
“เด็ก ๆ ถูกใส่กุญแจมือแล้วยิv” อดีตหน่วยรบพิเศษอังกฤษเผย เพื่อนทหารก่ออาชญากรรมสงครามในอิรัก-อัฟกานิสถาน

- Author, ฮันนาห์ โอเกรดี และ โจเอล กันเทอร์
- Role, บีบีซี พานอรามา
อดีตทหารของหน่วยรบพิเศษแห่งสหราชอาณาจักร (UKSF) เอ่ยปากเผยความลับที่เก็บงำไว้นานปีในฐานะพยาน โดยบอกเล่ากับผู้สื่อข่าวรายการบีบีซี พานอรามา (BBC Panorama) ถึงเรื่องข้อกล่าวหาที่ว่า เพื่อนร่วมรบของพวกเขาหลายคนได้ก่ออาชญากรรมสงคราม ขณะปฏิบัติหน้าที่ในอิรักและอัฟกานิสถาน
นี่เป็นครั้งแรกที่ทหารผ่านศึกเหล่านี้ให้ปากคำในที่สาธารณะ โดยระบุว่าได้เห็นทหารของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) ลงมือสังหารคนที่ไม่มีอาวุธขณะกำลังนอนหลับ นอกจากนี้ยังประหารชีวิตผู้ที่ถูกควบคุมตัว ทั้งที่คนเหล่านั้นยังถูกใส่กุญแจมือ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีเด็กรวมอยู่ด้วย
ทหารผ่านศึกผู้หนึ่งที่สังกัดหน่วย SAS ขณะออกปฏิบัติหน้าที่ในอัฟกานิสถาน บอกว่า “พวกเขาใส่กุญแจมือเด็กชายที่ยังเล็กมากคนหนึ่ง แล้วก็ลั่นไกปืนยิvเด็กคนนั้น เขายังเด็กอยู่เลยแท้ ๆ อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่พอจะสู้รบได้ด้วยซ้ำ”
ทหารผ่านศึกคนดังกล่าวยังบอกว่า การสังหารคนที่ถูกควบคุมตัวได้กลายเป็น “กิจวัตร” ที่หน่วยรบพิเศษทำกันเป็นประจำ “พวกเขาจะตรวจค้นตัวผู้ต้องสงสัยแล้วใส่กุญแจมือ หลังจากนั้นก็จะยิvทิ้ง” เมื่อคนผู้นั้นเสียชีวิตแล้ว ทหารหน่วยรบพิเศษจะตัดเอากุญแจมือพลาสติกออกจากศw พร้อมทั้งวางอาวุธปืนเอาไว้ใกล้ ๆ ร่างไร้วิญญาณด้วย
คำให้การที่เป็นหลักฐานชิ้นใหม่ ซึ่งได้จากพยานที่เป็นทหารผ่านศึกในครั้งนี้ รวมไปถึงข้อกล่าวหาเรื่องอาชญากรรมสงครามที่หน่วยรบพิเศษแห่งสหราชอาณาจักรได้กระทำลงไป ตลอดช่วงเวลายาวนานกว่าหนึ่งทศวรรษ ซึ่งถือเป็นกรอบเวลาอ้างอิงที่ครอบคลุมเป็นวงกว้าง ยิ่งกว่าช่วงเวลาเพียง 3 ปี ที่ศาลของสหราชอาณาจักรกำหนดให้ใช้พิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามดังกล่าว ในการไต่สวนสาธารณะที่กำลังดำเนินอยู่
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
ได้รับความนิยมสูงสุด
ด้านหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือ (SBS) กองทหารที่เป็นหน่วยรบพิเศษระดับสูงของราชนาวีอังกฤษ ก็ถูกกล่าวหาเป็นครั้งแรกว่ามีส่วนพัวพันในการก่ออาชญากรรมสงครามนี้ด้วยเช่นกัน โดยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดชนิดร้ายแรงที่สุด ซึ่งก็คือการสังหารพลเรือนที่ไม่มีอาวุธโดยไม่ละเว้นแม้แต่ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ทหารผ่านศึกผู้หนึ่งซึ่งเคยประจำการในหน่วย SBS บอกว่าทหารบางคนมี “พฤติกรรมรวมหมู่” แบบ “ป่าเถื่อน” ในขณะที่ออกปฏิบัติการ “ผมเคยเห็นคนที่เงียบ ๆ ดูเรียบร้อยที่สุด กลายเป็นคนที่แสดงพฤติกรรมบ้าคลั่งแบบโรคจิตออกมา พวกเขาทำทุกอย่างตามอำเภอใจโดยไร้กฎเกณฑ์ เพราะคิดว่าไม่มีใครสามารถจะลงโทษหรือทำอะไรพวกเขาได้”
