
รู้จัก “เจ๊จุก คลองสาม” บัญชีที่งานศึกษาในแคนาดาชี้ว่าเป็นไอโอรัฐ คุกคามผู้เห็นต่าง

ที่มาของภาพ : x/@jjookklong3, Getty Photos
ชาร์ลอตต์ ลินลิน หัวหน้ากลุ่มโจรสลัดบิ๊กมัม ผู้มีหน้าตาอ้วนกลม ผมยาวสีชมพู ยิ้มเห็นฟันแหลมคม เป็นกัปตันตัวร้ายจากการ์ตูนวันพีซชื่อดังของญี่ปุ่น ตัวการ์ตูนดังกล่าวถูกนำไปเป็นภาพโปรไฟล์ผู้ใช้งานบัญชีสื่อสังคมออนไลน์หลายแพลตฟอร์มที่เรียกตัวเองว่า “เจ๊จุก คลองสาม” ด้วย
งานศึกษาล่าสุดจากสถาบันศึกษาของแคนาดาชี้ว่า บัญชีดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ “ปฏิบัติการชักจูงข้อมูลข่าวสารโดยอินฟลูเอ็นเซอร์ หรือ ไอโอ (Affect operation- IO)” ของรัฐ ในการคุกคามผู้เห็นต่างในไทย
งานศึกษาชิ้นนี้ดำเนินการโดย อัลเบอร์โต ฟิตทาเรลลี, เอ็ม. สกอตต์ และ เกศกนก วงษาภักดี จากเดอะ ซิตีเซ็น แล็บ (The Citizen Lab) ห้องปฏิบัติการสหวิทยาภายใต้ Munk College of Global Affairs & Public Policy ของมหาวิทยาลัยโทรอนโต โดยพวกเขาพบว่าปฏิบัติการคุกคามทางสื่อสังคมออนไลน์และการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว (doxxing) อย่างเป็นระบบภายใต้บัญชีผู้ใช้ที่ชื่อว่า “เจ๊จุก คลองสาม” นั้น ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และไร้การทักท้วงใด ๆ ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2020 โดยทีมผู้ศึกษาตั้งชื่อปฏิบัติการนี้ว่า “JUICYJAM”
ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการจากภาครัฐที่ออกมายืนยันว่าปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารของบัญชี “เจ๊จุก คลองสาม” มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานความมั่นคงใด ๆ ในไทย
.อยู่ระหว่างการติดต่อกองทัพไทยรวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นในกรณีนี้ แต่ที่ผ่านมาทั้งสองหน่วยงานปฏิเสธมาตลอดว่าไม่เคยใช้ปฏิบัติการข่าวสารโจมตีฝ่ายตรงข้ามรัฐ
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด
Cease of ได้รับความนิยมสูงสุด
“เจ๊จุก คลองสาม” คือใคร และมีวิธีทำงานอย่างไร
ทีมผู้ศึกษาจาก เดอะ ซิตีเซ็น แล็บ พบว่าบัญชีผู้ใช้ที่ชื่อว่า “เจ๊จุก คลองสาม” มีอยู่ในเกือบทุกแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์และถือได้ว่าประสบความสำเร็จสูงมากจากจำนวนผู้ติดตามเกือบ 110,000 คนบนเอ็กซ์ (หรือทวิตเตอร์เดิม) ซึ่งโพสต์ของ “เจ๊จุก คลองสาม” บนแพลตฟอร์มนี้โดยทั่วไปมียอดเข้าชมมากกว่า 15,000 ครั้ง/โพสต์ หรืออาจถึง 50,000 ครั้งในบางกรณี
นอกจากนี้ บัญชี้บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กก็มีผู้ติดตามมากกว่า 133,000 คน และพบหลายโพสต์ที่มีเนื้อหาเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของนักกิจกรรมเช่นเดียวกันกับที่โพสต์ลงบนเอ็กซ์
เกศกนก หนึ่งในผู้ร่วมเขียนรายงานดังกล่าวบอกกับ.ว่า พวกเขาสังเกตเห็นปฏิบัติการไอโอจากหลายบัญชีที่พบบนสื่อสังคมออนไลน์ แต่เลือกวิเคราะห์บัญชี “เจ๊จุก คลองสาม” เนื่องจาก “เห็นว่าดำเนินการมาหลายปีโดยไม่มีใครทำอะไรกับบัญชีนี้เลย” แม้แต่เจ้าของแพลตฟอร์มเอง
