
เปิดผลการเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด อย่างไม่เป็นทางการใน 4 จังหวัดที่เป็นการปะทะกันของผู้สมัครจากค่ายพรรคเพื่อไทยกับผู้สมัครจากพรรคประชาชน (ข้อมูลผลคะแนนจากเว็บไซต์ไทยพีบีเอส เมื่อเวลาประมาณ 22.30-23.30 ของวันที่ 1 ก.พ. โดยประชาไทเข้าถึงข้อมูลเมื่อ 9.00 น. วันที่ 2 ก.พ.)
ในภาพรวม พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครลง 16 จังหวัด (ในนามพรรคและสมาชิกพรรค) ส่วนทางด้านพรรคประชาชนส่งผู้สมัครในนามพรรคทั้งหมด 17 จังหวัด
เชียงใหม่
พิชัย เลิศwงศ์อดิศร หรือ “สว.ก๊อง” ชนะด้วย 379,341 คะแนน (ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเวลา 23:34 น. ของวันที่ 1 ก.พ.)
เขาเป็นแชมป์เก่านายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงสมัครรักษาเก้าอี้ในนามสมาชิกพรรคเพื่อไทย
ขณะที่ พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้สมัครในนามพรรคประชาชน อดีต ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ตามหลังมาอยู่ที่ 358,386 คะแนน หรือประมาณ 20,000 คะแนนเท่านั้น
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ 2 พรรคแข่งกันอย่างดุเดือด กลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีของการเมืองระดับชาติ เนื่องจาก
- เป็นบ้านเกิดของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และยังขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงพรรคเพื่อไทยมายาวนาน จนกระทั่งการเลือกตั้งปี 2566 พรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) ได้เข้ามาช่วงชิงความนิยมจนสามารถ กวาด สส.ไปถึง 7 คน จากทั้งหมด 10 เขต ขณะที่พรรคเพื่อไทยที่เป็นเจ้าของพื้นที่เดิมเหลือ สส. เพียง 2 ที่นั่ง
- แม้ว่าพรรคเพื่อไทยส่ง “สว.ก๊อง” ลงชิงเก้าอี้ “ในนามสมาชิกพรรค” แต่ทักษิณในฐานะ “ผู้ช่วยหาเสียง” ได้เดินทางไปขึ้นเวทีปราศรัยเรียกคะแนนให้ สว.ก๊อง ถึง 2 ครั้ง พร้อมย้ำหลายครั้งว่าตนขอให้คนเชียงใหม่คืน สส.ให้เพื่อไทยในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้า
- ข้อสังเกตคือ ทั้ง 2 ช่วงที่ทักษิณไปเชียงใหม่ ครั้งแรกคือช่วงปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และครั้งที่สองคือโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง ตรงกับช่วงที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลในฐานะ “ผู้ช่วยหาเสียง” ลงพื้นที่ช่วยเรียกคะแนนให้พันธุ์อาจ
สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ล่าสุดเช้าวันนี้ (2 ก.พ.) พันธุ์อาจโพสต์แจ้งข่าวผ่านทางเฟซบุ๊กว่า พรรคประชาชนจะมี “ว่าที่ ส.องค์การบริหารส่วนจังหวัด” จำนวน 15 คนจากทั้งหมด 42 คน
ลำพูน
🟠วีระเดช ภู่พิสิฐ หรือ “โกเฮง” ผู้สมัครในนามพรรคประชาชน โค่นแชมป์เก่าบ้านใหญ่ลำพูนไปด้วย 109,530 คะแนน (ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อ เวลา 23:36 น. ของวันที่ 1 ก.พ.) ทำให้ลำพูนกลายเป็นจังหวัดแรกที่ค่ายสีส้ม ปักธง องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้สำเร็จ
กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าเขาเป็นทายาทของ “โกเก๊า” อดีตนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนและอดีตประธานหอการค้าจังหวัดลำพูน โดย “โกเฮง” เข้ามาล่มหัวจมท้ายกับ “ค่ายส้ม” ตั้งแต่ปี 2561 ช่วงก่อร่างสร้างพรรคอนาคตใหม่ และอยู่กับพรรคเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่ อนุสรณ์ วงศ์วรรณ แชมป์เก่าที่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย อดีต สส.ลำพูน 4 สมัย ทายาท “พ่อเลี้ยงณรงค์” ตามหลังมาอย่างสูสีอยู่ที่ 103,511 คะแนน (อย่างไม่เป็นทางการ) หรือเพียง 6,000 คะแนนเท่านั้น
มุกดาหาร
แม้จะถูกสื่อจับจ้องว่าเป็นสนามที่เป็นการปะทะกันของค่ายแดง-ส้ม แต่ว่าผู้ที่แซงคู่แข่งมาเป็นอันดับหนึ่งคือ “วีระพงษ์ ทองผา” อดีตรองเลขาธิการ ส.ก.ส.ค.และประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมุกดาหาร จำกัด ได้ไป 83,703 คะแนน (ผลอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเวลา 23:34 น.)
ไทยพีบีเอสรายงานว่าเขาเป็นนักการเมืองสายครู ลงสมัครในนามอิสระ โดยใช้ชื่อทีมว่า “อนาคตมุกดาหาร” พร้อมทีม ส.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ครอบคลุมกระจายทุกพื้นที่ ขณะที่ เดลินิวส์รายงานว่าเขาเป็นพี่ชาย ของ วิริยะ ทองผา สส.มุกดาหาร เขต 1 พลังประชารัฐ
ขณะที่ บุญฐิน ประทุมลี ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย อดีต สส.มุกดาหาร เขต 2 ตามมาเป็นอันดับสองด้วยคะแนน 46,547
ส่วน สุพจน์ สุอริยพงษ์ หรือ “ทนายเล็ก” ผู้สมัครในนามพรรคประชาชนได้ 25,425 คะแนน
ปราจีนบุรี
ณภาภัช อัญชสาณิชมน หรือ “สจ.จอย” ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย ภรรยาของชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ “สจ.โต้ง” ที่ถูกยิvเสียชีวิตก่อนการเลือกตั้ง ได้คะแนนนำลิ่วมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่ 121,304 คะแนน (ผลอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเวลา 22:40 น.)
ขณะที่ จำรูญ สวยดี ผู้สมัครพรรคประชาชน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้ไป 55,913 คะแนน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )