เหตุใดแก้วสตาร์บัคส์ในเกาหลีใต้จึงกลายเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมือง

ที่มาของภาพ : Getty Pictures

สตาร์บัคส์ (Starbucks) ระงับการใช้ชื่อผู้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี 6 ชื่อในเมนูบนแอปฯ ของบริษัทเป็นการชั่วคราว

Article files

  • Writer, ยูนา คู
  • Role, บีบีซี แผนกภาษาเกาหลี
  • Reporting from Seoul

หากคุณเดินเข้าไปในร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ (Starbucks) ในเกาหลีใต้ตอนนี้ จะมีชื่อคน 6 ชื่อ ที่คุณจะไม่ได้ยินอย่างแน่นอน และนั่นก็คือชื่อของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

นั่นเป็นเพราะสตาร์บัคส์ได้ห้ามลูกค้าสั่งเครื่องดื่มโดยใช้ชื่อผู้ลงสมัครเลือกตั้งเหล่านี้ชั่วคราว ซึ่งจะถูกเรียกโดยบาริสต้า ทางบริษัทกล่าวว่ามีความจำเป็นต้อง “รักษาความเป็นกลางทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง” และจะยกเลิกหลังการเลือกตั้งในวันที่ 3 มิ.ย.

โดยปกติแล้วธุรกิจและคนดังในเกาหลีใต้มักจะพยายามทำตัวเป็นกลางทางการเมือง แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การรักษาความเป็นกลางกลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองหลังเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอดีตประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ทำให้ประชาชนในประเทศแตกแยกกันมากกว่าที่เคย

ปัจจุบันเกาหลีใต้กำลังเตรียมเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ หลังจากอดีตประธานาธิบดียุนถูกถอดถอน แม้แต่เรื่องธรรมดา ๆ ที่สุดก็อาจกลายเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการเมืองได้ ซึ่งสตาร์บัคส์ก็ได้เรียนบทเรียนนี้อย่างลึกซึ้ง

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จำนวนลูกค้าสตาร์บัคส์ที่สั่งเครื่องดื่มผ่านแอปฯ และพิมพ์วลีเช่น “จับยุน ซอก-ยอล” หรือ “ลี แจ-มยอง ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นสายลับ” เป็นชื่อเล่น มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยบาริสต้าของสตาร์บัคส์ไม่มีทางเลือกอื่นแต่จำเป็นต้องตะโกนเรียกชื่อเหล่านี้เมื่อเครื่องดื่มพร้อมเสิร์ฟ

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

End of ได้รับความนิยมสูงสุด

“เป้าหมายของเราคือการทำให้แน่ใจว่าลูกค้าทุกคนได้รับประสบการณ์ที่ดีในร้านกาแฟของเรา” สตาร์บัคส์ กล่าวในแถลงการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในการห้ามใช้ชื่อของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้ง 6 คน เป็นชื่อเล่นในการสั่งออเดอร์ในร้าน

“เพื่อช่วยในเรื่องนี้ บางครั้งเราจะบล็อกการใช้วลีบางคำที่พนักงานหรือลูกค้าของเราอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ เช่น ชื่อของผู้สมัครทางการเมืองที่มีข้อความสนับสนุนหรือคัดค้านในช่วงการเลือกตั้งเพื่อรักษาความเป็นกลาง”

แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่สตาร์บัคส์แบนชื่อของผู้สมัครทั้งหมดที่ลงสมัครในการเลือกตั้ง นอกจากชื่อ อี แล้ว ยังมีชื่ออื่นๆ อีก ได้แก่ คิม มุน-ซู, อี จุน-ซอก, ควอน ยอง-กุก, ฮวาง คโย-อัน และซอง จิน-โฮ อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางส่วนกลับคิดว่ายักษ์ใหญ่ร้านกาแฟรายนี้ทำเกินกว่าเหตุ

“ผมคิดว่าผู้คนอ่อนไหวเกินไป จะเกิดอะไรขึ้นถ้าชื่อจริงของคุณเหมือนกับชื่อของผู้สมัคร” จาง ฮเย-มี วัย 33 ปี กล่าว

จี ซอก-บิน วัย 27 ปี ซึ่งเป็นลูกค้าประจำของสตาร์บัคส์ กล่าวว่าเขาคิดว่ากฎดังกล่าว “เป็นเรื่องจุกจิกเกินไป” แม้เขาจะบอกด้วยว่า เขาเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังกฎดังกล่าวเนื่องจากความตึงเครียดทางการเมืองของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

“หลังจาก อดีตประธานาธิบดียุนถูกถอดถอน ผมแทบจะไม่ได้พูดคุยเรื่องการเมืองอีกต่อไป ดูเหมือนว่าความแตกแยกทางอุดมการณ์จะเพิ่มมากขึ้นจนการสนทนามักจะกลายเป็นการโต้เถียงกัน”

