แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/io0x | ดู : 10 ครั้ง
ลอยคำในภาษาไตหรือภาษาไทใหญ่-แปลว่า ดอยคำ-หรือ ภูเขาทองคำ-นอก

ลอยคำในภาษาไตหรือภาษาไทใหญ่ แปลว่า ดอยคำ หรือ ภูเขาทองคำ นอกจากเป็นแหล่งแร่ทองคำแล้ว ยังเป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำหลากสายที่ไหลรวมลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำที่เป็นเส้นเลืoดสำคัญของห้าประเทศ ปัจจุบันลอยคำอยู่ในสภาพถูกsะเบิดเจาะพรุนทั้งลูก (ที่มา: Shan Verbalize Farmers Network)

เมืองเลน รัฐฉานตะวันออก ประเทศwม่า ห่างจากอำเภอแม่สาย 25 กิโลเมตร

“วัวก้มกินน้ำจากสระ จากนั้นเดินต่อไม่กี่ก้าว แล้วก็ล้มลงเสียชีวิตต่อหน้าเลยครับ” จายอู หนุ่มไตวัย 35 ในหมู่บ้านเล็กๆ จำภาพนั้นชัดเจน

บ้านของจายอูอยู่ริม “น้ำคำ” แปลว่า “แม่น้ำทองคำ” และอยู่ใต้ภูเขาที่คนบ้านเขาเรียกว่า ”ลอยคำ” หรือ “ภูเขาทองคำ” เขาเติบโตมาภายใต้สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ ยืนยันด้วยชื่อแม่น้ำและภูเขานั้น บรรพบุรุษสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเอื้อเฟื้อและถ่อมตน เป็นเช่นนั้นเนิ่นนาน

“เล่ากันมาหลายชั่วคนว่าในภูเขามีทองคำ มันถึงชื่อลอยคำ (ดอยคำ) แต่เราไม่เคยพยายามไปเสาะหาว่ามีทองอยู่จริงไหม ภูเขาเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ดวงวิญญาณบรรพบุรุษเราสิงสถิตอยู่บนนั้น ไม่ควรแตะต้อง”

ปี 2550 นายทุนเหมืองชาวจีนมาถึง โบกเอกสารที่บอกว่าเป็น “สัมปทานเหมืองทอง” ว่อนไปมา พูดจาเสียงดังในภาษาที่พวกเขาไม่เข้าใจ แต่รัฐบาลพม่าและกลุ่มติดอาวุธ อส.ลาหู่ที่รับไม้ต่อในเวลาต่อมา บอกว่าไม่จำเป็นต้องเข้าใจ

ผ่านไปเกือบ 20ปี จายอูและชาวบ้านในเมืองเลน ได้แต่มองตาปริบๆ เมื่อเห็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาถูกsะเบิดจนพรุน

“ตอนปีแรกๆ เหมือนเขาไม่รู้ทองอยู่ตรงไหนแน่ เขาsะเบิดสุ่มไปทั่ว เรียกว่าsะเบิดภูเขาทั้งลูก เพิ่งไม่นานนี่เองที่หันมาใช้เครื่องตรวจจับเส้นแร่และขุดเจาะเฉพาะจุดที่ต้องการ”

จากสามบริษัทแรก ได้แก่ Sai Thip Co., Loi Kham Long Co. และ Sai Saik Pyo Ye Co เหมืองทองขยายตัวรวดเร็วครอบคลุมจนภูเขาไม่เหลือพื้นที่ใดๆ ที่ไม่ถูกsะเบิด

แม่น้ำทองคำกลายเป็นสีดำ ขุ่น เหม็น หมู่บ้านของจายอูซึ่งตั้งอยู่ตีนเขา เผชิญกับน้ำท่วมและดินถล่มเป็นประจำ

แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดไม่มีใครมองเห็นจนกระทั่งวันหนึ่งที่ฝนตกหนัก น้ำเสียจากเหมืองไหลลงสระเล็กๆ ที่วัวควายในหมู่บ้านดื่มกิน วันนั้นเองที่จายอูและคนอื่นๆ เห็นวัวล้มเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา

วันนั้นเองที่พวกเขาได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ไซยาไนด์” หนึ่งในสารเคมีที่อันตรายที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จัก