ในอดีตสหราชอาณาจักรเคยประจำการหน่วยรบพิเศษในอัฟกานิสถาน เพื่อคุ้มกันกำลังทหารของตนเองจากนักรบตาลีบัน รวมทั้งคนกลุ่มที่ทำsะเบิดและวางsะเบิด สงครามในครั้งนั้นทำให้ทหารจากทุกเหล่าทัพของสหราชอาณาจักร ต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากถึง 457 คน ส่วนอีกหลายพันคนได้รับบาดเจ็บ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีได้สอบถามไปยังกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร (MoD) เกี่ยวกับคำให้การใหม่ล่าสุดของพยานชุดนี้ ซึ่งทางกระทรวงกลาโหมตอบกลับมาว่า “มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่” ในอันที่จะสนับสนุนการไต่สวนสาธารณะ เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ โดยขอให้ทหารผ่านศึกทุกคนซึ่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ออกมาให้ปากคำต่อทางการ อย่างไรก็ตาม “ไม่เหมาะสมที่ทางกระทรวงกลาโหมจะแสดงความเห็นต่อเรื่องข้อกล่าวหา” ในขณะนี้ เพราะอาจเป็นการล่วงละเมิดอำนาจศาล
“ฆาตกรโรคจิต” ในหน่วยรบพิเศษ
คำให้การของพยานในครั้งนี้ ช่วยให้ข้อมูลรายละเอียดของคดีอาชญากรรมสงครามแก่สาธารณชนได้ชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมาจากปากคำของอดีตหน่วยรบพิเศษ UKSF ซึ่งเป็นกองกำลังใหญ่ที่มีหน่วย SAS และ SBS รวมทั้งกองทหารสนับสนุนอื่น ๆ อีกหลายหน่วยอยู่ในสังกัด
พยานชุดนี้มีมากกว่า 30 คน โดยล้วนเป็นทหารผ่านศึกที่เคยสังกัดหน่วยรบพิเศษ UKSF หรือไม่ก็เป็นทหารที่เคยออกปฏิบัติการร่วมกับหน่วยรบพิเศษเหล่านี้ คำให้การส่วนใหญ่ของพวกเขา มาจากการทำข่าวเพื่อสืบสวนหาความจริงเป็นเวลานานหลายปีของรายการบีบีซี พานอรามา เกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ว่าหน่วย SAS ได้เคยก่อเหตุวิสามัญฆาตกรรมขึ้นหลายครั้ง
รายการบีบีซี พานอรามา ยังเป็นสื่อมวลชนรายแรกที่ค้นพบว่า อดีตนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน เคยได้รับคำเตือนหลายครั้งขณะที่ยังดำรงตำแหน่งผู้นำสหราชอาณาจักร ว่าหน่วยรบพิเศษ UKSF กำลังสังหารพลเรือนในอัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม ทหารผ่านศึกที่พูดคุยกับรายการบีบีซี พานอรามา ต้องให้ปากคำในฐานะพยานนิรนามที่ไม่เปิดเผยตัวตน เนื่องจากกฎข้อบังคับอย่างไม่เป็นทางการในการรักษาความลับของหน่วยรบพิเศษ แต่ถึงกระนั้น พวกเขาเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาว่า กองทหารชั้นนำระดับสูงสุดของประเทศ ได้ละเมิดกฎหมายสงครามอย่างจงใจอยู่เป็นประจำ ระหว่างดำเนินปฏิบัติการทางทหารในอิรักและอัฟกานิสถาน
กฎหมายสงครามระหว่างประเทศระบุว่า ในปฏิบัติการทางทหารลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถลงมือสังหารบุคคลโดยเจตนาได้ เว้นแต่คนผู้นั้นกระทำการที่เป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อชีวิตของกองกำลังอังกฤษและบุคคลอื่น ๆ ทว่าสมาชิกของหน่วย SAS และ SBS ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว แต่กลับสร้างกฎหมู่ของพวกตนขึ้นมาเสียเอง
