชาสั่งยุบพรรคในปี 2560 ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ด้วยข้อหาสมคบกับสหรัฐฯ เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ซึ่งในขณะนั้นพรรคซีเอ็นอาร์พีกล่าวว่า ข้อหาดังกล่าวเป็นการใส่ร้ายโดยพรรคประชาชนกัมพูชาของสมเด็จฮุน เซน
ตลอดระยะเวลากว่าสี่ทศวรรษที่กัมพูชาถูกปกครองโดยพรรคประชาชนกัมพูชา ได้มีการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและรุนแรง มีนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองจำนวนมากต้องถูกจำคุก มีจำนวนมากที่สูญหาย และหลายร้อบคนต้องลี้ภัยในต่างประเทศ แต่รัฐบาลออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยข่มเหงฝ่ายค้านแต่อย่างใด
สำนักข่าวรอยเตอร์ยังรายงานด้วยว่า นายลิม กิมยา ไม่ได้เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาที่โดดเด่นนัก
แต่ก่อนหน้านี้ เขาเคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศหลายครั้ง อย่างเมื่อเดือน พ.ย. 2560 เขาเคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพีว่า เขาจะ “ไม่มีทางเลิกเล่นการเมือง” และยังคงมีแผนจะอยู่ในกัมพูชาต่อไป แม้ว่าในขณะนั้นจะมีคำสั่งศาลฎีกาสั่งยุบพรรคซีเอ็นอาร์พีก็ตาม
ที่มา BBC.co.uk