
แค่จ้างหมอมานั่ง “ก็เกือบ ๆ แสนต่อเดือนแล้ว” กฎใหม่คุมขายกัญชา กระทบผู้ประกอบการแค่ไหน

Article Info
-
- Author, ปวีณา นิลบุตร
- Role, ผู้สื่อข่าว.
ประกาศควบคุมกัญชาฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา กำลังสร้างแรงกระเพื่อมและผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทย โดยเฉพาะในคำถามและข้อกังขาที่ว่า ร้านขายกัญชาจะต้องมีแพทย์ประจำร้านหรือไม่ โดยในประกาศฉบับใหม่นี้ มีข้อห้ามระบุไว้ว่า
“ห้ามจำหน่ายสมุนไพรควบคุมเพื่อการสูบในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่การจำหน่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม…”
ขณะที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ถึงเรื่องข้อบังคับดังกล่าวว่า “ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาบังคับใช้” แต่ยอมรับว่ากระทรวงสาธารณสุขกำลัง “เร่งจัดอบรมผู้รู้เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนแพทย์ในร้านได้”
ผ่านมาแล้วสามสัปดาห์มีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง ผู้ประกอบการจำหน่ายกัญชาเริ่มปรับตัวกันอย่างไร .ลงพื้นที่สำรวจร้านจำหน่ายกัญชาในย่านถนนสุขุมวิท แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงเทพมหานคร โดยจากการสำรวจประมาณ 10 ร้าน พบว่ามีเพียง 1 ร้าน ที่มีแพทย์นั่งประจำภายในร้าน
“หมอเขาควรไปอยู่ตามโรงพยาบาล”
“มันค่อนข้างประหลาด… หมอเขาควรไปอยู่ตามโรงพยาบาล”
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
Discontinuance of ได้รับความนิยมสูงสุด
นี่คือความคิดเห็นที่ พงศ์ (นามสมมติ) ผู้จัดการร้านค้ากัญชารายหนึ่งย่านหลังสวน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีต่อประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อควบคุมกัญชาฉบับใหม่ ที่กำหนดว่าต้องมีแพทย์นั่งเฝ้าร้านและออกใบรับรองแพทย์ หากต้องการให้ลูกค้าสูบกัญชาในร้านได้
เขาบอกด้วยว่า การประกาศใช้กฎนี้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับร้านกัญชาที่เขาทำงานอยู่ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อสูบกัญชา และโรงแรมมักมีกฎห้ามไม่ให้สูบในอาคาร ส่วนการสูบตามท้องถนนก็ผิดกฎหมาย ทำให้เป็นเรื่อง “ค่อนข้างบังคับ” ว่า ร้านต้องมีหมอมานั่งประจำ แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ง่ายเช่นนั้น
“ถ้าไม่มีหมอในร้านก็คือห้ามสูบ แล้วหมอจะมาอยู่ตลอดเวลา ได้อย่างไร อย่างร้านผมเปิด 10 โมง ปิดเที่ยงคืน มัน 14 ชั่วโมง อย่างน้อย ๆ ต้องมีหมอ 2-3 คน เข้ามาประจำร้าน” พงศ์ กล่าว
ขณะที่ โต้ง (นามสมมติ) เจ้าของกิจการร้านกัญชา 4 แห่งใน จ.จังหวัดภูเก็ต และอีก 1 แห่ง ย่านสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ก็บอกกับ.ว่า ปัญหาขาดแคลนหมอในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ยังเกิดขึ้นอยู่ และประกาศกระทรวงฉบับใหม่อาจเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรทางการแพทย์
