
“นึกถึงที่บ้านไว้ ว่ายังไงก็ต้องมีชีวิตอยู่รอดออกไปหาพ่อหาลูกให้ได้” อดีตตัวประกันไทยเล่าประสบการณ์ 15 เดือนในฉนวนกาซา

ที่มาของภาพ : Paweena Ninbut/BBC
“พวกเขา ฮามาส สั่งให้ลงไปนอนคว่ำหน้าลงกับพื้น มัดมือไขว้หลัง แล้วยิvปืนขู่ คิดในใจน่าจะไม่รอดแล้ว” พงษ์ศักดิ์เล่าด้วยว่า เขาทำได้เพียงพูดคำว่า “ไทยแลนด์ ๆ” ซ้ำ ๆ เพื่อจะสื่อสารว่าเขาเป็นคนไทยและหวังว่าฮามาสจะไว้ชีวิต
พงษ์ศักดิ์ แทนนา ถือเห็นหนึ่งในห้าตัวประกันชาวไทยชุดสุดท้าย ที่ได้รับการปล่อยตัวโดยฮามาสเมื่อวันที่ 30 ม.ค. เขาย้อนเล่าให้.ฟังถึงวันที่ 7 ต.ค. เมื่อ 2 ปีก่อน ว่าเป็นเพียงวันธรรมดาวันหนึ่งที่เขาและเพื่อน ๆ แรงงานเกษตรกรในอิสราเอลออกไปทำงานที่ฟาร์ม ก่อนที่ฮามาสจะทำการโจมตีประเทศอิสราเอลและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกเขาต้องขับรถออกจากพื้นที่เพื่อกลับหลุมหลบภัย แต่โชคร้ายที่รถของเขาถูกหยุดโดยกลุ่มติดอาวุธสวมเสื้อลายพรางซึ่งใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาฮีบรูที่พงษ์ศักดิ์คุ้นเคย แต่กลับเป็นภาษาอารบิก
“โดนท้ายปืนกับปลายกระบอกปืนกระแทก แล้วก็หัวแตก” พงษ์ศักดิ์กล่าวถึงบาดแผลจากการโดนทำร้ายเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2023 หลังจากที่เขาและเพื่อนแรงงานถูกสั่งให้หมอบหน้าลงกับพื้นพร้อมถูกผูกมือไขว้ไว้ด้านหลัง ก่อนถูกนำตัวขึ้นรถหกล้อของกลุ่มฮามาส เขาเล่าด้วยว่าขณะถูกนำตัวเข้าฉนวนกาซา พวกเขายังถูกรุมทำร้ายโดยคนอีกประมาณ 6-7 คน ซึ่งยืนคอยอยู่ในฝั่งกาซาด้วย

นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของระยะเวลายาวนานกว่า 15 เดือนของพงษ์ศักดิ์ หนึ่งในตัวประกันชาวไทยที่โดนจับเป็นตัวประกันในสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและประเทศอิสราเอล เขาถูกปล่อยตัวเมื่อปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา หลังอิสราเอลและฮามาสบรรลุข้อตกลงหยุดยิvในฉนวนกาซากันได้ชั่วคราวในเวลานั้น
กลุ่มฮามาสกล่าวว่า การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเป็นผลให้ชาวอิสราเอลเสียชีวิตกว่า 1,200 คนนั้น เป็นการตอบโต้ต่อสิ่งที่ฮามาสอ้างว่าเป็นความพยายามของอิสราเอลที่จะเข้ายึดครองบริเวณมัสยิดอัลอักซอในนครเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม และฮามาสได้เรียกร้องการปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์หลายพันคนในเรือนจำของอิสราเอลอีกด้วย
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed studyingได้รับความนิยมสูงสุด
End of ได้รับความนิยมสูงสุด
ทั้งนี้ อิสราเอลเปิดฉากโจมตีทางการทหารครั้งใหญ่ต่อกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา หลังจากการโจมตีดังกล่าวของฮามาส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซามากกว่า 61,000 รายแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก ตามข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มฮามาส
7 ต.ค. 2023 วันแรกของการถูกจับเป็นตัวประกัน
“ทำใจให้นิ่งไว้ก่อน ทุกคนก็ตกใจกันหมด ไม่คิดว่าจะต้องมาเจออะไรแบบนี้” พงษ์ศักดิ์กล่าวกับ.