จี ซอก-บิน กล่าวว่ากฎใหม่ของสตาร์บัคส์นั้น “เป็นเรื่องจุกจิก” เกินไป

การถ่ายเซลฟีและคำค้นหา

สตาร์บัคส์ไม่ได้เป็นเพียงธุรกิจเดียวเท่านั้น เพราะ “เนเวอร์” (Naver) แอปพลิเคชันเสิร์ชเอ็นจินรายใหญ่ในเกาหลีใต้ก็ปิดฟังก์ชันการแนะนำคำค้นหาอัตโนมัติและคำแนะนำการค้นหาที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในช่วงที่เกาหลีใต้กำลังอยู่ในช่วงการเลือกตั้ง

การค้นหาคำว่า ลี ในกูเกิลซึ่งหลายคนคาดการณ์ว่าจะได้รับเลือกให้ชนะการเลือกตั้งนั้นได้ผลลัพธ์เป็นวลีเช่น “การพิจารณาคดีของลี แจ-มยอง” ซึ่งเป็นการอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเขากำลังพัวพันกับการพิจารณาคดีอาญาหลายคดี

การค้นหา คำว่า คิม มูน-ซู ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝ่ายอนุรักษนิยมของเกาหลีใต้ ปรากฏคำค้นหาที่ถูกเสนอขึ้นมาเป็นคำว่า “การเปลี่ยนแปลงสถานะ” เนื่องจากเขาถูกมองว่าเขาได้”เปลี่ยนแปลงสถานะ” จากนักเคลื่อนไหวแรงงานที่กระตือรือร้นมาเป็นนักการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยม

เนเวอร์ (Naver) กล่าวว่า บริษัทได้ตัดสินใจทำเช่นนี้เพื่อ “ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและยุติธรรมมากขึ้นในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง”

คนดังและบุคคลสาธารณะก็ระมัดระวังเป็นพิเศษเช่นกัน เนื่องจากพวกเขาต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่สูงของความเป็นกลางทางการเมือง แม้แต่เสื้อผ้าที่พวกเขาสวมใส่ในช่วงเลือกตั้งก็จะถูกให้ความสนใจเป็นพิเศษ

การสวมเสื้อผ้าสีอย่างสีน้ำเงินและสีแดง ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (Democratic Get together – DP) และพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างพรรคพลังประชาชน (Folks's Vitality Get together – PPP) ในอดีตที่ผ่านมา เคยก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกออนไลน์อย่างรุนแรง

นอกจากนี้ บางครั้งแม้แต่หมวกเบสบอลหรือเน็คไทแค่เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะจุดชนวนให้เกิดข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อปี 2022 คิม ฮี-ชอล สมาชิกเคป็อปวงซูเปอร์จูเนียร์ (Sizable Junior) ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนพรรค PPP เมื่อมีคนพบเห็นเขาสวมรองเท้าแตะสีแดงและหน้ากากสีชมพู

เมื่อปีที่แล้ว ชินจิ นักร้องนำของวงโคโยเต (Koyote) ที่ได้รับความนิยมสูง ได้โพสต์รูปถ่ายออกกำลังกายขาวดำบนอินสตาแกรมหนึ่งวันก่อนการเลือกตั้งทั่วไป พร้อมคำบรรยายภาพว่าเธอ “ทำให้รูปถ่ายเป็นสีขาวดำ… หลังจาก เห็นสีกางเกงวอร์มของฉัน”

“ทั้งตลกและเศร้าในเวลาเดียวกัน” เธอกล่าวเสริม คนดังบางคนไปไกลกว่านั้นอีก โดยตั้งใจสวมเสื้อผ้าสีแดงและน้ำเงินผสมกัน

ที่มาของภาพ : Defconn/Shinji/Instagram

คนดังบางคนจงใจสวมชุดสีแดงและสีน้ำเงินผสมกัน ในขณะที่บางคนหลีกเลี่ยงสีสันใด ๆ

ช่างแต่งหน้ารายหนึ่ง ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการทำงานร่วมกับดาราและนักแสดงเค-ป็อป กล่าวกับบีบีซีว่าในช่วงการเลือกตั้ง ทีมสไตลิสต์จะหลีกเลี่ยงสีที่สามารถสื่อถึงการเมือง

“เรามักจะใช้โทนสีกลาง ๆ เช่น ดำ ขาว หรือเทา” ช่างแต่งหน้าซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อ กล่าว

เธอเสริมว่า คนดังต้องระวังแม้กระทั่งตอนโพสท่า อย่างการชูมือขึ้นถ่ายรูป ? นั่นอาจหมายถึงเลขสองก็ได้ ดังนั้นจึงถือเป็นการรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งในเกาหลีใต้ ผู้สมัครแต่ละคนจะได้รับหมายเลขประจำตัว

ดร.โช จิน-มัน จากมหาวิทยาลัยสตรีดุกซอง กล่าวว่า “การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ โดยไม่ล้ำเส้น และการรับรู้และเข้าใจความแตกต่างนั้นสำคัญ” แต่ด้วยความแตกแยกมากมายในประเทศ เขากล่าวเสริมว่าหลายคนเลือกที่จะ “นิ่งเฉยเพื่อคงความเป็นกลางทางการเมือง”