
กรณีไทยอ้างกัมพูชาวางทุ่นsะเบิดล้ำเขตแดน หากเป็นจริง จะทำให้ไทยพลิกเกมกับเขมรได้หรือไม่ ?

ที่มาของภาพ : ROYAL THAI ARMY
Article Recordsdata
-
- Creator, จิราภรณ์ ศรีแจ่ม
- Aim, ผู้สื่อข่าว.
ล่าสุด รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ประณามกัมพูชาอย่างรุนแรงที่สุดต่อกรณีการใช้ทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา ทำให้กำลังพลของกองทัพไทย 3 นายได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยหนึ่งในจำนวนนี้ต้องสูญเสียขาและกลายเป็นผู้พิการถาวร
ช่วงเย็นวันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำดังกล่าว พร้อมกับเปิดเผยว่า จากการตรวจสอบโดยศูนย์ปฏิบัติการทุ่นsะเบิดแห่งชาติ (Thailand Mines Circulation Center-TMAC) “ยืนยันว่าทุ่นsะเบิดที่พบ 8 ลูก เป็นทุ่นsะเบิดที่วางใหม่ โดยไม่พบว่า มีการใช้งานหรืออยู่ในคลังอาวุธของไทย”
“รัฐบาลไทยขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการใช้ทุ่นsะเบิดสังหารบุคคล ซึ่งถือเป็นการละเมิดอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ” นายนิกรเดช กล่าว
ขณะเดียวกัน ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นsะเบิดแห่งชาติก็ระบุในแถลงการณ์วันนี้ (21 ก.ค.) ว่า “มีการลักลอบเข้ามาดำเนินการวางทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ตามแนวชายแดนแนวชายแดนไทย–กัมพูชา บริเวณช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่อธิปไตยไทย” พร้อมกับเรียกร้องให้ฝ่ายกัมพูชาหยุดขัดขวางการเก็บกู้ทุ่นsะเบิดของฝ่ายไทยตามแนวชายแดน
ทางศูนย์ปฏิบัติการทุ่นsะเบิดแห่งชาติของไทยจึงขอประณามการกระทำดังกล่าวของกัมพูชา และขอคัดค้านต่อการกระทำใด ๆ ที่อาจถือว่าเป็นการละเมิดพันธกรณีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นsะเบิดสังหารบุคคล (Mine Ban Convention) หรืออนุสัญญาออตตาวา (Ottawa Treaty) ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาต่างเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue discovering outได้รับความนิยมสูงสุด
End of ได้รับความนิยมสูงสุด
“ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นsะเบิดแห่งชาติขอเรียกร้องให้ราชอาณาจักรกัมพูชาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน รวมถึงดำเนินมาตรการทางกฎหมายต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุในลักษณะนี้อีกในอนาคต” TMAC ระบุในแถลงการณ์
กระทรวงกลาโหมของกัมพูชาปฏิเสธข้อกล่าวหาของไทย

ที่มาของภาพ : PRESS OCM
บ่ายวานนี้ (20 ก.ค.) พลโทหญิงมาลี โสเจียตา โฆษกกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาของไทยต่อกัมพูชาอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับเหตุทุ่นsะเบิดที่หมู่บ้านเตโชรโกฏ ต.มรกต อ.จวมกสาน จ.พระวิหาร เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ซึ่งทำให้กำลังของไทยได้รับบาดเจ็บ 3 นาย
พลโทหญิงมาลี บอกว่าทหารไทยละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในบันทึกความเข้าใจ พ.ศ. 2543 (MoU 2543) โดยลาดตระเวนออกนอกเส้นทางที่ตกลงกันไว้และกำหนดเส้นทางลาดตระเวนขึ้นมาเองใหม่ “เข้าสู่ดินแดนอธิปไตยของกัมพูชา ซึ่งได้รับการยอมรับตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 อันเป็นผลจากการกำหนดเขตแดนและปักหลักเขตแดนระหว่างอินโดจีนและสยาม ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ.1907”