แม้เขาจะหวาดกลัว แต่ก็พยายามที่จะไม่แสดงอาการอะไรออกมา โดยหลังจากที่พงษ์ศักดิ์และแรงงานคนอื่น ๆ ถูกหยุดรถและโดนทำร้าย กลุ่มติดอาวุธฮามาสนำตัวพวกเขามารวมไว้ที่ฉนวนกาซาในวันเดียวกันคือวันที่ 7 ต.ค. 2023
พงษ์ศักดิ์ แทนนา แรงงานไทยวัย 36 ปี ทำงานภาคเกษตรกรรมในอิสราเอลมานานกว่า 10 ปี แต่เมื่อไม่นานมานี้เขาได้ย้ายที่ทำงานมาใกล้กับฉนวนกาซา และแม้จะมีเสียงสู้รบเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ แต่เขาก็ไม่คาดคิดว่าการสู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาสจะเกิดขึ้น รวมถึงไม่ได้คิดว่าเขาจะถูกจับมาเป็นตัวประกัน
“ทั้ง ๆ ที่เราบอกว่าเป็นคนไทย ทำไมถึงจับ แรก ๆ ก็ยังไม่เข้าใจ หลัง ๆ มาก็เลยคิดว่าเราคงจะมีผลประโยชน์อะไรต่อเขาฮามาส จับเรามาเพื่อแลกเปลี่ยนตัวประกันบ้านเขากลับคืนมา” พงษ์ศักดิ์ กล่าว
หลังจากเดินทางมาถึงตึกแห่งหนึ่งในฉนวนกาซา มีกลุ่มคนที่พงษ์ศักดิ์ไม่แน่ใจว่าคือกลุ่มฮามาสหรือไม่ มาตรวจสอบว่ามีผู้ใดได้รับบาดเจ็บบ้าง เขาเล่าว่าในขณะนั้นมีแรงงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บจากแผลถูกยิvอยู่ด้วย คือ บรรณวัชร แซ่ท้าว ซึ่งถูกยิvมาตั้งแต่ในโรงงาน ก่อนถูกนำตัวมาขึ้นรถคันเดียวกันกับเขา
“พอเขามาตรวจดูว่าผมไม่ได้มีบาดเจ็บอะไรมากมาย เขาก็แยกผมกับน้องสุรศักดิ์ไปอยู่ด้วยกัน แล้วก็เหลือไว้คนเดียวคือ บรรณวัชร ที่โดนยิvมา 2 นัด” พงษ์ศักดิ์เงียบไปสักพักก่อนกล่าวต่อว่า “เห็นว่าบรรณวัชรโดนยิvมาที่ฝ่ามือและก็ตรงไหล่ซ้าย”
กลุ่มฮามาสมองว่าพงษ์ศักดิ์ไม่ได้มีอาการบาดเจ็บมากนัก แม้เขาจะหัวแตกและมีบาดแผลบริเวณหน้าอก เขาจึงถูกแยกตัวออกไปเพื่อเริ่มการคุมขัง
ผู้คุมห้ามตัวประกันคุยกัน – ขู่ถูกยิv – เกือบโดนsะเบิด
ในช่วงแรกของการโดนจับเป็นตัวประกัน พงษ์ศักดิ์ถูกจัดให้อยู่กับตัวประกันชาวไทยอีกคนหนึ่ง นั่นคือ สุรศักดิ์ ลำเนา แรงงานเกษตรกรชาวไทยจาก จ.อุดรธานี พวกเขาถูกกักอยู่ในห้องขนาดประมาณ 4 x 3 เมตร ที่มีกระจกอยู่ 1บาน และแสงสามารถลอดเข้ามาแต่ไม่สามารถเห็นอะไรภายนอกได้ โดยมีผู้คุม 2 คนคอยเฝ้าอยู่ที่หน้าประตู หนึ่งในผู้คุมมีปืนติดตัว
แรงงานไทยทั้งสองถูกขังอยู่ในห้องดังกล่าวเป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ โดยตั้งแต่วันแรกที่ถูกกักขัง พงษ์ศักดิ์ใช้ตะปูขีดเส้นลงบนกำแพงเพื่อเป็นการนับวัน โดยสังเกตจากแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามา
“ขีดข้างกำแพงเลย… มีตะปูอันนึง ตะปูเล็ก ๆ ก็นั่งขีดข้างผนังเหมือนอย่างกับในหนังเลย” เขาเล่าให้.ฟัง

ถึงแม้ตัวประกันชาวไทยทั้งสองจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดียวกัน แต่พวกเขาต้องนอนที่คนละมุมของห้อง และผู้คุมไม่อนุญาติให้พวกเขาคุยกันเสียงดัง “ผู้คุมจะทำมือไม่ให้เราพูด บอกว่าเดี๋ยวคนบ้านเขาจะได้ยิน ถ้าเขาได้ยินเดี๋ยวเขาจะมายิv” พงษ์ศักดิ์กล่าว พร้อมบอกว่าพวกเขาจึงต้องกระซิบคุยกันเท่านั้น
นอกจากนี้ ระหว่างที่พงษ์ศักดิ์ถูกกักขัง เขายังได้ยินเสียงสู้รบและเสียงsะเบิดอยู่ทุกคืน “ถ้าวันไหนไม่ได้ยินเสียงsะเบิด มันเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างในชีวิต” เขากล่าว นี่ถือเป็นตัวบ่งบอกอย่างดีว่าเขาถูกกักขังอยู่ในพื้นที่สงคราม
หลังจากการโจมตีของกลุ่มฮามาสในวันที่ 7 ต.ค. 2023 อิสราเอลดำเนินการโจมตีทางอากาศเพื่อ “ล้างแค้น” กลุ่มติดอาวุธจากกาซา โดยมีเสียงsะเบิดดังขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์แรกหลังจากโจมตีของฮามาส
โดยแค่ในช่วงสัปดาห์แรกของการโจมตีโดยอิสราเอล กระทรวงสาธารณสุขที่ดำเนินการโดยกลุ่มฮามาสระบุว่า มียอดผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาจนถึงวันที่ 11 ต.ค. อยู่ที่ 900 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกอย่างน้อย 4,500 คน
ทั้งนี้ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์แรกที่พงษ์ศักดิ์ถูกกักขัง เขาบอกว่าตนเองได้เผชิญกับประสบการณ์เฉียดเสียชีวิตจากแรงsะเบิด
“ตกดึกมีsะเบิดจรวดมาลูกหนึ่ง รู้เลยว่าวิถีที่มันมา ตรงมาหาที่ที่เราอยู่เลย ลูกแรกมาปุ๊บก็คือเฉียดออกไปหน่อยนึง แต่ลูกที่สองมาก็คือรู้เลยว่ามันมาตรงเลย คิดในใจแค่ว่าภาวนาให้มันมาไม่ถึงหรือไม่ก็ให้ข้ามไปนะ แต่ก็เดชะบุญ ตกมาไม่ถึง มาไม่ถึงปุ๊บพอมันแตกsะเบิด ตู้ม กระจกก็พุ่งเข้ามาในห้อง ก็จะมีกระจกที่แตกเป็นสามเหลี่ยมยาวประมาณเท่าแขน มองดูตรงที่กระจกมันหล่นลงมา ถ้าผมนอนอยู่ตรงนั้นมันน่าจะเสียบลงตรงหัว” พงษ์ศักดิ์เล่าให้.ฟัง

พงษ์ศักดิ์บอกกับ.ว่า เขาโชคดีที่ไม่ได้นอนอยู่ตรงนั้น เพราะก่อนเกิดเหตุในวันเดียวกัน ผู้คุมบอกให้เขาเปลี่ยนทิศทางการนอน
สภาพความเป็นในอยู่ใน 1 วันของตัวประกันไทย
“มันก็พออยู่ได้ ไม่ถึงว่าอิ่ม กินแค่พอประทังชีวิต กินไม่ลงเลยก็มี เขาเอาอาหารมาก็นั่งดู กินไม่ลง” นี่คือคำบอกเล่าของพงษ์ศักดิ์ โดยผู้คุมฮามาสจัดหาอาหารให้ตัวประกันไทยวันละ 2 มื้อ คือมื้อเช้าและเที่ยง ส่วนอาหารเย็นนั้นมีไม่บ่อยนัก อีกทั้งอาหารก็มีเพียงไม่กี่เมนู คือขนมปังและชีส หรือต้มถั่ว
ลักษณะอาหารสำหรับตัวประกันที่พงษ์ศักดิ์บอกกับ. สอดคล้องกันกับคำบอกเล่าของ โยเชเวด ลิฟชิตซ์ ตัวประกันหญิงวัย 85 ปี ชาวอิสราเอล ที่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนในช่วงแรก ๆ เมื่อเดือน ต.ค. 2023 “เราทานอาหารแบบเดียวกับที่ฮามาสทาน ขนมปังพิต้า กับชีสและแตงกวา นั่นเป็นอาหารสำหรับทั้งวัน” เธอกล่าว
พงษ์ศักดิ์ยังเล่าถึงช่วงเวลาที่เขาไม่สามารถกินอะไรได้เลย หลังจากถูกจับตัวมาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 เดือน โดยตัวเขาเองก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด “น้ำหนักก็ลดลงไปเยอะอยู่นะ มีช่วงที่ผมเบื่ออาหาร กินอาหารอะไรไม่ได้เป็นสัปดาห์ กินได้แต่น้ำผสมน้ำผึ้ง หนักถึงขั้นตัวเหลือง ผู้คุมก็เลยไปตามหมอมาให้น้ำเกลือไปประมาณ 2-3 วัน” เขากล่าว
สิทธิการได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นดังกล่าวตรงข้ามกับ ประสบการณ์ของ เอมิลี ดามารี วัย 28 ปี หญิงสัญชาติอิสราเอล-อังกฤษ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา
โดยเธอเปิดเผยระหว่างโทรศัพท์พูดคุยกับทำเนียบรัฐบาลอังกฤษว่า เธอถูกปฏิเสธการรักษาพยาบาลระหว่างที่ถูกจับตัวไป แม้ว่าเธอจะถูกยิvที่ขาและแขนข้างซ้าย โดยเธอได้รับเพียงน้ำยาไอโอดีนหมดอายุหนึ่งขวดเท่านั้น เป็นเหตุให้เธอสูญเสียนิ้วมือไปสองนิ้ว

หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ พงษ์ศักดิ์ก็ถูกย้ายไปอยู่ในแคมป์บริเวณชุมชนประมาณ 2 วัน ก่อนจะถูกย้ายไปยังตึก 3 ชั้นในเวลาถัดมา โดยเขาถูกย้ายสถานที่กักขังทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ก่อนได้รับการปล่อยตัว
สถานที่กักขังแต่ละที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่คล้ายคลึงกัน แต่พงษ์ศักดิ์เชื่อว่าสาเหตุในการย้ายสถานที่ของตัวประกันเป็นเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัย “คิดว่าเขาฮามาสน่าจะย้ายตัวประกันไปเรื่อย ๆ เพราะว่าตรงที่ไปอยู่sะเบิดมันจะลง ใกล้เข้ามา ๆ เขาก็จะย้ายเราออกไป ให้เราไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย” เขากล่าว
“ฮามาสบอกว่า พวกเขาจะไม่ให้พวกผมเสียชีวิต เขาบอกว่าถ้าเขาเสียชีวิตไม่เป็นไร แต่พวกผม เขาจะไม่ให้เสียชีวิต” พงษ์ศักดิ์กล่าวถึงสิ่งที่ผู้คุมฮามาสบอกกับตัวประกัน ซึ่งทำให้เขารู้สึกอุ่นใจ
ในระหว่างการกักขัง พงษ์ศักดิ์เล่าว่าเขามีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดห้องพักของตน และแม้ส่วนใหญ่เขาจะปฎิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว แต่ก็มีบางครั้งที่เขาก่อการกบฏเล็กน้อยต่อกลุ่มผู้คุม
พงษ์ศักดิ์เล่าถึงพฤติกรรมต่อต้านของเขาในการไม่ทำความสะอาดห้องและแสดงท่าทีไม่เกรงกลัวต่อผู้คุมว่า “ผมจะทำความสะอาด ผู้คุมก็บอกว่า ‘อย่าเพิ่ง ยังไม่ถึงเวลา' ผมก็บอกให้เขาลุกขึ้นก่อน กวาดเสร็จคุณค่อยมานั่ง ผู้คุมก็บอก ‘อย่าเพิ่ง ยังไม่ถึงเวลา' ผมก็โยนไม้กวาดทิ้งเลย ถึงเวลาทำความสะอาดผมก็ไม่ทำ มันรก ผู้คุมก็กวาดของเขาเอง ผู้คุมก็มองหน้า ผมก็นอนเฉย” พงษ์ศักดิ์เล่าพร้อมหัวเราะออกมา “ปกติผมเองก็เป็นคนบ้าบิ่นเหมือนกันนะ” เขากล่าวเสริม
เขายังเคยเถียงกับผู้คุมเพื่อรักษาสิทธิในการอาบน้ำของตนด้วย โดยพงษ์ศักดิ์เล่าว่าตัวประกันจะได้อาบน้ำทุก ๆ 5 วัน และมันเป็นวันที่เขาตั้งตารอคอย “ครบ 5 วัน ผมก็บอกผู้คุมว่าวันนี้ผมต้องได้อาบน้ำ แต่เขาบอก ‘ยังไม่ถึง 5 วัน' ผมก็ไปนั่งเถียงกับผู้คุมว่าอาบน้ำมาตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ ๆ แล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่ได้อาบ เถียงสู้เขาไม่ได้”
พฤติกรรมการก่อกบฏเล็ก ๆ นี้ คล้ายคลึงกับพฤติกรรมของ อากัม เบอร์เกอร์ วัย 20 ปี ซึ่งเธอเคยเป็นทหารประจำการที่ฐานทัพใกล้กับฉนวนกาซา พ่อของเธอบอกกับบีบีซีนิวซ์ ระหว่างการสัมภาษณ์ว่า อากัมปฏิเสธที่จะทำงานใด ๆ ในวันสะบาโต ซึ่งเป็นวันพักผ่อนของชาวยิว และผู้คุมขังก็ไม่ได้ลงโทษเธอแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ไม่มีกิจกรรมอะไรมากนักที่ตัวประกันสามารถทำได้ในแต่ละวัน สำหรับพงษ์ศักดิ์ เขาฆ่-าเวลาโดยการวาดตารางหมากฮอสลงบนแผ่นกระดาษ และใช้เศษหินเป็นหมากเพื่อเล่นกับเพื่อนร่วมห้องขัง “ก็เอากระดาษที่เป็นลังกระดาษมาเขียนแล้วเล่นหมากฮอส ใช้หินเล่น ไม่มีอะไรให้ทำ” เขากล่าวกับ.

