เปิดภาพดาวพุธชุดใหม่ บันทึกโดยยานอวกาศของอังกฤษ
Article recordsdata
- Creator, แดนนี ฟูลบรูค
- Role, บีบีซีนิวส์ เฮิร์ตฟอร์ดเชียร์
ยานเบปีโคลอมโบ (BepiColomo) ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท แอสเตรียม (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแอร์บัส) ในเมืองสตีเวนิจของสหราชอาณาจักร และถูกปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศเมื่อปี 2018 ล่าสุดสามารถบันทึกภาพดาวพุธชุดใหม่ได้ขณะที่บินผ่านดาวพุธเป็นรอบที่ 6 ก่อนที่ยานลำนี้จะเดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงนี้ภายในปี 2026
ยานอวกาศลำนี้ติดตั้งดาวเทียมสองดวงเพื่อเก็บข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี และมีเกราะป้องกันชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันความร้อนที่มาจากดวงอาทิตย์
เมื่อไม่นานมานี้ กล้องสังเกตการณ์บนยานอวกาศลำนี้ได้บันทึกภาพดาวพุธขณะที่ตัวยานบินอยู่ห่างจากพื้นผิวดาวเคราะห์ราว 295 กม. ในภาพชุดนี้ส่วนหนึ่งเป็นภาพส่วนขั้วโลกเหนือของดาวพุธเมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ส่องถึง
ภารกิจสำคัญของยานเบปีโคลอมโบ คือการศึกษาว่าดาวพุธกำเนิดขึ้นจากอะไร และมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีน้ำบนพื้นที่สักแห่งบนแอ่งหลุมอุกกาบาตที่ลึกที่สุดบนดาวพุธ
ดังนั้น ยานลำนี้จำเป็นต้องบินผ่านโลก ดาวศุกร์ และดาวพุธ ก่อนที่จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เหมาะสมเพื่อเข้าถึงจุดที่แรงโน้มถ่วงดาวพุธ
การบินผ่านครั้งนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่กล้องสังเกตการณ์บนยานจะสามารถจับภาพดาวพุธได้ในระยะใกล้ เนื่องจากยานอวกาศลำนี้จะแยกออกจากดาวเทียมสองดวงที่ติดมาด้วยกับภารกิจนี้ ก่อนที่จะขึ้นสู่วงโคจรของดาวพุธ
แฟรงค์ บุดนิค ผู้จัดการด้านพลศาสตร์การบินของยานเบปีโคลอมโบบอกว่า “ช่วงเวลาของภารกิจหลักของยานเบปีโคลอมโบอาจจะเริ่มต้นจริง ๆ ในสองปีข้างหน้า แต่การบินผ่านสำรวจดาวพุธทั้ง 6 ครั้งที่ผ่านมาได้ให้ข้อมูลชุดใหม่ที่ประเมินค่าไม่ได้แก่พวกเรา เกี่ยวกับดาวเคราะห์ดวงนี้”
เจเรนต์ จอนส์ นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบดูแลภารกิจโครงการเบปีโคลอมโบที่องค์การอวกาศยุโรป (European Situation Company) กล่าวเสริมว่า “ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทีมงานที่ดูแล เบปีโคลอมโบจะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อคลี่คลายปริศนาต่าง ๆ จากการบินผ่านดาวพุธรอบนี้ เท่าที่สามารถทำได้”
ที่มา BBC.co.uk