ชาวกาซากำลังตกอยู่ในวิกฤตความอดอยากหรือไม่ หลังมีคำเตือนด้านความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับสูงสุด

ที่มาของภาพ : Ramez Habboub / GocherImagery / Future Publishing through Getty Photographs

Article data

  • Author, มาเรีย แซคคาโร
  • Purpose, บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

รายงานประเมินที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหประชาชาติเปิดเผยว่า ผู้คนในฉนวนกาซาทั้งหมดกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะประสบภาวะอดอยาก

รายงานฉบับล่าสุดเกี่ยวกับ การจัดลำดับระยะความอดอยาก (Constructed-in Food Security Share Classification – IPC) ระบุว่า ชาวกาซาราว 2.1 ล้านคน ต้องเผชิญกับสภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับขั้นสุด ในห้วงเวลาที่การปิดล้อมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอิสราเอลในเขตฉนวนกาซายังคงดำเนินต่อไป

รายงานดังกล่าวได้อธิบายว่า สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร “แย่ลงอย่างมาก” นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2024 แต่ก็ได้สรุปด้วยว่า สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่ถือว่าเกิดภาวะอดอยาก (ตามเกณฑ์ของการจัดลำดับระยะความอดอยาก)

สำหรับการจัดลำดับระยะความอดอยากได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานของสหประชาชาติที่ชื่อว่า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Group – FAO) ซึ่งอธิบายว่ารายงานดังกล่าวมีขึ้นเพื่อการสื่อสาร “ระดับความร้ายแรงของภาวะความไม่มั่นคงทางอาหาร รวมทั้งทุพโภชนาการในประเทศต่าง ๆ และภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก”

เจ้าหน้าที่อิสราเอลปฏิเสธว่า ในฉนวนกาซาไม่ได้กำลังเผชิญกับวิกฤตด้านความหิวโหย เนื่องจากมีการลำเลียงความช่วยเหลือเข้าไปเป็นจำนวนมากในช่วงสองเดือนที่มีการหยุดยิvซึ่งล้มเหลว

นิยามของคำว่า “ความอดยาก” เป็นอย่างไร และจะถูกประกาศเมื่อใด ?

“ความอดอยาก” เกิดขึ้นเมื่อประเทศหนึ่งประสบปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง จนประชากรเกิดภาวะทุพโภชนาการ อดอาหาร หรือเสียชีวิต

โดยทั่วไป สถานะดังกล่าวจะได้รับการประกาศโดยสหประชาชาติ บางครั้งเป็นการประกาศร่วมกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ และมักจะประกาศร่วมกับองค์กรช่วยเหลือระหว่างประเทศหรือหน่วยงานด้านมนุษยธรรมอื่น ๆ

การประเมินว่าเข้าเกณฑ์ “ความอดอยาก” แล้วหรือไม่ จะใช้เกณฑ์ของสหประชาชาติที่เรียกว่า การจัดลำดับระยะความอดอยาก (Constructed-in Food Security Share Classification – IPC)

การจัดระดับภาวะขาดแคลนอาหารของประเทศ (หรือความไม่มั่นคงทางอาหาร) แบ่งเป็น “ระยะ” ของความรุนแรง 5 ระยะ โดยระยะอดอยากเป็นระยะที่ 5 ซึ่งรุนแรงที่สุด

การจะประกาศ “ภาวะอดอยาก” อย่างเป็นทางการ จะต้องเกิด 3 เรื่องนี้ก่อนในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย

  • อย่างน้อย 20% ของครัวเรือนเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง
  • อย่างน้อย 30% ของเด็กต้องประสบภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน
  • ผู้ใหญ่ 2 คนหรือเด็ก 4 คนต่อประชากร 10,000 คนเสียชีวิตทุกวัน “เนื่องจากอดอาหารอย่างหนัก หรือจากภาวะทุพโภชนาการและโรคภัยร่วมกัน”

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

สถานการณ์ด้านอาหารและความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ในกาซาเป็นอย่างไร

ตามรายงานการจัดลำดับระยะความอดอยากที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 พ.ค.) ในปัจจุบัน มีผู้คนราว 244,000 คนในกาซา ที่กำลังเผชิญกับสภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในระดับรุนแรงที่สุด หรือ “ระดับหายนะ”

รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า การหยุดยิv 2 เดือนระหว่างอิสราเอลและฮามาส “ส่งผลให้มีการผ่อนปรนชั่วคราว” ในฉนวนกาซา แต่การสู้รบที่ปะทุขึ้นใหม่และการปิดกั้นความช่วยเหลือโดยอิสราเอล ที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ได้ทำให้สถานการณ์ “พลิกกลับ” ลงไปแย่ลงเช่นเดิม

อิสราเอลได้กลับมาปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซาอีกครั้งในช่วงกลางเดือน มี.ค. และได้ปิดกั้นไม่ให้มีการลำเลียงอาหาร ยา และความช่วยเหลืออื่น ๆ เข้าสู่ฉนวนกาซาเป็นเวลา 70 วัน โดยระบุว่า อิสราเอลกำลังกดดันให้ฮามาสปล่อยตัวตัวประกันที่เหลืออยู่

รายงานการจัดลำดับระยะความอดอยาก ระบุว่าประชาชนครึ่งล้านคน หรือหนึ่งในห้าคน กำลังเผชิญกับภาวะอดอาหารในฉนวนกาซา โดยระบุเพิ่มเติมว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเกือบ 71,000 คน คาดว่าจะขาดสารอาหารอย่างรุนแรงในช่วง 11 เดือนข้างหน้าจนถึงเดือน เม.ย. 2026

รายงานนี้ระบุว่า เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เทียบกับการวิเคราะห์ในเดือน ต.ค. 2024 แสดงให้เห็นถึง “ความเสื่อมโทรมครั้งใหญ่ของวิกฤตอาหารและโภชนาการที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งและเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานของมนุษย์ที่ไม่อาจบอกเล่าได้”

นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์อีกด้วยว่า ประชากร 1.95 ล้านคน หรือ 93% ของประชากรในกาซา กำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารรุนแรง โดย 244,000 คนประสบปัญหานี้ในขั้น “หายนะ”

ที่มาของภาพ : Abed Rahim Khatib/Anadolu through Getty Photographs

กฎหมายระหว่างประเทศกล่าวถึงเรื่องความอดอยากไว้อย่างไรบ้าง ?

ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาเจนีวา ระบุว่า ห้ามใช้ความอดอยากของประชาชนพลเรือนเป็นหนึ่งวิธีการทำสงคราม

สหประชาชาติกล่าวว่า อิสราเอลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศในการจัดหาเสบียงให้แก่ประชาชนในฉนวนกาซา ซึ่งเกือบทั้งหมดต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่น ขณะที่อิสราเอลระบุว่า ได้ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และระบุด้วยว่าความช่วยเหลือไม่ได้ขาดแคลน

อย่างไรก็ตาม มีการประณามในระดับนานาชาติต่อมาตรการปิดล้อมของอิสราเอล ซึ่งสหประชาชาติระบุว่า พวกเขาได้เตรียมเสบียงสิ่งของความช่วยเหลือไว้ที่จุดข้ามแดนของกาซาแล้ว และพร้อมที่จะส่งเข้าไป หากว่าอิสราเอลอนุญาต หน่วยงานด้านความช่วยเหลือต่าง ๆ ระบุว่า การปิดล้อมดังกล่าวอาจถือว่าเป็นอาชญกรรมสงครามได้ และเทียบเท่ากับการดำเนินนโยบายเพื่อทำให้เกิดการอดอยาก

ฟิลิปเป ลาซซารินี ผู้อำนวยการองค์กรบรรเทาทุกข์และจัดหางานแห่งสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ (UNRWA) บอกกับบีบีซีว่า “ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า พวกเรากำลังพูดคุยกันเกี่ยวกับความโหดร้ายครั้งใหญ่ แต่มันเป็นการฆ่-าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่ ? เรื่องนี้อาจจะลงเอยด้วยการฆ่-าล้างเผ่าพันธุ์ได้”

การฆ่-าล้างเผ่าพันธุ์ สามารถนิยามได้ว่าคือการทำลายล้างกลุ่มชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทั้งหมดหรือบางส่วน

ด้านอิสราเอลกล่าวปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อข้อกล่าวหาที่ว่า พวกเขามีเจตนาฆ่-าล้างเผ่าพันธุ์หรือทำอาชญากรรมสงครามในกาซา พร้อมกล่าวย้ำว่า พวกเขากำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์ในพื้นที่