หยอดพิษเพื่อกำไร

ข่าวเหมืองทองในพม่าส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมอย่างหนักไม่ใช่เรื่องใหม่ หลังรัฐประหารพม่าระลอกล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564 การขุดเหมืองแร่ก็ยิ่งขยายตัวอย่างหนัก ทั้งในเขตที่รัฐบาลปกครอง หรือในเขตชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทุกฝ่ายต้องการเงินทุนในการต่อสู้ การเปิดพื้นที่ให้ทำเหมืองเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด ได้เงินเร็วและเป็นกอบเป็นกำที่สุด เราไม่แปลกใจที่เห็นข่าวเหมืองทองในพม่าสร้างความเสียหายต่อทะเลสาบอินดอว์จี ทะเลสาบใหญ่ที่สุดของประเทศในรัฐกะฉิ่น กระทบพื้นที่สงวนชีวมณฑลของยูเนสโก ต่อป่าอนุรักษ์ที่ทวาย และขับไล่ผู้คนจำนวนมาก เพื่อเปิดทางให้กับเหมือง

แต่สิ่งที่ไม่ถูกกล่าวถึงคือ ความเสียหายไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรีดประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า และการขับไล่ผู้คน

มันรวมถึงความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้คนในวงกว้าง กว้างกว่าประเทศwม่าหลายเท่าตัว

น้ำทิ้งจากเหมืองทองหลากเข้าท่วมนาข้าวของชาวบ้านในเมืองเลน (ที่มา: Shan Verbalize Farmers Network)

เหมืองทองใช้สารละลายไซยาไนด์เป็นหลักในการสกัดทองจากหิน หินที่ถูกขุดได้จะถูกบดแล้วนำไปแช่ในบ่อสารละลายไซยาไนด์ ไซยาไนด์จะแยกทองออกจากหิน หินหรือกากแร่ที่เหลือจะถูกทิ้งไป บางเหมืองแทนที่จะใช้การแช่หิน จะใช้วิธีราดสารละลายไซยาไนด์ลงไปบนกองหิน ทองที่สกัดได้จะตกลงเบื้องล่าง กากแร่จะถูกทิ้งไปเช่นกัน

ปัญหาอยู่ที่สารละลายไซยาไนด์ และบรรดากากแร่ที่ถูกคัดทิ้งที่ล้วนชุ่มไปด้วยไซยาไนด์

เกรดของแร่ทองในรัฐฉานอยู่ที่ 0.12 ถึง 1.89 ppm  หมายความว่ามีทองอยู่ไม่เกินสองกรัมในหินหนึ่งตัน และหมายความว่าการจะได้ทองคุ้มค่าการลงทุน จะต้องsะเบิดหินแล้วทิ้งหินปนเปื้อนไซยาไนด์นับล้านตัน

เพื่อให้เห็นภาพ ปี 2560 ชาวจีนคนหนึ่งขนทองคำแท่งหนัก 10 กิโลกรัมข้ามจากรัฐฉานมายังประเทศไทย บอกว่าเป็นผลผลิตจากการทำเหมืองทองคำที่เขาเป็นเจ้าของ หากคำนวณด้วยอัตราส่วนกลางๆที่ 1 ppm ทองจำนวนนั้นมาจากแร่ที่ปนเปื้อนไซยาไนด์ 10,000 ตัน หรือ 500 คันรถบรรทุก

ไซยาไนด์เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตในน้ำแม้จะมีความเข้มข้นเพียงเล็กน้อย หลักการทำเหมืองทองอย่างมีความรับผิดชอบ ที่ใช้กันทั้งโลกกำหนดว่า ไซยาไนด์และกากแร่ต้องได้รับการจัดเก็บและบำบัดอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้เขียนเคยทำข่าวเหมืองทองชาตรีของไทย หลุมเหมืองชาตรีครอบคลุมพื้นที่ราว 3,700 ไร่ ขณะที่บ่อกักเก็บสารละลายและกากแร่ปนเปื้อนไซยาไนด์ของเหมืองนี้ครอบคลุมพื้นที่ 1,400 ไร่ หรือหนึ่งในสามของพื้นที่เหมือง

“บ่อกักเก็บกากแร่มีไว้เพื่อลดไซยาไนด์ในน้ำเสียจาก 130 ppm ให้เหลือน้อยกว่า 20 ppm หรือ 0.002% ซึ่งปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม” บริษัท อัครา จำกัด(มหาชน) เจ้าของเหมืองระบุไว้บนเว็บไซต์