“การรุกล้ำของพวกเขาทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากกับsะเบิด ซึ่งเป็นเศษซากที่หลงเหลือจากสงคราม” โฆษกกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา กล่าว และยืนยันว่าทางกัมพูชาเตือนไทยหลายครั้งแล้วว่าให้ลาดตระเวนตามเส้นทางที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังมีทุ่นsะเบิดจำนวนมาก ซึ่งแม้แต่ชาวกัมพูชาก็อาจได้รับอันตราย
“นี่เป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อยั่วยุความตึงเครียดที่อาจยกระดับสถานการณ์ไปสู่การเผชิญหน้าหรือไม่” พลโทหญิงมาลี ตั้งคำถามต่อทางการไทย
ทางกัมพูชาเรียกร้องให้ไทยเคารพอำนาจอธิปไตย ปฏิบัติตาม MoU 2543 อย่างเต็มที่ และใช้กลไกทางกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพื่อแก้ไขข้อพิพาทชายแดน พร้อมกับยืนยันว่าประเทศของตนปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวา
“กัมพูชาได้รับการยอมรับอย่างสูงจากประชาคมระหว่างประเทศ ไม่เพียงแต่ความสำเร็จในการกำจัดและทำลายทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลทุกประเภทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมของกัมพูชาในความพยายามของสหประชาชาติในการกำจัดทุ่นsะเบิดในประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือยังคงได้รับความเดือดร้อนจากสงครามอีกด้วย” พลโทหญิง มาลี กล่าว
อย่างไรก็ดี บริเวณที่เกิดเหตุsะเบิดขึ้นอยู่ในพื้นที่พิพาทเขตแดนที่ทางกัมพูชาเตรียมนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก แม้ไทยไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาลก็ตาม
ศบ.ทก. ยันทุ่นsะเบิดอยู่ในเส้นทางลาดตระเวนปกติ
ด้าน พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ โฆษกศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) แถลงเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่าหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กองกำลังสุรนารี ออกลาดตระเวนในวันที่ 15 ก.ค. เพื่อเสริมสร้างและคุ้มครองเส้นทางทางยุทธวิธีจากฐานมรกตไปยังเนิน 481 อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานีของไทย โดยยืนยันว่าเป็นเขตอธิปไตยของไทย และต่อมาวันที่ 16 ก.ค. จึงเหตุการณ์พลทหารเหยียบกับsะเบิดขึ้นตามที่เป็นข่าว
หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทางไทยได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุในวันที่ 18 ก.ค. พบว่าจุดเกิดเหตุsะเบิดห่างจากเส้นปฏิบัติการ (Lines of Operations) 130 เมตร และจุดวางทุ่นsะเบิดอยู่ในเส้นทางลาดตระเวนของทหารไทยตามปกติ
“ทางไทยลาดตระเวนตามปกติ แต่เหตุการณ์วันที่ 16 ก.ค. เป็นเหตุสุดวิสัยจริง ๆ” พล.ร.ต.สุรสันต์ กล่าว
โฆษก ศบ.ทก. กล่าวต่อว่าหน่วยพิสูจน์ทราบพบว่าหลุมsะเบิดกว้าง 69 เซนติเมตร ลึก 23 เซนติเมตร รวมถึงพบเศษวัสดุsะเบิดชนิด PMN-2 พร้อมกับพบทุ่นsะเบิดชนิดเดียวกันอีก 2 จุด
จุดแรกพบทุ่นsะเบิด 3 ทุ่น อยู่ห่างจากต้นพญาสัตบรรณราว 50 เมตร ใกล้กับคูเลตที่ทางทหารกัมพูชาเคยขุดไว้ แล้วกลายเป็นกรณีพิพาทกันในเวลาต่อมา ส่วนจุดที่สอง พบทุ่นsะเบิดเพิ่ม 5 ทุ่น ห่างจากจุดแรกประมาณ 100 เมตร รวมจำนวนทุ่นsะเบิดทั้งหมด 8 ทุ่นที่พบใหม่
