
‘ภาวะโลกร้อน’ ไม่ได้แค่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย แต่ยังเปลี่ยน ‘คุณภาพของแสง’ ใต้ผืนน้ำ ซึ่งกำลังส่งผลต่อห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ไปจนถึงสัตว์ทะเลขนาดใหญ่
.
ปกติแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก จะทำหน้าที่สะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไปสู่อวกาศ และปล่อยให้แสงเพียงเล็กน้อยลอดผ่านลงไปในทะเล แสงนี้แม้จะน้อยแต่ครอบคลุมย่านคลื่นแสงที่มองเห็นได้หลากหลาย ทำให้สิ่งมีชีวิตเช่นแพลงก์ตอนและสาหร่ายน้ำแข็งสามารถปรับตัวเพื่อใช้แสงสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแสงจำกัด
.
แต่เมื่อโลกอุ่นขึ้น น้ำแข็งเหล่านั้นจะละลายจนกลายเป็นน่านน้ำเปิด ทำให้แสงที่ส่องลงไปใต้น้ำกลับกลายเป็นแสงสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไปทำให้การสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนและสาหร่ายทำงานผิดปกติ
.
การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดสูญหาย ขณะที่บางชนิดที่ใช้แสงสีน้ำเงินได้ดีจะได้เปรียบขึ้น เช่น ไฟโตแพลงก์ตอนบางสายพันธุ์ ซึ่งอาจกลายเป็นผู้ครองระบบนิเวศใหม่ ส่งผลให้ห่วงโซ่อาหารทางทะเลในแถบขั้วโลกสั่นคลอนตั้งแต่รากฐาน
.
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://ngthai.com/ambiance/77819/loss-of-sea-ice/
.
#NationalGeographicThailand โลกร้อน ขั้วโลก
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's