บ่อเก็บกากแร่เหมืองทองชาตรีบริเวณขวามือของภาพ ครอบคลุมพื้นที่ 1,400 ไร่ (ที่มา: ณัฐกิตต์ มีสกุล)

แม้จะมีบ่อกักเก็บใหญ่ขนาดนั้น เทคโนโลยีทันสมัยภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐบาลขนาดนั้น เหมืองชาตรีก็เผชิญข้อกล่าวหาว่าทำสารเคมี รวมถึงไซยาไนด์ รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม นำมาซึ่งคดีฟ้องร้องยืดเยื้อมากมาย รวมทั้งคำสั่งให้ปิดเหมืองยาวนานถึง 6 ปี

อย่างน้อยสี่ประเทศ—เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี และคอสตาริกา—มีกฎหมายห้ามการใช้ไซยาไนด์ในการทำเหมืองทอง บางประเทศเช่นอาร์เจนตินาและสหรัฐอเมริกาแม้ยังไม่ห้ามทั้งหมด แต่บางรัฐสามารถออกข้อห้ามได้ด้วยตนเอง

ในขณะที่การทำเหมืองในประเทศของตนเองถูกควบคุมเข้มงวด ด้วยกฎหมายที่เน้นปกป้องสิ่งแวดล้อม เหมืองทองของจีนในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกกลับเผชิญข้อกล่าวหาเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม มีการฟ้องร้องทั้งในแอฟริกา และ อินโดนีเซีย ประเทศที่มีการผลิตทองสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในพม่า ไม่พบคดีทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำเหมืองของจีน

เขตปลอดบ่อบำบัดไซยาไนด์

รัฐฉานภาคตะวันออกส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่แข็งแกร่งที่สุดในเอเชียมากว่าสองทศวรรษ บางส่วนอยู่ภายใต้กองกำลังติดอาวุธลาหู่ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาชายแดนให้กับกองทัพพม่า ยังมีกลุ่มติดอาวุธน้อยใหญ่กระจายทั่วพื้นที่อีกกว่า 8 กลุ่ม นักข่าว นักวิจัย หรือใครก็ตามที่จะแสวงหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ยากจะเข้าถึงพื้นที่ได้

การพิสูจน์โดยภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้ภายใต้สถานการณ์นี้ ผนวกกับข้อมูลจากชาวบ้านและประสบการณ์ในการทำข่าวเหมืองทองมาก่อนหน้า

ทหารพร้อมอาวุธครบมือทำหน้าที่คุ้มครองเหมืองทอง (ที่มา: Shan Verbalize Farmers Network)

แผนที่แสดงที่ตั้งเหมืองทองตามที่ปรากฏในรายงาน ได้แก่ เหมืองทองที่ดอยคำ เมืองเลน และเหมืองทอง บ้านเมืองกาน และบ้านแม่จอก โดยกรณีบ้านเมืองกานและบ้านแม่จอก พบพื้นที่ทำเหมืองทองกระทบกับลำน้ำแม่สายและสาขา (ที่มา: Mekong Take a look at)

ภาพถ่ายดาวเทียมเหมืองทองดอยคำ เมืองเลน รัฐฉานตะวันออก (ที่มา: Mekong Take a look at)

จากหลักฐานภาพถ่ายทางดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าไม่มีเหมืองทองใดในรัฐฉานภาคตะวันออกที่มีระบบบำบัดไซยาไนด์ที่เหมาะสม  ไม่มีบ่อกักเก็บสารละลายไซยาไนด์เหลือใช้ หรือกากแร่ที่ปนเปื้อนไซยาไนด์ ต่างจากเหมืองชาตรี ต่างจากเหมืองทองทั่วโลกที่ดำเนินการภายใต้กฎหมาย

นอกเหนือจาก “ดอยคำ” ที่เมืองเลน หลักฐานภาพถ่ายทางดาวเทียมหลายจุดในรัฐฉานตะวันออก ยังพบบ่อสารละลายไซยาไนด์เพื่อสกัดทอง ตั้งอยู่เรียงรายริมแม่น้ำสาย บางบ่ออยู่ห่างไม่ถึง10 เมตร แม่น้ำสายไม่เพียงไหลผ่านรัฐฉานตะวันออก แต่ยังไหลผ่านประเทศไทย ก่อนที่จะไหลสมทบกับแม่น้ำรวกลงแม่น้ำโขง