ทีมผู้วิจัยสามารถสืบสาวการมีตัวตนของบัญชีที่ใช้ชื่อว่า “เจ๊จุก คลองสาม” ย้อนกลับไปได้ถึงเดือน ส.ค. ปี 2020 โดยพบบล็อกที่สร้างขึ้นแยกกันในสองแพลตฟอร์ม นั่นคือ WordPress และ Blogger ตามลำดับ จากนั้นก็พบนามแฝงว่า “เจ๊จุกคลองสาม” เผยแพร่สองโพสต์ที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนตัวของคนไทยสองคน ซึ่งทางทีมวิจัยไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือไม่ แต่โพสต์ดังกล่าวอ้างว่าทั้งสองคนเป็นผู้เข้าร่วมการชุมนุมในไทย โดยข้อมูลบางส่วนได้เปิดเผยชื่อสมาชิกครอบครัวของแต่ละคน โรงเรียนที่พวกเขาศึกษา รวมถึงชื่อและที่ตั้งของธุรกิจที่ครอบครัวบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของ
เดอะ ซิตีเซ็น แล็บ พบว่าบล็อกดังกล่าวไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ อีกเลย นับจากนั้น แต่ในเดือน ก.ย. 2020 มีบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ (ปัจจุบันคือเอ็กซ์) ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ชื่อเหมือนกันว่า “เจ๊จุก คลองสาม” และใช้ภาพตัวการ์ตูนบิ๊กมัมเป็นภาพโปรไฟล์นับตั้งแต่นั้นมา
งานศึกษาระบุด้วยว่า หลายครั้งที่ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักกิจกรรมถูกคุกคามออนไลน์ และชักชวนให้ใครก็ตามเข้าถึงตัวพวกเขาได้หรือรายงานความเคลื่อนไหวของพวกเขาให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทำให้เกิดความความรู้สึกไม่ปลอดภัย หลายกรณีนำไปสู่การชี้เป้า และนำไปสู่การทำร้ายร่างกายนักกิจกรรม โดยผู้ที่ตกเป็นเป้าส่วนใหญ่ คือนักกิจกรรมและผู้เข้าร่วมการชุมนุมช่วงปี 2020-2021 ซึ่งเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี, ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ยกตัวอย่าง กรณีของ อิทธิกร ทรัพย์แฉ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลายครั้งของขบวนการ เยาวชนปลดแอก (Free YOUTH) ที่มีบทบาทในการประท้วงในประเทศไทย โดยในวันที่ 20 มี.ค. 2021 เขาเข้าร่วมการประท้วงภายใต้ชื่อ REDEM ซึ่งจัดโดย เยาวชนปลดแอก และ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) ในกรุงเทพมหานคร
คืนนั้นเอง อิทธิกรถูกกลุ่มคนที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำทำร้ายและทุบตีอย่างโหดร้าย โดยเฟซบุ๊กของเพื่อนเขาระบุว่า อิทธิกรถูกตีด้วยไม้เหล็กและได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกตีที่ศีรษะ แก้ม และปาก เย็บแผลรวมกัน 14 เข็ม โดยแพทย์ระบุว่าอาจกระทบต่อเส้นประสาทและอาจทำให้เกิดความพิการ และเขาจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่าไม่สามารถระบุตัวผู้ก่อเหตุได้ เนื่องจาก “กล้องวงจรปิดในพื้นที่ทั้งหมดเสีย”
จากนั้น วันที่ 2 พ.ค. 2021 เมื่ออิทธิกรเข้าร่วมการประท้วง REDEM อีกครั้ง บัญชี “เจ๊จุก คลองสาม” ได้โพสต์ภาพของชายคนหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับเขา แม้ใบหน้าของชายในภาพจะถูกปกปิดด้วยหมวกกันน็อก แต่บัญชีดังกล่าวได้ถามผู้ติดตามว่า “ทายสิ ผู้ชายคนนี้คือใคร ?”
ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชายในภาพมีลักษณะและเสื้อผ้าที่คล้ายคลึงกับที่อิทธิกรใส่ในวันที่เขาถูกทำร้ายเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2021
สุดท้ายในวันที่ 14 พ.ค. 2021 อิทธิกรถูกตั้งข้อหาหลายข้อหา ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมโดยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ชุมนุมตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป ไปจนถึงละเมิดกฎหมายการจราจรและความสะอาด ฯลฯ

ที่มาของภาพ : X/@jjookklong3
คณะผู้ศึกษาระบุในงานวิจัยว่า สัญญาณหลายอย่างชี้ให้เห็นว่า “เจ๊จุก คลองสาม” ซึ่งบอกว่าตัวเองเป็น “คอการเมืองตัวจริง” คือส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไอโอและไม่น่ามีตัวตนจริง
“เจ้าของบัญชีพยายามบอกว่าเขาคือคุณป้าวัยกลางคนที่เคยเป็นเสื้อแดงมาก่อน ก่อนที่จะกลับใจ แต่เรากลับไม่พบข้อมูลที่ระบุถึงตัวตนเจ้าของบัญชีได้ แม้แต่ข้อมูลต่าง ๆ ที่เขาอ้างว่าเป็นเจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งก็ตาม” เกศกนกบอกกับ.
คณะผู้ศึกษายังพบว่าข้อมูล รูปภาพ รวมถึงคลิปวิดีโอต่าง ๆ ที่บัญชี “เจ๊จุก คลองสาม” นำมาใช้ จำนวนหนึ่งเป็นภาพและวิดีโอที่บันทึกจากฝั่งตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมถึงข้อมูลบางอย่างไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม .พบว่าเจ้าของบัญชี “เจ๊จุก คลองสาม” อ้างด้วยว่าตนเป็นผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมด้วยตัวเองหลายครั้ง หรือไม่ก็ไหว้วานให้คนอื่นหรือมีผู้ติดตามส่งข้อมูลการชุมนุมมาให้
ทีมศึกษายังพบด้วยว่า “เจ๊จุก คลองสาม” ไม่ได้ทำงานโดยลำพัง แต่เนื้อหาที่ถูกเผยแพร่โดยบัญชีดังกล่าวยังถูกนำไปเผยแพร่ต่อ ขยายความ รวมถึงนำไปเป็นสารตั้งต้นให้กับปฏิบัติการด้านข่าวสารอื่น ๆ ซึ่งหลายครั้งพบว่ามีสื่อมวลชนบางเจ้านำไปเผยแพร่ต่ออย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ทีมงานศึกษาเรื่องนี้สามารถปะติดปะต่อภาพใหญ่ของปฏิบัติการชักจูงข้อมูลที่ดำเนินการโดย “เจ๊จุก คลองสาม” ได้มากขึ้น เมื่อ นายชยพล สท้อนดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จากพรรคประชาชน เปิดเผยเอกสารลับที่กล่าวหาว่ากองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการปฏิบัติไอโอต่อฝ่ายตรงข้าม รวมถึงโจมตีนายกรัฐมนตรีเอง
การอภิปรายดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ในเอกสารลับที่ถูกเปิดเผยออกมาพบว่า มีการแสดงโพสต์บนเอ็กซ์ของ “เจ๊จุก คลองสาม” ปรากฏในรายงานภายในที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ของทีมไซเบอร์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกองทัพกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้คณะผู้ศึกษาเห็นว่า “ไม่มีคำอธิบายสมเหตุสมผลอื่น ๆ นอกจากเป็นการยอมรับว่าบัญชีนี้ รวมถึงการรณรงค์ทั้งหมด ถูกดำเนินการโดยทีมไซเบอร์ของภาครัฐ”
อย่างไรก็ตาม คณะผู้ศึกษาไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าการดำเนินการของ “เจ๊จุก คลองสาม” นั้น มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพ แต่หลักฐานที่มีอยู่นั้นชี้ให้เห็นว่า “อาจเป็นหน่วยงานตำรวจของไทย”
