
คนไทยเสียชีวิต 14 ราย ชายแดนอพยพ 1.3 แสน จากเหตุสู้รบไทย-กัมพูชา

ที่มาของภาพ : AFP/Getty Photos
ศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) เปิดเผยจำนวนคนไทยที่เสียชีวิตจากสถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา ณ วันที่ 25 ก.ค. 2568 เวลา 9.00 น. เป็นพลเรือนเสียชีวิต 14 ราย บาดเจ็บ Forty five ราย ส่วนสถานการณ์วันที่สองยังเกิดการปะทะตามแนวชายแดนหลายพื้นที่ และมีคำเตือนให้ประชาชนอพยพเพิ่มเติม
พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ โฆษก ศบ.ทก. ด้านความมั่นคง แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. วันนี้ (25 ก.ค.) ระบุว่าตั้งแต่ 8.30 น. ทางทหารฝ่ายกัมพูชายังคงมีการใช้อาวุธหนักและอาวุธยิvสนับสนุนระยะไกลโจมตีบริเวณพื้นที่ปะทะ รวมทั้งพื้นที่ส่วนหลังที่มีประชาชนอยู่ ทำให้มีประชาชนบางส่วนรวมถึงโรงพยาบาลได้รับผลกระทบ
โฆษก ศบ.ทก. ด้านความมั่นคง กล่าวต่อไปว่าการปะทะของทั้งสองฝ่ายยังคงมีอยู่ในพื้นที่ 12 จุด เช่นบริเวณพื้นที่ช่องบก, ช่องอานม้า จ.อุบลราชธานี, พื้นที่ซำแต จุดตรวจการณ์ภูผี ช่องตาเฒ่า เขาพระวิหาร วัดแก้ว ภูมะเขือ จ.ศรีสะเกษ, ช่องจอม ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย จ.สุรินทร์
ด้านสถานการณ์ชาวไทยชายแดนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการยิvอาวุธเข้ามาในฝั่งไทย พล.ร.ต.สุรสันต์ เปิดเผยตัวเลขจากกระทรวงมหาดไทยว่ามีประชาชนใน 4 จังหวัด อพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้วกว่าแล้วกว่า 130,000 คน โดยจังหวัดได้จัดเตรียมศูนย์พักพิงอพยพซึ่งสามารถรองรับประชาชนได้กว่า 300,000 คน
“นั่นก็คือเกือบร้อยละ 100 ของประชาชนในพื้นที่” โฆษก ศบ.ทก. ด้านความมั่นคง ระบุ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue learningได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยระบุว่าใน 4 จังหวัด มีการจัดตั้งศูนย์พักพิง 295 แห่ง ได้แก่ สุรินทร์ 67 แห่ง, ศรีสะเกษ 58 แห่ง, บุรีรัมย์ 1 แห่ง และอุบลราชธานี 169 แห่ง
ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณุสขได้อพยพผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ออกจากโรงพยาบาลที่อยู่ในรัศมีของการโจมตีแล้ว ซึ่งมีโรงพยาบาลชายแดนได้รับผลกระทบรวมทั้งหมด 11 แห่ง
“ในจำนวนนี้ 4 แห่งได้ปิดทำการไปโดยปริยาย เนื่องจากว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี” พล.ร.ต.สุรสันต์ ระบุ
สถานการณ์อพยพล่าสุดของคนไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดน จากการรายงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เปิดเผยว่าที่ อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการถูกกัมพูชาใช้อาวุธหนักยิvใส่ วานนี้ (14 ก.ค.) ในวันนี้การอพยพประชาชนในพื้นที่มีการอพยพทั้งหมด 100% และ จังหวัดศรีสะเกษ มีคำเตือนให้ชาว อ.ภูสิงห์ และ อ.ขุนหาร ตามแนวชายแดนอพยพด่วน หาจุดปลอดภัย และเข้าศูนย์พักพิง
ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้เรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือกรณีการปะทะระหว่างไทยและกัมพูชาในวันนี้ (25 ก.ค.) หลังจากวานนี้ นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งหนังสือไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร้องขอให้มีการประชุมวาระเร่งด่วนเพื่อพิจารณาเหตุปะทะบริเวณชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา เมื่อช่วงเช้าวันที่ 24 ก.ค.