หลังจากถูกกักขังเป็นระยะเวลาเกือบ 8 เดือน พงษ์ศักดิ์ยังคงนับวันจากรอยขีดบนกำแพงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เขารู้ว่าวันไหนคือวันที่ 14 พ.ค. ซึ่งคือวันคล้ายวันเกิดอายุ 36 ปีของเขา
“ช่วงนั้นนับวันอยู่ ขีดข้างผนังเลย นับวัน ๆ 14 พ.ค. ก็วงกลมไว้ บอกผู้คุมว่าผมครบ 36 ปีแล้ว ผู้คุมก็บอกเอาเค้กไหม” พงษ์ศักดิ์เล่าพร้อมเสียงหัวเราะ
แต่กำลังใจในการผ่านในแต่ละวันไปที่แท้จริงของเขาคือ ครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่ประเทศไทย ทุก ๆ วันในห้องขัง พงษ์ศักดิ์พยายามนึกถึงหน้าคุณพ่อและลูกสาววัย 15 ปี “นึกถึงที่บ้านไว้ หน้าพ่อ หน้าลูก ว่ายังไงก็ต้องมีชีวิตอยู่รอดออกไปหาพ่อหาลูกให้ได้ คิดอยู่แค่นั้น” พงษ์ศักดิ์กล่าว
“จะได้กลับออกมาจริง ๆ ไหมเนี่ย”
3 วันก่อนการปล่อยตัวประกันเมื่อปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ผู้คุมได้มาแจ้งกับพงษ์ศักดิ์ว่า เขาเป็นหนึ่งในตัวประกันที่จะได้รับการปล่อยตัว โดยก่อนหน้านี้ผู้คุมเคยบอกพงษ์ศักดิ์ถึง 3 ครั้งว่าเขาจะได้รับอิสรภาพ
ครั้งแรกคือช่วงปลายปี 2023 ซึ่งในเดือน พ.ย. ปี 2023 มีการปล่อยตัวประกันไทยทั้งสิ้นจำนวน 17 ราย และผู้คุมมาบอกพงษ์ศักดิ์อีกครั้งช่วงก่อนวันสงกรานต์ปีที่แล้ว และครั้งที่สามคือเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา แต่พงษ์ศักดิ์ก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว
“2-3 ครั้งก่อนหน้า เขามาบอกให้เรารู้สึกดีใจ แต่ก็ไม่ได้ออกมา พอจะได้ออกมาจริง ๆ เขามาบอก กลายเป็นว่าเรารู้สึกเฉย ไม่ได้รู้สึกอะไรเลย” เขากล่าว
ในการปล่อยตัวประกันครั้งอื่น ๆ พงษ์ศักดิ์ได้รับชมการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์พร้อมกับผู้คุม ทำให้เขาสังเกตได้ถึงความแตกต่างระหว่างการปล่อยตัวประกันครั้งอื่น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคราวของตัวเอง
“ตอนที่เขาฮามาสปล่อยตัวประกันผู้หญิง คนบ้านเขาก็จะไม่มารุมมุงอะไรเยอะขนาดนั้น ใช้ทหารกั้นแค่แถวเดียว แต่ทำไมวันที่พวกผมออกมา มันเยอะจริง ๆ ใช้ทหารกั้นไว้ตั้ง 4 แถวในแต่ละฝั่ง” พงษ์ศักดิ์บอกกับ.
เขามีความกังวลใจหลังเห็นฝูงชนจำนวนมาก รวมถึงเสียงตะโกนดังทั่วทั้งบริเวณการปล่อยตัวประกันเมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา “กังวล ๆ กลัวเลยครับ ว่าจะได้กลับออกมาจริง ๆ ไหมเนี่ย” เขากล่าว โดยตัวประกันคนไทยทั้ง 5 คนต้องนั่งรอในรถนานกว่า 1 ชั่วโมงก่อนถูกปล่อยตัว

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
พงษ์ศักดิ์เล่าถึงความรู้สึกปลอดภัยครั้งแรกหลังถูกจับเป็นตัวประกันเป็นเวลาเกือบ 500 วันว่า คือตอนที่ได้ขึ้นรถตู้ของสหประชาชาติ ที่เตรียมไว้รับตัวประกันเพื่อเดินทางกลับเข้าอิสราเอล “ก้าวแรกที่ก้าวขึ้นรถของสหประชาชาตินะ คิดว่าเรารอดแล้ว เหมือนได้ชีวิตใหม่กลับคืนมาแล้ว” เขากล่าว
หลังจากที่พงษ์ศักดิ์ถูกส่งตัวมายังฝั่งประเทศอิสราเอล ในคืนแรกเขามีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากยังไม่ชินกับเสียงที่เงียบจนเกินไป ต่างกับตอนที่เขาถูกจับเป็นตัวประกันในเขตสงครามฝั่งฉนวนกาซา
“วันแรกที่กลับมาถึงอิสราเอล หมอก็ถามว่านอนหลับดีไหม เราก็บอกว่ายังนอนไม่หลับ หมอก็ถามว่าทำไม เราก็บอกว่ายังไม่ชินกับความเงียบ”
“อยากจะทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้าน”
ปัจจุบันพงษ์ศักดิ์เดินทางกลับมาประเทศไทยและอาศัยอยู่กับพ่อของเขาที่ จ.บุรีรัมย์ โดยเขาหวังจะนำเงินชดเชยที่จะได้รับจากทั้งรัฐบาลอิสราเอลและไทยไปซื้อรถไถนาเพื่อรับจ้างงานเกษตรกรรมในละแวกใกล้บ้าน
“อยากจะทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้าน อยากจะไปซื้อรถไถสักคัน เผื่อพาหลานชายไปรับจ้างเวลาทำไร่ทำนา พอให้มีรายได้อยู่บ้าง” เขาบอก.
เมื่อถามว่าเขาอยากจะกลับไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลหรือประเทศอื่นอีกหรือไม่ พงษ์ศักดิ์ตอบพร้อมกับหัวเราะว่า “ไม่ไปแล้วครับ ลูกสาวไม่ให้ไปแล้ว”
ตอนนี้สภาพร่างกายของพงษ์ศักดิ์ฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติ แม้ช่วงแรกจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออยู่บ้าง จากการไม่ได้ทำงานหรือออกกำลังกายเป็นเวลานาน แต่ในด้านสภาพจิตใจเขาบอกว่ารู้สึกมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น หลังจากถูกจับเป็นตัวประกันนานกว่า 15 เดือน
“ถ้าจะพูดว่าอยากจะทำอะไรก็ทำ นั่นก็ใช่ ชีวิตหนึ่งเหมือนเคยได้ไปอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุด ที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะรอดออกมาหรือเปล่า แล้ววันหนึ่งได้กลับขึ้นมาอยู่ในโลกความเป็นจริงปัจจุบัน รู้สึกทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น” พงษ์ศักดิ์บอกกับ.

ที่มาของภาพ : Paweena Ninbut/ BBC
ทั้งนี้ สภาพจิตใจและร่างกายของอดีตตัวประกันไทยอย่างพงษ์ศักดิ์ แตกต่างกับอดีตตัวประกันชาติอื่น ๆ ที่ออกมาจากกาซา เช่น เอลี ชาราบี ตัวประกันชาวอิสราเอล ที่กลุ่มฮามาสปล่อยตัวออกมาเมื่อต้นเดือน ก.พ. ซึ่งเขาถูกปล่อยตัวออกมาโดยอยู่ในสภาพที่ญาติ ๆ บอกว่า “จำแทบไม่ได้” ชาราบีมีสภาพร่างกายที่ “บอบบาง ผอมแห้งมาก และอิดโรย” และสามารถสังเกตเห็น “ความมืดมิดในดวงตาของเขา ที่ความสดใสดูเหมือนจะหายไป”
อย่างไรก็ตาม สำหรับพงษ์ศักดิ์ เขาไม่ได้รู้สึกว่ามีบาดแผลอะไรในจิตใจและไม่รู้สึกเจ็บปวดกับเหตุการณ์ดังกล่าวอีกต่อไป นี่อาจเป็นเพราะนิสัยส่วนตัวที่ทำให้เขาปล่อยวางอดีตและใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างง่ายดาย
“ผมไม่ค่อยซีเรียสกับเหตุการณ์พวกนั้น การถูกจับไปเป็นตัวประกัน ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยเก็บมาฝังใจ ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป” เขากล่าวทิ้งท้าย
ที่มา BBC.co.uk