เกศกนก บอกกับ.ว่าสิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ ปฏิบัติการลักษณะนี้ยังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และดูเหมือนว่าไม่มีอะไรจะหยุดยั้งการทำงานประสานอย่างเป็นระบบเช่นนี้ได้ “ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อประชาธิปไตย” ในไทย
ปฏิบัติการสร้างความหวาดกลัว
ด้าน ผศ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ บอกกับ.ว่า การคุกคามโดยการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่นนี้นำมาซึ่งความหวาดกลัว ความรู้สึกถูกคุกคาม และทำให้นักกิจกรรมต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ไม่เห็นด้วยเข้าไปก่อกวน รังควาน หรือแม้กระทั่งกลั่นแกล้งออนไลน์ ซึ่งผลกระทบไม่ได้จำกัดเพียงในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น แต่ยังลุกลามไปถึงการสมัครงาน การศึกษาต่อ และการใช้ชีวิตในสังคมโดยรวมของนักกิจกรรม รวมถึงบุคคลใกล้ชิดซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
เธอยังเห็นว่าการสร้างความหวาดกลัวเช่นนี้ ยังก่อให้เกิด “Chilling Attain” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ผู้คนเลือกจะเซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่ใช่แค่ไม่กล้าออกมาแสดงความเห็นทางการเมือง แต่อาจถึงขั้นไม่กล้าคิดเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองด้วยซ้ำ
“มันก็จะไปถึงขั้นว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่คิดเรื่องนี้ เลิกคิดเรื่องการเมืองไปเลย ชีวิตก็จะง่าย ไม่มีความเสี่ยงอะไร เป็นเทคนิคที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลเยอะอยู่เหมือนกัน” อาจารย์ผู้นี้กล่าว
ผศ.ฐิติรัตน์ บอกด้วยว่า หากพบว่าโพสต์ใดของ “เจ๊จุก คลองสาม” เข้าข่ายละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงอาจเข้าข่ายลักษณะก่อกวนที่นำไปสู่การทำร้ายผู้อื่น เบื้องต้นสามารถแจ้งไปยังเจ้าของแพลตฟอร์ม เพื่อให้นำออกจากระบบได้ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มักมีเงื่อนไขคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน รวมถึงกฎมาตรฐานชุมชนที่ช่วยปกป้องผู้ใช้
“แต่ประสิทธิภาพการตอบสนองของแพลตฟอร์มจะเป็นเช่นไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง” เธอกล่าว

ที่มาของภาพ : Getty Photos
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางคณะผู้ศึกษาได้ติดต่อไปยังเอ็กซ์ และ เมตา (META) เพื่อสอบถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับจนถึงตอนนี้
ทั้งนี้ คณะผู้ศึกษาเสนอแนะทั้งสองแพลตฟอร์มว่า ควรมีช่องทางที่เข้าถึงง่ายและตอบสนองรวดเร็ว เมื่อผู้เสียหายรายงานว่าตนเองกำลังโดนปฏิบัติการคุกคามทางสื่อสังคมออนไลน์และการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว (doxxing) อย่างเป็นระบบ และเนื้อหาเหล่านั้นควรถูกลบออกอย่างรวดเร็ว เมื่อได้รับการตรวจสอบโดยแพลตฟอร์มแล้ว