พยานผู้หนึ่งที่เคยสังกัดหน่วย SAS เล่าว่า “หากเป้าหมายของปฏิบัติการ เป็นผู้ที่เคยถูกจับกุมตัวมาสอบสวนซ้ำ ๆ แล้ว 2-3 ครั้ง เราจะบุกเข้าไปเพื่อสังหารทันที โดยไม่คิดจะพยายามจับเป็นอีกครั้งเลย”
“บางครั้งเราจะตรวจสอบเพื่อระบุตัวตนของเป้าหมายก่อน อาจจะตรวจดูบัตรประจำตัวว่าถูกคนหรือไม่ แล้วก็ยิvทิ้ง แต่มีบ่อยครั้งที่หน่วยจู่โจมบุกเข้าไป แล้วฆ่-าผู้ชายที่เจอทั้งหมดในที่แห่งนั้น”
พยานอีกผู้หนึ่งที่เคยสังกัดหน่วย SAS บอกว่าการลงมือฆ่-าคนสามารถกลายเป็น “สิ่งเสพติด” ไปได้อย่างง่ายดาย โดยสมาชิกของหน่วยรบพิเศษบางคนในอัฟกานิสถาน “มึนเมาหลงใหลกับความรู้สึกนั้น” พยานผู้นี้ยังกล่าวด้วยว่า “มีฆาตกรโรคจิตอยู่เต็มไปหมด”

ที่มาของภาพ : Getty Photos
พยานคนเดียวกันเล่าต่อไปว่า “ในปฏิบัติการบางครั้ง พวกเราจะบุกเข้าไปในอาคารที่เป็นเหมือนบ้านพักรับรองแขก แล้วลงมือสังหารทุกคนที่อยู่ในนั้น หน่วยจู่โจมจะบุกเข้าไปยิvทุกคนที่นอนหลับอยู่ โดยเริ่มกราดยิvตั้งแต่ย่างเข้าปากประตู มันช่างอยุติธรรมจริง ๆ ที่เราฆ่-าคนซึ่งกำลังหลับสนิท”
ทหารผ่านศึกที่เคยอยู่ในสังกัดของหน่วย SBS บอกกับบีบีซีว่า หลังสามารถเข้าควบคุมพื้นที่ปฏิบัติการได้แล้ว ทหารจำนวนไม่น้อยจะไล่กราดยิvทุกคนที่อยู่ในแถบนั้นโดยไม่เลือกหน้า ซ้ำยังตรวจดูร่างที่ล้มลงกองกับพื้นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และจะฆ่-าให้เสียชีวิตทันทีหากพบว่ายังมีลมหายใจอยู่ “มันเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ว่าจะต้องเกิดขึ้น ไม่มีการซ่อนเร้นปิดบัง ทุกคนในหน่วยต่างรู้กันดี”
การสังหารผู้ได้รับบาดเจ็บที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อผู้ใด ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจน แต่พยานที่เคยสังกัดหน่วย SBS ผู้นี้บอกว่า คนกลุ่มดังกล่าวถูกหน่วยรบพิเศษของสหราชอาณาจักรสังหารอยู่เป็นประจำ เขาเล่าว่าในปฏิบัติการครั้งหนึ่ง บุคลากรทางการแพทย์กำลังให้การพยาบาลคนถูกยิvที่ยังหายใจอยู่ “ทหารหนุ่มคนหนึ่งที่เป็นพวกเราเดินตรงเข้าไปหาคนเจ็บ หลังจากนั้นก็มีเสียงปืนดังขึ้น ปรากฏว่าคนเจ็บถูกเขายิvหัวในระยะเผาขน”
“การกระทำนี้มันไม่จำเป็นอย่างยิ่ง มันไม่ใช่การุณยฆาต แต่เป็นฆาตกรรม” อดีตทหารหน่วย SBS กล่าว
ทหารชั้นผู้น้อยในทีมจู่โจม มักจะได้รับคำสั่งจากทหารหน่วย SAS ที่อาวุโสกว่า ให้ฆ่-าผู้ถูกจับกุมตัวที่เป็นชายทิ้ง โดยมักจะบอกเป็นนัยอ้อม ๆ ว่า “เขาจะไม่กลับไปฐานที่มั่นกับเรา” หรือไม่ก็ “ช่วยทำให้แน่ใจหน่อยว่า คนนี้เราจะไม่พลาดเป้า”