“ยืนยันว่าเป็นsะเบิดชนิด PMN-2 มีสภาพใหม่พร้อมทำงาน ปรากฏตัวอักษรชัดเจนบริเวณข้างตัวทุ่นsะเบิด โดยทุ่นsะเบิดชนิดนี้ประเทศไทยและกองทัพไทยไม่เคยมีในสารบบยุทธโธปกรณ์” พล.ร.ต.สุรสันต์ กล่าว
เขายังบอกด้วยว่าสภาพของจุดที่วางทุ่นsะเบิดยังไม่มีวัชพืชหรือรากไม้ใด ๆ ขึ้นปกคลุม ซึ่งยืนยันว่าเป็นร่องรอยใหม่ รวมถึงพบร่องรอยการขุดเพื่อวางทุ่นsะเบิดด้วย
“ขอเท้าความว่าในปี 2565 ทางกองทัพได้ดำเนินการกวาดล้างทุ่นsะเบิดในพื้นที่ช่องบกหรือพื้นที่ปฏิบัติการที่ผมได้กล่าวไปแล้ว โดยไม่ตรวจพบsะเบิดชนิด PMN-2 แต่อย่างใด เป็นสิ่งบ่งชี้ว่านี่คือsะเบิดใหม่ คาดว่าsะเบิด PMN-2 ถูกนำมาวางหลังการปะทะกัน ระหว่างทหารไทยกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 พ.ค.” โฆษก ศบ.ทก. กล่าว
พล.ร.ต.สุรสันต์ บอกด้วยว่า พบทุ่นsะเบิด PMN-2 อีก 2 จุด ในวันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งห่างจากหลุมsะเบิดที่ทหารไทยเหยียบประมาณ 20-30 เซนติเมตร
“ชี้ชัดว่ามีการวางใหม่เพิ่มเติมอีก เป้าหมายเพื่อสังหารบุคคล และละเมิดอนุสัญญาออตตาวาอย่างชัดเจน รวมถึงการรุกล้ำอธิปไตยของไทย”
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางกองทัพได้ยกระดับมาตรการที่เข้มข้นขึ้น หน่วยในพื้นที่ได้รับคำสั่งให้ระมัดระวังในการลาดตระเวนในพื้นที่ และเตรียมความพร้อมสูงขึ้นตามหลักปฏิบัติการใช้กำลังของกองทัพ รวมถึงมีทางกองทัพเองก็มีวาระจะเชิญผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและผู้แทนกองทัพประเทศต่าง ๆ มารับฟังคำชี้แจงเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงในเร็ว ๆ นี้

ที่มาของภาพ : ศบ.ทก.
จากฐานข้อมูลเครือข่ายที่รวบรวมข้อมูลและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับวัตถุsะเบิดที่ยังไม่sะเบิด (CAT-UXO) ระบุว่า ทุ่นsะเบิดสังหารบุคคล PMN-2 เป็นอาวุธจากรัสเซีย ซึ่งเป็นsะเบิดแรงสูง ทำงานด้วยแรงกด โดยตัวเรือนทำจากพลาสติกทรงกลมสีเขียวอ่อน ทำให้เครื่องตรวจจับโลหะตรวจพบsะเบิดชนิดนี้ได้ยาก
นอกจากนี้ PMN-2 ยังมีกลไกภายในที่ซับซ้อน ประกอบด้วยระบบหน่วงเวลาในการจุดsะเบิดได้ตั้งแต่ 30-300 วินาที และมีระบบต้านทานแรงอัดจากsะเบิดด้วย
ผู้เชี่ยวชาญแนะใช้เรื่องนี้เป็นจุดพลิกเกมต่อรองกับกัมพูชา
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ให้สัมภาษณ์กับ.ว่า ไทยควรดำเนินการตามข้อตกลงอนุสัญญาออตตาวาควบคู่ไปกับการกดดันกัมพูชาผ่านเวทีนานาชาติ ด้วยการเชิญตัวแทนจากสหประชาชาชาติ หรือ ยูเอ็น (United Countries – UN) รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาออตตาวาเข้ามาในพื้นที่ที่พบทุ่นsะเบิดเพื่อประเมินสถานการณ์ดังกล่าวโดยตรง
พร้อมกันนี้ ทางศูนย์ปฏิบัติการทุ่นsะเบิดแห่งชาติของไทยซึ่งมีศักยภาพในการทำลายทุ่นsะเบิดอย่างมาก ก็ควรเสนอความช่วยเหลืองานด้านเก็บกู้ไปทางศูนย์ปฏิบัติการทุ่นsะเบิดกัมพูชา (Cambodian Mine Circulation Center-CMAC) ของกัมพูชาด้วย
“ถ้ากัมพูชาปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือกับ TMAC ของไทย ไม่ร่วมมือกับยูเอ็น มันก็ชัดแล้วนะครับว่าเขาทำผิดกติกา ทำให้เราพลิกกลับมาดำเนินการเชิงรุกในเวทีระหว่างประเทศ สามารถกดดันกัมพูชาในเรื่องนี้ได้ และทางกัมพูชาก็น่าจะระมัดระวังในการเข้ามาวางทุ่นsะเบิดมากขึ้น” รศ.ดร.ปณิธานกล่าว

