ยอดผู้ป่วยโควิด-19 สูงเกิน 20,000 ราย ในสัปดาห์เดียว ทำไมการระบาดเพิ่มขึ้นช่วงนี้ และน่ากังวลแค่ไหน ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos

ยอดผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในช่วงวันที่ 4-10 พ.ค. ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นสูงถึง 20,529 ราย และมีผู้เสียชีวิตอีก 6 ราย ขณะที่ยอดผู้ป่วยโรคดังกล่าวของสัปดาห์แรกในเดือน เม.ย. อยู่ที่เพียง 1,131 รายเท่านั้น และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของตัวเลขผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนรู้สึกตื่นตัวถึงการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโรคดังกล่าวอีกครั้ง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ.ว่า อาการของโรคโควิด-19 มีความรุนแรงลดลงหลังเกิดขึ้นมาเข้าสู่ปีที่ 6 โดยสังเกตได้จากการลดลงของอัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยรายโรค หรือ case fatality possibility (CFR)

“อัตราการเสียชีวิตใน 3 ปีแรกที่มีการระบาดของโรค ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 ราย… แต่หลังจากนั้นอัตราการเสียชีวิตก็ลดลงจนมาปีที่ 2567 อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 220 คน” นายแพทย์จากจุฬาฯ อธิบาย

อย่างไรก็ตาม รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นย้ำกับ.ว่า ความอันตรายของโรคดังกล่าวยังมีอยู่และการการระบาดของโรคโควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่ “น่ากังวล เพราะว่าเราเห็นตัวเลขการป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ”

เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ “XEC” คืออะไร ทำไมแพร่กระจายได้เร็ว ?

เชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน XEC ถูกพบครั้งแรกในประเทศเยอรมนีเมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว และหลังจากนั้นก็พบรายงานผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และอีกหลายประเทศ

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

Discontinue of ได้รับความนิยมสูงสุด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (Center for Clinical Genomics) ระบุว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์ XEC เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ซึ่งมาจากลูกหลานของสายพันธุ์ JN.1 ซึ่งเกิดการระบาดขึ้นเมื่อต้นปี 2566 โดยมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนเพียงเล็กน้อย และมีการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้น โดยศาสตราจารย์ฟรองซัวส์ บาลู ผู้อำนวยการสถาบันพันธุศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน กล่าวกับบีบีซี นิวส์ว่า สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน XEC จะมี “ความได้เปรียบเล็กน้อยในการแพร่กระจาย” เหนือกว่าสายพันธุ์โควิดล่าสุดอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุเกี่ยวกับ อาการของโควิดสายพันธุ์ XEC ว่ามีอาการคล้ายกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ เช่น มีไข้ ไอ และสูญเสียการรับกลิ่น โดยก่อนหน้านี้ ศ.นพ.ยง ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า เชื้อโควิด-19 ที่พบในประเทศไทยขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ XEC ซึ่ง “มีอาการน้อย แต่แพร่กระจายได้ จึงเป็นเหตุให้มีการแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว”

ในการให้สัมภาษณ์กับ. ศ.นพ.ยง ระบุว่าฝนที่ตกชุกและฤดูฝนที่มาค่อนข้างเร็วเป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

“ปีนี้เป็นปีที่มีฝนตกชุก ฤดูฝนมาค่อนข้างเร็ว โรคติดเชื้อทางเดินหายใจชอบฤดูฝนอยู่แล้ว ก็เลยทำให้ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ปีนี้มาเร็ว และจำนวนผู้ป่วยก็เพิ่มมากขึ้น มากกว่าปีที่แล้วพอสมควรเลยทีเดียว” เขากล่าว