อันที่จริงแล้วผู้ถูกควบคุมตัวหรือนักโทษที่ถูกคุมขัง ล้วนเป็นคนที่ยอมจำนนต่อหน่วยรบพิเศษ โดยมักจะถูกตรวจค้นตัวและถูกจับใส่กุญแจมือ ตามกฎหมายของอังกฤษและกฎหมายระหว่างประเทศ การสังหารพลเรือนที่ไม่มีอาวุธหรือเชลยศึกโดยเจตนา ถือเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด
อดีตเจ้าหน้าที่หน่วย SAS อีกผู้หนึ่ง ยังบอกว่าเขาเคยพบเห็นปฏิบัติการครั้งหนึ่งในอิรักที่มีพลเรือนถูกสังหาร “เท่าที่ผมเห็นมันค่อนข้างชัดเจนว่า คนที่ถูกสังหารไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อเราเลย เขาไม่มีอาวุธติดตัวด้วยซ้ำ มันช่างน่าอัปยศอดสู พวกเขาไม่มีความเป็นมืออาชีพเลยในกรณีนี้”
เขายังกล่าวเสริมว่า ไม่เคยมีการสอบสวนอย่างถูกต้องเหมาะสมถึงเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมดังกล่าว และอันที่จริงปัญหานี้เริ่มต้นขึ้น ตั้งแต่ก่อนที่หน่วยรบพิเศษจะถูกส่งไปอัฟกานิสถานด้วยซ้ำ “เหล่าผู้บัญชาการอาวุโสต่างรู้อยู่แก่ใจถึงปัญหานี้” พยานจากหน่วย SAS กล่าว

ปากคำของพยานและหลักฐานใหม่ที่เป็นคลิปวิดีโอ ซึ่งบีบีซีได้มาจากปฏิบัติการทางทหารของหน่วย SAS ในอิรัก เมื่อปี 2006 ยืนยันว่ารายงานข่าวก่อนหน้านี้ของรายการบีบีซี พานอรามา เป็นเรื่องจริง ซึ่งรายงานข่าวดังกล่าวระบุว่า กองกำลังของหน่วย SAS ต่างแข่งขันกันทำสถิติว่าใครจะสังหารศัตรูได้มากกว่ากัน
แหล่งข่าวผู้หนึ่งบอกกับบีบีซีว่า สมาชิกของหน่วย SAS หลายคน ตรวจนับและบันทึกสถิติการสังหารของตนเองเอาไว้ เขายังเคยได้ยินว่าทหารนายหนึ่งได้ฆ่-าคนไปหลายสิบราย ตลอดช่วงเวลา 6 เดือน ของการออกตระเวนปฏิบัติภารกิจทั่วอัฟกานิสถาน
“ดูเหมือนว่าเขาพยายามจะฆ่-าคนให้ได้ในปฏิบัติการทุกครั้ง ทุกคืนจะต้องมีใครสักคนเสียชีวิต ทหารคนนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหน่วย เพราะเขาดูเหมือนคนโรคจิตจริง ๆ” แหล่งข่าวที่เป็นอดีตเพื่อนร่วมรบกล่าว
เหตุการณ์สยดสยองอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นที่เลื่องลือในหน่วย SAS ได้แก่เรื่องที่ทหารคนดังกล่าวใช้มีดปาดคอชายชาวอัฟกันที่ถูกยิvบาดเจ็บ หลังตะโกนบอกเพื่อนร่วมทีมไม่ให้ยิvชายผู้นั้นซ้ำ “นั่นเป็นเพราะเขาอยากจะปลิดชีวิตชายผู้นั้นด้วยคมมีดของตนเอง เขาต้องการให้มีดดื่มเลืoด” อดีตเพื่อนร่วมรบอีกผู้หนึ่งกล่าว
คำให้การของทหารผ่านศึกผู้หนึ่งระบุว่า กรณีการก่ออาชญากรรมสงครามของหน่วยรบพบพิเศษ ไม่ได้เป็นที่รู้กันในวงจำกัดเฉพาะในทีมปฏิบัติการเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ทุกคนในสายบัญชาการของหน่วยรบพิเศษ UKSF ต่างรู้กันทั่ว “ผมไม่ได้จะปฏิเสธความรับผิดชอบส่วนบุคคลในเรื่องนี้นะ แต่ทุกคนก็รู้กันหมด มันมีการยอมรับโดยนัยเงียบ ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้น”
เพื่อไม่ให้มีการสอบสวนถึงการวิสามัญฆาตกรรมพลเรือน ทหารของหน่วย SAS และ SBS จะแกล้งทำ “อาวุธตก” โดยจัดวางอาวุธเอาไว้บนร่างของคนเสียชีวิต เพื่อให้ดูเหมือนว่าพวกเขามีอาวุธติดตัวและพยายามต่อสู้ ซึ่งการจัดฉากนี้จะถูกบันทึกภาพเอาไว้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของรายงานที่จัดทำขึ้นเป็นประจำของหน่วยรบพิเศษต่าง ๆ
