
สถานการณ์ “โรคแอนแทรกซ์” น่ากังวลใจแค่ไหน หลังพบผู้เสียชีวิตในไทย ?

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ประกาศwื้นที่ควบคุมโรคระวังแอนแทรกซ์ หลังมีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยันอีก 2 ราย และมีกลุ่มเสี่ยงอีกกว่า 638 ราย ทั้งนี้กรมควบคุมโรค ระบุว่า ผู้เสียชีวิตติดเชื้อจากการชำแหละโค และมีการนำเนื้อโคที่ชำแหละไปแจกจ่ายเพื่อรับประทานกันในหมู่ชาวบ้าน
โรคแอนแทรกซ์ ถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สามารถแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้โดยตรง และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ทั้งนี้ สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหารได้ประสานไปทางกรมปศุสัตว์เพื่อเร่งตรวจสอบพื้นที่ และฉัดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว ขณะที่ประชาชนบางส่วนยังมีความกังวลต่อการแพร่กระจายของโรคแอนแทรกซ์
.รวบรวมข้อมูลล่าสุดของการพบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ในประเทศไทย รวมถึงพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญโรคระบาดถึงการประเมินสถานการณ์ความน่ากังวล และแนวทางการป้องกันโรคนี้
โรคแอนแทรกซ์ คืออะไร ?
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือมีอีกชื่อว่า โรคกาลี คือโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสัตว์กินหญ้าเป็นอาหารแทบทุกชนิด โดยสัตว์พาหะหลักคือ โค กระบือ แพ แกะ โดยสามารถถูกแพร่กระจายไปยังสัตว์ชนิดอื่น ๆ และคนได้ ผ่าน 3 ทางคือ การสัมผัส การรับประทาน และการสูดหายใจเอาสปอร์เข้าไป อย่างไรก็ตาม เชื้อไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
โรคดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus anthracis ซึ่งสามารถพบได้ในดิน น้ำ และพืช โดยเชื้อโรคมีความทนทานสูงต่อสภาพแวดล้อมทั้งความร้อนสูง และความเย็นจัด
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue finding outได้รับความนิยมสูงสุด
of ได้รับความนิยมสูงสุด
อาจาร์ย ดร. สัตวแพทย์หญิง กัญช์ เกล็ดมณี อาจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สาเหตุที่เชื้อโรคดังกล่าวมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูงเนื่องจากลักษณะพิเศษของเชื้อ ซึ่งคือกลไก การสร้างสปอร์ (Spore-forming ) เพื่อห่อหุ้มเชื้อแบคทีเรียให้ทนกับสภาพแวดล้อมได้นานมากขึ้น
“เวลามัน (Bacillus anthracis) เจอสภาพอากาศที่มันไม่ชอบ เชื้อตัวนี้จะเข้าสู่โหมดสปอร์ ระยะสปอร์ที่ห่อหุ้มตัวเชื้อนี้ไว้ ทำให้เชื้อมีความทนทานมาก ๆ ที่น่ากลัวสำหรับเชื้อนี้คือ พอมันทนทานกับสิ่งแวดล้อมมันอยู่ได้นาน และจากข้อมูลที่เรามีตอนนี้ โรคแอนแทรกซ์สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม อยู่ในดิน ได้เป็น 10-20 ปี” อาจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง กัญช์ ระบุ

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
สัตวแพทย์หญิงผู้นี้ กล่าวเสริมด้วยว่า การอยู่ได้นานของเชื้อโรคเป็นเรื่องที่น่ากังวลเพราะอาจทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคได้ พร้อมยกตัวอย่างว่า หากชาวบ้านมีการนำหนังจากสัตว์ที่มีการติดเชื้อแอนแทรกซ์ ไปทำกระเป๋าหนัง ก็อาจทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของเชื้อผ่านผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้
“ธรรมชาติของเชื้อตัวนี้ สปอร์ทนความร้อนได้สูงถึง 140 องศา แปลว่าถ้ากระบวนการแปรรูปใด ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่มันมีสารปนเปื้อน มันไปไม่ถึงอุณภูมินี้ ไปไม่ถึงค่าความดันที่เป็นพาสเจอไรซ์ มันเอาไม่อยู่นะ” เธอ ระบุ
อาการของโรคแอนแทรกซ์มีอะไร
อาการของโรคแอนแทรกซ์ มีหลากหลาย เช่น
- การมีไข้
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปวดท้องรุนแรง
- มีแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้
- หายใจลำบาก
โดยเว็บไซต์ของกรมอนามัยระบุว่า หากมีอาการรุนแรง โอกาสเสียชีวิตมีสูงถึง 80% ทั้งนี้ระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อโรคแอนแทรกซ์ในคนอาจใช้เวลาตั้งแต่ 12 ชั่วโมง ถึง 7 วัน ก่อนแสดงอาการ ต่างกันกับระยะฟักตัวของเชื้อในสัตว์ที่เกิดขึ้นได้เร็ว
อาจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวกับ.ว่า ระยะเวลาการแสดงอาการของโรคแอนแทรกซ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับเชื้อ และ เส้นทางการแพร่เชื้อ
“ในบางคนที่ร่างกายภูมิคุ้มกันอาจต่ำหน่อย หรือมีโรคประจำตัว ระยะฟักตัวอาจจะไม่ถึงหนึ่งวัน อาจเป็นครึ่งวัน หรือ 12 ชั่วโมงก็เป็นไปได้ และเส้นทางการได้รับเชื้อก็สำคัญมาก” เธอกล่าว พร้อมเสริมด้วยว่า การติดเชื้อผ่านการหายใจ เป็นช่องทางที่อันตรายที่สุด “การแพร่เชื้อผ่านทางเดินหายใจ เป็นเร็วสุด คำว่าเร็วสุดคือ เป็นแรงสุด เสียชีวิตเร็วสุด”
นอกจากนี้ เธออธิบายด้วยว่าอาการที่เกิดขึ้นจากโรคแอนแทรกซ์ สามารถบ่งบอกเส้นทางการได้รับเชื้อโรคได้ เช่น การมีแผลคล้ายรอยบุหรี่จี้บริเวณผิวหนัง คือลักษณะการติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง หรือหากติดเชื้อผ่านทางการรับประทาน อาจเกิดการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวปนเลืoด และหากเป็นการติดเชื้อจากการหายใจ อาการก็จะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเช่น การไอ หรือหายใจติดขัด

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
โดยกรมควบคุมโรคยังได้ระบุลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่ติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ เพื่อให้ประชาชนระวังไว้ด้วย เช่น
- มีไข้สูง ประมาณ 42 องศาเซลเซียส
- ไม่กินหญ้า แต่ยืนเคี้ยวเอื้อง
- มีเลืoดปนน้ำลายไหลออกมา
- ยืนโซเซ หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก แล้วเสียชีวิตในที่สุด
- อาการบวมน้ำ ถ่ายอุจจาระเป็นเลืoด
โดยสัตว์บางตัวอาจไม่แสดงอาการให้เห็น แต่เสียชีวิตเร็ว และเมื่อสัตว์เสียชีวิตจะพบว่ามีเลืoดออกทางปาก จมูก ทวารหนัก อวัยวะเพศ เป็นเลืoดสีดำ ไม่แข็งตัว กลิ่นคาวจัด ซากนิ่ม และเน่าเร็ว
สถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ในไทยตอนนี้เป็นอย่างไร ?
นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีผู้เสียชีวิตด้วยโรคแอนแทรกซ์ ผ่านประกาศของกรมควบคุมโรค เมื่อวานนี้ (1 พ.ค.) ว่า ผู้ป่วยคือชายวัย fifty three ปี โดยติดเชื้อจากการชําแหละโคในงานบุญผ้าป่าและมีการนำเนื้อโคที่ชําแหละไปแจกจ่ายให้รับประทานกันภายในหมู่บ้าน และผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน และมีตุ่มแผลขึ้นบริเวณมือข้างขวาเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ก่อนได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 27 เม.ย. ก่อนอาการแผลที่มือเริ่มมีสีดำชัดเจนขึ้น ต่อมน้ำเห-ืองใต้รักแร้ข้างขวาโต และมีอาการหน้ามืด ชักเกร็ง ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ถัดมา เจ้าหน้าที่ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ได้ออกประกาศเรื่อง มาตรการควบคุมโรคเมื่อวันที่ 30 เม.ย. โดยระบุ ห้ามการฆ่-าสัตว์ โดยเฉพาะ โค กระบือ ในช่วงงานบุญบั้งไฟ ทุกกรณี และได้มีการเปิดศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค เพื่อตรวจเชื้อโรคแอนแทรกซ์ บริเวณโรงพยาบาลในพื้นที่ รวมถึงให้มีการตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในการลัดลอบขนโค กระบือ และแพะออกจากพื้นที่
ขณะที่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดมุกดาหาร ออกรายงานสถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ วันนี้ (2 พ.ค.) ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย ผู้ป่วยเข้าข่ายที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 3 ราย และผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยมีกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัส รวม 638 ราย แบ่งออกเป็นผู้ร่วมชำแหละเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อ 36 ราย ผู้รับประทานเนื้อดิบ 472 ราย และผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ชำแหละ 130 ราย ทั้งนี้ผู้สัมผัสได้รับยาป้องกันโรคครบแล้วทุกราย

ที่มาของภาพ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคในสัตว์ได้ทำการประเมินจำนวนโคที่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งมีจำนวน 1,222 ตัว โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหารจะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ปัจจุบันทางการในพื้นที่ได้มีการพ่นน้ำยาฆ่-าเชื้อบริเวณจุดเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีการเก็บตัวอย่างสัตว์เพื่อส่งตรวจผลหาเชื้อ และยังรอผลดังกล่าวอยู่
นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา ก็ได้ออกประกาศเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อดิบ หรือไม่ปรุงให้สุก และห้ามการชำแหละหรือสัมผัสสัตว์ที่เสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ และเตือนให้สังเกตอาการของสัตว์ที่อาจติดเชื้อแอนแทรกซ์ อีกด้วย
ความเสี่ยงที่จะระบาดเป็นวงกว้างมีแค่ไหน ?
“ถ้ามุมมองของประชาชนทั่วไป ความเสี่ยง (ติดเชื้อ) ต่ำ..โอกาสที่เราจะสัมผัสเชื้อ จริง ๆ แล้วมาจากเพียงผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น” อาจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง กัญช์ ประเมินสถานการณ์ความน่ากังวลของการแพร่กระจายของโรคแอแทรกซ์ว่ายังไม่อยู่ในขั้นที่ไม่น่าวิตก
เธอ กล่าวเสริมว่าการประเมินความเสี่ยงสามารถมองได้ 2 มุมคือ
- ความเสี่ยงในระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเสี่ยงสูง เนื่องจากต้องสัมผัสกับสัตว์ หรือสภาพแวดล้อมที่อาจติดเชื้อ รวมถึงอาจต้องกำจัดซากสัตว์
- ความเสี่ยงในฐานะประชาชนทั่วไป ที่อาจได้รับเชื้อจาก อาหาร และผลิตภัณฑ์สัตว์ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวว่า โรคนี้เป็นโรคที่ประชาชนไม่คุ้นเคยแต่มีอันตรายถึงชีวิตได้
“ต่อให้มัน (โรคแอนแทรกซ์) พบไม่บ่อย แต่ว่าเกิดแล้วอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะต้องขีดเส้นใต้เลยนะ กรณีของคนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยทันท่วงที”

ที่มาของภาพ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
ทั้งนี้ประเทศไทยเคยพบการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 บริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งพบผู้ป่วย 2 คน ซึ่งติดเชื้อจากการถลกหนังแพะด้วยมือเปล่า แต่ได้เข้ารับการรักษาจนหาย
ขณะที่ด้าน สัตวแพทย์หญิงผู้นี้ ระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้สัตว์ แต่จะมีการฉีดก็ต่อเมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคแล้วเท่านั้น ดังนั้นผู้เลี้ยงสัตว์ที่เป็นพาหะ ควรรักษาสุขอนามัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ป่วย เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น
“ถ้าเห็นสัตว์ตัวไหนป่วย ต้องหลีกเลี่ยง พยายามไม่ไปจับมัน ทุกวันที่เราเลี้ยงสัตว์ ล้างมือ และอาบน้ำให้สะอาดทันทีหลังสัมผัส ก็จะช่วยป้องกันเชื้อที่จะเผลอมาติดตามเล็บ เข้าแผล เข้าปากเราได้” เธอกล่าว
ขณะที่ผู้บริโภค ประชาชน ทั่วไปก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์จากร้านที่ได้มาตรฐาน โดยอาจสังเกตจากสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” เลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ดิบ และชาวบ้านไม่ควรฆ่-าสัตว์ด้วยตนเอง แต่ส่งไปโรงฆ่-าสัตว์ที่ผ่านมาตรฐาน
“กลุ่มที่เราเป็นห่วงคือ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่เชือดสัตว์หลังบ้าน เช่น กรณี อ.ดอนตาล ซึ่งเป็นบริบทของพื้นที่ เราเข้าใจแต่ต้องสื่อสารให้เขาระมัดระวังเช่นกัน”
ซึ่งในมุมมองของ ดร. สพ.ญ. กัญช์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ และสาธารณสุข ของประเทศไทย มีความสามารถที่จะควบคุมโรคได้ แต่ความรู้และความเข้าใจของคนในพื้นที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน
“พฤติกรรมการบริโภคของดิบ ของสุกของคนไทย ยังต้องยอมรับว่าเป็นวัฒนธรรมของพื้นบ้าน แล้วสาธารณสุขในพื้นที่รณรงค์เท่าไหร่ เขาก็กุมขมับ เพราะแก้ไม่ได้ มันแก้ยาก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญว่า จริง ๆ ป้องกันได้ แต่พฤติกรรมที่มีค่านิยมแบบนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อแอนแทรกซ์อยู่” เธอแสดงทัศนะกับ.
ที่มา BBC.co.uk