
ไขความลับแห่งความสำเร็จทางวิวัฒนาการของสลอธแสนเฉื่อยชา

ที่มาของภาพ : Getty Photography
Article facts
- Author, เฮเลน บริกกส์
- Role, ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม บีบีซี
อย่างที่เราทราบกัน สลอธมีชื่อเสียงว่าเป็นสัตว์ที่เชื่องช้าและเฉื่อยชา ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการงีบหลับบนต้นไม้ แต่จากการศึกษาวิจัยใหม่พบว่า นี่คือหนึ่งในความลับของความสำเร็จที่มีมาอย่างยาวนานของพวกมัน
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติวิวัฒนาการของสัตว์เหล่านี้ รวมถึงรูปแบบที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งทราบได้จากหลักฐานฟอสซิลเท่านั้น
พวกเขาบอกว่า สลอธยักษ์ที่เดินไปมาบนพื้นดินตกเป็นเป้าหมายได้อย่างง่ายดายสำหรับมนุษย์นักล่ากลุ่มแรก ๆ แต่ในทางตรงกันข้าม สลอธตัวเล็กที่อยู่บนต้นไม้สามารถเกาะยึดต้นไม้บนที่สูงเพื่อเอาชีวิตรอดมาได้

ที่มาของภาพ : Alberto Boscaini
นักวิจัยกล่าวว่านี่เป็นเครื่องเตือนใจถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์สลอธที่เหลืออยู่บนโลก ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของยอดภูเขาน้ำแข็งในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการกว่า 30 ล้านปี
“สลอธบางตัวอยู่กับเราทุกวันนี้ บางตัวเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และสิ่งหนึ่งที่ต้องจดจำคือ เราต้องดำเนินการทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ของกลุ่มของสัตว์สลอธทั้งหมด” ดร.อัลแบร์โต บอสไกนี จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยกล่าว
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
of ได้รับความนิยมสูงสุด
ปัจจุบัน สลอธเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดตัวเล็ก มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ มีใบหน้าที่น่ารักและพฤติกรรมที่ดูไม่เร่งรีบใด ๆ และพบได้เฉพาะในป่าฝนในอเมริกาใต้และอเมริกากลางเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปในอดีตกาล มีสลอธหลายร้อยชนิดในทวีปอเมริกา ซึ่งมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ โดยทั่วไป สลอธเคยอาศัยอยู่บนพื้นดิน ภายในถ้ำและอุโมงค์ใต้ดินและแม้กระทั่งในน้ำ โดยบางตัวสามารถเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่เท่ากับช้างและยืนสูงกว่ามนุษย์อีกด้วย

ที่มาของภาพ : Getty Photography
ทว่าเมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อน สลอธเริ่มเกิดการสูญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการเสียชีวิตของสลอธ โดยโทษปัจจัยต่าง ๆ เช่น การล่าของมนุษย์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหรือไม่ก็ปัจจัยทั้งสองรวมกัน
ในการศึกษาวิจัยครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้วิเคราะห์ขนาดร่างกายของสลอธตามแผนภูมิวิวัฒนาการของพวกมัน และนำข้อมูลนี้มาผนวกกับข้อมูลทางพันธุกรรม
นักวิทยาศาสตร์พบว่า สลอธปรับขนาดร่างกายมาแล้วหลายครั้งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยไม่ส่งผลกระทบในระยะยาว “การลดลงอย่างกะทันหันและรวดเร็ว” ของสลอธเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่มนุษย์เริ่มกระจายไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาเพื่อล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เป็นอาหาร
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าสลอธที่มีลำตัวขนาดใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดินอาจเป็นเป้าหมายที่ค่อนข้างง่าย และนั่นจึงทำให้สลอธเหล่านี้เริ่มสูญหายไป

ที่มาของภาพ : Diego Barletta
ในทางกลับกัน สลอธขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนต้นไม้กลับไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนักและยังคงอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้
“สลอธที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้ามาก นั่นเป็นเพราะพวกมันมีอัตราการเผาผลาญที่ต่ำมาก นี่คือกลยุทธ์ในการเอาชีวิตรอดของพวกมัน” ดร.บอสไกนี กล่าว
ขณะที่ ดร.แดเนียล คาซาลี ผู้ร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล กล่าวเสริมว่า “เราสามารถอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่โชคไม่ดีที่เราสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไป ซึ่งไม่สามารถทดแทนได้”
ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาสตร์ Science
ที่มา BBC.co.uk