
ถ้าเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแบบเฉียบพลัน คนกลุ่มไหนได้รับผลกระทบมากที่สุด แล้วเราจะช่วยเหลือคนกลุ่มที่ว่านี้ได้อย่างไร?
.
นี่คือโจทย์ที่ธนาคารโลกตั้งไว้ระหว่างสำรวจความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายหลังสภาพอากาศสุดขั้ว (Crude weather) กลายเป็นสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญในแต่ละวัน ทั้งในรูปแบบฝนที่ตกอย่างหนักแบบผิดปกติ ฤดูแล้งที่ยาวนานขึ้น การกัดเซาะชายฝั่งที่ทำให้ชาวบ้านต้องย้ายถิ่นฐานโดยไม่เต็มใจ
.
ทีมวิจัยซึ่งประกอบด้วยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ธนาคารโลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “แผนที่ความเสี่ยงของกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติในประเทศไทย” โดยมุ่งเน้นไปที่ภัยพิบัติหลัก เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง การกัดเซาะชายฝั่ง และคลื่นความร้อนรุนแรง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโครงการนี้ถือเป็นความร่วมมือเชิงบูรณาการที่นำองค์ความรู้จากหลายศาสตร์มาผสมผสานอย่างเป็นระบบ
.
ด้านวิศวกรรม: เพื่อเข้าใจโครงสร้างพื้นฐาน ความเปราะบางของระบบชลประทาน คันกั้นน้ำ ระบบระบายน้ำ และสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยพิบัติ
.
ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ: เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติโดยใช้ข้อมูลภูมิอากาศ แผนที่ภูมิประเทศ การเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง ปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิที่รุนแรงขึ้น
.
ด้านสังคมศาสตร์: เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประชากร โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็กเล็ก ครัวเรือนรายได้น้อย หรือชุมชนชายขอบ
.
เป้าหมายคือการสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ (proof-based fully) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นมีข้อมูลที่ชัดเจน นำไปใช้วางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุม ทั้งก่อนเกิดเหตุ (การป้องกันและเตรียมพร้อม), ระหว่างเกิดเหตุ (การตอบสนองอย่างรวดเร็ว), และหลังภัยพิบัติ (การฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน)
.
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/surroundings/78441/world-financial institution-thailand-climate-swap-adaptation/
.
#NationalGeographicThailand
RSS)
ที่มา : Nationwide Geographic Thailand's