แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/gloy | ดู : 10 ครั้ง
รัฐแจงปม-กม.บำนาญ-3-ฉบับตก-เหตุใช้งบ-4-แสนล้าน-หน่วยงานไม่เอาด้วย

ภาพปก: แฟ้มภาพ

สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ชี้แจงกรณีตีตกร่างกฎหมายเกี่ยวกับเงินบำนาญจำนวน 3 ฉบับ ระบุว่าไม่ได้เป็นการเล่นการเมืองตามที่ฝ่ายค้านกล่าวหา แต่เป็นเพราะการทำบำนาญ 3,000 บาทต่อเดือนต้องใช้งบมหาศาลถึง 4 แสนล้านบาท หน่วยงานและรัฐบาลจึงไม่สามารถทำได้ ขณะที่ภาคประชาชนมองว่ารัฐบาลคงไปทุ่มแจกเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต รวมถึงมีแนวโน้มที่จะทำนโยบายหวยเกษียณ

21 ก.พ. 2568 สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง กล่าวถึงกรณีพรรคฝ่ายค้านแสดงความผิดหวังที่รัฐบาลตีตกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า, พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติและสวัสดิการผู้สูงอายุ และ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ ว่า กรณีฝ่ายค้านกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าการที่ไม่รับร่างดังกล่าวเป็นเรื่องการเมือง ว่า ข้อเท็จจริงคือ พ.ร.บ.ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน เมื่อมีการส่งมาเราจึงได้ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน ไม่ให้การรับรอง เนื่องจากการทำบำนาญประชาชน 3 พันบาท ต้องใช้งบประมาณมหาศาลถึง 4 แสนล้านบาท ทางหน่วยงานและรัฐบาลไม่สามารถทำให้ได้ ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายแบบนี้ แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถได้ด้วยกรอบจำกัดทางการเงิน

สมคิดยืนยันว่าไม่ใช่เกมการเมือง เพราะปัจจุบันมี พ.ร.บ.ผู้สูงอายุอยู่แล้วที่จะแก้ไขเพื่อจะให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปได้ 1 พันบาท โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เห็นด้วย

สมคิดยืนยันด้วยว่า ไม่ใช่กฎหมายของฝ่ายค้านอย่างเดียวที่รัฐบาลไม่รับร่าง กฎหมายของรัฐบาลก็มี ยกตัวอย่าง ร่างกฎหมายของ สส.พรรคเพื่อไทย ทั้งกฎหมายกฐานะ อบต.เป็นเทศบาล หรือ พ.ร.บ.ยกระดับเศรษฐกิจภาคเหนือ เมื่อหน่วยงานหลักไม่เห็นด้วยก็ตีตกไปด้วยเหตุผลเดียวกัน ไม่ว่าจะฝ่ายไหน

สืบเนื่องจาก แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ให้คำรับรองร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับบำนาญประชาชน 3 ฉบับ และกฎหมายสหภาพแรงงานอีก 1 ฉบับ

เว็บไซต์รัฐสภารายงานสถานะของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีบำนาญประชาชน 3 ฉบับจากทั้งหมด 4 ฉบับ ประกอบด้วย

  1. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติและสวัสดิการผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เสนอโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์
  2. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าฯ เสนอโดย เซีย จำปาทอง
  3. ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เสนอโดย ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์

ปัจจุบันจึงเหลือเพียง ร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งมีรายชื่อของภาคประชาชนสนับสนุน 43,826 รายชื่อ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะถูกปัดตกด้วยหรือไม่

โดยหลักการกฎหมายฉบับประชาชน คือ รัฐต้องจัดสรรบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่กำหนดโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับเพิ่มทุกสามปี จ่ายตรงให้ประชาชน

ภาคประชาชนมองทุ่มแจกเงินหมื่น

“ถ้าเขาปัดตกมาสามฉบับ ฉบับที่สี่ (เสนอโดยภาคประชาชน) น่าจะไม่เหลือแหละ”

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา หนึ่งในผู้ริเริ่มผลักดันให้รัฐจัดสวัสดิการในรูปแบบของบำนาญประชาชน เพื่อมาเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุในนาม ‘เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ’ มาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน กล่าวกับประชาไทหลังจากที่มีการตีตกร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับว่า ไม่แปลกใจกับผลที่ออกมาในครั้งนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ส่วนอีกร่างฯ ที่เสนอโดยภาคประชาชนก็น่าจะถูกตีตกเช่นเดียวกัน แต่ว่าจดหมายแจ้งยังมาไม่ถึง

“ (รัฐบาล) เขาไม่ทําอยู่แล้ว เพราะว่ามันเป็นกฎหมายที่ต้องใช้เงินเยอะ…เขาไม่อยากทําเพราะว่านโยบายเขาก็ไม่ได้คิดจะทํา  เขาจะแจกเงินหมื่นซึ่งเขาก็ทําไปแล้ว  แล้วก็ใช้เงินเท่ากัน  แล้วก็จบ จ่ายเงินเรียบร้อยซื้อเสียงอะไรได้ ได้ใจคนไปเรียบร้อยแล้วก็จบแล้วไม่ต้องทํา”

สุรีรีตน์ กล่าวอีกว่า การทําบํานาญถ้วนหน้าในฐานะสวัสดิการเป็นเรื่องที่ต้องทําระยะยาว และถ้าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นๆ  บํานาญพื้นฐานตรงนี้ก็จะเพิ่มขึ้น พอใช้งบมหาศาล รัฐบาลก็อาจไม่อยากทำ เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้กำลังทำนโยบายเงินหมื่นดิจิทัลวอลเล็ต และมีแนวโน้มจะทำนโยบายหวยเกษียณ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/gloy | ดู : 10 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend