ชีสพูเลจากเซอร์เบีย: อาหารอันโอชะจากนมลาที่หายากและราคาแพง กก. ละ 4.5 หมื่นบาท

Article data

  • Creator, โจวานา จอร์จิฟสกี้
  • Characteristic, บีบีซี นิวส์ แผนกภาษาเซอร์เบีย

ชีสพูเล (Pule) เพียง 1 กิโลกรัม ก็มีมูลค่าแพงกว่าเงินเดือนโดยเฉลี่ยในเซอร์เบีย เพราะชีสพูเลที่ทำจากนมลานี้ มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,200 ยูโร หรือมากกว่า forty five,800 บาท

ชีสชนิดนี้มีจำหน่ายเฉพาะในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติซาซาวิกา (Zasavica ) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงเบลเกรดไปทางตะวันตกประมาณ 80 กม.

“ในการผลิตชีส ชีสพูเล เพียงกิโลกรัมเดียว คุณต้องใช้นมลาถึง 25 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณนมที่ลาหนึ่งตัวสามารถผลิตได้ภายในเวลาหนึ่งปีครึ่ง” วุค ซิมิค ผู้จัดการเขตอนุรักษ์ธรรมชาติซาซาวิกา อธิบายในการให้สัมภาษณ์กับบีบีซี

แม้จะเป็นหนึ่งในชีสที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่ง แต่ชีสพูเลก็ไม่ใช่ผู้ทำลายสถิติชีสที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ปัจจุบันตำแหน่งดังกล่าวตกเป็นของชีสบลูคาบราเลสจากประเทศสเปน ซึ่งขายไปในราคาสูงถึง 36,000 ยูโร (1.37 ล้านบาท) ต่อ 2.5 กิโลกรัม (หรือคิดเป็นราว 5.38 แสนบาทต่อกิโลกรัม) ในปี 2024 ตามที่ได้รับการยืนยันจากกินเนสบุ๊กออฟเวิลด์เรคคอร์ด

ที่มาของภาพ : Getty Photography

มีรายงานว่า นักเทนนิสในตำนานอย่าง โนวัค โยโควิช ซื้อชีสพูเลไว้ใช้ทั้งปีสำหรับเครือร้านอาหารของเขา

ชีสพูเลยังคงถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่เข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่มีกระเป๋าหนักเงินหนาเท่านั้น ชีสชนิดนี้ยังดึงดูดความสนใจของ โนวัค โยโควิช นักเทนนิสชาวเซอร์เบียผู้เป็นตำนาน โดยมีรายงานว่า เขาซื้อชีสพูเล่ไว้ใช้ทั้งปี สำหรับเครือร้านอาหารของเขา

เรื่องแนะนำ

of เรื่องแนะนำ

ตามคำบอกเล่าของ สโลโบดาน ซิมิค อดีตผู้จัดการของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติซาซาวิกา โยโควิชจ่ายเงินไปประมาณ 480 ยูโร (หรือ 18,300 บาท) สำหรับชีสครึ่งกิโลกรัม

สวรรค์แห่งธรรมชาติ

ฟาร์มเลี้ยงลาแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติซาซาวิกา มีพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์หายาก ม้าป่า และนกหลายร้อยสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม โดยมีลา 300 ตัวเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในฟาร์มแห่งนี้ ทำให้ที่นี่เป็นฟาร์มลาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

ที่มาของภาพ : Getty Photography

ชีสพูเลมีจำหน่ายเฉพาะในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ซาซาวิกา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงเบลเกรดไปทางตะวันตกประมาณ 80 กม.

ลูกลาแรกเกิดจะเดินโซเซไปมาบนขาที่ไม่มั่นคงเพื่อหาความอบอุ่นและสารอาหารจากแม่ ในขณะที่ลาตัวอื่น ๆ จะนอนเล่นอย่างขี้เกียจบนฟาง แม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ดื้อรั้น แต่ลาก็เป็นสัตว์ที่อ่อนโยนและเข้ากับคนง่าย

“ลาแต่ละตัวมีบุคลิกเฉพาะ” นิโคลา นิลิค หัวหน้าฟาร์มกล่าว

“ลาบางตัวขี้เล่นมากกว่า บางตัวก็สงวนตัว แต่พวกมันทั้งหมดชอบการกอดเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่แบบที่ไม่มากเกินไป” เขากล่าว

ชีวิตแบบฮาเร็ม

ในจำนวนลา 300 ตัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติซาซาวิกา มีเพียงประมาณ 12 ตัวเท่านั้นที่เป็นลาตัวผู้ “พวกมันใช้ชีวิตเหมือนอยู่ในฮาเร็ม” วุค ซิมิค กล่าวติดตลก

ลาตัวเมียจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เพียง 9 วันเท่านั้น หลังจากคลอดลูก ทำให้พวกมันต้องให้นมตลอดเวลา

แต่การให้นมหรือช่วงที่ลาหลั่งน้ำนมจะคงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีลูกอยู่เคียงข้างเท่านั้น และน้ำนมของลาจะผลิตได้ในปริมาณที่น้อยมาก

มีลาประมาณ 300 ตัว ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติซาซาวิกา

“ลาตัวเมียตัวเดียวให้ผลผลิตนมได้เพียง 300 มิลลิลิตรต่อวัน ซึ่งปริมาณเท่ากับหนึ่งแก้วน้ำ” ซิมิคกล่าว

ลูกลาจะกินนมจำนวนนี้ไปครึ่งหนึ่ง ทำให้การผลิตชีสชนิดนี้เป็นไปได้อย่างช้ามาก

ความลับของชีสพูเล

แล้วอะไรกันที่ทำให้ชีสชนิดนี้มีความพิเศษนัก ?

เมื่อถามถึงส่วนผสมลับ นิโคลา นิลิค ยิ้มและตอบกลับเพียงว่า “เรื่องนั้น ผมบอกคุณไม่ได้” เขากล่าว

แนวคิดในการผลิตชีสจากนมลาถูกคิดขึ้นเมื่อกว่าทศวรรษที่แล้วโดยสโลโบดาน ซิมิค พ่อของวุค

อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งคือ เนื้อสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ของนมลา ซึ่งคล้ายกับนมแม่ คือมีลักษณะที่เกิดการข้นตัวได้ยาก

ชีสพูเลไม่มีจำหน่ายทั่วไปและไม่มีการส่งออก

อย่างไรก็ตาม หลังจากความพยายามในการค้นหาวิธีต่าง ๆ หลายครั้งล้มเหลว ในที่สุดวิศวกรด้านอาหารของฟาร์มซาซาวิกา ก็สามารถพัฒนาเทคนิคการผลิตชีสชนิดนี้จนเสร็จสมบูรณ์

“รสชาติของชีสพูเลนั้นไม่เหมือนใคร” ซิมิค ครุ่นคิด “ฉันชอบที่จะบอกว่ามันรสชาติแพง”

แม้จะมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ชีสพูเลก็ไม่มีวางจำหน่ายให้กับคนทั่วไปและไม่ได้ส่งออกไปขายต่างประเทศ

ชีสชนิดนี้หาซื้อได้เฉพาะที่ฟาร์มซาซาวิกาเท่านั้น และไม่มีขายแม้แต่ในร้านอาหารภายในฟาร์ม แต่หาซื้อได้เฉพาะในร้านค้าเล็ก ๆ ในท้องถิ่นเท่านั้น

“เราผลิตได้เพียง 25 ถึง 30 กิโลกรัมต่อปี ทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หายากมาก” ซิมิค อธิบาย

การผลิตอย่างช้า ๆ

เซอร์เบียมีฟาร์มเลี้ยงลาขนาดเล็กอยู่ไม่กี่แห่ง แต่ส่วนใหญ่เน้นการขายนมมากกว่าชีส ตามข้อมูลของสมาคมผู้เลี้ยงวัวเซอร์เบีย

การผลิตนมลามีเป็นธุรกิจขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ หอการค้าเซอร์เบียบอกกับบีบีซี

ที่มาของภาพ : Getty Photography

ด้วยปริมาณที่จำกัดเช่นนี้ ชีสพูเลจึงขายได้แค่ในแพ็คเกจขนาด 50 กรัมเท่านั้น

“การซื้อนมลาเพื่อผลิตชีสในปริมาณมากนั้นก็ไม่ทำกำไรอย่างแน่นอน” พวกเขากล่าว

การส่งออกชีสจะต้องมีกฎระเบียบเฉพาะ และฟาร์มซาซาวิกา ยังคงเป็นผู้รักษาสูตรลับนี้แต่เพียงผู้เดียว

“ตอนนี้ เราไม่มีแผนที่จะแบ่งปันสูตรนี้กับใคร” ซิมิค กล่าวย้ำ

ลาตัวเดียวให้ผลผลิตนมเพียงประมาณ 300 มิลลิลิตรต่อวัน ขณะที่ลูกลาก็จะกินนมไปครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้น

แม้ว่าจะมีผู้ซื้อจากต่างประเทศที่สนใจ แต่ซิมิค กล่าวว่า การส่งออกชีสพูเล่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

“ผู้คนทั่วโลกเริ่มได้ยินเกี่ยวกับเรา และเราขายชีสทุกชิ้นที่เราผลิต” เขากล่าวอย่างมั่นใจ

เขายอมรับว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่ร่ำรวยและยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้ออาหารอันโอชะหายากนี้