
อ่าวลากูนหรือทะเลลากูน (ทะเลสาบที่อยู่ติดกับทะเล) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและอาเซียนแห่งนี้ครอบคลุม 3 จังหวัดคือ สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช พื้นที่ทั้งหมด 1,040 ตำรวจกม. จุน้ำได้ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด 77 กิโลเมตร โดยความพิเศษของทะเลสาบสงขลาคือ มีสามน้ำ ได้แก่ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม จากการที่มีแม่น้ำและคลองหลายสายที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบแห่งนี้ ทำให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามฤดูกาล ซึ่งขึ้นอยู่กับกระแสน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบ และกระแสน้ำทะเลหนุน จึงทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา
.
ในส่วนของลักษณะทางภูมิศาสตร์และอายุของทะเลสาบสงขลา ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ที่ใช้หลักฟิสิกส์เกี่ยวกับการเรืองแสงความร้อนและเรดิโอคาร์บอนศึกษาทะเลสาบสงขลาผ่านดินตะกอนและซากสัตว์ในทะเลสาบเปิดเผยว่า คาบสมุทรสทิงพระพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) สมัยโฮโลซีน (Holocene) จนถึงปัจจุบัน โดยเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาจากแผ่นดินใหญ่
.
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/atmosphere/74942/songkhla-lake-2/
.
แม้หลายคนจะเรียกกันติดปากว่า ทะเลสาบสงขลา แต่พื้นที่แห่งนี้คือ ลากูน ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่ซับซ้อนกว่าทะเลสาบ ในประเทศใกล้เคียงมี โตนเลสาบ ของกัมพูชาที่มีความคล้ายคลึง แต่ก็ไม่เหมือนทีเดียว เพราะโตนเลสาบมีพื้นที่อยู่ไกลจากทะเลมากกว่า ทะเลสาบสงขลา จึงได้รับอิทธิพลจากนํ้าเค็มมากกว่า
.
ดร.บรรจง ระบุว่า ทะเลสาบสงขลาเป็นระบบลากูนมีช่องน้ำที่เชื่อมกับอ่าวไทยตอนใต้สุดบริเวณปากน้ำทะเลสาบสงขลาได้รับอิทธิพลจากนํ้าขึ้น-นํ้าลง นํ้าในทะเลสาบสงขลาจึงมีหลายรสชาติ ทั้งนํ้าจืดทางตอนเหนือ นํ้าเค็มด้านทางตอนใต้ และตรงกลางเป็นนํ้ากร่อย ในทางชีวภาพถือว่ามีความแตกต่างและหลากหลาย เช่น เราจะไม่พบปลากระบอกน้ำเค็มทางตอนเหนือ และไม่พบปลาช่อนน้ำจืดทางตอนใต้ของทะเลสาบ
.
#NationalGeographicThailand
RSS)
ที่มา : Nationwide Geographic Thailand's