แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/6uay | ดู : 10 ครั้ง
ตามรายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร-water-learn-ระบุว่าไ

ตามรายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Water Learn ระบุว่าไวรัสอาจแพร่กระจายผ่านท่อระบายน้ำเสียในเมือง ซึ่งจะทำให้ประชาชนในวงกว้างมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันน้ำเสียเหล่านั้นก็สามารถไหลลงสู่ทะเลสาบและแม่น้ำหลังจากเกิดพายุรุนแรงได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทั้งระบบนิเวศ
.

โดยทั่วไปแล้วน้ำเสียดิบ ๆ มักจะประกอบด้วยปัสสาวะและอุจจาระของมนุษย์รวมถึงเซลล์ที่เสียชีวิตแล้วต่าง ๆ เศษอาหาร ยา แบคทีเรีย และไวรัสจำนวนมากเข้าไปด้วย แม้ว่าไวรัสส่วนใหญ่ที่มนุษย์ปล่อยออกมาจะค่อนข้าง ‘ไม่เป็นอันตราย’ แต่ก็มีไวรัสบางชนิดที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่น เอนเทอโรไวรัส และโนโรไวรัส
.
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว แม้ว่าจะหายจากอาการของโรคแล้วแต่ก็ยังสามารถปล่อยอนุภาตไวรัสออกมาหลายพันล้านอนุภาคทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ซึ่งทำให้ไวรัสจะยังคงถูกปล่อยลงไปในท่อระบายน้ำ ไหลผ่านเครือข่ายไปจนถึงโรงบำบัดน้ำเสีย แม้วิธีการบำบัดทั่วไปจะมีประสิทธิภาพมาก (ในสหราชอาณาจักรมีประสิทธิภาพมากกว่า Ninety 9%)
.
แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะหลุดรอดไปด้วย แต่ความเสี่ยงมากที่สุดไม่ใช่จากโรงบำบัดน้ำเสีย ทว่าเป็นน้ำเสียดิบ ๆ ที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดต่างหาก น้ำเหล่านี้อาจถูกฝนตกหนักและน้ำท่วมเฉียบพลันที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนำพาออกมาซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง
.
ทีมวิจัยได้คำนวณ ‘อัตราการสลายตัวของ T90’ ซึ่งก็คือเวลาที่ปริมาณของไวรัสลดลงร้อยละ 90 อัตราเหล่านี้จะเป็นการบ่งบอกว่ามันจะยังสามารถสร้างการติดเชื้อได้หรือไม่ (การติดเชื้อในสิ่งมีชีวิตจะต้องใช้ปริมาณไวรัสมากพอสมควร ไม่ใช่ว่าได้รับเพียง 1 ตัวแล้วจะเกิดการติดเชื้อได้)
.
ปกติแล้วไวรัสแพร่เชื้อในน้ำทะเลได้นานถึง 3 วันที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และในอุณหภูมิที่เย็นกว่านั้นก็สามารถอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์ แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ เมื่อได้รับได้แสงแดด ไวรัสกลับสามารถมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 24 ชั่วโมงในวันที่แดดออก
.
และในวันที่อากาศครึ้ม ไวรัสก็สามารถมีอยู่ชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2.5 วัน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ายังคงมีความเสี่ยงด้านสุขภาพอยู่หากน้ำเสียเข้าไปปนเปื้อน แต่ก็ยังมีความหวังเนื่องจากแสงแดดสามารถช่วยจัดการไวรัสแทนได้หากวันดังกล่าวมีอากาศแจ่มใส อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอาจทำให้มีฝนตกต่อเนื่องซึ่งสร้างความเสี่ยงเพิ่มเติม
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/science/77086/native weather-likelihood-virus-sewage/
. #NationalGeographicThailand โลกร้อน ไวรัส

RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/6uay | ดู : 10 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content