ที่มาของภาพ : ROYAL THAI ARMY
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ฟินแลนด์ โปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย แสดงเจตจำนงว่าต้องการถอนตัวจากอนุสัญญาออตโตวา เนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะภัยคุกคามของรัสเซียซึ่งเริ่มปฏิบัติการรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบเมื่อต้นปี 2565 และรัสเซียเองก็ไม่ได้เป็นรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวา เช่นเดียวกับ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และปากีสถาน โดยพบว่ารัสเซียใช้ทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับยูเครนที่ได้รับการสนับสนุนอาวุธชนิดนี้จากสหรัฐฯ
ฟินแลนด์ โปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และ ลิทัวเนีย ต่างมีพรมแดนติดกับรัสเซียหรือประเทศwันธมิตรของรัสเซีย พวกเขาจึงมองว่าการถอนตัวจากอนุสัญญาออตตาวาจะช่วยให้สามารถใช้ทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลในการป้องกันประเทศได้ โดยยืนยันว่าจะยึดมั่นในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และไม่มีแผนใช้ทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลแบบหว่านแหหรือไม่เลือกปฏิบัติ
.สอบถาม รศ.ดร.ปณิธาน ว่าการพบทุ่นsะเบิดสังหารบุคคลที่ทางไทยอ้างว่าเป็นการเข้ามาวางใหม่ในแนวที่เคยเก็บกู้ไปแล้วนั้น สะท้อนให้เห็นถึงการกลับมาของsะเบิดชนิดนี้ในภูมิภาคหรือไม่
อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้นี้ปฏิเสธ โดยมองว่าไทยและกัมพูชาไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามเช่นประเทศข้างต้น แต่การแสดงเจตจำนงของประเทศดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการกดดันประเทศที่ละเมิดพันธกรณีอนุสัญญาออตตาวาในอนาคตได้
“การบังคับใช้ อนุสัญญาออตโตวา ไม่มีผลในเรื่องการลงโทษโดยตรงอยู่แล้ว มันเป็นการประจาน ประณามกันเสียมากกว่า เพราะฉะนั้นน้ำหนักของมันก็น้อยลง ตอนนี้มี 164 ประเทศมีเป็นรัฐภาคีและมีอีก 1 ประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน โดยสรุปก็คือการบังคับให้กัมพูชาทำตามข้อตกลงอาจจะมีไม่มาก แม้มีรายละเอียดบางอย่างที่ทำให้เรายังทำงานร่วมกับกัมพูชาผ่านอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ได้” รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
ด้าน พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมแถลงต่อสื่อวันนี้ว่าทางกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ทำสำนวนฟ้องว่ากัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวาใน 2 กรณี คือ เข้ามาวางทุ่นsะเบิดใหม่ และยังมีทุ่นsะเบิดอยู่ในครอบครองโดยไม่ทำลายให้หมด แต่กลับนำมาใช้ใหม่
รมช.กลาโหม ยังบอกด้วยว่าทางการไทยจะส่งข้อมูลไปยังประเทศที่เป็นสนับสนุนเงินกัมพูชาในพันธกรณีเกี่ยวกับอนุสัญญาออตตาวา เพื่อแสดงให้เห็นว่ากัมพูชานำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
อย่างไรก็ตาม พลเอกณัฐพล ยอมรับว่าหากสุดท้ายแล้วไทยพิสูจน์ได้จริงว่ากัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา ก็ยังไม่ชัดเจนว่ากัมพูชาจะได้รับการลงโทษจากกรณีละเมิดอนุสัญญาออตตาวาอย่างเป็นรูปธรรมเช่นไร
ที่มา BBC.co.uk