แม่น้ำสายจึงไม่ใช่ของคนในรัฐฉาน ของคนพม่า ของกองทัพสหรัฐว้า แต่เป็นของนานาชาติ

น้ำที่ปนเปื้อนไซยาไนด์นี้สามารถบำบัดให้เจือจางด้วยสารเคมีเช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ หรือแคลเซียมไฮโปคลอไรต์ แต่อาจใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์ คำถามคือจะบำบัดไซยาไนด์รวมทั้งสารเคมีเหล่านั้นด้วยวิธีไหน หากไม่มีบ่อบำบัดเพื่อรอเวลาจนกวาจะปลอดภัย

ภาพถ่ายทางดาวเทียมยืนยันว่าไม่มีบ่อบำบัดสารพิษใดๆ ในเหมืองทองใดแม้แต่เหมืองเดียว

หากไม่ได้รับการบำบัดเลย สารละลายไซยาไนด์จะใช้เวลาหลายปีถึงหลายทศวรรษในการสลายหรือเจือจาง

เมื่อไม่มีบ่อบำบัดสารละลายไซยาไนด์ ไม่มีบ่อกักเก็บกากแร่ปนเปื้อนไซยาไนด์ ความเป็นไปได้ที่ไม่ยากเกินจะมองเห็นคือ สารละลายและสิ่งปนเปื้อนจะถูกทิ้งลงพื้นที่รกร้างใกล้เคียง หรือแย่กว่านั้น ปล่อยลงสู่แม่น้ำสายโดยตรง

แม่น้ำที่จะไหลผ่านประเทศไทย และท้ายที่สุดจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง—แม่น้ำของผู้คนสองฝั่งกว่า 70 ล้านคนในห้าประเทศ

หมู่บ้านที่สาบสูญ

จายอูโชคดีที่ยังมีบ้านอยู่ คนอีกมากเผชิญชะตากรรมโหดร้ายกว่านั้น

จายสม อายุ 55 ปี ถูกขับออกจากบ้านเกิดเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว—และคงจะไม่ได้กลับไปอีก เพราะหมู่บ้านเขาหายไปแล้วจากแผนที่โลก

หมู่บ้านที่ครั้งหนึ่งเคยปกคลุมด้วยทุ่งนาเขียวขจี ถูกเปลี่ยนเป็นเหมืองทองขนาดใหญ่ทอดตัวคร่อมแม่น้ำสายไว้เป็นระยะทางถึง 5 กิโลเมตร

“ปี 2544 กองทัพว้าเข้ามา สั่งให้เราทุกคนย้ายออก เขาไม่บอกว่าทำไม ไม่บอกว่าจะทำอะไรกับหมู่บ้านเรา แค่บอกให้ออกไป จะไปอยู่ที่ไหนก็ไป ” จายสมเล่า

ผู้คนทั้งหมู่บ้านกว่า 80 ครอบครัวเร่งรีบอพยพ ทุกวันนี้พวกเขาหลายร้อยคนอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นตามแนวชายแดนไทย ไม่มีใครกล้าหวังว่าจะได้กลับไป

“ตอนถูกบังคับให้ย้ายออก ผู้ใหญ่บ้านพยายามเจรจาขอให้เราอยู่ต่อ เขาเลยถูกทหารจับ ถูกซ้อมทรมาน แล้วที่สุดก็เสียชีวิต” จายสมพูดเบาๆ

ไม่มีใครกล้าเอ่ยปากถามอะไรอีก หมู่บ้านที่อยู่กันมาหลายชั่วอายุคนหายไปเงียบๆ

ลุ่มน้ำโขงกับมัจจุราชเงียบ

เหมืองแร่ในรัฐฉานตะวันออกไม่เพียงแต่ยึดที่ดินจากผู้คน และฉีกทึ้งสิ่งแวดล้อม เหมือนกับที่เกิดขึ้นทั่วพม่า แต่ตั้งอยู่บนแม่น้ำระหว่างประเทศถึงสี่สายคือ แม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เฉพาะเหมืองทองตั้งบนแม่น้ำระหว่างประเทศสองสายคือแม่น้ำสาย และแม่น้ำโขง

