
แท้จริงแล้วที่มาที่ไปของเทศกาลสงกรานต์กลับมีนัยลึกซึ้งมากกว่าการเล่นสาดน้ำคลายร้อน หรือ Water festival ในปัจจุบันอยู่มาก เพราะนอกจากจะเกี่ยวพันกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าและดวงดาวแล้วยังแฝงนัยบางอย่างทางสังคมอีกด้วย
.
เดิมทีชาวอินเดียโบราณกำหนดเดือนและปีด้วยรูปแบบสุริยคติ ด้วยการสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่มบนท้องฟ้าไล่เรียงจากทิศตะวันตกไปตะวันออก ดวงอาทิตย์จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ในการเคลื่อนผ่านจากกลุ่มดาวจักรราศีจากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่ม
.
ในช่วงวันที่ 14-15 ของเดือนอันเป็น “ระยะครึ่งทาง” ของการเคลื่อนผ่านนี้ ชาวอินเดียโบราณเรียกว่า “สงกรานต์” มีความหมายว่า “การเคลื่อนผ่าน หรือย้ายที่ของดวงอาทิตย์”
.
เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวจักรราศีครบทั้ง 12 กลุ่ม จึงจะถือเป็น 1 ปี หรือประมาณ 365 วัน และแน่นอนว่า ทุกๆ ปีจะมีวันสงกรานต์ทุกเดือน หรือปีละ 12 วันนั่นเอง แต่ชาอินเดียโบราณจะให้ความสำคัญกับสงกรานต์ 2 ช่วงเวลา คือ เดือนมกราคมและเมษายน
.
รูปแบบปฏิทินสุริยคติดังกล่าว แท้จริงแล้วในทางดาราศาสตร์นั้นหมายถึง การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ และเมื่อโลกโคจรมาอยู่ในจุดที่ด้านหลังของดวงอาทิตย์ตรงกับกลุ่มดาวแกะอีกครั้งถือเป็นการเริ่มวงโคจรของโลกครั้งใหม่
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/cultures/77454/songkran-gargantuan-yr/
.
#NationalGeographicThailand สงกรานต์
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's