“ทรัพยากรคนทางด้านการแพทย์นั้น ในประเทศนี้เรารู้กันอยู่ว่ามีน้อยเหลือเกิน แล้วถ้าต้องเอามาบังคับใช้ในส่วนของกัญชาอีก มันจะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ปล่อยให้เขาได้ไปทำหน้าที่ดูแลคนไข้แบบจริง ๆ ไปเถอะ” เขา กล่าว

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์นั่งประจำร้านกัญชา เมื่อวันที่ 16 ก.ค. กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้มีการจัดอบรมผู้สั่งจ่ายกัญชา ทั้งออนไลน์และออนไซต์ เพื่อเตรียมกลุ่มวิชาชีพในการสั่งจ่ายสมุนไพรราว 1,200 คน ในวันแรก ขณะที่ส่วนของผู้ประกอบการจำหน่ายช่อดอกกัญชาจะเริ่มอบรมวันที่ 17 ก.ค. โดยมีเป้าหมายอบรมให้ครบ 80,000 คน
อย่างไรก็ตาม เบนจามิน บาสกินส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท OG Canna ที่มีร้านและคลินิกกัญชาอยู่ในเครือ 12 ร้าน ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ บอกกับ.ว่า ปัจจุบันบริษัทเขามีหมอนั่งประจำร้านกัญชาทั้งหมด 8 ราย และเขาก็มีความตั้งใจปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฉบับใหม่ที่ออกมา ด้วยการส่งพนักงานของตนเข้ารับการอบรมกับกรมการแพทย์แผนไทยฯ แต่เว็บไซต์ทางการกลับล่มตั้งแต่ช่วงเช้าที่เปิดอบรม
“สิ่งที่เกิดขึ้นคือระบบมีผู้เข้าใช้เยอะเกิน ตอนเช้าเมื่อ 9 โมง ทั้ง 1,200 สล็อตก็เต็มหมดแล้ว น่าเสียดายมาก เพราะพวกเขาเหล่านั้น ที่ลงทะเบียน ก็คือหมอ” บาสกินส์เล่าให้.ฟัง เขาบอกด้วยว่า บริษัทกำลังชะลอการจ้างหมอเพิ่มระหว่างรอความชัดเจนจากรัฐบาล

กฎใหม่เปิดช่องให้แพทย์เรียกค่าตัวสูง
โต้งบอกกับ.ด้วยว่า แม้ปัจจุบันตนจะพยายามหาแพทย์มานั่งประจำร้าน แต่เขาต้องเจอกับปัญหาการ “อัพราคา” ค่าจ้างหมอ
“เคยถามตอนที่ยังไม่มีกฎหมายออกมาว่า ต้องมี แพทย์ประจำร้าน ราคาของหมอจะอยู่ที่ระดับหนึ่ง แต่พอกฎหมายออกมาสั่งว่าต้องมี พอไปคุยกับหมออีกทีหนึ่ง มันกลายเป็นอัพราคาขึ้นมา… ก่อนหน้านี้อาจจะคุยกันไว้แค่ที่สัก 20,000 กว่า ๆ บาท แต่พอมีกฎหมายออกมา กลายเป็น 30,000 กว่าบาทต่อเดือนแล้ว” โต้ง ที่มีกิจการร้านกัญชาทั้งสิ้น 5 แห่ง บอกกับ.
เช่นเดียวกันกับพงศ์ที่บอกว่า เมื่อคำนวณค่าใช้จ่าย หากร้านของเขาต้องจ้างแพทย์มาประจำร้าน “ก็เกือบ ๆ แสนได้แล้วนะครับต่อเดือน” ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ร้านอาจไม่สามารถลงทุนเพิ่มได้ในตอนนี้ที่ยอดขายตก
“แย่เลยครับถ้าจะต้องจ้างหมอเพิ่ม ลำพังแค่แบกต้นทุนพนักงาน ตอนนี้ทางร้านผมก็พยายามจำกัดพนักงานให้เหลือสองคน… แล้วจะไม่มีรับใครเพิ่มแล้ว มันก็แบกรับภาระทั้งคนทำงานและผู้ว่าจ้างด้วย” พงศ์ กล่าวเสริม

ในทางกลับกัน บาสกินส์บอกว่าการเรียกราคาค่าตัวหมอเพิ่มเป็นเรื่องที่ทำได้ และบริษัทของเขาก็สนับสนุนแนวคิดการเพิ่มรายได้ของแพทย์ไทยมาตลอด
“พวกเขา แพทย์ อาจอยากเข้ามามีส่วนร่วมในวงการนี้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ เพราะว่ามีกำไรมาก ซึ่งในทุก ๆ อาชีพ พวกเขาก็มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติเช่นนั้น และทำธุรกิจของเขาอย่างมีจริยธรรม… แน่นอนนี่คือโอกาสสร้างรายได้ที่ดีขึ้นสำหรับแพทย์แผนไทยหลายคน ซึ่งเราสนับสนุนความคิดนี้มาตลอด”