เหมืองทองมากกว่าสิบแห่งในเมืองเลนตั้งอยู่เหนือลำน้ำเล็กๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งน้ำและการดำรงชีวิตสำคัญของผู้คนในไทยและอีกสามประเทศท้ายน้ำ  คือลาว กัมพูชาและเวียดนาม

ส่วนแหล่งเหมืองทองที่เข้ามาแทนที่หมู่บ้านของจายสม เหมืองทองตั้งคร่อมสองฝั่งของแม่น้ำสายเป็นระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร มีบ่อสารละลายไซยาไนด์รายเรียงอยู่ตามแนวแม่น้ำ บางบ่อห่างจากแม่น้ำไม่ถึง 10 เมตร บ่อสารละลายไซยาไนด์ขนาด 15 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำสาย 200 เมตร ไม่มีบ่อบำบัดใดๆ ปรากฏ

ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบสภาพภูมิประเทศบ้านเมืองกาน ริมลำน้ำสาย ก่อนและหลังมีเหมืองทอง ในภาพจะเห็นบ่อเก็บสารละลาย (Resolution pond) ใช้เพื่อกักเก็บสารเคมีในการทำเหมืองทอง (ที่มา: Mekong Take a look at)

ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบสภาพภูมิประเทศบ้านแม่จอก ก่อนและหลังมีเหมืองทอง ซึ่งตั้งคร่อมลำธารสาขาของแม่น้ำสาย (ที่มา: Mekong Take a look at)

ภาพถ่ายดาวเทียมยังแสดงให้เห็นว่าเหมืองทองที่บ้านแม่จอกตั้งคร่อมสองฝั่งของลำธารสายหนึ่งเป็นระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ลำธารดังกล่าวเป็นสาขาของแม่น้ำสาย เหมืองทองใหญ่กว่า150 ไร่ในหมู่บ้านเดียวกัน ตั้งห่างป่าต้นน้ำของไทยเพียง 150 เมตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชี่ยวชาญ ลีลาสุขเสรี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกผู้เขียนว่า แม้ตนเองจะไม่สามารถระบุแหล่งแร่ทองคำและเทคนิคการแยกแร่ที่เหมืองเหล่านั้นใช้จากการดูภาพถ่ายจากดาวเทียมเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่แน่นอนคือการสกัดทองคำทั้งหมดจะต้องเสร็จสิ้นที่เหมืองเหล่านั้น

“คุณไม่สามารถขนแร่ปนเปื้อนสารละลายกลับไปดำเนินการต่อที่จีนได้ มันอันตรายเกินไป หากเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง ไม่เพียงแต่สารเคมีจะรั่วไหล ธุรกิจคุณก็จะเสียหายหนัก”

ทศวรรษแห่งความกลัว

ในหมู่บ้านของจายอู ชาวบ้านเคยลุกขึ้นประท้วงต่อต้านการทำเหมือง แต่สะดุดลงกะทันหันในปี 2558 เมื่อผู้ประท้วงคนหนึ่งถูกยิvเสียชีวิต ความกลัวครอบคลุม ชุมชนเงียบงัน

ผู้เขียนพบว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะโน้มน้าวให้ชาวบ้านในพื้นที่กล้าพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น

ตั้งแต่ปี 2543 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในโลกได้ประกาศข้อกำหนดการจัดการไซยาไนด์ระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการจัดการไซยาไนด์อย่างรับผิดชอบ

ผู้เขียนติดต่อญีราง (Nyi Rang) โฆษกของกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) หลายครั้งเพื่อสอบถามถึงการนำมาตรฐานนี้ไปใช้กับเหมืองในพื้นที่ภายใต้การควบคุมของตน แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ

อันตรายไร้พรมแดน

ชัยยนต์ ศรีสมุทร เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่สาย จ.เชียงราย ได้เพียงปีกว่าตอนเกิดน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์และดินถล่มครั้งใหญ่ที่เกือบทำลายเมืองของเขาราบคาบ

นักวิจัยพบว่าดินโคลนถล่มที่มาจากรัฐฉานตะวันออกเป็นสาเหตุสำคัญของหายนะครั้งนั้น ชัยยนต์สังเกตเห็นความผิดปกติบนแม่น้ำสายมาหลายปี และเคยแจ้งเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการร่วมของสองประเทศมาหลายต่อหลายครั้ง