นอกจากนี้ ลำพังการลบเนื้อหายังไม่เพียงพอ แต่ควรดำเนินการลบเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด และห้ามการเข้าถึงของพวกเขาอย่างถาวร รวมถึงการเฝ้าระวังเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อด้วย และทางแพลตฟอร์มควรเข้มงวดตรวจสอบเรื่องการ doxxing ในประเทศที่มีลักษณะการปกครองแบบเผด็จการหรือเป็นอำนาจนิยม รวมทั้งเปิดเผยกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐในการปล่อยข้อมูลส่วนตัวบุคคลในเวลาต่อมา
นักกฎหมายชี้ควรเพิ่มกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ด้าน ผศ.ฐิติรัตน์ กล่าวกับ.ต่อว่า ไม่มีกฎหมายข้อใดอนุญาตให้รัฐใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อคุกคามประชาชน แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดในปัจจุบันคือการพิสูจน์ว่าการกระทำดังกล่าวมีรัฐอยู่เบื้องหลัง เนื่องจากในประเทศไทยนั้น ภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับผู้ร้องเรียน ขณะที่ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของหน่วยงานรัฐเอง
“ที่ผ่านมาภาคประชาสังคมก็พยายามร้องเรียนและตั้งคำถามถึงสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นในระดับกรรมาธิการของสภา หรือพยายามฟ้องร้องตัวองค์กรที่พอจะมีเบาะแสว่าเป็นผู้ใช้งานปฏิบัติการเหล่านี้ แต่สิ่งที่รัฐจะตอบและเป็นการปัดตัวได้ง่ายที่สุดคือการบอกว่า ‘ไม่มีหลักฐานว่ารัฐเป็นคนทำ' ทำให้เรื่องไปต่อไม่ได้ เช่น กรณีสปายแวร์เพกาซัส”
อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์เห็นว่า หากศาลใช้อำนาจในการเรียกพยานหลักฐานจากภาครัฐมากขึ้น อาจช่วยลดภาระการพิสูจน์ของผู้ร้องเรียนลงได้ และทำให้หน่วยงานรัฐเองมีความระมัดระวังในการใช้อำนาจมากขึ้น เนื่องจากเป็นอีกกลไกหนึ่งที่คอยถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกทางหนึ่ง
“มันไม่ใช่สถานการณ์ที่ผู้ร้องและผู้ถูกร้องมีอำนาจเท่า ๆ กัน” ผศ.ฐิติรัตน์ กล่าว
เธอยังเสนอว่างบประมาณด้านปฏิบัติการข่าวสารหรือปฏิบัติการชักจูงข่าวสารซึ่งกระทำโดยภาครัฐนั้น ควรถูกกำกับตั้งแต่ต้น โดยตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และสื่อให้เห็นว่ารัฐใช้ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยความระมัดระวัง
ทั้งหมดนี้ยังไม่พอ อีกหนึ่งหัวใจของกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ยังต้องอาศัยการปรับปรุงมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลของภาครัฐด้วย
“เราไม่ได้บอกว่าเอกสารทางการ พวกชั้นความลับทั้งหลาย จะต้องถูกเปิดเผยต่อประชาชนทั้งหมด เราเข้าใจความลับของราชการหลายเรื่อง มันเป็นเรื่องที่ต้องเก็บเป็นความลับจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม แต่วิธีการที่ทั่วโลกเขาทำกันคือ ไม่ได้เก็บเป็นความลับตลอดไป เขามีการกำหนดเวลาว่าอีกกี่ปีถึงจะเปิดเผย ทำให้เรารู้ว่าเอกสารของรัฐบางอย่างจะถูกเปิดเผยในอีก 20-30 ปีข้างหน้า มันจะถูกตรวจสอบย้อนหลังได้”
เธอเสนอแนะว่า ในอีกทางหนึ่ง หากรัฐไม่ต้องการเปิดเผยเอกสารความลับทั้งหมด ก็สามารถเปิดเผยบางส่วนได้ โดยระบุหมวดหมู่ของเอกสาร เพื่อให้สาธารณะเข้าถึงและเอื้อให้ศาลใช้อำนาจเรียกมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการยุติธรรมได้ ซึ่งจำกัดให้เห็นได้เฉพาะแค่ศาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ที่มา BBC.co.uk