ที่มาของภาพ : Getty Photos

โควิด-19 ความรุนแรงลดลงจริงไหม แพทย์เตือนยังสามารถมีอันตรายถึงชีวิต

“การระบาดใหญ่ทั่วโลกของสายพันธุ์ JN.1 ซึ่งเริ่มระบาดต้นปี 2024 เป็นต้นมา หลังจากการระบาดมีการทดสอบศึกษาหลายงานวิจัยทั่วโลกที่ชี้ให้เห็นว่าความรุนแรงของมัน เช่น อัตราการลงปอด อัตราการทำให้เสียชีวิต มันดูลดลงกว่าตัวสายพันธุ์ก่อนหน้านี้” รศ.นพ.ธีระ กล่าวกับ. ถึงความรุนแรงที่ลดลงของโรคโควิด-19 พร้อมเสริมด้วยว่า การที่ “สายพันธุ์ของไวรัสมักมีการเปลี่ยนแปลงกันไปเรื่อย ๆ เพราะพยายามจะหลบหลีกภูมิคุ้มกัน” เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดลง

ด้าน ศ.นพ.ยง ก็ระบุด้วยว่า การมีวิวัฒนาการของไวรัสเพื่อความอยู่รอดของตัวมันเอง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลง “ไวรัสจะอยู่รอดได้ก็ต้องลดความรุนแรงของโรคลง เพื่อให้อยู่รอดและปรับตัวให้เหมาะสมอยู่กับมนุษย์” โดยเชื้อไวรัสของโควิด-19 ก็มีการปรับตัวดังกล่าวเช่นกัน

นอกจากนี้ การได้รับวัคซีนและการมีภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังร่างกายเคยได้รับเชื้อโควิด-19 ก็เป็นอีกสาเหตุที่ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดน้อยลง

“ประชากรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเคยติดเชื้อไปแล้ว แล้วก็มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากการติดเชื้อ ร่วมกับประชากรจำนวนหนึ่งได้รับวัคซีน เพราะฉะนั้นภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อและภูมิต้านทานร่วมที่เกิดจากการได้รับวัคซีน จึงเป็นภูมิต้านทานลูกผสม เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โรคต่าง ๆ มีความรุนแรงน้อยลง” ศ.นพ.ยง กล่าวกับ.

ที่มาของภาพ : Getty Photos

นอกจากนี้ รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า การที่สังคมเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคโควิด-19 ว่าใกล้เคียงกับความรุนแรงของไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่นั้น “คำตอบทางการแพทย์คือไม่จริงเลย”

รศ.นพ.ธีระ อธิบายว่า “หากเทียบโควิดกับไข้หวัดใหญ่ ทุกคนอาจเคยเป็นไข้หวัดใหญ่และรู้ว่ามันทรมาน และเชื้อสามารถลงปอดและทำให้เสียชีวิตได้ แต่ข้อมูลปัจจุบันเรายังยืนยันว่าถ้าเทียบกันตัวต่อตัวแล้ว โควิดมีอัตราการป่วยเสียชีวิตสูงกว่าไข้หวัดใหญ่หลายเท่า”

เขาเสริมด้วยว่า แม้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง แต่ประชาชนไม่ควรเพิกเฉยถึงความอันตรายของมัน “ความรุนแรงของตัวเชื้อดูจะลดลง แต่มันไม่ได้การันตีว่าคนที่ติดเชื้อแล้วจะรอดเสมอไป”

เช่นเดียวกับ ศ.นพ.ยง ที่เกรงว่าความรุนแรงที่ลดลงของโรคโควิด-19 จะทำให้ประชาชนผ่อนปรนในเรื่องการเฝ้าระวังการระบาดของโรค “ความรุนแรง ที่ลดลง ของโรคโควิด-19 ทำให้ทุกคนไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่ ตอนนี้ถ้าเราตรวจเจอ 2 ขีด ทุกคนก็ไม่ตื่นเต้น ถ้าเป็นตอนแรก ๆ ตรวจพบ 2 ขีด ทุกคนต้องไปกักตัว 14 วัน ก็ไม่มีใครอยาก”

วัคซีนที่เคยฉีดยังป้องกันโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ได้ไหม ต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่ ?

รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า “วัคซีนรุ่นก่อน ๆ โอกาสที่ภูมิคุ้มกันจะมีอยู่และเพียงพอในการป้องกันสายพันธุ์ใหม่ ๆ นั้นน้อย” พร้อมเสริมว่าสาเหตุมีสองประการ คือ

  • ภูมิที่ได้รับจากวัคซีนจะคงอยู่ในช่วง 7-9 เดือนแรก และจะเริ่มอ่อนลงไป ต่ำกว่าระดับที่จะสามารถป้องกันและจัดการกับตัวเชื้อโรคได้
  • วัคซีนรุ่นก่อน ๆ ออกแบบมาสำหรับโควิดสายพันธุ์ในอดีต และการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ใหม่ ๆ ทำให้เชื้อดื้อต่อภูมิคุ้มกันเดิม

อย่างไรก็ตาม เมื่อ.ถามถึงความจำเป็นในการฉีดกระตุ้นวัควีนโรคโควิด-19 ทาง ศ.นพ.ยง กล่าวว่า “วัคซีน หากจะใช้ เราอยากจะให้ใช้ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่เราคิดว่าเขาไม่มีภูมิ หรือมีภูมิต่ำ ไม่เคยได้รับวัคซีนมาเลย” พร้อมเสริมด้วยว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีผลข้างเคียงมาก และมีราคาที่สูง ดังนั้นความจำเป็นในการฉัดวัคซีนในทัศนะของ ศ.นพ. ยง นั้น “น้อยลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้วัคซีนในอุดมคติหมายถึงว่า ฉีดแล้วต้องไม่มีไข้ ต้องการันตีในเรื่องความปลอดภัย และมีก็มีราคาถูก”

ด้าน รศ.นพ.ธีระ ยืนยันกับ.ว่า แม้วัคซีนป้องกันโรคโควิดจะมีราคาที่สูงกว่าวัคซีนตัวอื่น ๆ แต่ก็มีความคุ้มค่าในแง่ของสุขภาพ

“มีงานวิจัยเกี่ยวกับวัคซีน โรคโควิด-19 แล้วว่ามันคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง หากเราไม่ได้ไปเทียบราคากับตัววัคซีนอื่นเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้มานาน และผลิตมาเยอะ ราคาจึงถูก… แต่ความคุ้มค่า เราจะเทียบกับผลลัพธ์ทางสุขภาพ เพราะฉะนั้น ยืนยันว่าวัคซีนโควิดเองมีความคุ้มค่า” เขาระบุ

ที่มาของภาพ : Getty Photos

ต้องกังวลแค่ไหน ป้องกันได้อย่างไร ?

“ตัวเลขมันก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับ… จึงเป็นเหตุผลที่พยายามจะออกมากระตุ้นเตือนประชาชนให้รู้เท่าทันสถานการณ์” รศ.นพ.ธีระ กล่าวกับ. เมื่อถูกถามถึงระดับความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย

เขาย้ำด้วยว่า เมื่อครั้นมีฤดูกาลที่มีความเสี่ยงของการระบาดของเชื้อโรค เช่น ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม เทศกาลสงกรานต์ หรือช่วงหยุดยาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดก็จะพุ่งสูงขึ้น ประชาชนควรเฝ้าสังเกตอาการของตน หากมีอาการป่วยควรรีบตรวจเช็ค และรักษาตามอาการ รวมถึงพยายามอยู่ห่างคนที่มีอาการไม่สบายเพื่อลดการแพร่ระบาด

ด้าน ศ.นพ.ยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ตัวเลขของผู้ป่วยโรคโควิดที่สูงสะท้อนให้เห็นว่า “เราขาดแคลนความระมัดระวัง” และแม้การแพร่ระบาดครั้งนี้คงไม่นำไปสู่การ “ปิดโรงเรียน ปิดบ้าน ปิดเมือง” แต่ประชาชนควรให้ความสนใจในเรื่องการลดการระบาดของโรค โดยการล้างมือบ่อย ๆ รักษาสุขอนามัย ใส่หน้ากากอานามัย เมื่อเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่มาก เช่น รถไฟฟ้า และหากทำได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ชุมชนคนหมู่มาก

ศ.นพ.ยง กล่าวสรุปว่าการตระหนักรู้ของประชาชน และการรณรงค์ให้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำได้ง่ายที่สุดเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19

“คนเรารู้แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ถ้าถามว่ารู้ไหมว่าล้างมือจะช่วย รู้ แต่จะรณรงค์อย่างไรให้ประชาชนมีความตระหนักเหมือน 5 ปีที่แล้ว” เขากล่าวสรุป