
มีการศึกษาครั้งสำคัญที่ท้าทายความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสังคมก่อนยุคเกษตรกรรม โดยทีมวิจัยนานาชาติได้ค้นพบหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า นักล่าสมัยโบราณในโมร็อกโกกินพืชในปริมาณมากควบคู่ไปกับการกินเนื้อสัตว์ ขัดแย้งกับความเชื่อทั่วไปที่ว่านักล่าสมัยโบราณพึ่งพาการล่าสัตว์และการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักอย่างเดียว
.
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์โดยนักวิจัยจากสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อมานุษยวิทยาวิวัฒนาการ, ศูนย์ Géoscience et Environnement Toulouse และสถาบันวิทยาศาสตร์โบราณคดีและมรดกแห่งชาติของโมร็อกโก เผยให้เห็นแง่มุมใหม่ของวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์เมื่อ 15,000 ปีก่อน ที่แตกต่างจากงานวิจัยอื่นๆ ก่อนหน้า
.
ทั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมไอบีโรเมารูเซียน (Iberomaurusian) มนุษย์โบราณที่อาศัยอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ โมร็อกโก, แอลจีเรีย และ ตูนิเซีย ซึ่งมีการค้นพบซากชาวไอบีโรเมารูเซียนโบราณในถ้ำทาฟอรัลต์ (Taforalt) ในประเทศโมร็อกโก โดยพบว่านักล่าสมัยโบราณในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของโมร็อกโก ทานอาหารที่เต็มไปด้วยพืชมากจนน่าประหลาดใจ
.
ภาพประกอบ : ผลผลิตทางเกษตรของชาวมายาพื้นเมือง
.
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/historical previous/77592/glance-former-hunter-gatherers-on-plant life/
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's