แต่สิ่งที่เขาคิดว่าสำคัญยิ่งกว่าปัญหาอื่น ๆ คือการขาดความชัดเจนจากภาครัฐ จากประกาศกระทรวงฉบับใหม่ โดยแม้เขาจะรู้สึก “ขอบคุณในความพยายาม” ของเจ้าหน้าที่ ที่พยายามมาเยี่ยมเยียนหน้าร้านกัญชาเพื่ออธิบายกฎระเบียบใหม่ แต่การขาดความชัดเจนว่าร้านค้าขายกัญชาจะต้องปรับตัวอย่างไรก็เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเขา
“ผมรู้สึกขอบคุณในความพยายามที่ เจ้าหน้าที่ เข้ามาคุยในร้าน ให้ข้อมูล และให้ความรู้กับร้านค้า แต่แน่นอนว่ามันต้องมีวิธีที่เป็นระเบียบกว่าการทำอะไรแบบนี้สิ ผมสามารถพูดแทนทุกคนในอุตสาหกรรมได้ว่า สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือความชัดเจน เพราะตอนนี้มันคลุมเครือมาก อย่างกับทำงานวันต่อวันเพื่อหาคำตอบต่อคำถามเหล่านี้ เพราะพวกเขาไม่เคยคิดถึงมัน คำถามของผู้ประกอบการ มาก่อน” ผู้บริหารบริษัท OG Canna บอกกับ.
ลูกค้าลด เพราะขาดความเชื่อมั่น

บาสกินส์กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้ร้านกัญชาของเขาเจอกับปัญหาจำนวนลูกค้าลดลง ตั้งแต่ช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา เนื่องจากร้านค้าส่วนใหญ่ของเขาตั้งอยู่บนย่านนักท่องเที่ยว และประกาศกระทรวงล่าสุดก็ยิ่งซ้ำเติมธุรกิจของเขา
“เราเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมาตั้งแต่ต้นปี 2025 และนั่นก็ทั่วถึงทุกพื้นที่ ทุก ๆ คนที่ผมคุยด้วย ลูกค้าร้านของพวกเขาลดลง 20-30% และมันก็ไม่ดีขึ้นเลย… แต่ด้วยการเปลี่ยนกฎหมายอย่างกะทันหัน มันเพียงแต่เพิ่มความสับสนและความยากลำบาก” เขา ระบุ
ผู้บริหารบริษัท OG Canna บอก.ด้วยว่า หลังจากมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว ลูกค้าของเขาก็ลดลงไปอีก 10 %
เช่นเดียวกันกับพงศ์ ที่บอกกับ.ว่า ลูกค้าร้านกัญชาของเขาลดลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขออกมา เพราะลูกค้าไม่กล้าที่จะเดินเข้าร้าน เนื่องจากความไม่แน่นอนของกฎหมาย
“ลูกค้า ลดลงเยอะมากครับ ลดแบบ 50% ได้เลย ลูกค้าของร้านผมจะเป็นนักท่องเที่ยว 90% พอเขาเห็นถึงความยากลำบากในการเข้าถึงกัญชาในลักษณะสันทนาการ นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวไทยเพื่อสูบกัญชา เขาก็ไม่อยากจะมาสักเท่าไหร่… ผมก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่เขาออกมาแรงขนาดนี้ ถ้าร้านกัญชาจะต้องปิด ผมก็ตกงาน” เขา ระบุ
ส่วนโต้งบอกว่า การบังคับใช้กฎหมายอย่าง “ปัจจุบันทันด่วน” ของรัฐบาลได้ทำให้ลูกค้าของเขาหายไป และลูกค้าชาวต่างชาติก็เคยบอกกับเข้าด้วยว่า “ฉันไม่มั่นใจในรัฐบาลของคุณ ชักเข้าชักออก อะไรก็ไม่รู้”
นั่นทำให้เขาตกอยู่ในที่นั่งลำบาก แต่โต้งก็ไม่คิดออกจากวงการธุรกิจกัญชา