“เจ้าหน้าที่พม่าได้แต่บอกว่าพื้นที่พวกนั้นไม่ได้อยู่ใต้การควบคุม เขาทำอะไรไม่ได้” ชัยยนต์บอก

เมื่อพิจารณาว่ากองกำลังติดอาวุธที่เคลื่อนไหวในรัฐฉานภาคตะวันออก เป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่าทั้งสิ้น คำอธิบายจากเจ้าหน้าที่พม่าน่าจะไม่ถูกต้องนัก

ชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่สาย จ.เชียงราย (ขวาสุด) เมื่อครั้งรับมือกับน้ำท่วมและดินถล่มครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี 2567 (ที่มา: เทศบาลตำบลแม่สาย)

ชัยยนต์บอกด้วยว่าการตรวจสอบคุณภาพแม่น้ำสายในระยะหลายปีที่ผ่านมา พบระดับสารเคมีต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงไซยาไนด์ แม้ว่าจะยังไม่เลยเกณฑ์ที่กำหนด

“บางทีผมก็อยากให้สารเคมีมันเกินเกณฑ์สักทีนะ เผื่อจะมีใครจัดการกันให้จริงจังเสียที” นายกเทศมนตรีวัย 49 ปีกล่าวอย่างอัดอั้น

แม้ว่าความเข้มข้นของสารเคมียังต่ำกว่าระดับวิกฤติ ชัยยนต์บอกว่าแม่สายต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปีสำหรับการบำบัดน้ำประปา และแทบจะมากสุดในประเทศแล้ว

ฤดูร้อนนี้ ชัยยนต์ประกาศเตือนประชาชนว่าไม่ควรเล่น ว่ายน้ำ หรือใช้น้ำจากแม่น้ำสาย “ด้วยอำนาจที่ผมมี ผมทำได้ดีที่สุดแค่นี้จริงๆ”

ดร. ธนพล พิมาน นักวิจัยอาวุโสของ สถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งกรุงสตอกโฮล์ม เชื่อว่านานาประเทศรวมทั้งไทยไม่ควรรอจนกว่าความเข้มข้นของสารเคมีจะไปถึงระดับวิกฤติ

“การตรวจพบระดับสารเคมีที่เพิ่มขึ้นน่าจะกระตุ้นให้ประเทศท้ายน้ำทำอะไรสักอย่างได้แล้ว ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นหลักฐานว่าแม่น้ำไม่ปกติ” ธนพลอธิบาย

สาธารณชนมักจะมองว่าภัยคุกคามจากไซยาไนด์เป็นเรื่องน่าตกใจน้อยกว่าน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม ธนพลระบุ แต่ความจริงแล้ว ปัญหาน้ำท่วมและไซยาไนด์เป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้

“เมื่อเกิดน้ำท่วม ยกตัวอย่างน้ำท่วมแม่สาย ระดับน้ำในแม่น้ำสายจะสูงขึ้นทั้งระบบ รวมถึงบริเวณใกล้เหมืองที่มีบ่อชะล้างอยู่ตามริมฝั่ง คุณจินตนาการไม่ยากว่าน้ำท่วมอาจพัดพาสารอะไรบ้างสู่พื้นที่ท้ายน้ำ”

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ประเมินว่าเนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาไม่เกิดขึ้นตามเกณฑ์ปกติในปีนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสสูงที่จะมีฝนตกหนักกว่าปกติ

กรรมาธิการแม่น้ำโขง “ไม่มีความเห็น”

ในเดือนมกราคม 2568 บุษดี สันติพิทักษ์ อดีตนักการทูตชาวไทย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) องค์กรที่ทำงานโดยตรงกับรัฐบาลในภูมิภาคเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของแม่น้ำโขง

ในสัปดาห์แรกของการดำรงตำแหน่ง บุษดีประกาศว่าหนึ่งในภารกิจสำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบแม่น้ำ ปรับปรุงการเก็บข้อมูลและความสามารถในการวิเคราะห์ของ MRC เพื่อทำความเข้าใจพลวัตอันซับซ้อนของแม่น้ำโขง และคาดการณ์เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอนาคตได้ดีขึ้น