อิสราเอลยังระบุอีกด้วยว่า มีรถบรรทุกมากกว่า 25,000 คัน บรรทุกสินค้าเกือบ 450,000 ตัน ได้เข้าสู่ฉนวนกาซาแล้วในช่วงการหยุดยิv

ที่มาของภาพ : Israel Protection Forces / Anadolu through Getty Photographs

อีแดน อเล็กซานเดอร์ ได้เข้าสู่อ้อมอกครอบครัวอีกครั้งในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกันในกาซาเป็นเวลา 19 เดือน

อิสราเอลกล่าวหาว่า กลุ่มฮามาสได้ปล้นสะดมและกักเก็บสิ่งของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อนำไปให้นักรบกลุ่มฮามาส หรือไม่ก็ขายเพื่อนำเงินมาเป็นทุน ด้านสหประชาชาติและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ปฏิเสธว่า ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไม่ได้ถูกนำออกไปนอกเส้นทาง พร้อมกับระบุว่า มีกลไกตรวจสอบอย่างเข้มงวด

รายงานฉบับดังกล่าวของสหประชาชาติได้รับการเผยแพร่ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่กลุ่มฮามาสปล่อยตัว อีแดน อเล็กซานเดอร์ ตัวประกันชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิv กลุ่มฮามาสระบุว่า พวกเขามีเจตนาที่จะอำนวยความสะดวกให้เกิดข้อตกลงเพื่อเปิดทางให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าสู่กาซา

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?

กองทัพอิสราเอลได้เปิดฉากปฏิบัติการเพื่อทำลายล้างกลุ่มฮามาสเพื่อตอบโต้การโจมตีข้ามพรมแดนแบบที่คาดไม่ถึงเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2023 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 1,200 รายและอีก 251 รายถูกจับเป็นตัวประกัน (ในขณะนั้น)

มีรายงานว่า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซากว่า 52,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 2,700 ราย ที่เกิดขึ้นภายหลังการกลับมาปฏิบัติการทางทหารอีกครั้งของอิสราเอล ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่ควบคุมโดยกลุ่มฮามาส ที่รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ข้อตกลงหยุดยิvระยะแรก (จากทั้งหมดที่กำหนดให้มีสามระยะ) มีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค. โดยฮามาสปล่อยตัวประกัน 33 คน เพื่อแลกกับการที่อิสราเอลปล่อยนักโทษชาวปาเลสไตน์ประมาณ 1,900 คน และอนุญาตให้ความช่วยเหลือและสินค้าอื่น ๆ เข้าสู่ฉนวนกาซาได้

เมื่อการสู้รบยุติลงและชาวกาซาที่พลัดถิ่นหลายพันคนกลับบ้าน ฮามาสและอิสราเอลเคยมีกำหนดจะเริ่มการเจรจาเพื่อเริ่มข้อตกลงหยุดยิvระยะที่สอง

ที่มาของภาพ : Mahmoud Issa / Anadolu through Getty Photographs

ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าการเจรจาระยะที่สองจะรวมถึงการปล่อยตัวประกันที่เหลือทั้งหมด รวมถึงการถอนกำลังทหารอิสราเอลทั้งหมดออกจากฉนวนกาซา ซึ่งจะนำไปสู่การยุติสงครามอย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงระยะแรกสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มี.ค. แต่การเจรจาในระยะต่อมากลับยังไม่มีความคืบหน้า

ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลอิสราเอลได้อนุมัติแผนเพื่อการขยายปฏิบัติการรุกทางทหารในเขตฉนวนกาซา รวมทั้งยึดครองดินแดนเพิ่มเติม

นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลกล่าวว่า คณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของอิสราเอลได้ตัดสินใจใช้ “ปฏิบัติการอันทรงพลัง” เพื่อทำลายกลุ่มฮามาสและช่วยเหลือตัวประกันที่เหลือ ในเวลาเดียวกันกับที่มีการเคลื่อนย้ายผู้คนในกาซาราว 2.1 ล้านคนออกไปเพื่อปกป้องพวกเขา

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวดังกล่าวกลับจุดประเด็นความกังวลและการถกเถียงในระดับนานาชาติเกี่ยวกับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น