
ทำความรู้จัก ‘โกลเดนโดม' ระบบป้องกันขีปนาวุธ ที่ทรัมป์ให้คำมั่นว่าจะสร้างเสร็จก่อนหมดวาระ

ที่มาของภาพ : Reuters
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำมั่นสัญญาว่าระบบป้องกันขีปนาวุธ “โกลเดนโดม” (Golden Dome) อันล้ำสมัยของเขาจะ “เปิดใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ” ก่อนเขาจะสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยให้คำมั่นด้วยว่า โครงการดังกล่าวจะมีการลงทุนเบื้องต้นมูลค่าราว 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.16 แสนล้านบาท) และประเมินว่าการลงทุนทั้งหมดจะใช้เม็ดเงินประมาณ 175,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (5.7 ล้านล้านบาท)
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่รัฐเตือนว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นอาจสูงกว่าตัวเลขดังกล่าวอย่างน้อยสามเท่า
แผนการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเครือข่ายเทคโนโลยีของ “รุ่นต่อไป” ที่จะมีขีดความสามารถครอบคลุมทั่วทั้งภาคพื้นดิน ทางทะเล และอวกาศ ที่สำคัญจะประกอบด้วย เครื่องดักจับและเซ็นเซอร์ที่ใช้บนอวกาศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อขัดขวางขีปนาวุธที่กำลังพุ่งเข้ามา
โกลเดนโดม จะมีการขยายและสร้างต่อยอดจากระบบที่มีอยู่แล้วเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางอากาศที่อาจมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากประเทศต่าง ๆ เช่น รัสเซีย และจีน
กลไกการทำงานของโกลเดน โดมเป็นอย่างไร
แผนการสร้างโดมดังกล่าวของทรัมป์ได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจาก ไอเอิร์นโดม (Iron Dome) ของอิสราเอล ซึ่งใช้ระบบป้องกันเรดาร์เพื่อสกัดกั้นภัยคุกคามจากขีปนาวุธพิสัยใกล้ โดยใช้งานมาตั้งแต่ปี 2011
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue finding outได้รับความนิยมสูงสุด
Conclude of ได้รับความนิยมสูงสุด
อย่างไรก็ตาม โกลเดนโดม จะมีขนาดใหญ่กว่าไอเอิร์นโดมหลายเท่าและได้รับการออกแบบมาเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่หลากหลายมากกว่า โดยจะใช้เครือข่ายดาวเทียมที่อาจมีจำนวนนับร้อยดวง ซึ่งในอดีตอาจมีราคาสูงมากแต่ปัจจุบันราคาที่จับต้องได้และความเป็นไปได้ในการนำมาใช้งานจริงได้มากขึ้น
“โรนัลด์ เรแกนมีความประสงค์ที่จะมีสิ่งนี้มาหลายปีแล้ว แต่ในตอนนั้นพวกเขาไม่มีเทคโนโลยีดังกล่าว” ทรัมป์กล่าวโดยอ้างถึงระบบป้องกันขีปนาวุธจากอวกาศที่เรียกกันว่า “สตาร์วอร์ส” (Star Wars) ซึ่งอดีตประธานาธิบดีคนดังกล่าวเคยเสนอในช่วงทศวรรษที่ 1980
ทรัมป์เสริมด้วยว่า ” ระบบโกลเดนโดมนี้จะมีศักยภาพในการสกัดกั้นขีปนาวุธที่ยิvมาจากอีกฟากหนึ่งของโลกหรือจากอวกาศได้”
ระบบดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันขีปนาวุธร่อนและขีปนาวุธพิสัยไกล (รวมถึงอาวุธความเร็วเหนือเสียง) และ ระบบโจมตีแบบ FOB (Fractional Orbital Bombardment System) ที่สามารถส่งหัวรบนิวเคลียร์จากอวกาศได้
อดีตพลเรือเอก มาร์ก มอนต์โกเมอรี ผู้อำนวยการอาวุโสศูนย์ไซเบอร์และนวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งสหรัฐฯ เปิดเผยกับบีบีซี ว่า โกลเดนโดมจะอาศัย “กลุ่มดาวเทียมสามกลุ่มหรือสี่กลุ่ม ที่อาจจะรวมกันจากดาวเทียมหลายร้อยดวงก็ได้”
“คุณมีดาวเทียมที่ตรวจจับได้หลายร้อยดวงเพื่อตรวจจับการปล่อยจรวด จากนั้นคุณก็มีดาวเทียมชุดหนึ่งที่ติดตามและควบคุมการยิv และคุณก็ยังมีดาวเทียมโจมตีที่บรรทุกอาวุธจลนศาสตร์หรืออะไรก็ตามที่คุณใช้ยิvขีปนาวุธของศัตรู” เขากล่าวในรายการนิวส์เดย์ (Newsday)
สหรัฐฯ จะสามารถสร้างระบบโกลเดนโดมภายใน 3 ปีได้จริงหรือไม่ ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ชาแชงก์ โจชิ บรรณาธิการข่าวด้านกลาโหมของนิตยสารด้านเศรษฐกิจการเมือง ดิ อิโคโนมิสต์ (The Economist) บอกกับบีบีซีว่า กองทัพสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญกับแผนการณ์สร้างโกลเดน โดมอย่างจริงจัง แต่การคิดว่าแผนนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นจริงในช่วงที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่ง ขณะที่โครงการนี้มีต้นทุนมหาศาล และก็จะผลาญงบประมาณกลาโหมของสหรัฐฯ ไปเป็นจำนวนมาก
อดีตพลเรือเอก มอนต์โกเมอรี เห็นด้วยกับความคิดเห็นข้างต้น
“นี่เป็นภารกิจที่กินเวลานาน 5 ถึง 7 หรืออาจจะถึง 10 ปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
“จะมีอะไรเกิดขึ้นอีกใน 3 ปีข้างหน้าที่จะทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้นหรอ ฝันไปเถอะ” เขากล่าว แต่ก็เสริมด้วยว่า “ระบบที่ปลอดภัย 100%” นั้นไม่สามารถทำได้จริงภายในสิ้นวาระปัจจุบันของประธานาธิบดีทรัมป์
สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐฯ (Congressional Funds Blueprint of business) ซึ่งมีหน้าที่จัดทำการวิเคราะห์เศรษฐกิจอย่างเป็นกลางต่อรัฐสภา ได้เสนอว่าต้นทุนการสร้างระบบโกลเดนโดมอาจพุ่งสูงถึง 542 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลา 20 ปี สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับระบบที่ต้องติดตั้งในห้วงอวกาศของโดม เพียงอย่างเดียว
ใครจะเป็นผู้สร้างโกลเดนโดม ?
พลเอกไมเคิล เกอเลนแห่งกองทัพอวกาศสหรัฐฯ คือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำโครงการโกลเดนโดมมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2023 เขาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการอวกาศของกองทัพอวกาศ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกองทัพสหรัฐฯ ที่ทำหน้าที่ “เตือนเวลามีขีปนาวุธ ระบบรับรู้โดเมนอวกาศหรือมิติอวกาศ การระบุตำแหน่ง การนำทางและการจับเวลา การสื่อสาร และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในอวกาศ”
เกอเลน ซึ่งเป็นนายพลระดับสี่ดาว ผู้ได้รับการบรรยายโดยประธานาธิบดีทรัมป์ว่าเป็น “ชายผู้มีความสามารถมาก” จะนำประสบการณ์ด้านการตรวจจับอวกาศและขีปนาวุธมาสู่บทบาทนี้ เนื่องจากเขาเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการระบบอวกาศและผู้อำนวยการระบบตรวจจับระยะไกล
เกอเลนเกิดและเติบโตใน รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา และเข้าร่วมกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในปี 1991 หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมา
รัสเซียและจีนคิดอย่างไรต่อระบบโกลเดนโดม ?
สำหรับระบบโกลเดนโดม มีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันขีปนาวุธที่ถูกยิvโดยรัสเซียและจีน
เอกสารสรุปข้อมูลโดยหน่วยข่าวกรองกลาโหม ที่เผยแพร่เมื่อไม่นานนี้ระบุว่า ภัยคุกคามจากขีปนาวุธ “จะขยายพื้นที่และความซับซ้อนมากขึ้น” โดยทั้งจีนและรัสเซียถูกกล่าวหาว่า กำลังออกแบบระบบ “เพื่อใช้ประโยชน์จากช่องว่าง” ทางการป้องกันของสหรัฐฯ
โดยทั้งสองประเทศต่างวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดการสร้างโดมดังกล่าวของสหรัฐฯ ว่าเป็นการ “ทำให้เกิดความไม่มั่นคงอย่างรุนแรง”
ระบบป้องกันใหม่นี้ “ช่วยเสริมคลังอาวุธสำหรับปฏิบัติการรบในอวกาศแข็งแกร่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” แถลงการณ์ของเครมลินที่เผยแพร่หลังการเจรจาระหว่างรัสเซียและจีนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาระบุ
อย่างไรก็ตาม ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซียได้กล่าวถึงแผนการสร้างโกลเดนโดมของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานนี้ว่าเป็น “สาระสำคัญว่าด้วยเรื่องอธิปไตย” ของสหรัฐฯ และเสริมด้วยว่าแผนดังกล่าวอาจนำไปสู่การกลับมาเจรจาอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง
ขณะที่ จีนกล่าวว่าแผนดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงระหว่างประเทศโดยเพิ่มการทหารในอวกาศและเสี่ยงต่อการแข่งขันทางอาวุธ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า โกลเดนโดม “คือการนำเสนออย่างเปิดเผยถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการรบในอวกาศในขนาดใหญ่… และมีประเด็นที่มีลักษณะรุกรานอย่างรุนแรง ซึ่งขัดกับแนวทางสันติที่สนับสนุนโดยสนธิสัญญาอวกาศ” และเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกการสร้างระบบดังกล่าว
แล้วแคนาดาจะเข้าร่วมกับระบบโกลเดนโดมนี้หรือไม่ ?
ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศแผนการของเขาที่ห้องทำงานรูปไข่ โดยกล่าวว่าแคนาดาได้ขอเป็นส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าว
ในแถลงการณ์ สำนักนายกรัฐมนตรีแคนาดา มาร์ก คาร์นีย์ระบุว่า เขาและคณะรัฐมนตรีกำลังหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจใหม่กับพันธมิตรอย่าง สหรัฐฯ ในขณะนี้
“การหารือเหล่านี้รวมถึงการเสริมความแข็งแกร่งให้กับหน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศอเมริกาเหนือ (NORAD) และโครงการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ระบบโกลเดนโดม”
ในระหว่างการเยือนกรุงวอชิงตันเมื่อต้นปีนี้ บิล แบลร์ รัฐมนตรีกลาโหมของแคนาดาในขณะนั้น ยอมรับว่า แคนาดามีความสนใจที่จะเข้าร่วมในโครงการโกลเดนโดมดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าโครงการนี้ มีความ “สมเหตุสมผล” และจะเป็น “ผลประโยชน์ของชาติ” ของประเทศ
ที่มา BBC.co.uk