เมื่อผู้เขียนติดต่อขอสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปนเปื้อนไซยาไนด์จากการทำเหมืองทองคำในลุ่มน้ำโขง สำนักเลขาธิการ MRC ตอบผ่านเจ้าหน้าที่สื่อสารว่า: “สำนักเลขาธิการ MRC ขอขอบคุณสำหรับความกังวลของคุณต่อการค้นพบที่ระบุมา ” อย่างไรก็ตาม “เราไม่มีความเห็นในเรื่องนี้”

ท่าทีเช่นนี้ไม่ได้ทำให้นักวิจัยของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนรัฐฉาน ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ค้นพบผลกระทบของเหมืองทองคำในพื้นที่รู้สึกประหลาดใจ “เราเคยเสนอประเด็นนี้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการหลายครั้งที่มีบุคลากรของ MRC เข้าร่วม เสนอมาตั้งแต่เราพบปัญหานี้เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ไม่มีท่าทีตอบสนองใดๆ”

ไม่มีภูเขาทองคำอีกต่อไป

ในบ้านเกิดของจายอู เหมืองทองมากกว่า 20 เหมืองเข้ามาแทนที่ภูเขาทองคำ พื้นที่กว่าหนึ่งหมื่นไร่ถูกขุดเจาะจนมีสภาพเป็นเหมือนผิวโลกพระจันทร์ พื้นที่ที่ถูกทำลายกว้างใหญ่เกือบเท่าตัวเมืองท่าขี้เหล็ก เมืองชายแดน ไทย-พม่าที่ห่างออกไปยี่สิบกว่ากิโลเมตร

ภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2568 ไม่พบบ่อบำบัดไซยาไนด์บนภูเขาลูกนี้ ขณะที่เบื้องล่างห่างออกไปไม่ไกล น้ำจากยอดดอยไหลลงแม่น้ำโขง

คณะกรรมการเพื่อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากร (EITI) องค์กรระหว่างประเทศที่มีองค์กรสมาชิก 140 แห่งจากรัฐบาล บริษัท และภาคประชาสังคม ได้ถอดชื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาหรือพม่าออกไปเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567 “สถานการณ์ในประเทศทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาหลักการของ EITI รวมถึงการกำกับดูแลแบบมีส่วนได้ส่วนเสีย และการเปิดเผยข้อมูล” EITI ระบุ

ภัยเงียบและเยียบเย็น

ในขณะที่การทำเหมืองทองในรัฐฉานตะวันออกยังดำเนินต่อไปโดยไร้การควบคุม ความเสี่ยงของหายนะจากไซยาไนด์ในประเทศท้ายน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก็เพิ่มขึ้น หากไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสมหรือแรงกดดันจากนานาชาติ ผู้คนนับล้านที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำโขงจะเผชิญภัยคุกคามที่มองไม่เห็น มันอาจสำแดงเดชในช่วงน้ำท่วมครั้งใหญ่ครั้งต่อไป

หลังหลายปีของความเงียบต่อหายนะทางสิ่งแวดล้อมในพม่า คำถามคือประชาคมระหว่างประเทศและผู้ที่อาศัยบนแม่น้ำโขงและแม่น้ำเครือข่าย จะตอบสนองอย่างไรต่อความไร้ขื่อแปของพม่าที่กำลังคุกคามทั้งภูมิภาค?

ชาวบ้านเช่นจายอู อยู่กับความเจ็บปวดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับภูเขาศักดิ์สิทธิ์ และแม่น้ำทองคำของเขา

ขณะที่ผู้คนที่อยู่ท้ายน้ำส่วนใหญ่ยังไม่มีโอกาสรับรู้ถึงsะเบิดเวลาที่ค่อยๆ เคลื่อนตัวมาอย่างเงียบงัน

หมายเหตุ: การวัดขนาดเหมืองและสิ่งก่อสร้างทั้งหมดในรัฐฉานตะวันออกดำเนินการผ่านภาพถ่ายดาวเทียม ชื่อบุคคลทั้งหมดจากรัฐฉานตะวันออกถูกเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย

รายงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประชาไท กับ Mekong Take a look at ภายใต้การสนับสนุนจาก Internews' Earth Journalism Network

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ขณะนี้ (17.25 น.) ถนนราชพฤกษ์ ช่วงสะพานข้ามถนนบรมฯ-ตลิ่งชัน 2025-04-30 10:27:00

‘ธปท.’ชี้เศรษฐกิจ มี.ค.68 ชะลอตัวจากเดือนก่อน เผย‘ส่งออก-ท่องเที่ยว-บริโภค-ลงทุน’แผ่ว

สบส.เตรียมปรับเนื้อหา 'ไทยแลนด์ พาวิลเลียน' เน้นประสบการณ์เสมือนจริง คาดแล้วเสร็จ พ.ค.