อดีตทหารของหน่วย SAS ผู้หนึ่งเล่าว่า “พวกเขามีsะเบิดปลอม ซึ่งจะพกพาไปยังสถานที่เป้าหมายของปฏิบัติการด้วยทุกครั้ง ของปลอมพวกนี้จะไม่sะเบิดขึ้นแน่นอน” ทหารผ่านศึกอีกผู้หนึ่งยังบอกว่า หน่วยรบพิเศษบางคนจะพกปืนอาก้า (AK-47) ชนิดที่พับได้ เพราะสามารถยัดลงไปในกระเป๋าเป้สะพายหลังได้พอดี และ “ง่ายต่อการพกพาไปยังสถานที่เป้าหมาย และแอบเอาออกมาวางไว้กับศw”
แท้จริงแล้วรายงานคือ “การแต่งเรื่อง”
เจ้าหน้าที่ทหารคนอื่น ๆ ในหน่วยรบพิเศษ จะช่วยเขียนตบแต่งเรื่องราวในรายงานของทีมปฏิบัติการ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทีมผู้รับหน้าที่บุกจู่โจมเป้าหมาย ต้องถูกสอบสวนเอาผิดทางวินัยในภายหลัง “พวกเรารู้ดีว่าจะเขียนรายงานประเมินทบทวนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อไม่ให้นายทหารพระธรรมนูญต้องเข้ามาสอบสวน” ทหารผ่านศึกผู้หนึ่งกล่าว
อดีตหน่วยรบพิเศษ UKSF อีกผู้หนึ่งบอกว่า แท้จริงแล้วรายงานเหล่านี้คือ “เรื่องแต่ง” ที่ไม่ต่างจากนวนิยาย “หากการยิvสังหารของทีมปฏิบัติการ มีลักษณะที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการละเมิดกฎหมายสงคราม ที่ปรึกษาด้านกฎหมายหรือใครสักคนจากกองบัญชาการจะโทรศัพท์มาเรียกตัวมือปืนไปพบ”
“พวกเขาจะซักถามเพิ่มเติมเพื่อชี้นำให้ทิศทางของเรื่องราวเปลี่ยนไป ซึ่งจะช่วยแก้ไขข้อความในรายงานให้กระจ่างชัดเจนปราศจากข้อสงสัย เช่นถามว่าจำได้ไหม จู่ ๆ ก็มีใครบางคนขยับตัวอย่างฉับพลัน คุณจึงต้องยิvป้องกันตัว มือปืนจะตอบรับเรื่องที่แต่งขึ้นนี้ทันที มันเป็นวิธีแต่งเรื่องเพื่อให้ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจริงใสสะอาด”
เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองที่ทำงานร่วมกับหน่วย SBS บอกว่าเคยเห็นรายงานเกี่ยวกับปฏิบัติการที่มีการยิvต่อสู้กันอย่างดุเดือด แต่ภาพถ่ายที่ปรากฏกลับแสดงให้เห็นว่า ศwมีร่องรอยของกระสุนหลายนัด ที่ชัดเจนว่าเกิดจากการจ่อยิvศีรษะในระยะเผาขน
แม้รายงานและเอกสารปลอมที่ทำขึ้น จะช่วยตบตาไม่ให้กรมพระธรรมนูญของกองทัพอังกฤษ (RMP) เข้ามาสอบสวนเรื่องการละเมิดกฎหมายสงครามได้ แต่การกระทำที่เข้าข่ายอาชญากรรมสงครามดังกล่าว ทำให้รัฐบาลและเหล่าผู้บัญชาการทหารของกองทัพอัฟกานิสถาน ต้องร้องเรียนมายังรัฐบาลของสหราชอาณาจักร
อดีตนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน เคยไปเยือนอัฟกานิสถานถึง 7 ครั้ง ระหว่างดำรงตำแหน่งผู้นำสหราชอาณาจักรในช่วงเดือนมิ.ย. 2010 จนถึงเดือนพ.ย. 2013 อันเป็นช่วงเวลาปฏิบัติการของหน่วย SAS ที่กำลังมีการไต่สวนสาธารณะอยู่ในขณะนี้
พยานหลายคนที่เคยเข้าร่วมการประชุมหารือระหว่างผู้นำสหราชอาณาจักรและอัฟกานิสถาน บอกว่านายคาเมรอนเคยได้รับการแจ้งเตือนจากอดีตประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถานหลายต่อหลายครั้ง ถึงข้อกล่าวหาเรื่องหน่วยรบพิเศษ UKSF สังหารพลเรือนชาวอัฟกัน

ดร.แรนกิน แดดฟาร์ สแปนตา อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของอัฟกานิสถาน บอกกับรายการบีบีซี พานอรามา ว่าอดีตประธานาธิบดีคาร์ไซ “หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาเอ่ยถึงซ้ำหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง” จนไม่ต้องสงสัยเลยว่านายคาเมรอนได้รับทราบและตระหนักดี ถึงข้อกล่าวหาเรื่องหน่วยรบพิเศษ UKSF ลงมือสังหารพลเรือนรวมทั้งเด็ก ๆ ชาวอัฟกัน
พลเอกดักลาส ลูต อดีตทูตทหารสหรัฐฯ ประจำองค์การนาโต (NATO) แสดงความเห็นว่า “อดีตประธานาธิบดีอัฟกานิสถานได้ร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับปฏิบัติการบุกโจมตียามค่ำคืน ซึ่งทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตและถูกควบคุมตัวไว้มากมาย ไม่มีนักการทูตชาติตะวันตกหรือผู้บัญชาการทหารคนใดที่ไม่สังเกตเห็นว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาร้ายแรงอย่างยิ่งสำหรับเขา”
พลเอกลูตยังกล่าวเสริมว่า “มันจะเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดเหลือเชื่อ หากมีเรื่องร้องเรียนกล่าวหากองกำลังอังกฤษ ที่สายการบังคับบัญชาทั้งหมดของกองทัพไม่เคยได้รับทราบเลย”
ด้านโฆษกของนายคาเมรอน บอกกับรายการบีบีซี พานอรามาว่า “เท่าที่ลอร์ดคาเมรอนจำได้ดีที่สุด เรื่องที่อดีตประธานาธิบดีคาร์ไซร้องเรียน เป็นเรื่องของกองกำลังนาโตโดยรวม ไม่ได้ระบุอย่างเฉพาะเจาะจงถึงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นการกระทำของ UKSF”
โฆษกของนายคาเมรอนยังกล่าวต่อไปว่า “เราควรรอฟังผลการไต่สวนหาความจริงที่เป็นทางการ ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่าลอร์ดคาเมรอนสมคบคิดกับกองทัพ เพื่อปกปิดการก่ออาชญากรรมร้ายแรง ล้วนเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระทั้งสิ้น”
กฎหมายของสหราชอาณาจักรนั้นแตกต่างจากของสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และอีกหลายประเทศ เพราะไม่มีกระบวนการทางรัฐสภาที่สามารถเข้าไปกำกับควบคุมหน่วยรบพิเศษระดับสูงของกองทัพได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ว ความรับผิดชอบต่อการกระทำของหน่วยดังกล่าว จึงตกอยู่กับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษเหล่านั้น
บรูซ โฮลเดอร์ เคซี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานอัยการทหาร ซึ่งรับผิดชอบการตั้งข้อหาและดำเนินคดีกับทหารผู้กระทำความผิดในทุกเหล่าทัพ กล่าวกับรายการบีบีซี พานอรามา โดยเขาหวังว่าการไต่สวนสาธารณะจะสามารถตรวจสอบได้ ว่า นายคาเมรอนเคยรับทราบถึงข้อมูลเรื่องการสังหารพลเรือนของ UKSF มามากน้อยแค่ไหน
“เราจำเป็นต้องรู้ว่ามันเน่าเฟะขนาดไหนแล้ว” โฮลเดอร์กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา BBC.co.uk