“ผมเปิดร้านแบบเอากำไรมาต่อทุน ถ้าผมยอมแพ้ในธุรกิจไปโดยคำสั่งของรัฐบาล มันก็จะกลายเป็นสามปีที่ผมทำมา ผมไม่เหลืออะไรเลย” โต้งกล่าว พร้อมเสริมว่า เขาเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาล “ประกาศนโยบายออกมาเพราะโกรธกัน แต่คนที่ต้องรับผลกรรมคือ ผู้ประกอบการอย่างเรา”
ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล
“ถ้าจะให้ใช้ในทางการแพทย์จริง ๆ ให้เอาเข้า พ.ร.บ.กัญชา ให้เป็นกฎหมายไปเลย แล้วก็มีวิธีการต่าง ๆ อยู่ในนั้นที่มันละเอียดและเข้าใจตรงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ออกมาจากรัฐมนตรีท่านหนึ่ง” โต้งกล่าว พร้อมเสริมด้วยว่าตอนนี้เจ้าของกิจการร้านและฟาร์มกัญชามีการรวมตัวกัน โดยพวกเขาตั้งใจจะฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครองจากประกาศฉบับล่าสุดที่ออกมา เพราะไม่ให้เวลาภาคธุรกิจได้ปรับตัว
“ออกคำสั่งโดยมิชอบ มันทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง อย่างแรกคือทางผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีเวลาให้เราปรับตัวเลย” เขาระบุถึงเนื้อหาคร่าว ๆ ของคำร้อง พร้อมเสริมด้วยว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐต้องออกมาพูดเรื่องการชดเชยต่อผู้ประกอบการ
“รัฐบาลก็คือคุณสามารถบังคับอะไรก็ได้ แต่คุณต้องมาเยียวยาเราด้วย” โต้ง บอก
สำหรับพงศ์ เขาให้ข้อเสนอว่า การบังคับให้มีแพทย์มานั่งในร้านอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะการมีใบรับรองแพทย์เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วต่อการยืนยันอาการป่วยของคนไข้ และนั่นจะเป็นการลดภาระของร้านค้าด้วย
“ถ้าจะควบคุมจริง ๆ ในมุมของผู้ซื้อลูกค้า ก็แค่มีใบอนุญาตจากแพทย์ก็พอ แค่นั้นก็เอาอยู่แล้ว show cloak cloak (คัดกรอง) ผู้ซื้อได้ในระดับค่อนข้างเยอะมากแล้ว” พงศ์ แสดงทัศนะกับ.

ทางด้านบาสกินส์กล่าวว่า สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคือความชัดเจน เช่น เรื่องการวางระบบ telemedicine (แพทย์ทางไกล) เพื่อให้แพทย์ 1 คน สามารถดูแลร้านหลายแห่งได้
“กฎหมายถูกเร่งออกมาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม และ ณ จุดนี้ ถ้าพวกเขา รัฐบาล ต้องการจะช่วยเหลืออุตสาหกรรม พวกเขาต้องทำงานอย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อชี้แจงความชัดเจนในทุกจุด ของประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่”
แม้ผู้บริหารรายนี้ไม่ได้แสดงความคิดเห็นว่า ประกาศควบคุมกัญชาฉบับใหม่จะจัดการกับปัญหาการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ แต่เขากังวลว่า กฎระเบียบเช่นนี้อาจผลักผู้ประกอบการให้ไปเปิดกิจการ “ใต้ดิน”
“หากรัฐไม่มีความชัดเจน มันก็อาจจะเป็นความล้มเหลวได้ มันจะไม่ประสบผล การยับยั้งกัญชาทางสันทนาการหรือ ? บางทีคุณอาจจะกำลังผลักทุกอย่างไปใต้ดิน ซึ่งเราไม่ต้องการเช่นนั้น… แต่หลายสิ่งหลายอย่างก็กำลังผลักดันให้เป็นเช่นนั้นในกรณีของผู้เล่นรายอื่น ๆ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อความอยู่รอด” บาสกินส์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา BBC.co.uk