ยัวะเปิดฝากระโปรงแรง ทืบเด็กปั๊มแก๊ส ออนไลน์ 29 เม.ย

🚨 Please be ready for Thailand’s Cell Broadcast Emergency Al

เย็นวันพุธ วันเงินเดือนออก ติดตามสภาพการจราจร กับ เจาะ จุด แ 2025-04-30 10:40:00

จับโชเฟอร์รถไถโหด ฉุนถูกบีบแตร ยิvดับกลางถนน . ตำรวจสอบสวนกล

บุกช่วย นศ. เหยื่อแก๊งคอลฯ ลวงขังตัวเอง ส่งภาพขู่เรียกค่าไถ 2025-04-30 10:43:00

Scb Fm มอง กนง.ลดดอกเบี้ยมาที่ 1.75% จะลดต่อ และบาทอาจอ่อนค่า

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/io0x | ดู : 10 ครั้ง
  1. อื้อหือ-ทั้งเถื่อน-ทั้งเหม็น-ตำรวจสอบสวนกลาง-เปิดปฏิบั อื้อหือ ทั้งเถื่อน ทั้งเหม็น ตำรวจสอบสวนกลาง เปิดปฏิบั
  2. วิศวกรหันมาสืบทอดตำนานไอศกรีม-100-ปี-จ.สงขลา--#thaip วิศวกรหันมาสืบทอดตำนานไอศกรีม 100 ปี จ.สงขลา ThaiPBS ThaiP
  3. ‪rt@js-ss55-ถนนร่มเกล้า-หน้า-ม.เกษมบัณฑิต-มุ่งหน้าแยก-ร่มเก-|-2025-04-29-14:19:00 ‪RT@JS_ss55 ถนนร่มเกล้า หน้า ม.เกษมบัณฑิต มุ่งหน้าแยก ร่มเก 2025-04-29 14:19:00
  4. หนึ่งเดือนที่ยังหาผู้รับผิดไม่ได้-รวมคำชี้แจงของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุตึก-สตง.-ถล่ม หนึ่งเดือนที่ยังหาผู้รับผิดไม่ได้ รวมคำชี้แจงของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุตึก สตง. ถล่ม
  5. ดีเอสไอ-เก็บตัวอย่าง-คอลลิ่งปูน-เตรียมจำลองหาสาเหตุ-ตึกสตง.ถล่ม ดีเอสไอ เก็บตัวอย่าง คอลลิ่งปูน เตรียมจำลองหาสาเหตุ ตึกสตง.ถล่ม
  6. กรมอุทยานแห่งชาติ-เปิดรับฟังความคิดเห็นในการขยายพื้นที่อุทยานแห่งชา กรมอุทยานแห่งชาติ เปิดรับฟังความคิดเห็นในการขยายพื้นที่อุทยานแห่งชา
  7. ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราว-บริเวณซ.สุขสวัสดิ์-42-ชิดฟุตปาธ-2-ช่อ-|-2025-04-30-10:47:00 ปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราว บริเวณซ.สุขสวัสดิ์ 42 ชิดฟุตปาธ 2 ช่อ 2025-04-30 10:47:00
  8. เปิดชื่อ-5 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฏีกาฯ-สั่งไต่สวน-‘ปปช.-ทักษิณ’ กรณีไม่ได้จำคุกจริง-1-ปี เปิดชื่อ 5 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฏีกาฯ สั่งไต่สวน ‘สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ-ทักษิณ’ กรณีไม่ได้จำคุกจริง 1 ปี
  9. ทรงพระเจริญ-29-เมษายน-วันคล้ายวันประสูติ-สมเด็จพระเจ้าลูกยาเ ทรงพระเจริญ 29 เมษายน วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเ
  10. เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ-สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ-เจ้าฟ้าทีปั เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปั

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend