แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/o8lx | ดู : 10 ครั้ง
ไทยเผชิญวิกฤตประชากร-ติดหนึ่งในภูมิภาค‘อัตราเกิดต่ำสุด’-ปี-67-มีลูกเพียง-4.6-แสน

สถาบันวิจัยประชากรฯ ม.มหิดล กางตัวเลขวิกฤตประชากร ไทยยืนหนึ่งในภูมิภาค ‘อัตราเกิดต่ำสุด’ ปี 2567 มีลูกเพียง 4.6 แสนคน คาดอีก 50 ปีข้างหน้า ประชากรหายไป 25 ล้านคน จะเหลือคนทำงานแค่ 22 ล้านคน


สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มกราคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว “ครั้งแรกในรอบ 75 ปี ประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดไม่ถึง 5 แสนคนต่อปี” โดยแนวโน้มจำนวนเด็กเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางนโยบาย ‘มีลูกเพื่อชาติ’ โดย รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหาการเกิดน้อย สังคมผู้สูงอายุ เป็นโจทย์หลักของสถานการณ์ประชากร โดยแหล่งข้อมูลสำคัญที่นักประชากรนำมาใช้มาจากสำนักบริหารการทะเบียน

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ข้อมูลประชากรไทย ปี 2567 มีรวมทั้งสิ้น 65,951,210 คน แต่ตัวเลขที่น่าสนใจกว่าคืออัตราการเกิดของประชากร ซึ่งปี 2566 ที่มีแนวโน้มการเกิดที่สูงขึ้น ราว 519,000 กว่าคน โดยต้นปี 2567 ที่สถาบันฯ ได้พูดคุยกันว่า ปีมังกร เป็นอีกปีที่คนไทยตัดสินใจมีลูกเพิ่มขึ้น จำนวนการเกิดน่าจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อติดตามไปกลับพบว่า อัตราการเกิดในปี 2567 มีตัวเลขอยู่ที่ 462,240 คน ถือว่าต่ำกว่า 5 แสนคน

เมื่อย้อนกลับไปดูอัตราการเกิดของไทยเมื่อปี 2492 เป็นต้นมา มีอัตราเกิดสูงกว่า 5 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนถึงยุคที่ประชากรเกิดมากกว่าล้านคนในปี 2506 – 2526 และหลังจากนั้นอัตราเกิดก็ทยอยลดลง จนถึงล่าสุดปี 2567 เป็นปีแรกที่ไทยมีจำนวนเด็กเกิดใหม่ต่ำกว่า 5 แสนคน ซึ่งในทางเดียวกันส่งผลให้อัตราการเกิดต่ำกว่าอัตราการเสียชีวิตต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

รศ.ดร.เฉลิมพล กล่าวว่า การกลับมาพิจารณาเรื่องการเกิดน้อยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเราจะได้ยินนโยบายการส่งเสริมให้มีบุตร มีลูกเพื่อชาติ แต่ผลที่เกิดขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมากลับสวนทาง จึงเป็นเรื่องที่เราควรกลับมาฉุกคิดให้มากขึ้นว่า เกิดน้อยและยังไม่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นนั้น ประเทศไทยจะมีโอกาสหรือทางเลือกอะไรได้บ้าง

ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ (United Worldwide locations :UN) ได้จัดกลุ่มประเทศทั่วโลกที่มีอัตราการเกิดกำลังลดลง โดยไทยเป็นประเทศเดียวในเขตภูมิภาคที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว นอกจากนั้น ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศไทยที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่รายได้ค่อนข้างสูง ส่วนกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา จะอยู่ในกลุ่มประเทศที่อัตราการเกิดยังไม่ถึงจุดพีค แต่ก็อาจจะถึงในอีก 30 – 40 ปีข้างหน้า

“อัตราการเจริญพันธุ์รวม (Complete Fertility Payment :TFR) ล่าสุดในปี 2567 อยู่เพียง 1.0 ซึ่งถ้าเทียบกับหลายประเทศจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่ต่ำมาก ๆ เช่น เกาหลี สิงคโปร์ แต่เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่มี TFR อยู่ที่ 1.2 จะเห็นได้ว่าไทยต่ำกว่าญี่ปุ่นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม นักประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำข้อมูลการเกิดและ TFR มาคำนวณ โดยมีการคาดการณ์ว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ไทยจะมีการเกิดที่ลดลงเหลือเพียง 40 ล้านคน เท่ากับว่าประชากรจะหายไป 25 ล้านคน หรือมองให้เห็นภาพคือ เฉลี่ยทุก 2 ปี ประชากรจะลดลง 1 ล้านคน” รศ.ดร.เฉลิมพล กล่าว

รศ.ดร.เฉลิมพล กล่าวต่อว่า ในจำนวนประชากรที่หายไปนั้น ส่งผลกระทบต่ออัตราแรงงานที่จะหายไปเช่นเดียวกัน จากปัจจุบันที่มีจำนวนผู้มีงานทำ 37.2 ล้านคน ในอีก 50 ปีข้างหน้าจะเหลือเพียง 22.8 ล้านคน หรือเท่ากับมีแรงงานหายไป 15 ล้านคน ซึ่งเรื่องนี้เป็นโจทย์สำคัญของวิกฤตประชากร และวิกฤตเด็กเกิดน้อย ซึ่งหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือ แน่นอนว่าวิกฤตแน่นอน

ทั้งนี้ อัตราประชากรที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ ดังนั้นหากมีการรับมือดี ๆ เรื่องนี้จะไม่ใช่วิกฤต จะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน

รศ.ดร.เฉลิมพล กล่าวว่า สถาบันฯ ได้ทำการสำรวจข้อมูลในปลายปี 2567 ในประชาชนไทยอายุ 28 ปีเป็นต้นไป จำนวน 1,000 กว่าคน พบว่า ร้อยละ 71 มองว่าการเกิดน้อยเป็นวิกฤตของประเทศ และมีเพียงร้อยละ 6 มีมองว่ายังไม่ใช่วิกฤต

“ซึ่งข้อค้นพบนี้ทำให้เห็นว่าคนไทยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตนี้ ส่วนคำถามถึงแผนการมีบุตรในกลุ่มประชากรที่มีความพร้อม พบว่าร้อยละ 35.8 ตอบว่าจะมีลูกแน่นอน ร้อยละ 29.9 ตอบว่า อาจจะมีลูก ร้อยละ 14.6 ตอบว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.1 ตอบว่าจะไม่มีลูก และร้อยละ 6.6 ตอบว่าจะไม่มีลูกอย่างแน่นอน” รศ.ดร.เฉลิมพล กล่าวและว่า

จากชุดข้อมูลพบว่า มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่คิดจะมีลูก แม้จะน้อยแต่ก็ยังเป็นแนวโน้มในเชิงบวก ส่วนกลุ่มที่ตอบว่า “อาจจะมีลูก” นั้น เป็นกลุ่มสำคัญต่อนโยบายส่งเสริมการมีลูก ที่จะต้องไปพูดคุยอย่างชัดเจนให้ถึงสาเหตุของการตอบว่า อาจจะ เพราะหากมีการสนับสนุนที่ตรงจุดก็จะทำให้กลุ่มดังกล่าว มั่นใจที่จะมีลูกเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ประชากรที่จะมีลูกอย่างแน่นอนเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละกว่า 60

ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/o8lx | ดู : 10 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend