
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Name Studies พบว่า “แฮนยอ” นักดำน้ำหญิงบนเกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้ มียีนพิเศษที่ช่วยให้พวกเธอทนต่ออากาศหนาวและแรงดันใต้น้ำได้ดี
.
ทีมนักวิจัยได้เปรียบเทียบจีโนมของแฮนยอจำนวน 30 คน กับผู้หญิงเชจูทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักดำน้ำ และผู้หญิงในกรุงโซลอีก 30 คน โดยทดสอบทั้งข้อมูลพันธุกรรมและปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาระหว่างการกลั้นหายใจในน้ำเย็น
.
ผลปรากฏว่า ชาวเชจูมียีนที่เกี่ยวข้องกับการทนความหนาวและการควบคุมความดันโลหิต เช่น ซาร์โคไกลแคน ซึ่งช่วยให้หลอดเลืoดหดตัวได้เหมาะสมเมื่ออยู่ในน้ำเย็น และ Fcγ receptor IIA ที่พบในผู้หญิงเชจูถึง 1 ใน 3 ขณะที่ในแผ่นดินใหญ่มีเพียง 7% ยีนนี้มีบทบาทสำคัญในการลดการอักเสบของหลอดเลืoดและช่วยรักษาความดันขณะดำน้ำลึก
.
ไม่เพียงเท่านั้น ผลวิจัยยังพบว่า แฮนยอยังแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวทางร่างกายที่ชัดเจน เช่น อัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าคนทั่วไปเมื่อดำน้ำ ซึ่งเป็นผลของการฝึกฝนมายาวนาน
.
“แม้คุณจะมียีนพิเศษ แต่ถ้าไม่ได้ฝึกอย่างต่อเนื่อง ความอดทนของคุณก็จะไม่เทียบเท่าแฮนยอได้” ดร. เมลิสสา อิลาร์โด หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว
.
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://ngthai.com/science/77673/haenyeos-gene/
.
#NationalGeographicThailand
สตรีแห่งท้องทะเล นักดำน้ำกลุ่มนี้ที่เรียกกันว่า ‘แฮนยอ’ นั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หลากหลาย แต่ทั้งหมดเป็น…..
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's