ล่าสุด เว็บไซต์ของสหประชาชาติได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมในเรื่องนี้ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ เวลา 15.00 น. ของวันที่ 25 ก.ค. หรือประมาณ 2.00 น. ของเสาร์ที่ 26 ก.ค. ตามเวลาประเทศไทย โดยกำหนดให้เป็นการประชุมแบบลับ (Non-public meeting)
ขณะที่นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ วานนี้ (24 ก.ค.) ว่า ได้สั่งการกระทรวงการต่างประเทศจัดเตรียมแผนการอพยพคนไทยออกจากกัมพูชาแล้ว โดยจากการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม และสายการบินพาณิชย์ ได้พิจารณาให้มีการเพิ่มจำนวนที่นั่งในเที่ยวบินระหว่างกรุงพนมเปญและกรุงเทพ เพื่อรองรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับบ้าน
ทั้งนี้ สื่อหลายสำนัก เช่น มติชน รายงานความเคลื่อนไหวของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยอ้างอิงการเปิดเผยจาก น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. สายกำกับสถาบันการเงิน ว่าได้ทยอยนำพนักงานคนไทยในสถาบันการเงินสาขาต่าง ๆ ในกัมพูชากลับประเทศแล้ว โดยคาดว่าจะกลับได้ทั้งหมดในวันนี้ ซึ่งสถาบันการเงินยังปิดบางสาขาในเขตพื้นที่ชายแดน 7 จังหวัดด้วย
สถานการณ์ชายแดนวันที่สอง (25 ก.ค.)
กองทัพบกเปิดเผยว่าได้รับรายงานจากหน่วยในพื้นที่ว่าเริ่มมีการปะทะตั้งแต่เวลาประมาณ 4.00 น. ของวันศุกร์ที่ 25 ก.ค. ในพื้นที่ช่องบก และภูมะเขือ จ.อุบลราชธานี รวมถึงในพื้นที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ฝ่ายกัมพูชาได้ระดมยิvด้วยอาวุธหนัก ปืนใหญ่สนาม และจรวด BM-21 เข้ามาอย่างต่อเนื่องจนถึงเวลาปัจจุบันที่รายงานในเวลา 8.00 น.
กองทัพบกระบุด้วยว่า ฝ่ายไทยได้ตอบโต้ด้วยการใช้อาวุธยิvสนับสนุนตามสถานการณ์ และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้หลีกเลี่ยงการเข้าในพื้นที่การปะทะ

ที่มาของภาพ : AFP/Getty Photos
เมื่อเวลา 8.07 น. วันนี้ เพจเฟซบุ๊ก “กองทัพภาคที่ 2” ยังได้โพสต์เน้นย้ำแจ้งเตือนประชาชนในอยู่ในรัศมี 20-40 กม. จากชายแดนกัมพูชา ได้แก่ อ.น้ำขุ่น และ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี และ อ.ภูสิงห์, อ.ขุนหาญ และ อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ขอให้อพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากอยู่ในระยะยิvของเครื่องยิvจรวด BM-21, PHL-81 และ Sort-90B
ขณะที่กองทัพอากาศแจ้งผ่านสื่อ ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงในรัศมี 20-40 กม. ของแนวปะทะชายแดน และงดการเผยแพร่ภาพและข้อมูลของบุคลากร เช่น ภาพ เสียง เวลา ที่แสดงตำแหน่งเครื่องบิน รวมถึงภาพนักบินและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการทางทหาร
เช่นเดียวกับกองทัพบก ที่ขอความร่วมมือไม่เผยแพร่การเคลื่อนกำลัง, การปฏิบัติ ณ ฐานที่ตั้ง, เป้าหมายการโจมตี และความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบกับผู้ปฏิบัติหน้าที่แนวรบ
กัมพูชาอ้างไทยใช้อาวุธเข้าข่ายอาชญากรรมสงคราม
ราว 13.00 น. สำนักข่าว “ขแมร์ไทม์ส” (Khmer Times) รายงานการแถลงข่าวของ พลโทหญิง มาลี โสเจียตา โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ระบุว่า ตั้งแต่เวลา 3.20 น. ของวันนี้ (25 ก.ค.) ไทยเป็นฝ่ายเปิดการสู้รบก่อน โดยเปิดฉากโจมตีในพื้นที่ 7 จุด รวมถึงปราสาทตาเมือน , ปราสาทตาควาย และหมู่บ้านเตโชงามใน จ.พระวิหาร
โฆษกกลาโหมกัมพูชาอ้างว่าในเวลา 8.00 น. กองทัพไทยพยายามยึดพื้นที่ปราสาทตาควายคืน แต่กองทัพกัมพูชาต่อสู้อย่างหนักเพื่อป้องกันไม่ให้ไทยรุกรานอธิปไตยของกัมพูชา
พลโทหญิงมาลี ระบุว่าการโจมตีดังกล่าวไทยได้ใช้อาวุธหนักและsะเบิดลูกปราย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย โดยเธอประณามว่าการใช้อาวุธดังกล่าวเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมสงคราม
ขณะที่อีกรายงานหนึ่งของสำนักข่าว “ขแมร์ไทม์ส” (Khmer Times) ก็ระบุว่า มีพลเรือนกัมพูชาอย่างน้อย 1,000 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตมอมเตย จ.พระวิหาร อพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัยหลายแห่งตามแนวชายแดนลาวแล้ว
ปฏิกิริยาจากต่างชาติ
สำนักงานโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐอเมริกามีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับรายงานการต่อสู้ที่ทวีความรุนแรงขึ้นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เรารู้สึกตกใจเป็นอย่างมากกับรายงานถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับพลเรือนผู้บริสุทธิ์ เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียชีวิต เราเรียกร้องอย่างจริงจังให้ยุติการโจมตีโดยทันที ปกป้องพลเรือน และระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธี
ด้านนายอะนูอาร์ เอล อะนูนี โฆษกของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (X) ว่า “สถานการณ์ไทย-กัมพูชา: สหภาพยุโรปมีความกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นบริเวณชายแดน ซึ่งมีรายงานว่าพลเรือนเสียชีวิต เราขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายลดระดับความรุนแรงและแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาและสันติวิธีอื่น ๆ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎบัตรสหประชาชาติ”
กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเผยแพร่แถลงการณ์ของ อิวายะ ทาเกชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความกังวลต่อการปะทะทางทหารระหว่างกัมพูชาและไทย ที่เกิดขึ้นวันที่ 24 ก.ค.
แถลงการณ์จาก รมว.ต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวด้วยว่า หลังจากเหตุการณ์การปะทะทางทหารระหว่างสองฝ่ายเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ความตึงเครียดยังคงดำเนินมาต่อเนื่องระหว่างสองประเทศ รวมทั้งมาตรการจำกัดการเดินทางผ่านด่านชายแดน ญี่ปุ่นได้พยายามสนับสนุนให้ทั้งสองประเทศลดความรุนแรง
“ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัมพูชาและไทยสําคัญอย่างยิ่งต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ญี่ปุ่นเรียกร้องให้ทั้งกัมพูชาและไทยใช้ความยับยั้งชั่งใจสูงสุด และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความตึงเครียดระหว่างสองประเทศจะบรรเทาลงอย่างสันติผ่านการเจรจา”
นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบรอฮิม ของมาเลเซีย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Anwar Ibrahim คืนที่ผ่านมา (24 ก.ค.) ว่าได้พูดคุยกับนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และนายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลไทย เพื่อแสดงความกังวลของมาเลเซียเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ
นายอันวาร์ระบุว่า การสนทนาเกี่ยวกับความสามารถของมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนในปี 2025 และเขาขอร้องให้ผู้นําทั้งสองฝ่ายหยุดยิvทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่เลวร้ายลงและเปิดพื้นที่สำหรับการเจรจาอย่างสงบสุขและการแก้ปัญหาทางการทูต
“ผมยินดีกับสัญญาณเชิงบวกและเจตจำนงที่กรุงเทพฯ และพนมเปญ แสดงให้เห็นในการพิจารณาเรื่องนี้ มาเลเซียพร้อมที่จะช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในกระบวนการนี้ด้วยจิตวิญญาณแห่งความสามัคคีและความรับผิดชอบร่วมกันของอาเซียน”
ที่มา BBC.co.uk